ประวัติพระอัญญาโกณฑัญญเถระ
เอตทัคคะผู้เป็นรัตตัญญูรู้ราตรีนาน
บุรพกรรมในสมัยพระปทุมุตตรพุทธเจ้า
ปลายแสนกัปแต่ภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าปทุมุตตระอุบัติขึ้นในโลก มีภิกษุแสนรูปเป็นบริวาร เสด็จเที่ยวภิกษาในคามนิคมและราชธานี เพื่อสงเคราะห์มหาชน เมื่อเสด็จถึงกรุงหังสวดี มหาราชาผู้เป็นพระพุทธบิดา ทรงทราบข่าวว่าพระศาสดานั้นเสด็จมา จึงได้เสด็จออกไปต้อนรับ พระศาสดาได้ตรัสธรรมกถา แด่พระพุทธบิดา จบเทศนาบางพวกเป็นพระโสดาบัน บางพวกเป็นพระสกทาคามี บางพวกเป็นพระอนาคามี บางพวกบรรลุพระอรหัต พระราชาทรงนิมนต์พระทศพล เพื่อเสวยภัตตาหารในวันพรุ่งนี้ ในวันรุ่งขึ้นทรงให้แจ้งเวลาภัตตาหาร ได้ถวายมหาทาน ในพระราชนิเวศน์ของพระองค์แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีภิกษุแสนรูปเป็นบริวาร พระศาสดาทรงกระทำภัตตานุโมทนาแล้วเสด็จไปพระวิหารตามเดิม โดยทำนองนั้นนั่นแล ได้ถวายทานตลอดกาลยืดยาวนาน คือ วันรุ่งขึ้นชาวเมืองถวาย วันรุ่งขึ้นต่อไปพระราชาถวาย
ครั้งนั้น พระอัญญาโกณฑัญญะเถระนี้บังเกิดในตระกูลคฤหบดีมหาศาล กรุงหังสวดี วันหนึ่งในเวลาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม เห็นชาวกรุงหังสวดี ต่างถือของหอมและดอกไม้เป็นต้น ไปยังที่แสดงธรรม จึงได้เดินตามไปพร้อมกับมหาชนนั้น เวลานั้นพระปทุมุตตระพุทธเจ้า ทรงสถาปนาภิกษุรูปหนึ่ง ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะผู้แทงตลอดธรรมก่อนในพระศาสนาของพระองค์ ท่านได้ทราบเหตุนั้นแล้ว จึงปรารถนาที่จะได้เป็นอย่างภิกษุนี้ ในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคตกาล เช่นนั้นบ้าง
ดังนั้นท่านจึงนิมนต์พระปทุมุตตระพุทธเจ้า พร้อมภิกษุ ๑๐๐,๐๐๐ รูปเป็นบริวาร และทำการถวายมหาทานอยู่ ๗ วัน แล้วท่านจึงหมอบลงแทบพระบาทของพระศาสดา แสดงความปรารถนาว่า ด้วยผลแห่งการถวายทานสักการะนี้ ข้าพระองค์ไม่ปรารถนาสมบัติอื่นใด เพียงแต่ในอนาคตกาล ขอข้าพระองค์พึงได้ตำแหน่งเอตทัคคะนั้น ในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคตกาล เหมือน ภิกษุที่พระองค์ทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่ง ในวันสุดท้าย ๗ วัน นับแต่วันนี้
พระศาสดาทรงตรวจดูอนาคตกาลด้วยพุทธญาณ ทรงเห็นว่าความปรารถนาของกุลบุตรนี้จักสำเร็จ จึงทรงพยากรณ์ว่ากุลบุตรผู้เจริญ ในที่สุดแห่งแสนกัปในอนาคต พระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม จักทรงอุบัติขึ้น ท่านจักดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล พร้อมด้วยพรหม ๑๘ โกฎิ เวลาจบพระธรรมจักกัปปวัตตนสูตร ด้วยการแสดงธรรมครั้งแรกของพระโคดมพุทธเจ้านั้นดังนี้
