แฉคนบ้าเพิ่ม ล้น รพ.เร่ร่อนเกลื่อนเมือง!

กรมสุขภาพจิตเผยเมืองไทยคนบ้าเพิ่มขึ้นจนล้น รพ.โดยสถิติปีกลาย มีผู้ป่วยทางจิตมารักษาตัวใน รพ.รัฐ 3.4 แสนราย และอีกราว 1.7 แสนราย กระจายทั่วประเทศ รวมถึงผู้ป่วยที่กลายเป็นคนเร่ร่อน ขณะที่บุคลากรด้านจิตเวชมีน้อย ระบุแม้มี พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ป่วย แต่หากอาการไม่หนัก แพทย์มักสั่งยาให้กลับไปกินเอง ซึ่งน่าห่วงกลุ่มไม่มีญาติ ไม่มีที่พักเป็นหลักแหล่ง มีโอกาสกลับมาป่วยอีก สุดท้ายกลายเป็นวังวนเดิม เตรียมแก้ปัญหาให้ อสม.ช่วยดูแล แต่ทุกภาคส่วนต้องช่วยแก้ไขด้วย ด้านมูลนิธิกระจกเงา ลงพื้นที่ช่วยเหลือในเมืองกรุง พบผู้ป่วยทางจิตเร่ร่อนเพิ่มเดือนละ 10 ราย
ปัญหาคนสติไม่สมประกอบเดินเร่ร่อนไปตามที่ต่างๆสร้างความเดือดร้อนและหวาดกลัวแก่คนทั่วไป จนกลายเป็นปัญหาสังคมในขณะนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานเมื่อวันที่ 6 ก.ค. หลังได้รับการเปิดเผยจาก นายสิทธิพล ชูประจง หัวหน้าศูนย์ให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยข้างถนน มูลนิธิกระจกเงา ว่า เมื่อไม่นานนี้ได้รับแจ้งจากประชาชนพบเห็นหญิง อายุ 40-45 ปี มีอาการคลุ้มคลั่งอยู่บนสะพานลอยปากซอยรามคำ-แหง 105/1 เขตบางกะปิ กทม. จึงประสาน ร.ต.ท. สมพงษ์ หนูแสง รอง สวป.สน.หัวหมาก และมูลนิธิสยามร่วมใจปู่อินทร์ ลงพื้นที่ตรวจสอบให้การช่วยเหลือ นำตัวส่งสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา เพื่อบำบัดรักษาต่อไป
นายสิทธิพลกล่าวว่า ผู้ป่วยทางจิตเร่ร่อนเป็นปัญหาสังคมซ้ำซาก เพราะไม่มีระบบจัดการที่ดีพอ ผลักภาระหนักให้ครอบครัวผู้ป่วยจนดูแลไม่ไหว สุดท้ายผู้ป่วยทางจิตหายออกจากบ้าน มีทั้งแบบตั้งใจและไม่ตั้งใจให้หาย จนหลายพื้นที่มีผู้ป่วยทางจิตเร่ร่อนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกรุงเทพฯ นอนอยู่ตามถนน ใต้สะพานลอย และป้ายรถเมล์ ทั้งนี้มูลนิธิกระจกเงาได้รับแจ้งจากผู้หวังดีพบผู้ป่วยทางจิตตามจุดต่างๆในพื้นที่กรุงเทพฯทุกวัน ลงตรวจสอบมีเพิ่มเดือนละ 10 ราย เฉลี่ยอยู่ตามเขตพื้นที่ต่างๆไม่ต่ำกว่า 6 ราย มากที่สุดคือย่านจตุจักร บางกะปิ บางซื่อ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ สุขุมวิท ในพื้นที่มีตลาดสด เพื่อเป็นแหล่งหาอาหาร และอาศัยหลับนอน สิ่งสำคัญบุคคลเหล่านี้ต้องได้เข้าระบบรักษาเร่งด่วน เพราะผู้ป่วยข้างถนนบางคนมี พฤติกรรมก้าวร้าวคุกคามประชาชนทั่วไป ถือว่าเป็นเรื่องที่อันตราย
เมื่อสอบถามไปยังกรมสุขภาพจิตถึงการแก้ปัญหาผู้ป่วยทางจิตที่กลายมาเป็นคนเร่ร่อน ก็ได้รับคำตอบจาก พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต ว่าผู้ป่วยด้วยโรคทางจิตเวชเกิดได้ทั้งปัญหารุมเร้า ถูกทำร้ายรุนแรง ดื่มเหล้ามาก ใช้สารเสพติด และการป่วยทางกาย ขณะที่มีผู้ป่วยทางจิตเวชเร่ร่อนแบ่งเป็น 1.กลุ่มผู้ป่วยทางสมองเสื่อม 2.กลุ่มผู้ป่วยติดสุรา และ 3.