ผมเชื่อว่าทุนรัฐบาลญี่ปุ่น หรือที่เรียกสั้นว่าทุนมงนั้น คงเป็นทุนในฝันของคนที่อยากมาเรียนต่อที่ญี่ปุ่นหลายๆคน เพราะทุนมงนั้นครอบคลุมหลายสาขาวิชาและค่าใช้จ่ายหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นตั๋วเครื่องบินไปกลับ ค่าเทอม ค่ากินค่าอยู่ โดยไม่มีการกำหนดภาระผูกพันใดๆให้ผู้รับทุนแต่อย่างใด อีกทั้งยังสามารถขยายต่อไปจนถึงระดับปริญญาเอกได้ด้วย เมื่อมาที่ญี่ปุ่น ผู้รับทุนก็จะสามารถทุ่มเทให้กับการเรียนได้โดยไม่จำเป็นต้องสละเวลามาทำงานพาร์ทไทม์เพื่อหาเงินมาสนับสนุนการยังชีพในญี่ปุ่นแต่อย่างใด และยังสามารถใช้ชีวิตที่ญี่ปุ่นได้อย่างสุขสบายในระดับหนึ่งด้วย หากใครที่ขยันหน่อยก็สามารถเลือกทำงานพาร์ทไทม์ เพื่อเก็บเงินสำหรับนำไปใช้จ่ายในสิ่งที่ตังเองต้องการได้ มีเด็กทุนที่ผมรู้จักหลายคน มีเงินเก็บมากถึงขนาดไปทัวร์ยุโรปในช่วงปิดเทอมใหญ่ในแต่ละปีได้เลยทีเดียว บางคนก็เลือกใช้จ่ายที่นี่ญี่ปุ่นแบบประหยัด แล้วเก็บเงินก้อนโตมาตั้งตัวในไทยได้เลย
เนื่องจากทุนมงนั้นได้มายาก มีการแข่งขันกันสูง ผมเองในฐานะที่เป็นอดีตเด็กทุนมงคนหนึ่ง จึงมีเรื่องเตือนใจมาเล่าให้คนที่คิดจะสมัครทุนมงได้พิจารณากันครับ เมื่อได้ทุนมาแล้ว จะได้ไม่มารู้สึกเสียดายในภายหลังว่า เราใช้โอกาสอันหายากนี้ได้ไม่คุ้มเสียเลย
----------------------
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานั้น วงการการศึกษาญี่ปุ่นได้มีความพยายามให้มหาวิทยาลัยต่างๆของตัวเองมีความเป็นสากลมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาตัวเองไม่ให้แพ้มหาวิทยาลัยจากประเทศคู่แข่งอย่างจีน เกาหลีในทางหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นการหานักศึกษาชาวต่างชาติมาทดแทนนักศึกษาญี่ปุ่นที่ลดจำนวนลงเรื่อยๆ อันเป็นผลมาจากการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอีกด้วย
ด้วยเหตุนี้นี่เอง มหาวิทยาลัยชื่อดังหลายแห่งจึงจัดหลักสูตรพิเศษสำหรับนักศึกษาต่างชาติขึ้น โดยที่นักศึกษาสามารถเรียนเอาดีกรีปริญญาได้โดยที่การเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ ไม่จำเป็นต้องมีภุมิหลังด้านภาษาที่ญี่ปุ่นมาก่อนแต่อย่างใด ไม่เพียงแค่นั้น หลักสูตรบางหลักสูตรยังถูกออกแบบให้กระทัดรัด สามารถเรียนจบได้ภายในปีเดียวอีกเท่านั้น สำหรับหลายๆคน รวมทั้งผมแล้ว หลักสูตรอินเตอร์ปีเดียวนี้เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจมาก เพราะหลักสูตรนี้ ช่วยลดอุปสรรคด้านภาษาในการทำเขียนวิทยานิพนธ์ได้เป็นอย่างมาก และยังสามารถเรียนจบได้อย่างรวดเร็วอีกต่างหาก