พระศาสดาครั้นทรงพยากรณ์กุลบุตรนั้นดังนี้แล้ว ทรงแสดงธรรม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แล้วปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ชนทั้งหลายได้สร้างเจดีย์ทองคำบรรจุพระสรีระของพระองค์ สูง ๗ โยชน์ เศรษฐีนั้นให้สร้างเครื่องประดับอันมีค่ามากล้อมเจดีย์บรรจุพระสรีระของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ในวันประดิษฐานพระเจดีย์ ให้สร้างเรือนแก้วภายในเจดีย์ เศรษฐีนั้นกระทำทานเป็นอันมากถึงแสนปี เมื่อสิ้นชีวิตแล้วแล้วบังเกิดในสวรรค์ วัฏฏะแห่งชีวิตวนอยู่ในภูมิเทวดา และมนุษย์ทั้งหลายนั่นเอง
บุรพกรรมในสมัยพระวิปัสสีพุทธเจ้า
ล่วงไป ๙๙,๙๐๙ กัป ในท้ายกัปที่ ๙๑ จากภัทรกัปนี้ กุลบุตรนี้บังเกิดในเรือนแห่งคฤหบดี ในรามคามใกล้ประตูกรุงพันธุมดี ได้นามว่า มหากาล ส่วนน้องชายของท่าน นามว่า จุลกาล
สมัยนั้น พระโพธิสัตว์พระนามว่า วิปัสสี จุติมาบังเกิดเป็นพระโอรสของพระเจ้าพันธุมะ กรุงพันธุมดี ตรัสรู้แล้วทรงแสดงธรรมแก่ ขัณฑะ ผู้เป็นพระอนุชาของพระองค์ และบุตรปุโรหิต ชื่อ ติสสะ ทั้งสองดำรงอยู่ในพระอรหัตผล พระศาสดาทรงสถาปนาพระขัณฑเถระไว้ในตำแหน่งพระอัครสาวกรูปที่ ๑ ทรงสถาปนาพระติสสะเถระไว้ในตำแหน่งอัครสาวกรูปที่ ๒
ฝ่ายพระราชา ทรงทราบเรื่องนั้นแล้ว จึงเสด็จไปสดับพระธรรมเทศนา ดำรงอยู่ในรัตนะ ๓ และทรงปรารถนาจะอุปัฏฐาก พระบรมศาสดา ผู้เป็นพระโอรส พร้อมหมู่พระภิกษุแต่ผู้เดียว ไม่ยอมให้ชนทั้งหลายได้มีโอกาสเช่นนั้นบ้าง จึงให้สร้างรั้วไม้ตะเคียนสองข้าง ตั้งแต่ซุ้มประตูพระวิหารจนถึงทวารพระราชวัง ให้ปิดล้อมด้วยผ้า แล้วนิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมหมู่ภิกษุเสด็จไปสู่พระราชมณเฑียร เพื่อกระทำภัตกิจ แล้วเสด็จกลับมายังวิหาร โดยทางเดิม มหาชนอื่น แม้จะดูก็ยังไม่ได้ดู แล้วไฉนจะได้ถวายภักษาหารและการบูชาเล่า ทรงกระทำเช่นนี้มาตลอด ๗ ปี ๗ เดือน
ชาวพระนครคิดว่าเมื่อพระศาสดาเสด็จอุบัติขึ้นในโลก เป็นเวลานานถึงเพียงนี้แล้ว ถึงวันนี้ พวกเราแม้เพียงปรารถนาจะเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ก็ยังไม่ได้เฝ้า จะป่วยกล่าวไปไย ถึงการที่จะได้ถวายภิกษา หรือกระทำการบูชา หรือฟังธรรมเล่า พระราชาทรงยึดถือว่า พระพุทธเจ้า และพระสงฆ์เป็นของพระองค์เองผู้เดียว ที่ถูกแล้ว พระศาสดาเมื่อเสด็จอุบัติ ก็อุบัติเพื่อประโยชน์แก่มหาชนทั้งหลาย มิใช่อุบัติเพื่อประโยชน์เฉพาะแก่พระราชาเท่านั้นไม่ เพราะฉะนั้น เราจะกราบทูลพระราชาเพื่อขอโอกาสกระทำบุญแด่พระศาสดาบ้าง ถ้าไม่ให้พวกเราก็จะรบกับพระราชา คิดดังนี้แล้วมหาชนจึงแต่งตัวแทนเข้าไปหาเสนาบดี แจ้งเรื่องนั้นแก่ท่าน เสนาบดีก็รับปากจะเข้าร่วมเป็นฝ่ายมหาชน โดยมีข้อแม้ว่า ต้องให้เสนาบดีมีโอกาสทำบุญกับพระศาสดาเป็นคนแรก ชาวพระนครก็รับคำ
