เมื่อไหร่คนจะเลิกคิดว่าวิศวกรต้องทำทุกอย่างที่คนจบช่างทำได้และต้องทำได้ดีกว่าคนจบช่างด้วย

ผมเองก็เข้าใจว่าคนที่วิจารณ์มักไม่ใช่คนที่จบวิศวะมา จึงไม่รู้ว่าตลอด 4 ปีที่วิศวะเรียนกันมานั้นเสียเวลาไปกับการเรียนอะไรบ้าง
ซึ่งยอมรับว่าในสัปดาห์หนึ่งๆมีการเรียนภาคปฏิบัติไม่เกิน 6 ชม. และภาคปฏิบัติที่ว่ารูปแบบก็แทบไม่ซ้ำกันเลย สิ่งที่จะได้ใช้ซ้ำก็คืออุปกรณ์เครื่องมือวัด
สิ่งที่ต่างๆที่เรียนมาผมรู้สึกว่าเรียน 4 ปียังน้อยไปด้วยซ้ำ ฐานความรู้ที่ได้รับนั้นกว้างมากๆ ผมเองเข้าใจว่าเราเรียนให้พอรู้จัก เมื่อไปเจอเหตุการณ์ที่น่าจะใช้หลักการทฤษฎีนี้แก้ปัญหาก็จะได้นึกออกว่าต้องไปทบทวนเรื่องไหนมา
ผมไม่ได้หยิ่งว่าวิศวกรไม่ควรลดตัวลงไปทำงานของช่างนะครับ เรียนตามตรงว่าเราเคยสัมผัสงานที่ช่างทำมาบ้าง เพื่อที่จะเข้าใจถึงความยากง่ายของงานนั้นๆ แต่ไม่ได้ทำเป็นประจำ จึงไม่ชำนาญเท่า และหน้าที่ๆวิศวกรถนัดคือการมองภาพรวมของงานนั้นๆตั้งแต่ต้นจนจบออกว่าควรทำอย่างไรบ้างและเชื่อมระหว่างผู้ปฏิบัติงานภาคสนามกับภาคบริหาร เป็นที่ปรึกษาแก่ผู้จัดจ้างซึ่งอาจไม่ได้มีความรู้เรื่องงานที่จะทำเท่าวิศวกร ทุกๆสาขาอาชีพย่อมต้องมีระดับชั้นภาระงานต่างกัน ไม่งั้นอาชีพบนโลกนี้มันก็คงมีไม่เกินสิบอาชีพหรอกครับ ถ้าผู้บริหารต้องไปทำงานเสมียน นั่งรับโทรศัพท์ไปด้วยคิดแผนงานไปด้วย วิศวกรต้องไปยกของ โบกปูน หมอต้องไปเจาะเลือดคนไข้แล้ววิ่งมาตรวจต่อ มันก็ไม่ต่างจากการเอาเสมียนมาทำงานเป็นผู้บริหาร หรือเอาช่างมาออกแบบหม้อแปลงไฟ หรือคำนวณความแข็งแรงอาคาร เอานักเทคนิคการแพทย์มานั่งตรวจคนไข้ มันไม่ต่างกันเลยเพราะแต่ละคนมีงานที่ตัวเองถนัด
ใครไม่พอใจผมก็ขออภัยด้วยครับ แต่ไม่ได้มีเจตนาลบหลู่อาชีพใดทั้งสิ้น ถ้าจะแย้งอะไรก็เชิญได้ครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่