กลุ่มผู้ป่วยทางจิตเรื้อรัง ออกจากบ้านขาดการดูแลรักษานาน จนมีอาการรุนแรง บางรายมีพฤติกรรมไม่เหมาะทาง เพศ หรือฟูมฟายโวยวาย แต่เฉพาะมีการกระตุ้นจากสิ่งรอบข้าง หรือบางครั้งประชาชนเกิดความกลัว เมื่อเห็นผู้ป่วยทางจิตตามถนน ป้ายรถเมล์ และมีปฏิกิริยาไม่ได้ตั้งใจแสดงออก ทำให้ผู้ป่วยเหล่านี้มีความรู้สึกต้องป้องกันตัว อาจมีปฏิกิริยาตอบโต้ได้ แต่ที่พบบ่อยวัยรุ่นคึกคะนองไปหยอกล้อเย้าแหย่ผู้ป่วย จนเกิดปฏิกิริยาตอบโต้อย่างรุนแรง และจะทำให้ผู้ป่วยเหล่านี้มีพฤติกรรมก้าวร้าว จึงไม่ควรไปกระตุ้นให้เขาเกิดอารมณ์
พญ.พรรณพิมลกล่าวอีกว่า กรมสุขภาพจิต มีการเก็บสถิติปี 2556 พบว่ามีผู้ป่วยจิตเวชเข้ารักษาในระบบสถานพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 340,000 ราย ซึ่งมียอดเพิ่มขึ้นปีละ 4 เปอร์เซ็นต์ และมีผู้ป่วยจิตเวชนอกระบบการรักษาสถานพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข อาทิ กลุ่มผู้ป่วยจิตเวชรักษาตัวตามโรงพยาบาลเอกชน กลุ่มที่ยังไม่มีการรักษาตัวในโรงพยาบาล และกลุ่มผู้ป่วยจิตเวชเร่ร่อน ประมาณ 170,000 ราย กระจายอยู่ทั่วประเทศ และผู้ป่วยจิตเวชเร่ร่อนที่ถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัวส่งโรงพยาบาลจิตเวชในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขเพิ่มขึ้น ส่งผลให้สถานพยาบาลผู้ป่วยจิตเวช 18 แห่งทั่วประเทศ คือ ภาคอีสาน 6 แห่ง ภาคกลาง 6 แห่ง ภาคเหนือ 3 แห่ง ภาคใต้ 2 แห่ง และภาคตะวันออก 1 แห่ง ที่มีผู้ป่วยเดิมมากอยู่แล้ว มีจำนวนล้นเกินรองรับได้ ขณะที่กรมสุขภาพจิตมีบุคลากร 3,000 กว่าคน พยาบาลวิชาชีพเฉพาะด้านสุขภาพจิตทั่วประเทศ 1,500 คน และจิตแพทย์ 750 คน ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุขพยายามกระจายสถานพยาบาลดูแลผู้ป่วยทางจิตลงสู่ชุมชน โดยใช้ อสม.เป็นหลักดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่อาการไม่รุนแรงพักรักษาตัวอยู่ที่บ้านเอง
รองอธิบดีกรมสุขภาพจิตกล่าวอีกว่า ผู้ป่วยทางจิตเร่ร่อนเป็นปัญหาที่ซ้ำซาก เพราะแม้ว่ามี พ.ร.บ.สุขภาพจิต พ.ศ.2551 คุ้มครองผู้ป่วย แต่ทางปฏิบัติกลับไม่เป็นไปตามนั้น เมื่อผู้ป่วยคลุ้มคลั่ง ตำรวจจะส่งตัวไปโรงพยาบาลและประเมินอาการ หากอาการไม่รุนแรงแพทย์จะจ่ายยาให้กลับไปรับประทานเอง แต่ด้วยผู้ป่วยเหล่านี้ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง สุดท้ายถูกปล่อยตัวกลับมาอยู่จุดเดิม หรือหากมีอาการรุนแรงต้องถูกส่งตัวไปยังโรงพยาบาลเฉพาะผู้ป่วยทางจิต เมื่อรักษาหายก็จะแจ้งให้ญาติมารับตัวกลับบ้านไปดูแลต่อไป แต่หากไม่มีญาติ ต้องถูกปล่อยตัวกลับมาอยู่ในวังวนเก่า เพราะเป็นผู้ป่วยที่ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ซึ่งกลุ่มนี้น่าห่วงที่สุด เพราะมีโอกาสขาดยา การรักษาไม่ต่อเนื่อง และไม่หายขาดมีโอกาสมาป่วยได้อีก ดังนั้นทุกภาคส่วนต้องช่วยกันแก้ไขในเรื่องนี้
http://www.thairath.co.th/content/434585