ผมเองเคยเรียนโทใบแรกในไทยมาก่อน จากประสบการณ์ที่ผ่านมานัน หลักสูตรที่เรียนในไทยจัดได้ว่าเขี้ยวและเคี่ยว แค่เขียนวิทยานิพนธ์เป็นภาษาไทยก็ปวดหัวแทบตายแล้ว และกว่าจะจบมาได้ก็ใช้เวลากว่าครึ่งทศวรรษ ทั้งๆที่แรกเริ่มเดิมทีตั้งใจจะไปเรียนเพื่อให้เป็น stepping stone ไปเรียนต่อต่างประเทศเท่านั้น พอจบออกมา เพื่อนร่วมรุ่นปริญญาตรีที่ไปต่อนอก ก็จบโทใบที่สองกันไปแล้ว บางคนก็กลายเป็นดอกเตอร์ไปแล้ว ปมฝังใจนี้ จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผมเลือกรับทุนมงไปเรียนหลักสูตรอินเตอร์หนึ่งปีที่มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงพอสมควรแห่งหนึ่งในญี่ปุ่น
พอได้ไปเรียนแล้ว ต้องยอมรับว่าหลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรที่ดีเหมือนกัน ประสบการณ์ที่ได้จากการใช้ชีวิตนักเรียนนอก ไม่ผิดหวังเลย
อย่างไรก็ตาม ผมก็ได้บทเรียนราคาแพงบทหนึ่งมาด้วยว่า “ ถ้าคุณยังไม่ตั้งไว้อย่างแน่วแน่ จะกลับไปไทยหลังเรียนจบ อย่ารับทุนมงมาเรียนหลักสูตรอินเตอร์ปีเดียวจะดีกว่า ” ทั้งนี้เพราะ ระยะเวลาหนึ่งปีนั้นนานพอที่จะทำให้คุณชอบวิถีชีวิตในญี่ปุ่นได้ (ถ้าจริตคุณถูกกับชีวิตสไตล์นี้นะ) แต่ไม่นานพอที่จะให้โอกาสคุณในการลงหลักปักฐานในญี่ปุ่นได้ครับ
อย่างแรก การหางานที่ญี่ปุ่นนั้น พิธีรีตรองและขั้นตอนเยอะ จึงเกิดเป็นธรรมเนียมในหมู่นักศึกษาชาวญี่ปุ่นว่าจะต้องเริ่มหางานในช่วงหนึ่งปี ถึงหนึ่งปีครึ่งก่อนเรียนจบ สำหรับชาวต่างชาติที่มาเรียนหลักสูตรอินเตอร์หนึ่งปี (และไม่ใช่ฝรั่ง หรือคนที่มาจากประเทศ English Native Speaker )นั้น การเตรียมตัวเพื่อหางานในญี่ปุ่นนั้นแทบเป็นไปไม่ได้เลย นอกจากนี้ การสมัครงานทำในญี่ปุ่นส่วนใหญ่นั้น ใช้ภาษาญี่ปุ่นเป็นหลัก ดังนั้นคุณต้องมีทักษะภาษาญี่ปุ่นในระดับที่สูงมาก ถึงแม้จะมีบางที่ที่เปิดตำแหน่งงานเฉพาะนักศึกษาชาวต่างชาติขึ้นมา แต่กระบวนการคัดเลือกทั้งหลายแหล่ ก็เป็นภาษาญี่ปุ่นหมด ในด้านนี้เราก็จะสู้พวกเด็ก จีน เกาหลี หรือคนไทยที่อยู่มานานหลายปีไม่ได้ ขนาดผมเองตอนที่มาเรียนครั้งนี้ ก็ได้ภาษาญี่ปุ่นระดับ N2 มาแล้ว (ซึ่งเขาว่ากันว่าเป็นระดับที่เข้าไปทำงานในบริษัทญี่ปุ่นได้แล้ว) TOEFL iBT 100+ และเคยอยู่ญี่ปุ่นมาแล้วหนึ่งปี ก็ยังหางานได้ยากลำบากมาก
