มาเล่าสู่กันฟังกับเหตุการณ์ช็อคตลาดเงินตั้งแต่ต้นปี 2015 ที่SNB (Swiss National Bank) หรือ แบงค์ชาติสวิส ได้ออกมาประกาศยกเลิกกำหนดขั้นต่ำของสกุลเงิน Pair EUR/CHF ทำให้ตลาดเงินช็อคโลกไปตามๆกัน ตัวผมเองก็เพิ่งทราบว่าตัว มี floor สำหรับ EUR/CHF ก่อนหน้าที่มันจะยกเลิกมานี้ไม่นานเลยไม่ทราบรายละเอียดตั้งแต่ต้น มาวันนี้ได้หาข้อมูลเพิ่มเติม และคิดว่ามีอีกหลายท่านในนี้ที่อาจจะยังไม่ทราบเรื่องราวก็เลยเอามาแชร์กัน
***มีความเห็นส่วนบุคคลสอดแทรกโปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน และหากมีข้อผิดพลาดประการใดขออภัยมา ณ ที่นี้ครับ
ก่อนอื่นก็มาทำความรู้จักกับสวิสเซอร์แลนด์ในด้านการเงินกันคร่าวๆ
สวิสเซอร์แลนด์เป็นประเทศขนาดเล็กไม่มีทางออกสู่ทะเล ตั้งอยู่ในทวีปยุโรปตะวันตก โดยมีพรมแดนติดกับประเทศเยอรมนี ประเทศฝรั่งเศส ประเทศอิตาลี ประเทศออสเตรีย และประเทศลิกเตนสไตน์
สวิสเซอร์แลนด์ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย มีประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้ง เป็นผู้ใช้อำนาจในการบริหารประเทศ โดยในปัจจุบันมี Simonetta Sommaruga ดำรงวาระจนถึงปี2016 สวิสเซอร์แลนด์มีประชากรในปี 2014 ราว 8.05 ล้านคน โดยมี GDP ของประเทศอยู่ที่ 650.78 พันล้าน USD โดย GDP per capita จัดอยู่ในระดับที่สูงมาก สวิสเซอร์แลนด์ใช้สกุลเงิน สวิสฟรังก์ (CHF) โดยอัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบันอยู่ที่ 0.8550 CHF ต่อ 1 USD


ในด้านการนำเข้าและส่งออก สินค้าหลักที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ผลิตและส่งออกคือ บรรจุภัณฑ์ เวชภัณฑ์ และเคมีภัณฑ์ต่างๆ นาฬิกา เครื่องประดับ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ โดยมีคู่ค้าสำคัญด้านการส่งออกคือ เยอรมัน อินเดีย สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง และฝรั่งเศษ ส่วนการนำเข้า สวิสเซอร์แลนด์นำเข้า พลังงาน เครื่องจักร อุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ วัตถุดิบทางการเกษตร โลหะ สิ่งทอ เครื่องแต่งกาย ซึ่งชี้ให้เห็นว่าสวิสเซอร์แลนด์เป็นประเทศที่นำเข้าวัตถุดิบโดยใช้แรงงานและเทคโนโลยีที่มีคุณภาพสูงของตนแปรรูปวัตถุดิบให้เป็นสินค้าอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูงขึ้น คู่ค้าจากภาคการนำเข้าคือ เยอรมัน อิตาลี สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศษ และ จีน โดยรายได้จากภาคการท่องเที่ยวและภาคธนาคาร ถือเป็นอีกสองอุตสาหกรรมสำคัญของประเทศสวิสเซอร์แลนด์อย่างที่เราๆทราบกันดีจากในหนัง (คนรวยหอบเงินหนีไปฝากธนาคารสวิส)