เสนาบดีเข้าไปเฝ้าพระราชากราบทูลเรื่องนั้นให้ทรงทราบ พระราชาทรงเห็นว่า ชาวพระนครมีกำลัง ทั้งเสนาบดีก็เป็นฝ่ายของชาวพระนครเหล่านั้นเหมือนกัน จึงตรัสต่อรองว่า ขอเวลาให้ท่านได้ทำบุญกับพระศาสดากับหมู่พระสงฆ์อีก ๗ ปี ๗ เดือน ชาวพระนครไม่รับ พระราชาทรงให้ลดลงอย่างนี้คือ ๖ ปี ๕ ปี ชาวพระนครก็ไม่ยินยอม สุดท้ายจึงขออีก ๗ วัน ชาวพระนครก็ยินยอม
พระราชาทรงนำสิ่งที่เตรียมไว้ถวายพระพุทธองค์และหมู่ภิกษุ สำหรับระยะเวลา ๗ ปี ๗ เดือน มารวมกันเพื่อถวายใน ๗ วันเท่านั้น แล้วพระราชาถวายบังคม กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า บัดนี้ ข้าพระองค์อนุญาตให้ชาวพระนครได้ถวายทานแล้ว ตั้งแต่พรุ่งนี้ไป โปรดทรงอนุเคราะห์แก่ชาวพระนครเหล่านั้นเถิด
ครั้นในวันต่อมา เสนาบดีได้ถวายมหาทานตามสัญญา ต่อจากนั้น ชาวพระนครก็ได้เวียนกันกระทำสักการะพระพุทธองค์และหมู่พระสาวก เมื่อถึงลำดับของชาวพระนคร ทั่ว ๆ ไป ที่อยู่ใกล้ประตูพระนคร มหากาล จึงกล่าวกับ จุลกาลผู้น้องชายว่า วันพรุ่งนี้ ถึงคราเราได้โอกาสสักการะแด่พระทศพล เราจะทำสักการะ โดยนำข้าวสาลีที่มีอยู่ในนาของเรา ที่กำลังออกรวงอ่อน แล้วนำเอาข้าวอ่อนนั้นเอามาเคี่ยวเป็นน้ำนมจนข้นปรุงด้วยเนยใส น้ำผึ้ง และน้ำตาลกรวด ถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข จุลกาลผู้น้องไม่เห็นด้วยเพราะจะเป็นการทำลายข้าวที่กำลังตั้งท้องอยู่ให้เสียหาย
มหากาลจึงให้แบ่งที่นาออกเป็น ๒ ส่วนเท่า ๆ กัน และนำข้าวในส่วนของตนไปทำเป็นภัตตาหารตามที่ตนตั้งใจ แล้วถวายแด่พระบรมศาสดาและเหล่าพระภิกษุทั้งหลาย ในกาลเสร็จภัตกิจ เขาได้ทราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทานอันเลิศของข้าพระองค์นี้ จงเป็นไปเพื่อความแทงตลอดธรรมอันเลิศก่อนกว่าสาวกทั้งปวง” พระศาสดาตรัสว่า "จงเป็นอย่างนั้นเถิด" แล้วได้ทรงทำอนุโมทนา
ข้าวในนาส่วนที่ถูกนำมาเป็นภัตตาหารก็กลับมีขึ้นเต็มดังเดิม มหากาลผู้พี่ในเวลาต่อ ๆ มาก็ได้ทำทานเช่นนั้นเป็นระยะ ๆ รวม ๙ ครั้ง ในเวลาข้าวเม่า ได้ถวายส่วนเลิศในข้าวเม่า ได้ถวายข้าวกล้าอย่างเลิศพร้อมกับชาวบ้าน ในเวลาเกี่ยว ได้ถวายส่วนเลิศในข้าวเกี่ยว ในเวลาทำเขน็ด ก็ถวายส่วนเลิศในข้าวเขน็ด ในเวลามัดเป็น ฟ่อนเป็นต้น ก็ถวายส่วนเลิศในข้าวฟ่อน ได้ถวายส่วนเลิศในข้าวในลาน ในเวลานวดก็ถวายส่วนเลิศในข้าวนวด ในเวลาข้าวขึ้นยุ้งก็ถวายส่วนเลิศในข้าวขึ้นยุ้ง ได้ถวายทานตามคราว ๙ ครั้ง สำหรับข้าวกล้าอย่างเดียวเท่านั้น ดังกล่าวมาฉะนี้ ข้าวกล้าแม้นั้นก็คงยังตั้งขึ้นเหลือเฟือ
