ขณะที่ใครๆ หันไปสนใจศึกในอิรัก ที่กองโจรคลั่งศาสนาไอเอสไอเอส กำลังล้างเผ่าพันธุ์ชุมชนที่ไม่ยอมเปลี่ยนศาสนา
จนสหรัฐต้องเริ่มปฏิบัติการทางอากาศถ่วงความกระหายเลือดของพลพรรคนักรบสุหนี่เอาไว้บ้าง
เหนือขึ้นไปไม่ไกล แนวรบที่สองของยุโรป ซึ่งเปิดฉากขึ้นเงียบเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม
และทำท่าจะพักยกไม่ถึงกับกลายเป็นสงครามใหญ่ด้วยฝีมือของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน
กระนั้นก็ตาม ความขัดแย้งระหว่างอาร์เมเนียกับอาเซอร์ไบจานยังคงไม่จบลงโดยง่าย
แต่รัสเซียกลับเป็นตาอยู่ที่คว้าประโยชน์ไปเพียงฝ่ายเดียว
ยุโรปปวดหัวกับกรณีความขัดแย้งใกล้ตัวอย่างยูเครนมาได้หลายเดือนแล้ว จนต้องบรรเทาปัญหาถึงขั้นต้องคว่ำบาตรธุรกรรมรัสเซียกันไป
งานนี้ยุโรปต้องอกสั่นขวัญแขวนอีก เพราะเสถียรภาพของอาเซอร์ไบจาน ศูนย์กลางขนส่งน้ำมันจากทะเลสาบแคสเปียนเข้ายุโรป
อาจลดลงเพราะสงครามที่อาจเกิดขึ้นกับอาร์เมเนียคู่แค้นเก่า ทั้งคู่มีปัญหากันมานานแล้ว พื้นฐานก็คือต่างศาสนากันแต่มาอยู่ใกล้กัน
ชาวอิสลามอาซารีนั้นพูดภาษาเติร์ก ขณะที่ชาวอาร์เมเนียนเป็นชาติคริสเตียนที่เก่าแก่ที่สุดในโลก
ชาวเติร์กเคยฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอาร์เมเนียมเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 ต่อมาอาเซอร์ไบจานกับอาร์เมเนียถูกผนวกรวมเข้ากับโซเวียตทั้งคู่
ศรศิล์ปยังไม่กินกัน ในยุคปลายโซเวียตทั้งคู่เปิดศึกแย่งชิงดินแดนนาเกอร์โนคาร์ราบัค ซึ่งเป็นของอาเซอร์ไบจานตามกฎหมาย
แต่ประชากรร้อยละ 95 เป็นชาวอาร์เมเนีย กองกำลังแบ่งแยกดินแดนของฝ่ายหลังยังยึดครองพื้นที่จนบัดนี้
ทั้งคู่ยังระหองระแหงกัน จนปลายเดือนที่แล้วมีการยิงปะทะกันที่พรมแดนหลายจุดทหารตายไปร่วม 20 นาย
หน่วยรบพิเศษอาร์เมเนียพยายามลอบวินาศกรรมหลังแนวในอาเซอร์ไบจาน ขณะที่ฝ่ายหลังเคลื่อนกองทัพเข้าประชิด
พร้อมเล็งขีปนาวุธกะบอมบ์ถึงเมืองหลวงอาร์เมเนียเลย ประธานาธิบดีอิลยัมอลิเยฟของอาเซอร์ไบจานถึงกับประกาศสถานะสงคราม
เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม ทันทีที่ประกาศชาติเติร์กทั้งตุรกีและเติร์กเมนิสถานต่างเตรียมตัวรับแรงกระแทกทันที
แต่รัสเซียโดยปูติน เร็วกว่าใคร ใช้พลังส่วนตัวบีบให้ทั้งประธานาธิบดีอาเซอร์ไบจานและอาร์เมเนียมาเจรจากันที่เมืองโซฉิ
ที่เพิ่งจัดโอลิมปิกฤดูหนาวเมื่อต้นปีนี้ ผลการเจรจาคือต้องเจรจาต่อไป แต่ปูตินได้หน้า
ในฐานะลูกพี่ใหญ่ของอดีตรัฐบริวารโซเวียตรัสเซียคงฐานทัพไว้ในอาร์เมเนียเพื่อใช้เป็นพื้นที่ต่อระยะระแวดระวังภัยหัวรุนแรงแถบคอร์เคซัส
การที่รัสเซียพยุงเศรษฐกิจประเทศที่ค่อนข้างยากจนนี้ไว้ตลอด ทำให้อาร์เมเนียเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่สนับสนุนการผนวกไครเมีย
อีกทั้งอาร์เมเนียยังพยายามจะเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเขตศุลกากรยูเรเชียที่รัสเซียเป็นร่มธงอยู่ แต่ขณะเดียวกันรัสเซียก็ละเลยอาเซอร์ไบจานไม่ได้
เพราะมีผลประโยชน์ด้านน้ำมันร่วมกันมหาศาล อีกทั้งรัฐบาลบากูที่รวยเละจากการสูบน้ำมันได้ทวีงบประมาณกองทัพกว่าเดิมหลายเท่าตัว
โดยเฉพาะการซื้อยุทโธปกรณ์จากรัสเซียพ่อค้ารายใหญ่ที่สุด ทำให้รัสเซียต้องเข้าเจรจาเอาความเคารพ จะได้ดึงอาเซอร์ไบจานให้ผูกพันกับตนมากขึ้น
ไม่น้อยไปกว่าที่ประเทศมุสลิมทันสมัยนี้ผูกพันกับตะวันตกมากเหลือเกิน
http://www.komchadluek.net/mobile/detail/20140818/190315.html