รู้จักสวิสกันคร่าวๆละ ทีนี้ก่อนจะเข้าประเด็นว่ามันยกเลิกfloor EUR/CHF ทำไม มาดูกันว่ามันตั้ง floor EUR/CHF ขึ้นมาทำไม
เนื่องจากในช่วงกลางปี ค.ศ. 2009 เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินในกลุ่มยูโรโซน นำโดยประเทศกรีซซึ่งสำเหตุสำคัญประเทศมีการก่อหนี้สาธารณะในสัดส่วนที่สูง มีอัตราหนี้สินต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (Gross Debt to GDP Ratio) ประมาณกว่า 100% ใน ค.ศ. 2009 อันเป็นผลมาจากการกู้ยืมเพื่อชดเชยงบประมาณขาดดุลของรัฐบาล โดยจุดเริ่มต้นของวิกฤตได้ก่อตัวขึ้นมาตั้งแต่การปฏิรูประบบเศรษฐกิจใน ค.ศ. 2002 และกรีซประกาศยกเลิกการใช้เงินสกุลดั้งเดิมหันไปใช้เงินสกุลยูโรของกลุ่มสหภาพยุโรปแทน ส่งผลให้ความน่าเชื่อถือของประเทศดีขึ้นสามารถกู้ยืมเงินได้อย่างสะดวกสบาย ดังนั้นในช่วงที่ผ่านมารัฐบาลจึงมีการกู้ยืมเงินจำนวนมากเพื่อมาใช้จ่ายในเรื่องต่างๆ รวมทั้งการจัดมหกรรมกีฬาโอลิมปิกที่กรุงเอเธนส์ในค.ศ. 2004 ที่กรีซเป็นเจ้าภาพ
นอกจากประเทศกรีซแล้ว ปัญหาหนี้สาธารณะสูงยังก่อตัวขึ้นในหลายประเทศของยูโรโซน อาทิ ไอร์แลนด์ และอิตาลี เป็นต้น จากการติดต่อระหว่างกันในระบบการเงินโลกนั้น การที่ประเทศหนึ่งผิดนัดชำระหนี้สาธารณะหรือเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ย่อมทำให้หนี้เอกชนภายนอกบางส่วนอยู่ในความเสี่ยงของ รวมทั้งระบบสถาบันการเงินของประเทศเจ้าหนี้ก็เผชิญความสูญเสีย ผลกระทบจึงส่งผ่านกันไปเป็นวงกว้าง
จากประเด็นดังกล่าวทำให้เงินฟรังก์สวิส ซึ่งถูกมองว่าเป็น Safe Haven หรือสินทรัพย์ปลอดภัย ถูกนักลงทุนเข้ามาถือครองเพิ่มขึ้นอย่างมากจากการขายเงินสกุลยูโร ส่งผลให้ค่าเงิน EUR/CHF ลดต่ำลงอย่างมาก (EUR อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับ CHF) ซึ่งทาง Swiss National Bank (SNB) หรือ แบงค์ชาติสวิส (เทียบกับแบงค์ชาติบ้านเรา) จึงตัดสินใจประกาศระดับต่ำสุดของค่าเงินคู่สกุล EUR/CHF ไม่ให้ต่ำกว่า 1.20 ในวันที่ 6 กันยายน ค.ศ. 2011 เนื่องจากแบงค์ชาติสวิสมองว่าค่าเงินที่แข็งขึ้นไม่ได้มาจากปัจจัยพื้นฐานของประเทศ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศสวิสเซอร์แลนด์เอง ทั้งในภาคการส่งออกและภาคการท่องเที่ยว ซึ่งในขณะนั้น ทางแบงค์ชาติสวิสได้ออกมาแสดงเจตจำนงอย่างแรงกล้าในการที่จะรักษาระดับค่าเงินของ EUR/CHF
"The SNB will enforce this minimum rate with the utmost determination and is prepared to buy foreign currency in unlimited quantities."