ท่านกระทำเช่นนั้นตลอดเวลาที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ และตราบเท่าที่พระสงฆ์ยังมีอยู่ ครั้นสิ้นชีพแล้ว ก็บังเกิดในเทวโลก ท่านท่องเที่ยวไปในเทวดาและ มนุษย์ เสวยสมบัติตลอด ๙๑ กัป
กำเนิดเป็นโกณฑัญญพราหมณ์ในสมัยพระสมณโคดมพุทธเจ้า
ในสมัยของพระสมณโคดมบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรานี้ ท่านเกิดในเวลาก่อนที่พระบรมศาสดาของเราจะทรงอุบัติขึ้นในโลก ในตระกูลพราหมณ์มหาศาล ในหมู่บ้านพราหมณ์โทณวัตถุ ไม่ไกลจากกรุงกบิลพัสดุ เมื่อเกิดแล้วพวกญาติตั้งชื่อท่านว่า โกณฑัญญมาณพ ครั้นเจริญวัยแล้วก็ได้เรียนไตรเพทจนจบ และรู้ลักษณะมนต์ทั้งหลาย (ตำราทายลักษณะ)
เข้าทำนายพุทธลักษณะ
ครั้นเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะประสูติได้ ๕ วัน พระประยูรญาติก็ได้จัดพระราชพิธีเฉลิมพระนาม โดยได้เชิญพราหมณ์ ๑๐๘ คน มาประกอบพิธี โดยถวายผ้าใหม่ให้ครอง และถวายภัตตาหาร ครั้นเสร็จภัตกิจแล้วจึงได้เลือกพราหมณ์ ๘ คน จากพราหมณ์ทั้ง ๑๐๘ คนนั้น พราหมณ์ ๘ คนเหล่านี้คือ พราหมณ์ชื่อรามะ ชื่อธชะ ชื่อลักขณะ ชื่อสุชาติมันตี ชื่อโภชะ ชื่อสุยามะ ชื่อโกณฑัญญะ ชื่อสุทัตตะ ซึ่ง่พราหมณ์เหล่านี้ก็เป็นกลุ่มที่ได้ทำนายพระสุบินในวันที่ทรงประสูตินั่นเอง
ครั้นเมื่อพราหมณ์ทั้ง ๘ ได้ตรวจดูพระสรีระของพระมหาบุรุษแล้ว มีพราหมณ์ ๗ คน (อรรถกถาบางแห่งบอกว่า ๓ คน) ได้ทำนายออกเป็น ๒ แนว ว่า ถ้าอยู่ครองฆราวาสจักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ถ้าเสด็จออกทรงผนวช จะได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นศาสดาเอกในโลกส่วนโกณฑัญญมาณพ ซึ่งอายุน้อยที่สุดในหมู่พราหมณ์ทั้ง ๑๐๘ คนนั้นทำนายเป็นทางเดียว (อรรถกถาบางแห่งบอกว่า ๕ คน ทำนายเป็นทางเดียว ซึ่งทั้ง ๕ พราหมณ์นี้ก็คือปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ นั่นเอง) ว่าพระองค์จะเสด็จออกทรงผนวช แล้วจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นศาสดาเอกในโลกแน่นอน พวกพราหมณ์เหล่านั้น เมื่อกลับไปสู่เรือนของตัวเองแล้วก็ได้ปรารภกับบุตรทั้งหลายว่า ตัวพ่อนั้นอายุมากแล้ว คงจะไม่ได้อยู่ชมพระบารมีของพระโอรสของพระเจ้าสุทโธทนมหาราช ผู้จะบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ พวกเจ้าเมื่อพระกุมารทรงตรัสรู้แล้วเจ้าจงบวชในพระศาสนาของพระองค์เถิด