สำหรับคนที่ตั้งใจจะเรียนต่อปริญญาเอก ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุที่เรียนโทแล้วอยากเรียนต่อ หรือเพราะตั้งใจจะหาทางซื้อเวลาเพิ่มให้พัฒนาภาษาญี่ปุ่นจนใช้หางานทำได้ ก็ต้องบอกว่า ถึงคุณจะสามารถขอขยายทุนมงให้ไปถึงปริญญาเอกได้ก็จริง แต่ก็มีเงื่อนไขว่า คุณต้องสมัครให้ติดให้ได้ก่อนที่จะจบปริญญาโทเพื่อไม่ให้ทุนขาดช่วง ในกรณีของเด็กที่มาเรียนหลักสูตรอินเตอร์หนึ่งปี (อย่างน้อยที่สุดก็ในหลักสูตรที่ผมเรียนอยู่)นั้น การจะสมัครเรียนต่อปริญญาเอกให้ทัน ในขณะที่เรียนไปด้วยนั้นแทบเป็นไปไม่ได้เหมือนกัน ถ้าคุณไม่ได้เตรียมตัวมาสมัครเรียนปริญญาเอกไว้แล้วตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว (ซึ่งก็ยังยากอยู่ดี เพราะการเสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกนั้น มันไม่ใช่แค่การเสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์เรื่องที่สองเท่านั้นครับ มันต้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ๆขึ้นมามเลย )
ยกตัวอย่างเช่นในหลักสูตรที่ผมเรียนนั้น เริ่มเรียนตอนตุลาคม ซึ่งก็เป็นช่วงเวลาเดียวกันที่ทางหลักสูตรเปิดรับสมัครหลักสูตรปริญญาเอกไปด้วย ซึ่งในระหว่างเทอมแรกนั้น ผมจะต้องเรียน coursework เตรียมทำ proposal วิทยานิพนธ์ปริญญาโท และเตรียมสอบไปด้วย อย่างไรก็ตามในการสมัครหลักสูตร ปริญญาเอกนั้น ทางมหาวิทยาลัยจะกำหนดให้ผมขอจดหมาย recommend ฉบับใหม่จากคณบดีมหาวิทยาลัยสมัยทีเรียนอยู่ไทย และทำ study plan ปริญญาเอกจำนวนเป็นยีสิบกว่าหน้า โดย deadline การรับสมัครก็จะซ้อนทับอยู่ในช่วงเดียวของการสอบไฟนอลด้วย ทั้งนี้ทั้งนั้น ทางมหาวิทยาลัยก็ไม่ได้มีการเปิดรับสมัครปริญญาเอกใน track พิเศษสำหรับคนที่กำลังเรียนปริญญาโทอยู่ด้วย ผมก็เลยไม่สามารถสมัครได้ทัน
พอทุนมงขาดช่วงแล้ว การจะขอทุนมงรอบสองใหม่นั้นยากมากครับ เท่าที่สังเกตมาเงื่อนไชการขอรอบสองนั้นจะโหดขึ้นเรื่อยๆ ช่วงประมาณสองปีที่แล้ว หลักเกณฑ์ของทุนมงจะกำหนดไว้ว่า หากรับทุนมาแล้ว ต้องเว้นวรรคไปสามปี แต่พอมาดูหลักเกณฑ์ใหม่ตอนปีนี้ มีกฎเพิ่มขึ้นมาใหม่ว่า ต้องเดินทางกลับประเทศไปทำงานสายอาจารย์หรือสายวิจับเป็นเวลาสามปี นอกจากนี้ พอได้คุยกับอาจารย์บางท่านมา ก็ได้รับคำตอบว่าในทางปฏิบัติต่อให้เว้นช่วงไปก็ตาม เขาก็จะพิจารณาคนขอรอบแรกเป็นหลัก คนขอรอบสองไม่ค่อยมีโอกาสนัก
-------------------
ในเคสของผมนั้น หลังจากที่หางานมาไม่ได้เกือบตลอดทั้งปีจนเกือบสิ้นหวังแล้ว ก็มีเพื่อนแนะนำงานมาให้ทำที่บริษัทเล็กๆแห่งหนึ่ง งานตำแหน่งนี้เน้นใช้อังกฤษเป็นหลัก ภาษาญี่ปุ่นไม่ต้องเป๊ะมากก็ได้ และบริษัทก็สามารถสปอนเซอร์วีซ่าให้อยู่ทำงานต่อได้ แต่ตำแหน่งงานไม่ได้เป็นลูกจ้างประจำ แต่เป็นเพียงลูกจ้าง full time ต่อสัญญาเป็นรายปี เงินเดือนคิดตามชั่วโมงที่ทำงาน ชั่วโมงละหนึ่งพันเยน รวมๆแล้วก็เพียงประมาณแสนเจ็ดต่อเดือน (เท่าที่ทราบมาวุฒิเด็กจบตรีญี่ปุ่น โดยทั่วไปคือแสนแปด) หนึ่งสัปดาห์ได้หยุดสองวัน แต่ไม่ใช่เสาร์อาทิตย์ และไม่มีวันหยุดนักขัตฤกษ์ให้