ข่าวนี้ บอกอะไร "กรมสุขภาพจิตเผยเมืองไทยคนบ้าเพิ่มขึ้นจนล้น รพ.โดยสถิติปีกลาย มีผู้ป่วยทางจิตมารักษาตัวใน รพ.รัฐ 3.4 แสน
กรมสุขภาพจิตเผยเมืองไทยคนบ้าเพิ่มขึ้นจนล้น รพ.โดยสถิติปีกลาย มีผู้ป่วยทางจิตมารักษาตัวใน รพ.รัฐ 3.4 แสนราย และอีกราว 1.7 แสนราย กระจายทั่วประเทศ รวมถึงผู้ป่วยที่กลายเป็นคนเร่ร่อน ขณะที่บุคลากรด้านจิตเวชมีน้อย ระบุแม้มี พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ป่วย แต่หากอาการไม่หนัก แพทย์มักสั่งยาให้กลับไปกินเอง ซึ่งน่าห่วงกลุ่มไม่มีญาติ ไม่มีที่พักเป็นหลักแหล่ง มีโอกาสกลับมาป่วยอีก สุดท้ายกลายเป็นวังวนเดิม เตรียมแก้ปัญหาให้ อสม.ช่วยดูแล แต่ทุกภาคส่วนต้องช่วยแก้ไขด้วย ด้านมูลนิธิกระจกเงา ลงพื้นที่ช่วยเหลือในเมืองกรุง พบผู้ป่วยทางจิตเร่ร่อนเพิ่มเดือนละ 10 ราย
ปัญหาคนสติไม่สมประกอบเดินเร่ร่อนไปตามที่ต่างๆสร้างความเดือดร้อนและหวาดกลัวแก่คนทั่วไป จนกลายเป็นปัญหาสังคมในขณะนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานเมื่อวันที่ 6 ก.ค. หลังได้รับการเปิดเผยจาก นายสิทธิพล ชูประจง หัวหน้าศูนย์ให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยข้างถนน มูลนิธิกระจกเงา ว่า เมื่อไม่นานนี้ได้รับแจ้งจากประชาชนพบเห็นหญิง อายุ 40-45 ปี มีอาการคลุ้มคลั่งอยู่บนสะพานลอยปากซอยรามคำ-แหง 105/1 เขตบางกะปิ กทม. จึงประสาน ร.ต.ท. สมพงษ์ หนูแสง รอง สวป.สน.หัวหมาก และมูลนิธิสยามร่วมใจปู่อินทร์ ลงพื้นที่ตรวจสอบให้การช่วยเหลือ นำตัวส่งสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา เพื่อบำบัดรักษาต่อไป
นายสิทธิพลกล่าวว่า ผู้ป่วยทางจิตเร่ร่อนเป็นปัญหาสังคมซ้ำซาก เพราะไม่มีระบบจัดการที่ดีพอ ผลักภาระหนักให้ครอบครัวผู้ป่วยจนดูแลไม่ไหว สุดท้ายผู้ป่วยทางจิตหายออกจากบ้าน มีทั้งแบบตั้งใจและไม่ตั้งใจให้หาย จนหลายพื้นที่มีผู้ป่วยทางจิตเร่ร่อนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกรุงเทพฯ นอนอยู่ตามถนน ใต้สะพานลอย และป้ายรถเมล์ ทั้งนี้มูลนิธิกระจกเงาได้รับแจ้งจากผู้หวังดีพบผู้ป่วยทางจิตตามจุดต่างๆในพื้นที่กรุงเทพฯทุกวัน ลงตรวจสอบมีเพิ่มเดือนละ 10 ราย เฉลี่ยอยู่ตามเขตพื้นที่ต่างๆไม่ต่ำกว่า 6 ราย มากที่สุดคือย่านจตุจักร บางกะปิ บางซื่อ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ สุขุมวิท ในพื้นที่มีตลาดสด เพื่อเป็นแหล่งหาอาหาร และอาศัยหลับนอน สิ่งสำคัญบุคคลเหล่านี้ต้องได้เข้าระบบรักษาเร่งด่วน เพราะผู้ป่วยข้างถนนบางคนมี พฤติกรรมก้าวร้าวคุกคามประชาชนทั่วไป ถือว่าเป็นเรื่องที่อันตราย