เอตทัคคะผู้เป็นรัตตัญญูรู้ราตรีนาน
เอตทัคคะผู้เป็นรัตตัญญูรู้ราตรีนาน
บุรพกรรมในสมัยพระปทุมุตตรพุทธเจ้า
ปลายแสนกัปแต่ภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าปทุมุตตระอุบัติขึ้นในโลก มีภิกษุแสนรูปเป็นบริวาร เสด็จเที่ยวภิกษาในคามนิคมและราชธานี เพื่อสงเคราะห์มหาชน เมื่อเสด็จถึงกรุงหังสวดี มหาราชาผู้เป็นพระพุทธบิดา ทรงทราบข่าวว่าพระศาสดานั้นเสด็จมา จึงได้เสด็จออกไปต้อนรับ พระศาสดาได้ตรัสธรรมกถา แด่พระพุทธบิดา จบเทศนาบางพวกเป็นพระโสดาบัน บางพวกเป็นพระสกทาคามี บางพวกเป็นพระอนาคามี บางพวกบรรลุพระอรหัต พระราชาทรงนิมนต์พระทศพล เพื่อเสวยภัตตาหารในวันพรุ่งนี้ ในวันรุ่งขึ้นทรงให้แจ้งเวลาภัตตาหาร ได้ถวายมหาทาน ในพระราชนิเวศน์ของพระองค์แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีภิกษุแสนรูปเป็นบริวาร พระศาสดาทรงกระทำภัตตานุโมทนาแล้วเสด็จไปพระวิหารตามเดิม โดยทำนองนั้นนั่นแล ได้ถวายทานตลอดกาลยืดยาวนาน คือ วันรุ่งขึ้นชาวเมืองถวาย วันรุ่งขึ้นต่อไปพระราชาถวาย
ครั้งนั้น พระอัญญาโกณฑัญญะเถระนี้บังเกิดในตระกูลคฤหบดีมหาศาล กรุงหังสวดี วันหนึ่งในเวลาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม เห็นชาวกรุงหังสวดี ต่างถือของหอมและดอกไม้เป็นต้น ไปยังที่แสดงธรรม จึงได้เดินตามไปพร้อมกับมหาชนนั้น เวลานั้นพระปทุมุตตระพุทธเจ้า ทรงสถาปนาภิกษุรูปหนึ่ง ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะผู้แทงตลอดธรรมก่อนในพระศาสนาของพระองค์ ท่านได้ทราบเหตุนั้นแล้ว จึงปรารถนาที่จะได้เป็นอย่างภิกษุนี้ ในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคตกาล เช่นนั้นบ้าง
ดังนั้นท่านจึงนิมนต์พระปทุมุตตระพุทธเจ้า พร้อมภิกษุ ๑๐๐,๐๐๐ รูปเป็นบริวาร และทำการถวายมหาทานอยู่ ๗ วัน แล้วท่านจึงหมอบลงแทบพระบาทของพระศาสดา แสดงความปรารถนาว่า ด้วยผลแห่งการถวายทานสักการะนี้ ข้าพระองค์ไม่ปรารถนาสมบัติอื่นใด เพียงแต่ในอนาคตกาล ขอข้าพระองค์พึงได้ตำแหน่งเอตทัคคะนั้น ในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคตกาล เหมือน ภิกษุที่พระองค์ทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่ง ในวันสุดท้าย ๗ วัน นับแต่วันนี้
พระศาสดาทรงตรวจดูอนาคตกาลด้วยพุทธญาณ ทรงเห็นว่าความปรารถนาของกุลบุตรนี้จักสำเร็จ จึงทรงพยากรณ์ว่ากุลบุตรผู้เจริญ ในที่สุดแห่งแสนกัปในอนาคต พระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม จักทรงอุบัติขึ้น ท่านจักดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล พร้อมด้วยพรหม ๑๘ โกฎิ เวลาจบพระธรรมจักกัปปวัตตนสูตร ด้วยการแสดงธรรมครั้งแรกของพระโคดมพุทธเจ้านั้นดังนี้
