หนทางนักเขียนหน้าใหม่มันแสนยากเย็น

ผมเป็นนักเขียนหน้าใหม่คนหนึ่งที่คิดฝันว่าอยากจะเข้าวงการนักเขียน
และอยากจะมีหนังสือเป็นของตัวเองซักเล่ม ซึ่งผมคิดว่าเหมือนกับใครหลายๆคนที่กำลังอ่านกระทู้นี้อยู่
ผมเชื่อว่าผู้เขียนทุกคนคาดหวังกับงานของตัวเอง
และคิดว่างานของตนนั้นน่าสนใจและภูมิใจนำเสนอ
ให้สำนักพิมพ์ที่จะนำพางานเขียนของเขาเหล่านั้นให้เป็นที่รู้จัก
แต่ในความเป็นจริงแล้วมันเป็นคนละเรื่องกัน การทีาผลวานของนีกเขียนไร้ชื่อ
จะมาปรากฎอยู่บนแฝงหนังสือ แล้วกลายเป็นที่โด่งดังเพียงข้ามคืนนั้นมันยากยิ่งกว่าถูกหวยรางวัลที่หนึ่ง
ซึ่งผมจะมาแชร์ประสยการณ์จริงให้ทุกท่านที่เข้ามาอ่านได้รู้อละแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน

ผมเชื่อว่านักเขียนหน้าใหม่มีจิตนาการ แนวคิดเนื้อหางานเขียนที่ไม่ได้แพ้นักเขียนดังๆในท้องตลาด
แต่เขาเหล่านั้นขาดโอกาสในการนำเสนอเพื่อให้คนอื่นเข้าถึงงานของพวกเขา
ซึ่งก็เหมือนเรื่องจริงที่ถูกล้อเลียนว่าผลงานหลายเรื่องโด่งดังหลังจากที่ผู้เขียนนั้นลาโลกนี้ไปแล้ว
แม้ว่าตอนนี้คุณมีผลงานชิ้นเอกอยู่ในมือ ก้าวแรกหากคุณไม่มีทุนทรัพย์พอที่จะพิมพ์ออกมาและวางจำหน่ายเองแล้ว
ซึ่งแน่นอนใข้เงินไม่ต่ำกว่าหลักแสนบาทกว่าจะได้ผลงานให้คนอื่นเชยชม
และหากต้องการให้แพรหลายถึงกลุ่มผู้อ่านทั่วไป คุณจะต้องหมดเงินอีกเท่าไหร่ไปกับคำที่เรียกว่าการตลาด
แต่ถ้าคุณไม่มีเงินมากขนาดนั้นการวิ่งเข้าหาสำนักพิมพ์ที่มีชื่อเสียงจึงเป็นตัวเลือกกึ่งบังคับ
ที่นักเขียนหน้าใหม่อยากเราวิ่งหา
หลายสำนักพิมพ์ออกกฎระเบียบให้ส่งต้นฉบับเป็นกระดาษเท่านั้นซึ่งต้องส่งทางไปรษณีย์
แมัว่าจะมีสำนักพิมพ์หัวก้าวหน้าพิจารณางานเขียนจากอีเมลเพิ่มขึ้นมาบ้าง
แต่ระยะเวลาในการพิจารณาก็ล้วนแล้วแต่ยาวนานนับเดือน

ผนวกกับค่านิยมที่ว่าหากส่งสำนักพิมพ์ใดให้พิจารณาแล้วไม่ควรส่งผลงานนั้นให้สำนักพิมพ์อื่นพิจารณาอีก
จนกว่าสำนักพิมพ์ก่อนหน้าจะแจ้งผลการพิจารณา ซึ่งเวลาในการพิจารณาต้นฉบับส่วนใหญ่ยาวนาน2-3เดือนต่อผลงาน
ท่านผู้เขียนลองพิจารณาดูถ้าเราปฏิบัติดังนี้ ผลงานของเราผ่านการพิจารณาในสำนักพิมพ์ที่สาม
ผลงานนี้กว่าจะได้ตีพิมพ์จะต้องใช้เวลาร่วมปี ถ้าหากท่านจะยึดเป็นอาชีพใหม่ค่าต้นฉบับที่จะทำให้ท่านอยู่รอดได้1ปีคือเท่าใด
แต่ในความเป็นจริงค่าฉบับ หากแบ่งตามเปอร์เซนยอดขายผู้เขียนก็จะได้อย่างเก่งก็10-15%
หากคำนวนตามน้ี คุณมีค่าใช้จ่าย 2 หมื่นบาทต่อเดือน เวลารอผลงานตีพิมพ์ 12เดือนคือ
240,000 บาท นั่นหมายความว่าผลงานของคุณต้องมียอยจำหน่าย 1.6 ล้าน(คิดค่าต้นฉบับ ที่ 15% ของยอดขาย)
หรือถ้าขายผลงานเลืมละ 200 บาท คุณจะต้องขายถึง 8,000 เล่ม
ดูตัวเลขแล้วคุณอาจจะยังพอมีหวังเพราะหนังสือที่มียอดขายเกินล้านเล่มก็เห็นอยู่ทั่วๆไป
แต่ลองพิจารณาข้อมูลต่อ/ปดูครับ