ที่จริงผมก็รู้สึกว่าตำแหน่งงานมันเล็กไป และตัวเนื้องานก็ไม่ใช่สายที่ผมชอบ (งานสาย service) แต่ก็รู้ดีว่าถ้าไม่ทำที่นี่ จะมีโอกาสอื่นมาอีกเมื่อไร เวลาก็เหลือน้อยลงทุกทีๆ นอกจากนี้ ถ้าหากผมจะต่อปริญญาเอก การได้อยู่ญี่ปุ่นต่อ อย่างน้อยก็มีทุนจากองค์กรอื่นๆที่ไม่ใช่มงให้สมัครมากกว่าที่ไทย ผมเลยตกลงใจเลือกทำงานกับที่นี่ ไปก่อน โดยตั้งใจว่าระหว่างนี้จะหาทางสมัครปริญญาเอกและหาทุนที่ไม่ใช่มงไปด้วย (ในด้านหนึ่ง ผมเองก็สนใจอยากเป็นอาจารย์สอนหลักสูตรอินเตอร์ในมหาวิทยาลัยระดับกลางๆ ไม่ต้องดังมาก ที่ญี่ปุ่นเหมือนกัน )
อย่างไรก็ตาม พอเอาเข้าจริงๆแล้ว การขอทุนที่ไม่ใช่มงนั้น มันก็โหดเหมือนกันครับ เพราะกว่าจะได้ทุนมานั้น เราต้องเข้าเรียนโดยใช้ทุนตัวเองไปก่อนหนึ่งทอมเป็นอย่างต่ำ ซึ่งเมื่อดูจำนวนค่าเทอม ค่าแรกเข้า ค่าย้ายไปอยู่เมืองใหม่ (ในมหาวิทยาลัยที่อยากไปต่อเอก)แล้ว เราต้องมีเงินอยู่ในมือก่อนหกแสนถึงหนึ่งล้านเยนเป็นอย่างน้อย พอดูจากเงินเดือนที่ได้ บวกกับความตั้งใจของตัวเองที่จำกันเงินเดือนส่วนหนึ่งไว้ให้ทางบ้าน ก็ต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะเก็บถึงเป้า อายุปาเข้าไปเลขสามกลางๆแล้ว
ชีวิตการทำงานก็ไม่ได้มีความสุขนัก เพราะงานสาย service ไม่ใช่เรื่องที่ผมถนัด แต่ก็พยายามกัดฟันลุยไปเรื่อยๆ จนถึงสุดสัปดาห์ เป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ และจากจำนวนเงินเก็บที่กันมาได้แต่ละเดือน จะหาแฟนสาวญี่ปุ่นนี่คงต้องเลิกหวังไปก่อน
อีกเรื่องที่น่าแค้นใจก็คือ พอเริ่มทำงานที่นี่ไปได้สักเดือนสองเดือนแล้ว ก็มีคนรู้จักอีกรายสองราย มาเสนองานที่ตำแหน่งในบริษัทที่ใหญ่กว่า และเหมาะกับความชอบของผมมากกว่า แต่มันก็ช้าไปแล้ว นี่ก็เป็นข้อเสียอีกอย่างหนึ่งของคนเรียนหลักสูตรปีเดียว ที่มีเวลาพิจารณาเลือกตำแหน่งงานได้น้อยกว่าพวกที่เรียนสองปีขึ้นไปครับ
แผนการเท่าที่มีในปัจจุบันก็คือ พยายามหางานใหม่ในบริษัทที่ดีกว่า ที่ที่ทำอยู่ให้ได้ภายในหนึ่งปีครับ หรืออย่างแย่สุดก็ต้องให้บริษัทที่เราอยู่รับเราไปทำงานต่อเป็นปีที่สอง ประเมินจากปัจจัยส่วนตัวแล้ว โดยส่วนตัว ถึงงานจะหนักและปวดหัวอยู่ และชีวิตก็ไม่ได้สบายเหมือนตอนมาเรียนแลกเปล่ยนหรือเรียนปริญาโท แต่ผมก็ยังรู้สึกว่าตัวเองถูกชะตากับวิถีชีวิตที่นี่ดีครับ ถึงเงินเดือนจะอยู่ได้แบบเดือนชนเดือน แต่ก็ไม่ได้ถึงขึ้นแร้นแค้นอะไรครับ