เมื่อสอบถามไปยังกรมสุขภาพจิตถึงการแก้ปัญหาผู้ป่วยทางจิตที่กลายมาเป็นคนเร่ร่อน ก็ได้รับคำตอบจาก พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต ว่าผู้ป่วยด้วยโรคทางจิตเวชเกิดได้ทั้งปัญหารุมเร้า ถูกทำร้ายรุนแรง ดื่มเหล้ามาก ใช้สารเสพติด และการป่วยทางกาย ขณะที่มีผู้ป่วยทางจิตเวชเร่ร่อนแบ่งเป็น 1.กลุ่มผู้ป่วยทางสมองเสื่อม 2.กลุ่มผู้ป่วยติดสุรา และ 3.กลุ่มผู้ป่วยทางจิตเรื้อรัง ออกจากบ้านขาดการดูแลรักษานาน จนมีอาการรุนแรง บางรายมีพฤติกรรมไม่เหมาะทาง เพศ หรือฟูมฟายโวยวาย แต่เฉพาะมีการกระตุ้นจากสิ่งรอบข้าง หรือบางครั้งประชาชนเกิดความกลัว เมื่อเห็นผู้ป่วยทางจิตตามถนน ป้ายรถเมล์ และมีปฏิกิริยาไม่ได้ตั้งใจแสดงออก ทำให้ผู้ป่วยเหล่านี้มีความรู้สึกต้องป้องกันตัว อาจมีปฏิกิริยาตอบโต้ได้ แต่ที่พบบ่อยวัยรุ่นคึกคะนองไปหยอกล้อเย้าแหย่ผู้ป่วย จนเกิดปฏิกิริยาตอบโต้อย่างรุนแรง และจะทำให้ผู้ป่วยเหล่านี้มีพฤติกรรมก้าวร้าว จึงไม่ควรไปกระตุ้นให้เขาเกิดอารมณ์
พญ.พรรณพิมลกล่าวอีกว่า กรมสุขภาพจิต มีการเก็บสถิติปี 2556 พบว่ามีผู้ป่วยจิตเวชเข้ารักษาในระบบสถานพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 340,000 ราย ซึ่งมียอดเพิ่มขึ้นปีละ 4 เปอร์เซ็นต์ และมีผู้ป่วยจิตเวชนอกระบบการรักษาสถานพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข อาทิ กลุ่มผู้ป่วยจิตเวชรักษาตัวตามโรงพยาบาลเอกชน กลุ่มที่ยังไม่มีการรักษาตัวในโรงพยาบาล และกลุ่มผู้ป่วยจิตเวชเร่ร่อน ประมาณ 170,000 ราย กระจายอยู่ทั่วประเทศ และผู้ป่วยจิตเวชเร่ร่อนที่ถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัวส่งโรงพยาบาลจิตเวชในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขเพิ่มขึ้น ส่งผลให้สถานพยาบาลผู้ป่วยจิตเวช 18 แห่งทั่วประเทศ คือ ภาคอีสาน 6 แห่ง ภาคกลาง 6 แห่ง ภาคเหนือ 3 แห่ง ภาคใต้ 2 แห่ง และภาคตะวันออก 1 แห่ง ที่มีผู้ป่วยเดิมมากอยู่แล้ว มีจำนวนล้นเกินรองรับได้ ขณะที่กรมสุขภาพจิตมีบุคลากร 3,000 กว่าคน พยาบาลวิชาชีพเฉพาะด้านสุขภาพจิตทั่วประเทศ 1,500 คน และจิตแพทย์ 750 คน ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุขพยายามกระจายสถานพยาบาลดูแลผู้ป่วยทางจิตลงสู่ชุมชน โดยใช้ อสม.เป็นหลักดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่อาการไม่รุนแรงพักรักษาตัวอยู่ที่บ้านเอง
รองอธิบดีกรมสุขภาพจิตกล่าวอีกว่า ผู้ป่วยทางจิตเร่ร่อนเป็นปัญหาที่ซ้ำซาก เพราะแม้ว่ามี พ.ร.บ.สุขภาพจิต พ.ศ.2551 คุ้มครองผู้ป่วย แต่ทางปฏิบัติกลับไม่เป็นไปตามนั้น เมื่อผู้ป่วยคลุ้มคลั่ง ตำรวจจะส่งตัวไปโรงพยาบาลและประเมินอาการ หากอาการไม่รุนแรงแพทย์จะจ่ายยาให้กลับไปรับประทานเอง แต่ด้วยผู้ป่วยเหล่านี้ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง สุดท้ายถูกปล่อยตัวกลับมาอยู่จุดเดิม หรือหากมีอาการรุนแรงต้องถูกส่งตัวไปยังโรงพยาบาลเฉพาะผู้ป่วยทางจิต เมื่อรักษาหายก็จะแจ้งให้ญาติมารับตัวกลับบ้านไปดูแลต่อไป แต่หากไม่มีญาติ ต้องถูกปล่อยตัวกลับมาอยู่ในวังวนเก่า เพราะเป็นผู้ป่วยที่ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ซึ่งกลุ่มนี้น่าห่วงที่สุด เพราะมีโอกาสขาดยา การรักษาไม่ต่อเนื่อง และไม่หายขาดมีโอกาสมาป่วยได้อีก ดังนั้นทุกภาคส่วนต้องช่วยกันแก้ไขในเรื่องนี้
http://www.thairath.co.th/content/434585