ในวันที่ประกาศตรึงค่าเงินขั้นต่ำ EUR/CHF นั้น ตลาดหุ้นสวิสตอบรับโดยปรับตัวบวกเพิ่มขึ้นถึง 4% นำโดยกลุ่มบริษัทที่มีรายได้จากการส่งออก
แล้วทำไมอยู่ดีๆมันมายกเลิกซะงั้น
การที่ SNB ออกมาประกาศในช่วงเย็นของวันที่ 16 มกราคม ค.ศ. 2015 เรื่องการยกเลิกการตรึงขั้นต่ำของ EUR/CHF ที่ 1.20 พร้อมๆกับประกาศ target range ของ 3 month LIBOR ลดลงมาอยู่ที่ -0.75% ส่งผลให้ค่าเงิน EUR/CHF และ USD/CHF ตลอดจนสกุลเงินอื่นๆเกิดความผันผวนขึ้นทันที โดย EUR/CHF ลดลงต่ำกว่า 1.00 โดยระดับต่ำสุดระหว่างวันของ EUR/CHF อยู่ที่ประมาณ 0.90 และ USD/CHF อยู่ที่ 0.75 เลยทีเดียว พร้อมกันกับตลาดหุ้นของสวิสเองปิดลบไปกว่า 9% ในวันนั้นเอง
การประกาศครั้งนี้มีขึ้นก่อนการประชุมของธนาคารกลางยุโรปหรือ ECB ในวันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 2015 เพียง 1 สัปดาห์ซึ่งมีการคาดการณ์จากหลายฝ่ายว่าทาง ECB จะเริ่มมาตรการ QE ในการประชุมครั้งนี้หลังจากมีการส่งสัญญาณออกมาหลายครั้งก่อนหน้านี้ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในสหภาพยุโรปและหวังให้อัตราเงินเฟ้อในสหภาพยุโรปอยู่ในระดับ 2% ซึ่งมองว่าเป็นระดับที่เหมาะสมในการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
โดยส่วนตัวคิดว่าการที่ทาง SNB ยกเลิกการกำหนดขั้นต่ำของค่าเงิน EUR/CHF นั้นเป็นผลมาจากการที่ทาง SNB มองว่า ความไม่แน่นอนในในทุกๆด้านสหภาพยุโรปนั้นเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ทั้งปัญหาเศรษฐกิจภายในสหภาพยุโรปเอง กรณีของกรีซที่อาจจะมีโอกาสแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป รวมทั้งความขัดแย้งภายในสหภาพยุโรปเรื่องการคว่ำบาตร รัสเซีย ฯลฯ ซึ่ง SNB น่าจะมองว่าผลเสียในการถือครอง พันธบัตรในกลุ่มสหภาพยูโร หรือ ถือครองเงินสกุลยูโรในระยะยาวนั้น มีมากกว่าการยกเลิกการกำหนดขั้นต่ำค่าของค่าเงิน EUR/CHF นี้ โดยผลกระทบหลักๆของการที่ CHF แข็งค่าเพิ่มขึ้นต่อ EUR นั้นก็คือการสูญเสียความสามารถในการแข่งขันในด้านราคาของผู้ส่งออกในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เนื่องตลาดส่งออกที่สำคัญของประเทศนั้นอยู่ในกลุ่ม ยูโรโซน (เยอรมัน ฝรั่งเศษ) ในทางกลับกันหาก ทาง SNB ยังคงกำหนดขั้นต่ำ EUR/CHF ต่อเมื่อ ECB ลงมือทำ QE จริงๆน่าจะทำให้มีเงิน EUR ไหลเข้ามาในประเทศสวิสเซอร์แลนด์มากขึ้น จากทั้งในเรื่องของสภาพคล่องที่เกิดจาก QE เอง รวมไปถึงความไม่แน่นอนของกลุ่มยูโรโซนที่เพิ่มสูงขึ้นมาตลอดในระยะหลังด้วย (ทำแล้วไม่รู้จะได้ผลมั้ยหรือเกิดผลกระทบอะไรมั้ย) นั้น ทำให้ทาง SNB ลังเลที่จะถือครองพันธบัตรของกลุ่มประเทศยูโร หรือเงินสกุลยูโรเพิ่มขึ้นอีก (ถูกบังคับถือครองเพื่อรักษาระดับค่าเงิน EUR/CHF ที่ 1.20)