โดยสรุปแล้ว จึงขอฝากทุกท่านที่ตั้งใจจะไปเรียนด้วยทุนมงครับว่า คิดให้ดีก่อนเลือกเรียนหลักสูตรอินเตอร์หนึ่งปีครับ จะได้ไม่มานั่งเสียดายแบบผม มีบางคนทื่เลือกมาเรียนหลักสูตรแบบนี้โดยไม่มีพื้นภาษามาก่อนเลย ตอนเรียนจบ อยากอยู่ต่อก็อยาก อยากกลับมาก็อยาก แต่ก็ทำอะไรมไ่ด้นอกจากกลับไปหางานที่ประเทศตัวเอง และกลับญี่ปุ่นมาได้ในฐานะนักท่องเที่ยวเท่านั้น
ส่วนท่านใดที่มีข้อแนะนำสำหรับยกระดับคุณภาพชีวิตที่เป็นอยู่ด้วย ก็จะเป็นพระคุณอย่างสูงครับ
ถ้าไม่อยากมานั่งเสียดายทีหลัง เลือกหลักสูตรให้ดีตอนสมัครทุนมง (MEXT)
เนื่องจากทุนมงนั้นได้มายาก มีการแข่งขันกันสูง ผมเองในฐานะที่เป็นอดีตเด็กทุนมงคนหนึ่ง จึงมีเรื่องเตือนใจมาเล่าให้คนที่คิดจะสมัครทุนมงได้พิจารณากันครับ เมื่อได้ทุนมาแล้ว จะได้ไม่มารู้สึกเสียดายในภายหลังว่า เราใช้โอกาสอันหายากนี้ได้ไม่คุ้มเสียเลย
----------------------
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานั้น วงการการศึกษาญี่ปุ่นได้มีความพยายามให้มหาวิทยาลัยต่างๆของตัวเองมีความเป็นสากลมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาตัวเองไม่ให้แพ้มหาวิทยาลัยจากประเทศคู่แข่งอย่างจีน เกาหลีในทางหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นการหานักศึกษาชาวต่างชาติมาทดแทนนักศึกษาญี่ปุ่นที่ลดจำนวนลงเรื่อยๆ อันเป็นผลมาจากการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอีกด้วย
ด้วยเหตุนี้นี่เอง มหาวิทยาลัยชื่อดังหลายแห่งจึงจัดหลักสูตรพิเศษสำหรับนักศึกษาต่างชาติขึ้น โดยที่นักศึกษาสามารถเรียนเอาดีกรีปริญญาได้โดยที่การเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ ไม่จำเป็นต้องมีภุมิหลังด้านภาษาที่ญี่ปุ่นมาก่อนแต่อย่างใด ไม่เพียงแค่นั้น หลักสูตรบางหลักสูตรยังถูกออกแบบให้กระทัดรัด สามารถเรียนจบได้ภายในปีเดียวอีกเท่านั้น สำหรับหลายๆคน รวมทั้งผมแล้ว หลักสูตรอินเตอร์ปีเดียวนี้เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจมาก เพราะหลักสูตรนี้ ช่วยลดอุปสรรคด้านภาษาในการทำเขียนวิทยานิพนธ์ได้เป็นอย่างมาก และยังสามารถเรียนจบได้อย่างรวดเร็วอีกต่างหาก
ผมเองเคยเรียนโทใบแรกในไทยมาก่อน จากประสบการณ์ที่ผ่านมานัน หลักสูตรที่เรียนในไทยจัดได้ว่าเขี้ยวและเคี่ยว แค่เขียนวิทยานิพนธ์เป็นภาษาไทยก็ปวดหัวแทบตายแล้ว และกว่าจะจบมาได้ก็ใช้เวลากว่าครึ่งทศวรรษ ทั้งๆที่แรกเริ่มเดิมทีตั้งใจจะไปเรียนเพื่อให้เป็น stepping stone ไปเรียนต่อต่างประเทศเท่านั้น พอจบออกมา เพื่อนร่วมรุ่นปริญญาตรีที่ไปต่อนอก ก็จบโทใบที่สองกันไปแล้ว บางคนก็กลายเป็นดอกเตอร์ไปแล้ว ปมฝังใจนี้ จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผมเลือกรับทุนมงไปเรียนหลักสูตรอินเตอร์หนึ่งปีที่มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงพอสมควรแห่งหนึ่งในญี่ปุ่น
