งานเอกชน กับรัฐวิสาหกิจ อยู่จนเกษียร ทำไม รัฐวิสาหกิจ ดีกว่าเอกชน

ญาติเราทำโรงปูนใหญ่ ตั้งแต่หนุ่มยันแก่ เกษียรมาได้เงินก้อน 5ล้าน แต่ลูกๆยังอายุไม่ถึง30งานการก็เงินเดือนน้อย ยังเบียดเสียดเงินพ่ออยุ่ เพราะมีลูกแล้ว แฟนก็ไม่ค่อยรวยเท่าไหร่
ตอนนี้ร่อแร่ครับ เงินไม่ค่อยพอ แล้วตัวเองก็ไม่ได้มีธุรกิจส่วนตัว

กับอีกคนเกษียร รัฐวิสาหกิจ ได้เงินสหกรณ์มา แล้วยังมีบำนาญจนตายอีก

แบบนี้คนทำงานเอกชน ชีวิตคงต้องคิดหนัก กว่ารัฐวิสาหกิจ มากโข เลยไหมครับ ต้องวางแผนอย่างรัดกุมมากๆ

ถ้ามีทางเลือกทำไมคนสมัยใหม่ จบสถาบันดี มักเลือกเอกชน มากกว่า เพราะส่วนใหญ่สมองไหล ไปเอกชนมากกว่า
แก้ไขข้อความเมื่อ

สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 17
จริงๆต้องพูดให้ถูกว่า

รัฐวิสาหกิจดีกว่าเอกชนส่วนใหญ่ครับ

เพราะเอกชนมันกว้าง มันมีบที่เลว และบ.ที่ดี ต่างจากรัฐวิสาหกิจที่ไม่ต่างกันมาก

ประเด็นคือคุณมาพูดในนี้ ถ้ามีคนที่อยู่ในเอกชนเกรดดีกว่ารัฐวิสาหกิจมาค้านคนนึงคุณก็จบแล้ว เพราะอย่างที่บอกเอกชนมันกว้าง ความจริงรายได้ตำแหน่งต่อตำแหน่ง รัฐวิสาหกิจกับเอกชนไม่ต่างมากหรอกครับ เงินเดือนเริ่มต้นเท่าๆกัน (การไฟฟ้าจบใหม่วิศวะก็ 21000 มากกว่าเอกชนส่วนใหญ่ด้วยซ้ำ) ผู้บริหารก็เท่าๆกัน (อย่างการไฟฟ้านี่ผู้ว่าการเฉพาะเงินเดือน ก็กดๆ 200-300k++ ขึ้นไปนะครับ จะมีค่ารถค่าบอร์ดที่เราไม่รู้อีก) แต่ประเด็นคือ รัฐวิสาหกิจนั้นตำแหน่งมันช้ากว่า ในขณะที่เอกชนบางคน 30 บอกได้เป็นแสนนั้น เพราะ 30 เค้าเป็นผู้บริหารแล้ว 40 เค้าอาจเป็น CEO และ 45 เค้าก็อาจตกงาน (เพราะงานที่สามารถเป็นผู้บริหารได้เร็วนั้นแปลว่าการขึ้นตำแหน่งไม่ได้ดูอาวุโส ดังนั้นเมื่อไหร่คลื่นลูกใหม่มาแรง คลื่นลูกเก่าก็เตรียมออกได้เลย )