ผมค่อนข้างเชื่อว่า ทางSNB เองคงไม่ชอบสถานะของคำว่า Safe Haven Currency เท่าไหร่นัก จากการที่จะเห็นได้จากมีการประกาศลดดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มขึ้นเป็น -0.75% ทั้งๆที่เมื่อธันวาคม ปี ค.ศ. 2014 ทาง SNB เพิ่งประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเข้าสู่แดนลบ -0.25% จากการที่เกิดความผันผวนในค่าเงินรัสเซียกับราคาน้ำมันทำให้ค่าเงิน USD/CHF แข็งขึ้นผิดปรกติ ซึ่งในครั้งนั้น SNB ก็ออกมาให้แถลงการณ์ในแง่ที่ไม่ค่อยปลื้มกับสถานะ Safe Haven currency นี้ แต่ถึงแม้อัตราดอกเบี้ยติดลบที่ระดับ -0.75% จะยังทำให้ค่าเงิน CHF แข็งค่าชึ้นกว่า 17% ทั้งใน EUR/CHF และ USD/CHF หลังการประกาศยกเลิกขั้นต่ำของ EUR/CHF ผมก็ยังคงเชื่อว่าทาง SNB คงจะมีมาตรการเพิ่มเติมเพื่อทำให้ค่าเงินตัวเองอ่อนลงหลังจากตลาดสามารถหาจุดสมดุลของ ค่าเงิน CHF เป็นการชั่วคราวได้ และในครั้งนี้ SNB คงไม่สนใจ EUR/CHF แต่หากเป็น USD/CHF ที่ SNBน่าจะให้ความสนใจ
อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจในกรณีนี้ก็คือ การที่ SNB ในช่วงหลังชอบออกประกาศแบบ Surprise ตลาดทำให้เกิดความผันผวนในค่าเงินของ CHF ขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นอีกสิ่งบ่งชี้หนึ่งว่า SNB ไม่ต้องการให้โลกมอง CHF เป็น Safe Haven currencyอีกต่อไป
จบละครับ มือใหม่หัดเล่า ไม่เข้าใจตรงไหน ยินดีตอบหลังไมค์ครับ
เพิ่มเติม : กองทุนHedge Fund ขนาด 830M$ ต้องปิดกองทุนไปหลังจาก SNB ประกาศ terminate EUR/CHF floor (Everest Global Capital)
http://www.wsj.com/articles/everest-capital-to-close-global-fund-after-losses-on-swiss-franc-1421520117
Credit :
http://www.statista.com/statistics/263752/total-population-of-switzerland/ ข้อมูลประชากรสวิส
http://th.wikipedia.org/wiki/ ข้อมูลทั่วไป
http://atlas.media.mit.edu/profile/country/che/ นำเข้าส่งออก
http://finance.yahoo.com กราฟ
เล่าเกี่ยวกับ สวิสเซอร์แลนด์ยกเลิกการผูกค่าเงินสวิสกับยูโร
***มีความเห็นส่วนบุคคลสอดแทรกโปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน และหากมีข้อผิดพลาดประการใดขออภัยมา ณ ที่นี้ครับ
ก่อนอื่นก็มาทำความรู้จักกับสวิสเซอร์แลนด์ในด้านการเงินกันคร่าวๆ
สวิสเซอร์แลนด์เป็นประเทศขนาดเล็กไม่มีทางออกสู่ทะเล ตั้งอยู่ในทวีปยุโรปตะวันตก โดยมีพรมแดนติดกับประเทศเยอรมนี ประเทศฝรั่งเศส ประเทศอิตาลี ประเทศออสเตรีย และประเทศลิกเตนสไตน์
สวิสเซอร์แลนด์ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย มีประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้ง เป็นผู้ใช้อำนาจในการบริหารประเทศ โดยในปัจจุบันมี Simonetta Sommaruga ดำรงวาระจนถึงปี2016 สวิสเซอร์แลนด์มีประชากรในปี 2014 ราว 8.05 ล้านคน โดยมี GDP ของประเทศอยู่ที่ 650.78 พันล้าน USD โดย GDP per capita จัดอยู่ในระดับที่สูงมาก สวิสเซอร์แลนด์ใช้สกุลเงิน สวิสฟรังก์ (CHF) โดยอัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบันอยู่ที่ 0.8550 CHF ต่อ 1 USD
ในด้านการนำเข้าและส่งออก สินค้าหลักที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ผลิตและส่งออกคือ บรรจุภัณฑ์ เวชภัณฑ์ และเคมีภัณฑ์ต่างๆ นาฬิกา เครื่องประดับ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ โดยมีคู่ค้าสำคัญด้านการส่งออกคือ เยอรมัน อินเดีย สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง และฝรั่งเศษ ส่วนการนำเข้า สวิสเซอร์แลนด์นำเข้า พลังงาน เครื่องจักร อุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ วัตถุดิบทางการเกษตร โลหะ สิ่งทอ เครื่องแต่งกาย ซึ่งชี้ให้เห็นว่าสวิสเซอร์แลนด์เป็นประเทศที่นำเข้าวัตถุดิบโดยใช้แรงงานและเทคโนโลยีที่มีคุณภาพสูงของตนแปรรูปวัตถุดิบให้เป็นสินค้าอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูงขึ้น คู่ค้าจากภาคการนำเข้าคือ เยอรมัน อิตาลี สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศษ และ จีน โดยรายได้จากภาคการท่องเที่ยวและภาคธนาคาร ถือเป็นอีกสองอุตสาหกรรมสำคัญของประเทศสวิสเซอร์แลนด์อย่างที่เราๆทราบกันดีจากในหนัง (คนรวยหอบเงินหนีไปฝากธนาคารสวิส)
รู้จักสวิสกันคร่าวๆละ ทีนี้ก่อนจะเข้าประเด็นว่ามันยกเลิกfloor EUR/CHF ทำไม มาดูกันว่ามันตั้ง floor EUR/CHF ขึ้นมาทำไม
เนื่องจากในช่วงกลางปี ค.ศ. 2009 เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินในกลุ่มยูโรโซน นำโดยประเทศกรีซซึ่งสำเหตุสำคัญประเทศมีการก่อหนี้สาธารณะในสัดส่วนที่สูง มีอัตราหนี้สินต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (Gross Debt to GDP Ratio) ประมาณกว่า 100% ใน ค.ศ. 2009 อันเป็นผลมาจากการกู้ยืมเพื่อชดเชยงบประมาณขาดดุลของรัฐบาล โดยจุดเริ่มต้นของวิกฤตได้ก่อตัวขึ้นมาตั้งแต่การปฏิรูประบบเศรษฐกิจใน ค.ศ. 2002 และกรีซประกาศยกเลิกการใช้เงินสกุลดั้งเดิมหันไปใช้เงินสกุลยูโรของกลุ่มสหภาพยุโรปแทน ส่งผลให้ความน่าเชื่อถือของประเทศดีขึ้นสามารถกู้ยืมเงินได้อย่างสะดวกสบาย ดังนั้นในช่วงที่ผ่านมารัฐบาลจึงมีการกู้ยืมเงินจำนวนมากเพื่อมาใช้จ่ายในเรื่องต่างๆ รวมทั้งการจัดมหกรรมกีฬาโอลิมปิกที่กรุงเอเธนส์ในค.ศ. 2004 ที่กรีซเป็นเจ้าภาพ
นอกจากประเทศกรีซแล้ว ปัญหาหนี้สาธารณะสูงยังก่อตัวขึ้นในหลายประเทศของยูโรโซน อาทิ ไอร์แลนด์ และอิตาลี เป็นต้น จากการติดต่อระหว่างกันในระบบการเงินโลกนั้น การที่ประเทศหนึ่งผิดนัดชำระหนี้สาธารณะหรือเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ย่อมทำให้หนี้เอกชนภายนอกบางส่วนอยู่ในความเสี่ยงของ รวมทั้งระบบสถาบันการเงินของประเทศเจ้าหนี้ก็เผชิญความสูญเสีย ผลกระทบจึงส่งผ่านกันไปเป็นวงกว้าง
จากประเด็นดังกล่าวทำให้เงินฟรังก์สวิส ซึ่งถูกมองว่าเป็น Safe Haven หรือสินทรัพย์ปลอดภัย ถูกนักลงทุนเข้ามาถือครองเพิ่มขึ้นอย่างมากจากการขายเงินสกุลยูโร ส่งผลให้ค่าเงิน EUR/CHF ลดต่ำลงอย่างมาก (EUR อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับ CHF) ซึ่งทาง Swiss National Bank (SNB) หรือ แบงค์ชาติสวิส (เทียบกับแบงค์ชาติบ้านเรา) จึงตัดสินใจประกาศระดับต่ำสุดของค่าเงินคู่สกุล EUR/CHF ไม่ให้ต่ำกว่า 1.20 ในวันที่ 6 กันยายน ค.ศ. 2011 เนื่องจากแบงค์ชาติสวิสมองว่าค่าเงินที่แข็งขึ้นไม่ได้มาจากปัจจัยพื้นฐานของประเทศ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศสวิสเซอร์แลนด์เอง ทั้งในภาคการส่งออกและภาคการท่องเที่ยว ซึ่งในขณะนั้น ทางแบงค์ชาติสวิสได้ออกมาแสดงเจตจำนงอย่างแรงกล้าในการที่จะรักษาระดับค่าเงินของ EUR/CHF
"The SNB will enforce this minimum rate with the utmost determination and is prepared to buy foreign currency in unlimited quantities."