พอได้ไปเรียนแล้ว ต้องยอมรับว่าหลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรที่ดีเหมือนกัน ประสบการณ์ที่ได้จากการใช้ชีวิตนักเรียนนอก ไม่ผิดหวังเลย
อย่างไรก็ตาม ผมก็ได้บทเรียนราคาแพงบทหนึ่งมาด้วยว่า “ ถ้าคุณยังไม่ตั้งไว้อย่างแน่วแน่ จะกลับไปไทยหลังเรียนจบ อย่ารับทุนมงมาเรียนหลักสูตรอินเตอร์ปีเดียวจะดีกว่า ” ทั้งนี้เพราะ ระยะเวลาหนึ่งปีนั้นนานพอที่จะทำให้คุณชอบวิถีชีวิตในญี่ปุ่นได้ (ถ้าจริตคุณถูกกับชีวิตสไตล์นี้นะ) แต่ไม่นานพอที่จะให้โอกาสคุณในการลงหลักปักฐานในญี่ปุ่นได้ครับ
อย่างแรก การหางานที่ญี่ปุ่นนั้น พิธีรีตรองและขั้นตอนเยอะ จึงเกิดเป็นธรรมเนียมในหมู่นักศึกษาชาวญี่ปุ่นว่าจะต้องเริ่มหางานในช่วงหนึ่งปี ถึงหนึ่งปีครึ่งก่อนเรียนจบ สำหรับชาวต่างชาติที่มาเรียนหลักสูตรอินเตอร์หนึ่งปี (และไม่ใช่ฝรั่ง หรือคนที่มาจากประเทศ English Native Speaker )นั้น การเตรียมตัวเพื่อหางานในญี่ปุ่นนั้นแทบเป็นไปไม่ได้เลย นอกจากนี้ การสมัครงานทำในญี่ปุ่นส่วนใหญ่นั้น ใช้ภาษาญี่ปุ่นเป็นหลัก ดังนั้นคุณต้องมีทักษะภาษาญี่ปุ่นในระดับที่สูงมาก ถึงแม้จะมีบางที่ที่เปิดตำแหน่งงานเฉพาะนักศึกษาชาวต่างชาติขึ้นมา แต่กระบวนการคัดเลือกทั้งหลายแหล่ ก็เป็นภาษาญี่ปุ่นหมด ในด้านนี้เราก็จะสู้พวกเด็ก จีน เกาหลี หรือคนไทยที่อยู่มานานหลายปีไม่ได้ ขนาดผมเองตอนที่มาเรียนครั้งนี้ ก็ได้ภาษาญี่ปุ่นระดับ N2 มาแล้ว (ซึ่งเขาว่ากันว่าเป็นระดับที่เข้าไปทำงานในบริษัทญี่ปุ่นได้แล้ว) TOEFL iBT 100+ และเคยอยู่ญี่ปุ่นมาแล้วหนึ่งปี ก็ยังหางานได้ยากลำบากมาก
สำหรับคนที่ตั้งใจจะเรียนต่อปริญญาเอก ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุที่เรียนโทแล้วอยากเรียนต่อ หรือเพราะตั้งใจจะหาทางซื้อเวลาเพิ่มให้พัฒนาภาษาญี่ปุ่นจนใช้หางานทำได้ ก็ต้องบอกว่า ถึงคุณจะสามารถขอขยายทุนมงให้ไปถึงปริญญาเอกได้ก็จริง แต่ก็มีเงื่อนไขว่า คุณต้องสมัครให้ติดให้ได้ก่อนที่จะจบปริญญาโทเพื่อไม่ให้ทุนขาดช่วง ในกรณีของเด็กที่มาเรียนหลักสูตรอินเตอร์หนึ่งปี (อย่างน้อยที่สุดก็ในหลักสูตรที่ผมเรียนอยู่)นั้น การจะสมัครเรียนต่อปริญญาเอกให้ทัน ในขณะที่เรียนไปด้วยนั้นแทบเป็นไปไม่ได้เหมือนกัน ถ้าคุณไม่ได้เตรียมตัวมาสมัครเรียนปริญญาเอกไว้แล้วตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว (ซึ่งก็ยังยากอยู่ดี เพราะการเสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกนั้น มันไม่ใช่แค่การเสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์เรื่องที่สองเท่านั้นครับ มันต้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ๆขึ้นมามเลย )
