คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 14
ยังไม่ได้ตอบจขกนะ ประเด็นของจขกทว่าทำไมโรงพยาบาลเอกชนจึงไม่รับผู้ป่วยฉุกเฉิน โดยใช้สิทธิบัตรทองตามที่. สปสชโฆษณา
ประเด็นคงอยู่ที่นิยามของผู้ป่วยฉุกเฉิน ตามที่ สปสช บอกโรงพยาบาลเอกชน เพื่อให้รพ. เอกชนเบิกค่าใช้จ่ายคืนถ้ารับการรักษา
กับที่ผู้ป่วยบัตรทองเข้าใจไม่ตรงกัน. ทั้งที่อ้างว่าบอกปชช. ที่ใช้สิทธิบัตรทองไปแล้ว แต่ข้อเท็จจริงจะมีปชชทั่วไปคนใหนเข้าใจ
ความรู้สึกหรือความเข้าใจของผู้ป่วยก็คิดว่าฉุกเฉิน ก็หวังว่าไปใช้สิทธิฉุกเฉินได้ แต่ไม่ตรงกับนิยามของ สปสชที่ดูแลกองทุนบัตรทองเอง
ดังนั้นเมื่อไม่ใช่กรณีฉุกเฉินตามนิยาม รพ.เอกชนก็ย่อมปฏิเสธที่จะรับ เนื่องจากรับไปก็เบิกเงินจาก สปสชไม่ได้ แล้วใครรับผิดชอบค่าใช้จ่าย
ผู้ป่วยหรือคนทั่วไปมีกี่คนที่เข้าใจว่าฉุกเฉินทางการแพทย์เป็นอย่างไร แยกแตกต่างกันระหว่างฉุกเฉิน เร่งด่วนแต่ไม่ฉุกเฉินมีเวลารอได้
หรือรีบแต่ไม่ด่วนสามารถรอได้มาตรวจตามนัดหมายหรือเวลาปกติได้ หรือประเภทสุดท้ายไม่ต้องมาพบแพทย์ก็ได้
การจะแยกแยะประเภทผู้ป่วยใช้เหตุผลทางการแพทย์ครับ ไม่ใช่ความรู้สึกของผู้ป่วยหรือญาติ
อีกกรณีหนึ่งที่รพ.เอกชนไม่อยากรับเนื่องจากค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในการรักษาผู้ป่วยฉุกเฉิน กับที่ทางสปสช.กำหนดค่าใช้จ่ายไม่สมดุลกัน
พูดง่ายๆคือรับไปก็ขาดทุนน่ะ แล้วโรงพยาบาลเอกชนที่มีต้นทุนสูงก็คงไม่มี รพ.ใหนอย่กรับน่ะ
ประเด็นคงอยู่ที่นิยามของผู้ป่วยฉุกเฉิน ตามที่ สปสช บอกโรงพยาบาลเอกชน เพื่อให้รพ. เอกชนเบิกค่าใช้จ่ายคืนถ้ารับการรักษา
กับที่ผู้ป่วยบัตรทองเข้าใจไม่ตรงกัน. ทั้งที่อ้างว่าบอกปชช. ที่ใช้สิทธิบัตรทองไปแล้ว แต่ข้อเท็จจริงจะมีปชชทั่วไปคนใหนเข้าใจ
ความรู้สึกหรือความเข้าใจของผู้ป่วยก็คิดว่าฉุกเฉิน ก็หวังว่าไปใช้สิทธิฉุกเฉินได้ แต่ไม่ตรงกับนิยามของ สปสชที่ดูแลกองทุนบัตรทองเอง
ดังนั้นเมื่อไม่ใช่กรณีฉุกเฉินตามนิยาม รพ.เอกชนก็ย่อมปฏิเสธที่จะรับ เนื่องจากรับไปก็เบิกเงินจาก สปสชไม่ได้ แล้วใครรับผิดชอบค่าใช้จ่าย
ผู้ป่วยหรือคนทั่วไปมีกี่คนที่เข้าใจว่าฉุกเฉินทางการแพทย์เป็นอย่างไร แยกแตกต่างกันระหว่างฉุกเฉิน เร่งด่วนแต่ไม่ฉุกเฉินมีเวลารอได้
หรือรีบแต่ไม่ด่วนสามารถรอได้มาตรวจตามนัดหมายหรือเวลาปกติได้ หรือประเภทสุดท้ายไม่ต้องมาพบแพทย์ก็ได้
การจะแยกแยะประเภทผู้ป่วยใช้เหตุผลทางการแพทย์ครับ ไม่ใช่ความรู้สึกของผู้ป่วยหรือญาติ
อีกกรณีหนึ่งที่รพ.เอกชนไม่อยากรับเนื่องจากค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในการรักษาผู้ป่วยฉุกเฉิน กับที่ทางสปสช.กำหนดค่าใช้จ่ายไม่สมดุลกัน
พูดง่ายๆคือรับไปก็ขาดทุนน่ะ แล้วโรงพยาบาลเอกชนที่มีต้นทุนสูงก็คงไม่มี รพ.ใหนอย่กรับน่ะ
แสดงความคิดเห็น
ทำไมโรงพยาบาลเอกชน เมินการรักษาผู้ป่วยกรณีฉุกเฉิก
จึงอยากทราบเหตุผลว่า ทำไมโรงพยาบาลเอกชนถึงมีเมินการรักษาคะ เพราะอะไร?
ทั้งๆที่ผู้ป่วยกรณีฉุกเฉินต้องได้รับการรักษาได้ทุกที่ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลรัฐหรือเอกชนไม่ใช่หรอ
(เพราะเห็นว่ามีนโยบาย "เจ็บป่วยฉุกเฉิน ถึงแก่ชีวิต ไม่ถามสิทธิ ใกล้ที่ไหน ไปที่นั่น" ซึ่งสามารถเข้ารักษาได้ทั้งโรงพยาบาลรัฐและเอกชนอะคะ)
คือเราต้องการข้อมูลไปทำรายงาน กฎหมายพิเศษเอกชนค่ะ แล้วเห็นหัวข้อนี่น่าสนใจและมีประเด็นอยู่ เลยอยากทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดกรณีแบบนี้ขึ้นมาคะ ^^ ขอบคุณนะคะ
จากความคิดเห็นต่างๆ ขอสรุปสาเหตุ คือ 1. ประชาชนไม่เข้าใจความหมายของคำว่า ฉุกเฉิน ในทางการแพทย์ กล่าวคือ เข้าใจความหมายไม่ตรงกัน
2. เงินที่ได้จากรัฐบาลในการทดแทนค่าใช่จ่ายที่โรงพยาบาลเสียไปนั้น ได้น้อยกว่าที่โรงพยาบาลเสียไปตามความเป็นจริง
นอกจาก2สาเหตุนี้ มีสาเหตุอื่นอีกไหมคะ?
แก้ไขรายละเอียดเพิ่มเติม*
แก้ไขเพิ่มเติมขอสรุป*