ในวันที่ประกาศตรึงค่าเงินขั้นต่ำ EUR/CHF นั้น ตลาดหุ้นสวิสตอบรับโดยปรับตัวบวกเพิ่มขึ้นถึง 4% นำโดยกลุ่มบริษัทที่มีรายได้จากการส่งออก
แล้วทำไมอยู่ดีๆมันมายกเลิกซะงั้น
การที่ SNB ออกมาประกาศในช่วงเย็นของวันที่ 16 มกราคม ค.ศ. 2015 เรื่องการยกเลิกการตรึงขั้นต่ำของ EUR/CHF ที่ 1.20 พร้อมๆกับประกาศ target range ของ 3 month LIBOR ลดลงมาอยู่ที่ -0.75% ส่งผลให้ค่าเงิน EUR/CHF และ USD/CHF ตลอดจนสกุลเงินอื่นๆเกิดความผันผวนขึ้นทันที โดย EUR/CHF ลดลงต่ำกว่า 1.00 โดยระดับต่ำสุดระหว่างวันของ EUR/CHF อยู่ที่ประมาณ 0.90 และ USD/CHF อยู่ที่ 0.75 เลยทีเดียว พร้อมกันกับตลาดหุ้นของสวิสเองปิดลบไปกว่า 9% ในวันนั้นเอง
การประกาศครั้งนี้มีขึ้นก่อนการประชุมของธนาคารกลางยุโรปหรือ ECB ในวันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 2015 เพียง 1 สัปดาห์ซึ่งมีการคาดการณ์จากหลายฝ่ายว่าทาง ECB จะเริ่มมาตรการ QE ในการประชุมครั้งนี้หลังจากมีการส่งสัญญาณออกมาหลายครั้งก่อนหน้านี้ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในสหภาพยุโรปและหวังให้อัตราเงินเฟ้อในสหภาพยุโรปอยู่ในระดับ 2% ซึ่งมองว่าเป็นระดับที่เหมาะสมในการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
โดยส่วนตัวคิดว่าการที่ทาง SNB ยกเลิกการกำหนดขั้นต่ำของค่าเงิน EUR/CHF นั้นเป็นผลมาจากการที่ทาง SNB มองว่า ความไม่แน่นอนในในทุกๆด้านสหภาพยุโรปนั้นเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ทั้งปัญหาเศรษฐกิจภายในสหภาพยุโรปเอง กรณีของกรีซที่อาจจะมีโอกาสแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป รวมทั้งความขัดแย้งภายในสหภาพยุโรปเรื่องการคว่ำบาตร รัสเซีย ฯลฯ ซึ่ง SNB น่าจะมองว่าผลเสียในการถือครอง พันธบัตรในกลุ่มสหภาพยูโร หรือ ถือครองเงินสกุลยูโรในระยะยาวนั้น มีมากกว่าการยกเลิกการกำหนดขั้นต่ำค่าของค่าเงิน EUR/CHF นี้ โดยผลกระทบหลักๆของการที่ CHF แข็งค่าเพิ่มขึ้นต่อ EUR นั้นก็คือการสูญเสียความสามารถในการแข่งขันในด้านราคาของผู้ส่งออกในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เนื่องตลาดส่งออกที่สำคัญของประเทศนั้นอยู่ในกลุ่ม ยูโรโซน (เยอรมัน ฝรั่งเศษ) ในทางกลับกันหาก ทาง SNB ยังคงกำหนดขั้นต่ำ EUR/CHF ต่อเมื่อ ECB ลงมือทำ QE จริงๆน่าจะทำให้มีเงิน EUR ไหลเข้ามาในประเทศสวิสเซอร์แลนด์มากขึ้น