ยกตัวอย่างเช่นในหลักสูตรที่ผมเรียนนั้น เริ่มเรียนตอนตุลาคม ซึ่งก็เป็นช่วงเวลาเดียวกันที่ทางหลักสูตรเปิดรับสมัครหลักสูตรปริญญาเอกไปด้วย ซึ่งในระหว่างเทอมแรกนั้น ผมจะต้องเรียน coursework เตรียมทำ proposal วิทยานิพนธ์ปริญญาโท และเตรียมสอบไปด้วย อย่างไรก็ตามในการสมัครหลักสูตร ปริญญาเอกนั้น ทางมหาวิทยาลัยจะกำหนดให้ผมขอจดหมาย recommend ฉบับใหม่จากคณบดีมหาวิทยาลัยสมัยทีเรียนอยู่ไทย และทำ study plan ปริญญาเอกจำนวนเป็นยีสิบกว่าหน้า โดย deadline การรับสมัครก็จะซ้อนทับอยู่ในช่วงเดียวของการสอบไฟนอลด้วย ทั้งนี้ทั้งนั้น ทางมหาวิทยาลัยก็ไม่ได้มีการเปิดรับสมัครปริญญาเอกใน track พิเศษสำหรับคนที่กำลังเรียนปริญญาโทอยู่ด้วย ผมก็เลยไม่สามารถสมัครได้ทัน
พอทุนมงขาดช่วงแล้ว การจะขอทุนมงรอบสองใหม่นั้นยากมากครับ เท่าที่สังเกตมาเงื่อนไชการขอรอบสองนั้นจะโหดขึ้นเรื่อยๆ ช่วงประมาณสองปีที่แล้ว หลักเกณฑ์ของทุนมงจะกำหนดไว้ว่า หากรับทุนมาแล้ว ต้องเว้นวรรคไปสามปี แต่พอมาดูหลักเกณฑ์ใหม่ตอนปีนี้ มีกฎเพิ่มขึ้นมาใหม่ว่า ต้องเดินทางกลับประเทศไปทำงานสายอาจารย์หรือสายวิจับเป็นเวลาสามปี นอกจากนี้ พอได้คุยกับอาจารย์บางท่านมา ก็ได้รับคำตอบว่าในทางปฏิบัติต่อให้เว้นช่วงไปก็ตาม เขาก็จะพิจารณาคนขอรอบแรกเป็นหลัก คนขอรอบสองไม่ค่อยมีโอกาสนัก
-------------------
ในเคสของผมนั้น หลังจากที่หางานมาไม่ได้เกือบตลอดทั้งปีจนเกือบสิ้นหวังแล้ว ก็มีเพื่อนแนะนำงานมาให้ทำที่บริษัทเล็กๆแห่งหนึ่ง งานตำแหน่งนี้เน้นใช้อังกฤษเป็นหลัก ภาษาญี่ปุ่นไม่ต้องเป๊ะมากก็ได้ และบริษัทก็สามารถสปอนเซอร์วีซ่าให้อยู่ทำงานต่อได้ แต่ตำแหน่งงานไม่ได้เป็นลูกจ้างประจำ แต่เป็นเพียงลูกจ้าง full time ต่อสัญญาเป็นรายปี เงินเดือนคิดตามชั่วโมงที่ทำงาน ชั่วโมงละหนึ่งพันเยน รวมๆแล้วก็เพียงประมาณแสนเจ็ดต่อเดือน (เท่าที่ทราบมาวุฒิเด็กจบตรีญี่ปุ่น โดยทั่วไปคือแสนแปด) หนึ่งสัปดาห์ได้หยุดสองวัน แต่ไม่ใช่เสาร์อาทิตย์ และไม่มีวันหยุดนักขัตฤกษ์ให้
ที่จริงผมก็รู้สึกว่าตำแหน่งงานมันเล็กไป และตัวเนื้องานก็ไม่ใช่สายที่ผมชอบ (งานสาย service) แต่ก็รู้ดีว่าถ้าไม่ทำที่นี่ จะมีโอกาสอื่นมาอีกเมื่อไร เวลาก็เหลือน้อยลงทุกทีๆ นอกจากนี้ ถ้าหากผมจะต่อปริญญาเอก การได้อยู่ญี่ปุ่นต่อ อย่างน้อยก็มีทุนจากองค์กรอื่นๆที่ไม่ใช่มงให้สมัครมากกว่าที่ไทย ผมเลยตกลงใจเลือกทำงานกับที่นี่ ไปก่อน โดยตั้งใจว่าระหว่างนี้จะหาทางสมัครปริญญาเอกและหาทุนที่ไม่ใช่มงไปด้วย (ในด้านหนึ่ง ผมเองก็สนใจอยากเป็นอาจารย์สอนหลักสูตรอินเตอร์ในมหาวิทยาลัยระดับกลางๆ ไม่ต้องดังมาก ที่ญี่ปุ่นเหมือนกัน )