พระศาสดาครั้นทรงพยากรณ์กุลบุตรนั้นดังนี้แล้ว ทรงแสดงธรรม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แล้วปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ชนทั้งหลายได้สร้างเจดีย์ทองคำบรรจุพระสรีระของพระองค์ สูง ๗ โยชน์ เศรษฐีนั้นให้สร้างเครื่องประดับอันมีค่ามากล้อมเจดีย์บรรจุพระสรีระของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ในวันประดิษฐานพระเจดีย์ ให้สร้างเรือนแก้วภายในเจดีย์ เศรษฐีนั้นกระทำทานเป็นอันมากถึงแสนปี เมื่อสิ้นชีวิตแล้วแล้วบังเกิดในสวรรค์ วัฏฏะแห่งชีวิตวนอยู่ในภูมิเทวดา และมนุษย์ทั้งหลายนั่นเอง
ล่วงไป ๙๙,๙๐๙ กัป ในท้ายกัปที่ ๙๑ จากภัทรกัปนี้ กุลบุตรนี้บังเกิดในเรือนแห่งคฤหบดี ในรามคามใกล้ประตูกรุงพันธุมดี ได้นามว่า มหากาล ส่วนน้องชายของท่าน นามว่า จุลกาล
สมัยนั้น พระโพธิสัตว์พระนามว่า วิปัสสี จุติมาบังเกิดเป็นพระโอรสของพระเจ้าพันธุมะ กรุงพันธุมดี ตรัสรู้แล้วทรงแสดงธรรมแก่ ขัณฑะ ผู้เป็นพระอนุชาของพระองค์ และบุตรปุโรหิต ชื่อ ติสสะ ทั้งสองดำรงอยู่ในพระอรหัตผล พระศาสดาทรงสถาปนาพระขัณฑเถระไว้ในตำแหน่งพระอัครสาวกรูปที่ ๑ ทรงสถาปนาพระติสสะเถระไว้ในตำแหน่งอัครสาวกรูปที่ ๒
ฝ่ายพระราชา ทรงทราบเรื่องนั้นแล้ว จึงเสด็จไปสดับพระธรรมเทศนา ดำรงอยู่ในรัตนะ ๓ และทรงปรารถนาจะอุปัฏฐาก พระบรมศาสดา ผู้เป็นพระโอรส พร้อมหมู่พระภิกษุแต่ผู้เดียว ไม่ยอมให้ชนทั้งหลายได้มีโอกาสเช่นนั้นบ้าง จึงให้สร้างรั้วไม้ตะเคียนสองข้าง ตั้งแต่ซุ้มประตูพระวิหารจนถึงทวารพระราชวัง ให้ปิดล้อมด้วยผ้า แล้วนิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมหมู่ภิกษุเสด็จไปสู่พระราชมณเฑียร เพื่อกระทำภัตกิจ แล้วเสด็จกลับมายังวิหาร โดยทางเดิม มหาชนอื่น แม้จะดูก็ยังไม่ได้ดู แล้วไฉนจะได้ถวายภักษาหารและการบูชาเล่า ทรงกระทำเช่นนี้มาตลอด ๗ ปี ๗ เดือน
ชาวพระนครคิดว่าเมื่อพระศาสดาเสด็จอุบัติขึ้นในโลก เป็นเวลานานถึงเพียงนี้แล้ว ถึงวันนี้ พวกเราแม้เพียงปรารถนาจะเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ก็ยังไม่ได้เฝ้า จะป่วยกล่าวไปไย ถึงการที่จะได้ถวายภิกษา หรือกระทำการบูชา หรือฟังธรรมเล่า พระราชาทรงยึดถือว่า พระพุทธเจ้า และพระสงฆ์เป็นของพระองค์เองผู้เดียว ที่ถูกแล้ว พระศาสดาเมื่อเสด็จอุบัติ ก็อุบัติเพื่อประโยชน์แก่มหาชนทั้งหลาย มิใช่อุบัติเพื่อประโยชน์เฉพาะแก่พระราชาเท่านั้นไม่ เพราะฉะนั้น เราจะกราบทูลพระราชาเพื่อขอโอกาสกระทำบุญแด่พระศาสดาบ้าง ถ้าไม่ให้พวกเราก็จะรบกับพระราชา คิดดังนี้แล้วมหาชนจึงแต่งตัวแทนเข้าไปหาเสนาบดี แจ้งเรื่องนั้นแก่ท่าน เสนาบดีก็รับปากจะเข้าร่วมเป็นฝ่ายมหาชน โดยมีข้อแม้ว่า ต้องให้เสนาบดีมีโอกาสทำบุญกับพระศาสดาเป็นคนแรก ชาวพระนครก็รับคำ