จากทั้งในเรื่องของสภาพคล่องที่เกิดจาก QE เอง รวมไปถึงความไม่แน่นอนของกลุ่มยูโรโซนที่เพิ่มสูงขึ้นมาตลอดในระยะหลังด้วย (ทำแล้วไม่รู้จะได้ผลมั้ยหรือเกิดผลกระทบอะไรมั้ย) นั้น ทำให้ทาง SNB ลังเลที่จะถือครองพันธบัตรของกลุ่มประเทศยูโร หรือเงินสกุลยูโรเพิ่มขึ้นอีก (ถูกบังคับถือครองเพื่อรักษาระดับค่าเงิน EUR/CHF ที่ 1.20)
ผมค่อนข้างเชื่อว่า ทางSNB เองคงไม่ชอบสถานะของคำว่า Safe Haven Currency เท่าไหร่นัก จากการที่จะเห็นได้จากมีการประกาศลดดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มขึ้นเป็น -0.75% ทั้งๆที่เมื่อธันวาคม ปี ค.ศ. 2014 ทาง SNB เพิ่งประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเข้าสู่แดนลบ -0.25% จากการที่เกิดความผันผวนในค่าเงินรัสเซียกับราคาน้ำมันทำให้ค่าเงิน USD/CHF แข็งขึ้นผิดปรกติ ซึ่งในครั้งนั้น SNB ก็ออกมาให้แถลงการณ์ในแง่ที่ไม่ค่อยปลื้มกับสถานะ Safe Haven currency นี้ แต่ถึงแม้อัตราดอกเบี้ยติดลบที่ระดับ -0.75% จะยังทำให้ค่าเงิน CHF แข็งค่าชึ้นกว่า 17% ทั้งใน EUR/CHF และ USD/CHF หลังการประกาศยกเลิกขั้นต่ำของ EUR/CHF ผมก็ยังคงเชื่อว่าทาง SNB คงจะมีมาตรการเพิ่มเติมเพื่อทำให้ค่าเงินตัวเองอ่อนลงหลังจากตลาดสามารถหาจุดสมดุลของ ค่าเงิน CHF เป็นการชั่วคราวได้ และในครั้งนี้ SNB คงไม่สนใจ EUR/CHF แต่หากเป็น USD/CHF ที่ SNBน่าจะให้ความสนใจ
อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจในกรณีนี้ก็คือ การที่ SNB ในช่วงหลังชอบออกประกาศแบบ Surprise ตลาดทำให้เกิดความผันผวนในค่าเงินของ CHF ขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นอีกสิ่งบ่งชี้หนึ่งว่า SNB ไม่ต้องการให้โลกมอง CHF เป็น Safe Haven currencyอีกต่อไป
จบละครับ มือใหม่หัดเล่า ไม่เข้าใจตรงไหน ยินดีตอบหลังไมค์ครับ
เพิ่มเติม : กองทุนHedge Fund ขนาด 830M$ ต้องปิดกองทุนไปหลังจาก SNB ประกาศ terminate EUR/CHF floor (Everest Global Capital)
http://www.wsj.com/articles/everest-capital-to-close-global-fund-after-losses-on-swiss-franc-1421520117
Credit :
http://www.statista.com/statistics/263752/total-population-of-switzerland/ ข้อมูลประชากรสวิส
http://th.wikipedia.org/wiki/ ข้อมูลทั่วไป
http://atlas.media.mit.edu/profile/country/che/ นำเข้าส่งออก
http://finance.yahoo.com กราฟ