แนวรบที่สองของยุโรป : มองมุมยุทธศาสตร์ โดยเรือรบ เมืองมั่น
ขณะที่ใครๆ หันไปสนใจศึกในอิรัก ที่กองโจรคลั่งศาสนาไอเอสไอเอส กำลังล้างเผ่าพันธุ์ชุมชนที่ไม่ยอมเปลี่ยนศาสนา
จนสหรัฐต้องเริ่มปฏิบัติการทางอากาศถ่วงความกระหายเลือดของพลพรรคนักรบสุหนี่เอาไว้บ้าง
เหนือขึ้นไปไม่ไกล แนวรบที่สองของยุโรป ซึ่งเปิดฉากขึ้นเงียบเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม
และทำท่าจะพักยกไม่ถึงกับกลายเป็นสงครามใหญ่ด้วยฝีมือของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน
กระนั้นก็ตาม ความขัดแย้งระหว่างอาร์เมเนียกับอาเซอร์ไบจานยังคงไม่จบลงโดยง่าย
แต่รัสเซียกลับเป็นตาอยู่ที่คว้าประโยชน์ไปเพียงฝ่ายเดียว
ยุโรปปวดหัวกับกรณีความขัดแย้งใกล้ตัวอย่างยูเครนมาได้หลายเดือนแล้ว จนต้องบรรเทาปัญหาถึงขั้นต้องคว่ำบาตรธุรกรรมรัสเซียกันไป
งานนี้ยุโรปต้องอกสั่นขวัญแขวนอีก เพราะเสถียรภาพของอาเซอร์ไบจาน ศูนย์กลางขนส่งน้ำมันจากทะเลสาบแคสเปียนเข้ายุโรป
อาจลดลงเพราะสงครามที่อาจเกิดขึ้นกับอาร์เมเนียคู่แค้นเก่า ทั้งคู่มีปัญหากันมานานแล้ว พื้นฐานก็คือต่างศาสนากันแต่มาอยู่ใกล้กัน
ชาวอิสลามอาซารีนั้นพูดภาษาเติร์ก ขณะที่ชาวอาร์เมเนียนเป็นชาติคริสเตียนที่เก่าแก่ที่สุดในโลก
ชาวเติร์กเคยฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอาร์เมเนียมเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 ต่อมาอาเซอร์ไบจานกับอาร์เมเนียถูกผนวกรวมเข้ากับโซเวียตทั้งคู่
ศรศิล์ปยังไม่กินกัน ในยุคปลายโซเวียตทั้งคู่เปิดศึกแย่งชิงดินแดนนาเกอร์โนคาร์ราบัค ซึ่งเป็นของอาเซอร์ไบจานตามกฎหมาย
แต่ประชากรร้อยละ 95 เป็นชาวอาร์เมเนีย กองกำลังแบ่งแยกดินแดนของฝ่ายหลังยังยึดครองพื้นที่จนบัดนี้
ทั้งคู่ยังระหองระแหงกัน จนปลายเดือนที่แล้วมีการยิงปะทะกันที่พรมแดนหลายจุดทหารตายไปร่วม 20 นาย
หน่วยรบพิเศษอาร์เมเนียพยายามลอบวินาศกรรมหลังแนวในอาเซอร์ไบจาน ขณะที่ฝ่ายหลังเคลื่อนกองทัพเข้าประชิด
พร้อมเล็งขีปนาวุธกะบอมบ์ถึงเมืองหลวงอาร์เมเนียเลย ประธานาธิบดีอิลยัมอลิเยฟของอาเซอร์ไบจานถึงกับประกาศสถานะสงคราม
เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม ทันทีที่ประกาศชาติเติร์กทั้งตุรกีและเติร์กเมนิสถานต่างเตรียมตัวรับแรงกระแทกทันที
แต่รัสเซียโดยปูติน เร็วกว่าใคร ใช้พลังส่วนตัวบีบให้ทั้งประธานาธิบดีอาเซอร์ไบจานและอาร์เมเนียมาเจรจากันที่เมืองโซฉิ
ที่เพิ่งจัดโอลิมปิกฤดูหนาวเมื่อต้นปีนี้ ผลการเจรจาคือต้องเจรจาต่อไป แต่ปูตินได้หน้า
ในฐานะลูกพี่ใหญ่ของอดีตรัฐบริวารโซเวียตรัสเซียคงฐานทัพไว้ในอาร์เมเนียเพื่อใช้เป็นพื้นที่ต่อระยะระแวดระวังภัยหัวรุนแรงแถบคอร์เคซัส
การที่รัสเซียพยุงเศรษฐกิจประเทศที่ค่อนข้างยากจนนี้ไว้ตลอด ทำให้อาร์เมเนียเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่สนับสนุนการผนวกไครเมีย
อีกทั้งอาร์เมเนียยังพยายามจะเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเขตศุลกากรยูเรเชียที่รัสเซียเป็นร่มธงอยู่ แต่ขณะเดียวกันรัสเซียก็ละเลยอาเซอร์ไบจานไม่ได้
เพราะมีผลประโยชน์ด้านน้ำมันร่วมกันมหาศาล อีกทั้งรัฐบาลบากูที่รวยเละจากการสูบน้ำมันได้ทวีงบประมาณกองทัพกว่าเดิมหลายเท่าตัว
โดยเฉพาะการซื้อยุทโธปกรณ์จากรัสเซียพ่อค้ารายใหญ่ที่สุด ทำให้รัสเซียต้องเข้าเจรจาเอาความเคารพ จะได้ดึงอาเซอร์ไบจานให้ผูกพันกับตนมากขึ้น
ไม่น้อยไปกว่าที่ประเทศมุสลิมทันสมัยนี้ผูกพันกับตะวันตกมากเหลือเกิน
http://www.komchadluek.net/mobile/detail/20140818/190315.html