เสนาบดีเข้าไปเฝ้าพระราชากราบทูลเรื่องนั้นให้ทรงทราบ พระราชาทรงเห็นว่า ชาวพระนครมีกำลัง ทั้งเสนาบดีก็เป็นฝ่ายของชาวพระนครเหล่านั้นเหมือนกัน จึงตรัสต่อรองว่า ขอเวลาให้ท่านได้ทำบุญกับพระศาสดากับหมู่พระสงฆ์อีก ๗ ปี ๗ เดือน ชาวพระนครไม่รับ พระราชาทรงให้ลดลงอย่างนี้คือ ๖ ปี ๕ ปี ชาวพระนครก็ไม่ยินยอม สุดท้ายจึงขออีก ๗ วัน ชาวพระนครก็ยินยอม
พระราชาทรงนำสิ่งที่เตรียมไว้ถวายพระพุทธองค์และหมู่ภิกษุ สำหรับระยะเวลา ๗ ปี ๗ เดือน มารวมกันเพื่อถวายใน ๗ วันเท่านั้น แล้วพระราชาถวายบังคม กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า บัดนี้ ข้าพระองค์อนุญาตให้ชาวพระนครได้ถวายทานแล้ว ตั้งแต่พรุ่งนี้ไป โปรดทรงอนุเคราะห์แก่ชาวพระนครเหล่านั้นเถิด
ครั้นในวันต่อมา เสนาบดีได้ถวายมหาทานตามสัญญา ต่อจากนั้น ชาวพระนครก็ได้เวียนกันกระทำสักการะพระพุทธองค์และหมู่พระสาวก เมื่อถึงลำดับของชาวพระนคร ทั่ว ๆ ไป ที่อยู่ใกล้ประตูพระนคร มหากาล จึงกล่าวกับ จุลกาลผู้น้องชายว่า วันพรุ่งนี้ ถึงคราเราได้โอกาสสักการะแด่พระทศพล เราจะทำสักการะ โดยนำข้าวสาลีที่มีอยู่ในนาของเรา ที่กำลังออกรวงอ่อน แล้วนำเอาข้าวอ่อนนั้นเอามาเคี่ยวเป็นน้ำนมจนข้นปรุงด้วยเนยใส น้ำผึ้ง และน้ำตาลกรวด ถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข จุลกาลผู้น้องไม่เห็นด้วยเพราะจะเป็นการทำลายข้าวที่กำลังตั้งท้องอยู่ให้เสียหาย
มหากาลจึงให้แบ่งที่นาออกเป็น ๒ ส่วนเท่า ๆ กัน และนำข้าวในส่วนของตนไปทำเป็นภัตตาหารตามที่ตนตั้งใจ แล้วถวายแด่พระบรมศาสดาและเหล่าพระภิกษุทั้งหลาย ในกาลเสร็จภัตกิจ เขาได้ทราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทานอันเลิศของข้าพระองค์นี้ จงเป็นไปเพื่อความแทงตลอดธรรมอันเลิศก่อนกว่าสาวกทั้งปวง” พระศาสดาตรัสว่า "จงเป็นอย่างนั้นเถิด" แล้วได้ทรงทำอนุโมทนา
ข้าวในนาส่วนที่ถูกนำมาเป็นภัตตาหารก็กลับมีขึ้นเต็มดังเดิม มหากาลผู้พี่ในเวลาต่อ ๆ มาก็ได้ทำทานเช่นนั้นเป็นระยะ ๆ รวม ๙ ครั้ง ในเวลาข้าวเม่า ได้ถวายส่วนเลิศในข้าวเม่า ได้ถวายข้าวกล้าอย่างเลิศพร้อมกับชาวบ้าน ในเวลาเกี่ยว ได้ถวายส่วนเลิศในข้าวเกี่ยว ในเวลาทำเขน็ด ก็ถวายส่วนเลิศในข้าวเขน็ด ในเวลามัดเป็น ฟ่อนเป็นต้น ก็ถวายส่วนเลิศในข้าวฟ่อน ได้ถวายส่วนเลิศในข้าวในลาน ในเวลานวดก็ถวายส่วนเลิศในข้าวนวด ในเวลาข้าวขึ้นยุ้งก็ถวายส่วนเลิศในข้าวขึ้นยุ้ง ได้ถวายทานตามคราว ๙ ครั้ง สำหรับข้าวกล้าอย่างเดียวเท่านั้น ดังกล่าวมาฉะนี้ ข้าวกล้าแม้นั้นก็คงยังตั้งขึ้นเหลือเฟือ
