กฎ กติกา มารยาท ในการใช้บริการรถตู้สาธารณะ (ในกรุงเทพฯและปริมณฑล)

กระทู้สนทนา
กฎ กติกา มารยาท ในการใช้บริการรถตู้สาธารณะ (ในกรุงเทพฯและปริมณฑล)

1. เก้าอี้ตัวสุดท้าย ที่ผู้โดยสารจะนั่งได้คือ เก้าอี้ตัวที่อยู่ติดประตูทางเข้าออก แถวแรก (ที่พับพนักพิงและยกเลื่อนไปข้างหน้าได้) เท่านั้น (หมายความว่า ถ้ายังมีที่นั่งอื่นว่างอยู่ ห้ามผู้โดยสารนั่งบนที่นั่งตัวสุดท้ายนี้)
2. ผู้โดยสารที่นั่งบนเก้าอี้ตัวสุดท้าย จะต้องทำหน้าที่เปิด-ปิดประตูรถทุกครั้ง
3. ผู้โดยสารที่นั่งบนเก้าอี้ตัวสุดท้าย จะต้องลุกจากที่นั่งแล้วลงจากรถไปรอบนฟุตบาธ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้โดยสารที่จะลง โดยไม่มีข้อยกเว้น ไม่ว่าฝนจะตก แดดจะร้อน น้ำจะท่วม (แล้วปฏิบัติตามมารยาทข้อที่ 5)
4. ประชาชนที่รอจะขึ้นรถตู้ จะดูว่าถ้าเก้าอี้ตัวสุดท้ายมีผู้โดยสารใดๆ นั่งอยู่แล้ว จะเข้าใจตรงกันว่า รถตู้คันนั้น "เต็มแล้ว" (โดยไม่ต้องเสียเวลามองเข้าไปสำรวจดูภายในรถคันนั้นเลย)
5. ถ้ามีผู้โดยสารที่นั่งอยู่บนที่นั่งอื่น ที่ไม่ใช่บนเก้าอี้ตัวสุดท้าย ลงจากรถตู้ ผู้โดยสารที่นั่งอยู่บนเก้าอี้ตัวสุดท้ายจะต้องลุกขึ้น แล้วย้ายไปนั่งแทนที่ว่างทันที
6. ผู้โดยสารที่จะลง ณ จุดใด จะต้องแจ้งให้พนักงานขับรถรับทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 500 เมตร เพื่อที่พนักงานขับรถจะได้มีเวลาเปลี่ยนเลนได้อย่างสะดวก
7. ผู้โดยสารจะต้องเตรียมธนบัตรชนิดราคาต่ำกว่า 100 บาทไว้เป็นค่าโดยสารเสมอ
8.....

หมายเหตุ
เจ้าของกระทู้ก็ไม่เคยนั่งรถตู้สาธารณะ แต่ฟังมาจากคนที่นั่งประจำเขาเล่าให้ฟังแล้วนำมาประมวลเรียบเรียงเป็นข้อความอีกทีครับ แต่เจ้าของกระทู้ก็เคยนั่งรถตู้เหมือนกัน แต่เป็นรถตู้เช่าเหมาของบริษัท ที่รับส่งพนักงานไปทำงานตามโรงงาน หรือสถานที่ที่ไปติดต่องานครับ จึงสามารถจินตนาการแล้วนำมาเล่าสู่กันฟังได้ครับ ขอเพิ่มเติมอีกนิดว่า เรื่อง "เก้าอี้ตัวสุดท้าย" นี้ เป็นประเด็นที่ก่อให้เกิดการทะเลาะ หรือเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความไม่พอใจระหว่างผู้โดยสารด้วยกันเอง หรือระหว่างพนักงานขับรถกับผู้โดยสารครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่