เพียงประเด็นแรกคือระยะเวลาพิจารณาต้นฉบับก้ยาวนานพอแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการรอผลพิจารณาแล้วผลนั้นตอบว่า "ไม่ผ่าน"
คุณจะทำอย่าไร? สำหรับผมคำถามแรกคือ ทำไมถึงไม่ผ่าน?  เพราะการได้รู้ถึงจุดเด่นจุดด้อยของงานเขียนตนเป็นสิ่งจำเป็น
เพราะการพัฒนาต้องเริ่มจากการรู้ผลงานของตนในมุมมองของคนอื่น แต่สำนักพิมพ์ที่พิจารณางานเขียนน้อยที่จะระบุและให้เหตุผลหรือข้อบกพร่องของงาน
ทั้งๆที่ใช้เวลาในการพิจารณาร่วมเดือน (ใสตัวอย่างของผมสีงเรื่องสั้น4 หน้ากระดาษA4) ใชัเวลาพิจารณาเกือบ3เดือน มีเพียงผลตอบกลับมา
ว่า "ไม่ผ่าน" ผมเคยรัองให้ผู้พิจารณาใหัเหตุผล ซึ่งต้องใช้ดวลารอร่วมอีกกว่าสองเดือน ในที่สุดก็ได้คำตอบว่า การใช้ภาษาเห็นภาพๆมีชัด
ซึ่งเป็นคำวิจารณ์งานเขียนที่ขัดกับความรู้สึกและข้อเท็จจริงในงานเขียนอย่างสิ้นเชิง อีกนัยหนึ่งหมายความว่า ต้นฉบับของผม
ไม่ถูกหยิบขึ้นมาอ่านด้วยซ้ำแต่พอระยะเวลาทอดตัวมานานการใช้คำวิจารณ์กว้างถึงถูกใช้เพื่อปฏิเสธงานเขียนโดยที่ผู้ถูกพิพากษาไม่มีสิทธิโต้แย้ง

