เรื่องนี้มันก็เริ่มมาจากบริษัททางด่วนกรุงเทพ (BECL) กับบริษัทรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BMCL) จะควบรวมบริษัทกัน แน่นอนว่าย่อมเป็นผลดีต่อทั้ง 2 บริษัท ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการสนับสนุนกันของธุรกิจ ฐานะการเงินที่แข็งแกร่งมากขึ้น เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ผลประโยชน์ win -win กันทั้งคู่ แต่ก่อนที่จะรวมบ้านกันก็ต้องทำความสะอาดบ้านของตัวเองก่อนใช่ไหมคะ ทั้ง BECL และ BMCL จึงต่างก็ต้องปรับโครงสร้างบริษัทกันยกใหญ่
ทีนี้บริษัท ช.การช่าง (CK) เข้ามามีบทบาทก็เพราะ CK เป็นผู้ถือหุ้นของทั้ง BECL และ BMCL โดย CK ถือหุ้น BECL อยู่ 15.15% และถือหุ้น BMCL อยู่ 25.19% ในขณะเดียวกัน BECL ก็ถือหุ้น BMCL อยู่ 10% เช่นกัน และเพื่อไม่ให้เกิดการถือหุ้นซ้ำซ้อน BECL จึงต้องขายหุ้น BMCL ที่ตนถืออยู่ โดยขายให้กับ CK ทั้งหมดในราคาหุ้นละ 1.79 บาท ดังนั้นหลังจาก BECL ขายหุ้นแล้วจะกลายเป็นว่า CK ถือหุ้น BMCL ทั้งหมด 35.19%
การควบรวมกันของ BECL และ BMCL จะเพิกถอนหุ้นของบริษัทเดิม (ทั้ง BECL และ BMCL) ออกและนำหุ้นของบริษัทใหม่มาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยผู้ถือหุ้น BECL และ BMCL สามารถทำการแลกหุ้น (swap) เป็นหุ้นใหม่ในอัตราส่วนดังนี้
1 หุ้น BECL : 8.65537841 หุ้นบริษัทใหม่
1 หุ้น BMCL : 0.42050530 หุ้นบริษัทใหม่
CK ดูจะได้ประโยชน์จากการควบรวมกิจการมากที่สุด เพราะ BECL มีเงินสดจำนวนมาก (มีเงินแต่ไม่ค่อยมีงาน) ส่วน BMCL ก็มีอัตราการเติบโตสูงและกำลังพลิกฟื้น (มีงานแต่ไม่มีเงิน) เมื่อรวมกันแล้วทำให้มีทั้งงานทั้งเงิน สุดท้ายก็ส่งงานและเงินให้บริษัทแม่คือ CK นี่ยังไม่นับรวมถึงการปรับโครงสร้างบริษัทของ CK ซึ่งจะส่งผลดีอีกไม่น้อย
บล.บัวหลวงเองก็มีการปรับเพิ่มราคาเป้าหมายของ CK เป็น 32.75 บาทและเปลี่ยนคำแนะนำเป็น “ซื้อ” ส่วน BECL ก็แนะนำ “ซื้อ” เช่นกัน เพราะเราประเมินว่า BECL น่าจะมีกำไรพิเศษราว 1.2 พันล้านบาทจากการขายหุ้น BMCL แต่ BMCL นั้นมีความจำเป็นที่จะต้องขยายขีดความสามารถทางการเงินซะก่อน กลายเป็นว่างานนี้ CK แย่งซีนข่าวการควบรวมบริษัทไปเต็มๆ

ที่มา : BLS Sec
BECL+BMCL แต่ไหง CK ถึงเป็นตาอยู่ที่คว้าพุงปลาไปกิน
ทีนี้บริษัท ช.การช่าง (CK) เข้ามามีบทบาทก็เพราะ CK เป็นผู้ถือหุ้นของทั้ง BECL และ BMCL โดย CK ถือหุ้น BECL อยู่ 15.15% และถือหุ้น BMCL อยู่ 25.19% ในขณะเดียวกัน BECL ก็ถือหุ้น BMCL อยู่ 10% เช่นกัน และเพื่อไม่ให้เกิดการถือหุ้นซ้ำซ้อน BECL จึงต้องขายหุ้น BMCL ที่ตนถืออยู่ โดยขายให้กับ CK ทั้งหมดในราคาหุ้นละ 1.79 บาท ดังนั้นหลังจาก BECL ขายหุ้นแล้วจะกลายเป็นว่า CK ถือหุ้น BMCL ทั้งหมด 35.19%
การควบรวมกันของ BECL และ BMCL จะเพิกถอนหุ้นของบริษัทเดิม (ทั้ง BECL และ BMCL) ออกและนำหุ้นของบริษัทใหม่มาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยผู้ถือหุ้น BECL และ BMCL สามารถทำการแลกหุ้น (swap) เป็นหุ้นใหม่ในอัตราส่วนดังนี้
1 หุ้น BECL : 8.65537841 หุ้นบริษัทใหม่
1 หุ้น BMCL : 0.42050530 หุ้นบริษัทใหม่
CK ดูจะได้ประโยชน์จากการควบรวมกิจการมากที่สุด เพราะ BECL มีเงินสดจำนวนมาก (มีเงินแต่ไม่ค่อยมีงาน) ส่วน BMCL ก็มีอัตราการเติบโตสูงและกำลังพลิกฟื้น (มีงานแต่ไม่มีเงิน) เมื่อรวมกันแล้วทำให้มีทั้งงานทั้งเงิน สุดท้ายก็ส่งงานและเงินให้บริษัทแม่คือ CK นี่ยังไม่นับรวมถึงการปรับโครงสร้างบริษัทของ CK ซึ่งจะส่งผลดีอีกไม่น้อย
บล.บัวหลวงเองก็มีการปรับเพิ่มราคาเป้าหมายของ CK เป็น 32.75 บาทและเปลี่ยนคำแนะนำเป็น “ซื้อ” ส่วน BECL ก็แนะนำ “ซื้อ” เช่นกัน เพราะเราประเมินว่า BECL น่าจะมีกำไรพิเศษราว 1.2 พันล้านบาทจากการขายหุ้น BMCL แต่ BMCL นั้นมีความจำเป็นที่จะต้องขยายขีดความสามารถทางการเงินซะก่อน กลายเป็นว่างานนี้ CK แย่งซีนข่าวการควบรวมบริษัทไปเต็มๆ
ที่มา : BLS Sec