อย่างไรก็ตาม พอเอาเข้าจริงๆแล้ว การขอทุนที่ไม่ใช่มงนั้น มันก็โหดเหมือนกันครับ เพราะกว่าจะได้ทุนมานั้น เราต้องเข้าเรียนโดยใช้ทุนตัวเองไปก่อนหนึ่งทอมเป็นอย่างต่ำ ซึ่งเมื่อดูจำนวนค่าเทอม ค่าแรกเข้า ค่าย้ายไปอยู่เมืองใหม่ (ในมหาวิทยาลัยที่อยากไปต่อเอก)แล้ว เราต้องมีเงินอยู่ในมือก่อนหกแสนถึงหนึ่งล้านเยนเป็นอย่างน้อย พอดูจากเงินเดือนที่ได้ บวกกับความตั้งใจของตัวเองที่จำกันเงินเดือนส่วนหนึ่งไว้ให้ทางบ้าน ก็ต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะเก็บถึงเป้า อายุปาเข้าไปเลขสามกลางๆแล้ว
ชีวิตการทำงานก็ไม่ได้มีความสุขนัก เพราะงานสาย service ไม่ใช่เรื่องที่ผมถนัด แต่ก็พยายามกัดฟันลุยไปเรื่อยๆ จนถึงสุดสัปดาห์ เป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ และจากจำนวนเงินเก็บที่กันมาได้แต่ละเดือน จะหาแฟนสาวญี่ปุ่นนี่คงต้องเลิกหวังไปก่อน
อีกเรื่องที่น่าแค้นใจก็คือ พอเริ่มทำงานที่นี่ไปได้สักเดือนสองเดือนแล้ว ก็มีคนรู้จักอีกรายสองราย มาเสนองานที่ตำแหน่งในบริษัทที่ใหญ่กว่า และเหมาะกับความชอบของผมมากกว่า แต่มันก็ช้าไปแล้ว นี่ก็เป็นข้อเสียอีกอย่างหนึ่งของคนเรียนหลักสูตรปีเดียว ที่มีเวลาพิจารณาเลือกตำแหน่งงานได้น้อยกว่าพวกที่เรียนสองปีขึ้นไปครับ
แผนการเท่าที่มีในปัจจุบันก็คือ พยายามหางานใหม่ในบริษัทที่ดีกว่า ที่ที่ทำอยู่ให้ได้ภายในหนึ่งปีครับ หรืออย่างแย่สุดก็ต้องให้บริษัทที่เราอยู่รับเราไปทำงานต่อเป็นปีที่สอง ประเมินจากปัจจัยส่วนตัวแล้ว โดยส่วนตัว ถึงงานจะหนักและปวดหัวอยู่ และชีวิตก็ไม่ได้สบายเหมือนตอนมาเรียนแลกเปล่ยนหรือเรียนปริญาโท แต่ผมก็ยังรู้สึกว่าตัวเองถูกชะตากับวิถีชีวิตที่นี่ดีครับ ถึงเงินเดือนจะอยู่ได้แบบเดือนชนเดือน แต่ก็ไม่ได้ถึงขึ้นแร้นแค้นอะไรครับ
โดยสรุปแล้ว จึงขอฝากทุกท่านที่ตั้งใจจะไปเรียนด้วยทุนมงครับว่า คิดให้ดีก่อนเลือกเรียนหลักสูตรอินเตอร์หนึ่งปีครับ จะได้ไม่มานั่งเสียดายแบบผม มีบางคนทื่เลือกมาเรียนหลักสูตรแบบนี้โดยไม่มีพื้นภาษามาก่อนเลย ตอนเรียนจบ อยากอยู่ต่อก็อยาก อยากกลับมาก็อยาก แต่ก็ทำอะไรมไ่ด้นอกจากกลับไปหางานที่ประเทศตัวเอง และกลับญี่ปุ่นมาได้ในฐานะนักท่องเที่ยวเท่านั้น
ส่วนท่านใดที่มีข้อแนะนำสำหรับยกระดับคุณภาพชีวิตที่เป็นอยู่ด้วย ก็จะเป็นพระคุณอย่างสูงครับ