แต่รัฐวิสาหกิจ กว่าคุณจะเป็นผู้บริหาร ก็ 40-50 แล้ว กว่าจะเป็น CEO ผู้ว่าการก็เกือบๆ 60 ใกล้เกษียณ เพราะงานรัฐส่วนมาก มีอาวุโสมาเกี่ยว คนเก่ายังไม่เกษียณ คนใหม่ก็ขึ้นไม่ได้ ตำแหน่งมันจะขึ้นช้า  แต่เมื่อถึงตำแหน่งแล้วในความเป็นจริง ในระดับงานใกล้เคียงกัน เงินเดือนมันไม่ต่างหรอก เพียงแต่ในพันทิปที่คนส่วนใหญ่อายุไม่เกิน 40 เป็นหลัก คนที่ทำเอกชนหลายๆคน เค้าเริ่มเป็นหัวหน้างาน เป็นผู้บริหารแล้ว บางคนเป็น CEO ในขณะที่คนทำรัฐวิสาหกิจทั่วไปยังเป็นพนักงานทั่วๆไปอยู่ ดังนั้นถามเด็กๆ ส่วนมากเค้าก็บอกว่าเอกชนดีกว่า เพราะเค้าอยู่ในช่วงคนรุ่นใหม่ ที่มีโอกาสก้าวหน้า เปลี่ยนงานอับเงินเดือนกันสนุก สุขภาพร่างกายแข็งแรงทุ่มให้งานได้ 100% ครอบครัวยังไม่มี ทำ OT กันกระจาย แต่อย่างที่บอกแหละครับหันกลับกันถ้าไปถามคนอายุ 40+ (หรือคนแก่ๆ) ส่วนมากเค้าจะกลับมาเชียร์งานภาครัฐ เพราะพอถึงจุดนี้ คนทำรัฐวิสาหกิจ เงินเดือนเริ่มเข้าระดับบริหาร  เริ่มทันเอกชนหรือสูงกว่าเอกชน แต่ยังมั่นคงเต็มที่ แต่คนอยู่เอกชน เริ่มเก้าอี้ร้อน เพราะเริ่มอิ่มตัว เปลี่ยนงานก็ยาก ต้องเกาะเก้าอี้ให้แน่น เงินเดือนเริ่มมากกว่างานที่ทำได้ คนรุ่นใหม่ไฟแรงเงินเดือนน้อยกว่าแต่งานทำได้พอๆกันเริ่มจ่อเข้ามา บ.จะเลือกจ้างใคร ถึงจุดนี้ไฟก็รนก้น เริ่มตกงาน สุขภาพก็เริ่มไม่ค่อยดี ทีนี้พอกลับมามองเพื่อนที่ทำรัฐวิสาหกิจ(คนที่เคยเทียบตอนเด็กๆว่าเงินเดือนน้อยกว่าตัวเอง)ก็จะเริ่มเห็นความดี เพื่อนนั่งทำงานมั่นคงๆ แต่เงินเดือนเฉียดแสน ความเครียดต่างกันลิบลับ จึงได้แต่บอกลูกบอกหลานตัวเองให้มาทำงานรัฐ

ซึ่งทั้งนี้หน่ะผมไม่เถียงครับว่าเอกชนเกรด A จริงๆหน่ะมันอาจมีที่ดีกว่า คนที่ทำเอกชนได้ยาวๆมันก็มี เพียงแต่มันกี่คนครับ คือถ้าท่านมั่นใจว่าจะเป็น 1 ในนั้น มันก็ดีไปครับ แต่อย่าหลอกตัวเอง คนเราไม่ได้ถึงจุดผู้บริหารทุกคน มีคนเก่งเพราะมีคนไม่เก่ง ต้องคิดตรงนี้ด้วย

ส่วนเรื่อสวัสดิการพวกรักษาพยาบาล ผมอยากบอกว่าอย่าเทียบงานรัฐกับเอกชนเลยครับ ยังไงก็เทียบไม่ได้ ท่านอาจเถียงผมว่าบ.เกรด A มีประกันสุขภาพ บลาๆ ผมตอบท่านเลยว่าใช่ครับ ผมไม่เถียง ถ้าท่านหกล้ม เป็นไข้หวัด เจ็บนิดเจ็บหน่อยมันโอเคครับ เด็กๆท่านยังไม่ค่อยป่วยอยู่แล้ว ท่านไม่คิดหรอกครับ แต่ท่านลองรถชนหนักๆ เป็นอัมพฤกนอนโรงพยาบาล เป็นปีๆนะครับ ลองเป็นไตฟอกไตทุกเดือนนะครับ เป็นมะเร็งทำคีโมบ่อยๆ นะครับ ลองมีปัญหาสุขภาพเรื้อรัง (หัวใจ เบาหวาน ความดัน เครียด บลาๆ) ต้องหยุดงานไปหาหมอบ่อยๆนะครับ ผมอยากรู้เหมือนกันว่ากี่บ.จะเลี้ยงไว้ หรือกี่บ.ที่วงเงินประกันมันจะ Cover สิ่งเหล่านี้ (ท่านที่บอกทำประกันเองก็ได้หน่ะ ลองเจอโรคพวกนี้นะ ประกันขอยกเลิกสัญญากันไม่ทันทีเดียว) ตรงนี้ต่างหากครับที่ matter มันไม่ใช่ว่าแค่เค้ารักษาให้ แต่มันคือไม่ทิ้งกันยามเจ็บป่วยครับ
ความคิดเห็นที่ 13
ปรับมุมมองใหม่ครับ ไม่ว่าจะทำงานอะไรก็ตาม เป็นลูกจ้างรัฐ เอกชน รัฐวิสาหกิจ

หรืออาชีพอิสระ ค้าขาย เปิดบริษัทเอง ควรจะวางแผนทางการเงินสำหรับเกษียณ

ตั้งแต่เริ่มต้นทำงาน

อย่าใช้ชีวิตอย่างประมาทครับ ฝากไว้ให้คิดอีกแง่มุมหนึ่ง
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่