ท่านกระทำเช่นนั้นตลอดเวลาที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ และตราบเท่าที่พระสงฆ์ยังมีอยู่ ครั้นสิ้นชีพแล้ว ก็บังเกิดในเทวโลก ท่านท่องเที่ยวไปในเทวดาและ มนุษย์ เสวยสมบัติตลอด ๙๑ กัป
ในสมัยของพระสมณโคดมบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรานี้ ท่านเกิดในเวลาก่อนที่พระบรมศาสดาของเราจะทรงอุบัติขึ้นในโลก ในตระกูลพราหมณ์มหาศาล ในหมู่บ้านพราหมณ์โทณวัตถุ ไม่ไกลจากกรุงกบิลพัสดุ เมื่อเกิดแล้วพวกญาติตั้งชื่อท่านว่า โกณฑัญญมาณพ ครั้นเจริญวัยแล้วก็ได้เรียนไตรเพทจนจบ และรู้ลักษณะมนต์ทั้งหลาย (ตำราทายลักษณะ)
ครั้นเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะประสูติได้ ๕ วัน พระประยูรญาติก็ได้จัดพระราชพิธีเฉลิมพระนาม โดยได้เชิญพราหมณ์ ๑๐๘ คน มาประกอบพิธี โดยถวายผ้าใหม่ให้ครอง และถวายภัตตาหาร ครั้นเสร็จภัตกิจแล้วจึงได้เลือกพราหมณ์ ๘ คน จากพราหมณ์ทั้ง ๑๐๘ คนนั้น พราหมณ์ ๘ คนเหล่านี้คือ พราหมณ์ชื่อรามะ ชื่อธชะ ชื่อลักขณะ ชื่อสุชาติมันตี ชื่อโภชะ ชื่อสุยามะ ชื่อโกณฑัญญะ ชื่อสุทัตตะ ซึ่ง่พราหมณ์เหล่านี้ก็เป็นกลุ่มที่ได้ทำนายพระสุบินในวันที่ทรงประสูตินั่นเอง
ครั้นเมื่อพราหมณ์ทั้ง ๘ ได้ตรวจดูพระสรีระของพระมหาบุรุษแล้ว มีพราหมณ์ ๗ คน (อรรถกถาบางแห่งบอกว่า ๓ คน) ได้ทำนายออกเป็น ๒ แนว ว่า ถ้าอยู่ครองฆราวาสจักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ถ้าเสด็จออกทรงผนวช จะได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นศาสดาเอกในโลกส่วนโกณฑัญญมาณพ ซึ่งอายุน้อยที่สุดในหมู่พราหมณ์ทั้ง ๑๐๘ คนนั้นทำนายเป็นทางเดียว (อรรถกถาบางแห่งบอกว่า ๕ คน ทำนายเป็นทางเดียว ซึ่งทั้ง ๕ พราหมณ์นี้ก็คือปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ นั่นเอง) ว่าพระองค์จะเสด็จออกทรงผนวช แล้วจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นศาสดาเอกในโลกแน่นอน พวกพราหมณ์เหล่านั้น เมื่อกลับไปสู่เรือนของตัวเองแล้วก็ได้ปรารภกับบุตรทั้งหลายว่า ตัวพ่อนั้นอายุมากแล้ว คงจะไม่ได้อยู่ชมพระบารมีของพระโอรสของพระเจ้าสุทโธทนมหาราช ผู้จะบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ พวกเจ้าเมื่อพระกุมารทรงตรัสรู้แล้วเจ้าจงบวชในพระศาสนาของพระองค์เถิด