ผมขอให้กำลังใจนักเขียนหน้าใหม่ทุกท่านว่าอยีาพึ่งท้อ แม้ผมเคยโยนงานเขียนของตัวเองทิ้งขยะ
และหมดความเชื่อมั่นในงานของตนเองจากกาถูกสำนักพิมพ์ดังๆปฏิเสธโดยไรเหตุผล(ไม่ได้อ่าน)ก็ตาม
แต่โอกาสของผมก็มาถึงเมื่อสำนักพิมพ์แห่งหนึ่งยื่นข้อเสนอ ตีพิมพ์ให้ 3000เล่ม
โดยให้ค่าต้นฉบับแบบเหมาจ่าค่าลิขสิทธิ์3ปี  เป็นเงิน 1x,xxx. บาท (ต้นฉบับหนังสือ1xx. หน้า)เงินเท่านี้มันยังไม่เท่ากับเงินเดือนผมเสี้ยวเดือน
แต่มันดูเหมือนมากเกินความต้องการของผมด้วยซ้ำ สำนักพิมพ์ไดัจัดพิมพ์และทำรูปเล่มฝหัอย่างสวยงาม
แมัหนังสือจะถูกว่าขายในร้านค้าชั้นนำแต่เพียง2  อาทิตย์ผมก้แทบหาหนังสือของตัวเองไม่เจอะในชั้นวางขาย
ผ่านไปหนึ่งเดือน ยอดขายคือ 95เล่ม ท่านตาไม่ฝาดครับ 95 เล่ม ถามว่าทำไม
ผลงานไม่ดีหรือ? ซึ่งก้อาจจะใช่แต่มีเหตุผลหนึ่งทำให้นักเขียนที่เข้าข้างผลงานของตัวเองมีข้อสงสัยคือ
การวางจำหน่ายในร้านหนังสือมีการแบ่ง% กันมหาโหด40-60%จะตกอยู่ในมือของร้านขาย
และร้านขายชื่อดังก็จถมีสำนักพิมพ์ของตัวเอง การจะเอาหนังสือต่างสำหนักพิมพ์ไปวาง
หลายครั้งมันไปอยู่ในตำแหน่งที่ยากจะค้นเจอะ
เพื่อนๆลองไปสังเกตุดู หนังสือที่วางโชว์อยู่ด้านหน้าร้านและเขียนว่าขายดีนั้นมันเป็นของสำนักพิมพ์ไหน
ระยะเวลาในการวางจำหน่ายของสำนักพิมพ์เล็กๆ
ก็สั้นเพียงหนึ่งถึงสองอาทิตย์หนังสือใหม่ก็ถูกนำมาวางแทนที่
ส่วนที่ใหญ่ๆสามารถวางตำแหน่งดีๆได้เป็นเดือนๆจึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมจึงเป็นหนังสือขายดี
ผมเคยไปลองหาหนังสือของตัวเองอยู่เป็นช่วงโมงสุดท้ายพบอยู่ในชั้นล่างสุดโชว์แต่ขอบหนังสืออยู่สองเล่ม
ขนาดคนตั้งใจมาซื้อยังใช้เวลาเป็นชั่งโมงนี่ไม่ต้องพูดถึงคนที่ผ่านมาผ่านไปแล้วหยิบผลของเรา บางร้านขนาดผมไปถาม
หน้าเคาร์เตอร์กลับได้คำตอบว่าสินค้าหมด เพื่อนผมจึงเซวผมว่าหนังสือแกคือ rare item มันจะมีค่าเพราะมันหายากนี่หละ
มันจึงเป็นเรื่องปาฏิหารแล้วที่จำหน่ายได้ 95 เล่ม

หนังสือที่ขายไม่ออก  ร้านขายเขาก้ไม่ใหัเงินและส่งคืนหนังสือให้กับสำนักพิมพ์
มันจึงเป็นอีกเรืองที่ว่านังสือขายดีอาจไม่ใช่หนังสือดี หนังสือดีอาจไม่ใช่หนังสือขายดี
ที่เขียนแบบนี้ไม่ใช่ว่าหนังสือขายดีตอนนี้เป็นหนังสือไม่ดีไม่มีคุณภาพ
แต่จะให้กำลังใจนักเขียนหน้าใหม่ว่ายอดขายไม่ได้สะทัอนคุณภาพงานเขียน
หมวดของหนังสือที่เขียนก้มีผลต่อยอดขาย รายไดัส่วนใหญ่ของร้านขายหนังสือคือนวนิยาย
คนเขียนในหมวดอื่นๆจึงประสบความสำเร็จไดัน้อยแต่ไม่ใช่ว่าไมีมี

วงการสิ่งพิมพ์ช่วยกันพัฒนาการคัดสรรงานเขียนดูที่คุณภาพงานเขียนจริงๆ
มากกว่าชื่อผู้เขียนหรือสำนักพิมพ์เราก้จะได้อ่านงานเขียนดีๆจากคนไทยอีกมาก
แต่หากไม่แล้วการพึงพาสื่ออิเล็คทรอนิคเช่นนี้จะมาแทนที่หนังสือ จนหมดสิ้น
และวงการหนังสือจะล่มสลายในที่สุด

สุดท้ายนี้บทความด้านบนก้เป็นงานเขียนทีรอคนเข้ามาวิภาค วิจารณ์ และให้เหตุผลต่อเนื้อหา
เช่นเดียวกับงานเขียนอื่นๆและข้อผิดพลาดหนึ่งในนั้นที่ผู้เขียนรู้ตัวคือการพิมพ์ผิดๆถูกๆ
และการใชัภาษาที่ไม่สละสรวยแต่ก้น้อมรับคำวิจารณ์ทั้งหลายที่จะเกิดขึ้นตามมาเพื่อพัฒนาสู่สิ่งที่ดีกว่าต่อไปครับ
มาลัยคำ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่