ชวนปั่นจักรยานรื่นรมย์ชมพระนคร ตอน “ราชธานีบูรีรมย์ ” ช่วงเย็น 31 พ.ค.นี้ ไม่มีค่าใช้จ่าย


กรุงเทพมหานคร และกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ ขอเชิญชวนประชาชน และผู้ที่สนใจร่วมกิจกรรมปั่นจักรยาน รับรู้พระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ อันมีคุณูปการต่อการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงบ้านเมือง
ผ่านเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ 5 เรื่องราว ใน 5 รัชสมัย กับกิจกรรมปั่นรื่นรมย์ชมพระนคร
ตอน “ราชธานีบูรีรมย์ ”
วันเสาร์ที่ 31 พฤษภาคม 2557
เวลา สี่โมงเย็น ถึงสองทุ่ม
ณ สวนสันติชัยปราการ และบริเวณพื้นที่ประวัติศาสตร์รอบกรุงรัตนโกสินทร์
------------------------------------------------
16.00 น. พร้อมกันที่ สวนสันติชัยปราการ ลงทะเบียน / เที่ยวชม “งานคืนความสุขให้คนไทย” ชม ดนตรี
การแสดงทางวัฒนธรรม อาหารการกิน ริมแม่น้ำเจ้าพระยา
17.30 – 20.00 น. ร่วมปั่นจักรยานไปยังสถานที่ที่เกิดเรื่องราวสำคัญทางประวัติศาสตร์ของกรุงรัตนโกสินทร์
อาทิ การเสด็จเลียบพระนครทางสถลมารค(ทางบก) ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ , การเสด็จนิวัติพระนครของพระพุทธเจ้าหลวงกับการพัฒนาความทันสมัย
, เงินถุงแดงรักษาเอกราชของพระมหาเจษฎาราชเจ้า, พระปรีชาญานด้านการปกครองตามภูมิภาคของพระมหาธีราชเจ้า และการอันเชิญพระพุทธรูปสำคัญเพื่อสร้างสัญลักษณ์ของการสืบเนื่องของอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ของพระปฐมบรมราชจักรีวงศ์
๒๐.๓๐ น. เดินทางกลับ เสาชิงช้าโดยสวัสดิภาพ
** กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม **
---------------------------------------------------------
ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม ที่ เฟสบุ๊ค Bangkok Bicycle Campaign
ที่ลิงค์ https://www.facebook.com/events/716174285107699/
โดยคลิกคำว่า “เข้าร่วม” โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
มีจักรยานให้ยืม จำนวน 40 คัน ไม่รับจองล่วงหน้า โดยมาลงทะเบียนยืมจักรยานที่หน้างาน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่คุณนฤชลฯ หมายเลขโทรศัพท์ 02 225 7612 ถึง 4 และ 086 411 1905
ในวัน และเวลาราชการ

ดำเนินงานโดย สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร ,เครือข่ายการท่องเที่ยวภาคประชาสังคม
** รับประกันคุณภาพโดยต่อและทีมงาน**



ภาพซุ้มเฉลิมพระเกียรติในงานฉลองนิวัติพระนคร ..
รัชกาลที่ ๕ เสด็จนิวัตพระนคร คราวเสด็จประพาสยุโรป ร.ศ. ๑๒๖ (พ.ศ. ๒๔๕๐) ซึ่งถือเป็นการเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ ๒ โดยครั้งแรกทรงประพาสเมื่อ ร.ศ. ๑๑๖ (พ.ศ. ๒๔๔๐) ในครั้งแรกนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อไปเจริญสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศในแถบยุโรปรวมทั้งเพื่อทอดพระเนตรวิธีการปกครองบ้านเมืองของอารยประเทศหาแบบอย่างมาจัดการทำนุบำรุงประเทศเป็นสำคัญ



พระบรมฉายาลักษณ์ของ ร.5 กับพระเจ้าซาร์นิโคลาสที่ 2 แห่งรัสเซีย กล่าวกันว่า ภาพนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สยามอยู่รอดปลอดภัย

เพราะการปรากฏภาพกษัตริย์สองพระองค์คู่กันนั้น แสดงถึงความสัมพันธ์ใกล้ชิดของสยามและรัสเซีย ชี้ให้ประเทศยุโรปทั้งหลายเห็นว่า สยามมีมหาอำนาจอย่างรัสเซียเป็นมิตร



กระบวนพยุหยาตราสถลมารคนั้น เป็นกระบวนที่พระมหากษัตริย์เสด็จพระราชดำเนินไปวัด เช่น เสด็จไปนมัสการพระพุทธบาท หรือเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐิน บางโอกาสเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร เพื่อโปรดเกล้าฯ ให้ประชาชนได้ชื่นชมพระบารมี

ในปี พ.ศ. 2506 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันก็ได้เสด็จฯ โดยกระบวนพยุหยาตรา (ใหญ่) สถลมารค จากพระบรมมหาราชวังไปทรงถวายเครื่องสักการะบูชาปูชนียวัตถุสำคัญที่วัดบวรนิเวศวิหารเนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครอบ 3 รอบ



เงินถุงแดง..
เป็นเงินที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงได้จากการค้าสำเภาส่วนพระองค์เมื่อครั้งยังทรงดำรงพระอิศริยยศ พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์

นอกจากจะถวายสมเด็จพระบรมชนกนาถใช้ในการแผ่นดินแล้ว ทรงเก็บหอมรอมริบเงินที่ได้จากการค้าส่วนพระองค์ไว้เป็นจำนวนมากโดยเก็บใส่ "ถุงผ้าสีแดง" ไว้ข้างพระแท่นที่บรรทม จึงเรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่า “เงินพระคลังข้างที่” คำว่า “พระคลังข้างที่” ทรงพระราชทานเป็นทุนสำรองให้แก่แผ่นดินสำหรับใช้ในยามบ้านเมืองอยู่ในภาวะคับขันในเวลาต่อมา

เงินในถุงแดงที่ทรงสะสมนี้ประมาณ 4 หมื่นชั่งเศษ โดยก่อนเสด็จสวรรคตได้มีพระดำรัสสั่งเสียมอบเงินถุงแดงนี้ไว้ใช้ไถ่บ้านไถ่เมือง แต่ได้ทรงขอไว้สำหรับปฏิสังขรณ์วัดวาอารามเสีย 1 หมื่นชั่ง ซึ่งภายหลังก็จริงดังพระราชดำรัส



“... เจ้านายตั้งแต่ลูกฉันเปนต้นไป ตลอดจนถึงราษฎรที่ต่ำสุด จะให้ได้มีโอกาสเล่าเรียนได้เสมอกัน ไม่ว่าเจ้าว่าขุนนางว่าไพร่
เพราะฉะนั้นจึ่งขอบอกได้ว่า การเล่าเรียนในบ้านเมืองเรานี้จะเปนข้อสำคัญที่หนึ่ง ซึ่งฉันจะอุส่าห์จัดให้เจริญขึ้นจงได้”

พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในงานของโรงเรียนราชกุมารในพระบรมมหาราชวัง
เมื่อพุทธศักราช ๒๔๒๗
(ภาพ คุณ Kob_1976)
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่