
รายงานพิเศษมติชนสุดสัปดาห์
เทคนิค ชั้นเชิงทางการเมือง ประการหนึ่ง ที่แม้จะเป็นลูกไม้เก่าๆ แต่ก็ใช้ได้ผลมาทุกยุคทุกสมัย...
ทั้งการที่ พล.อ.สายหยุด เกิดผล อดีต ผบ.สส. ในฐานะประธานคณะรัฐบุคคล ที่อาศัยโอกาสที่ ป๋าเปรม พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เชิญไปพบที่บ้านสี่เสาเทเวศร์ เมื่อ 25 เมษายนนั้น ก่อนออกมาให้ข่าวว่า ป๋าเปรมเห็นด้วยกับแนวทางของคณะรัฐบุคคล ในการพึ่งพระบารมีในหลวง และการขอนายกรัฐมนตรี มาตรา 7
ถึงขั้นที่ขอให้ พล.อ.สายหยุด ร่างพระบรมราชโองการ เพื่อให้ พล.อ.เปรม พิจารณา และนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อให้ในหลวงทรงมีพระราชวินิจฉัย ต่อการแก้ปัญหาชาติบ้านเมือง ก่อนที่จะเกิดสุญญากาศ
แต่ที่สุดแล้ว พล.อ.เปรม ต้องให้นายทหารคนสนิทโทรศัพท์ไปแจ้งว่า "คุณสายหยุด เข้าใจผิด"
เหตุเพราะ พล.อ.เปรม แค่เชิญ พล.อ.สายหยุด ไปพูดคุย ในฐานะมิตรเก่า เพื่อสอบถามว่า คณะรัฐบุคคล เป็นใครบ้าง มีแนวทางอย่างไร เพื่อรับฟังเท่านั้น ไม่ใช่การแสดงความเห็นด้วย
"ปกติป๋าท่านจะเป็นคนที่ชอบพยักหน้า ยิ้มรับ ซึ่งนั่นหมายถึง การได้ยิน ได้รับฟังแล้ว แต่ไม่ได้หมายถึง การเห็นด้วย" พล.ท.พิศณุ พุทธวงศ์ นายทหารคนสนิทป๋า แจง
โดยบทบาทหน้าที่ของ พล.อ.เปรม แล้ว ก็ไม่สามารถที่จะไปแสดงออก หรือแสดงความเห็นได้เช่นนั้น แต่แค่รับทราบข้อมูลเท่านั้น
เช่นเดียวกับกรณีที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เล่นบทพระเอก ที่แรกๆ ใครก็คิดว่าจะขี่ม้าขาวมาช่วยหาทางออก ด้วยวิธีการที่ทุกฝ่ายยอมรับได้ จึงเดินสายพูดคุยกับทุกฝ่าย โดยเฉพาะการขอเข้าพบ บิ๊กเจี๊ยบ พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ผบ.สส. เมื่อ 28 เมษายน
จนที่สุด ก็ได้ออกมาแถลงโรดแม็ป การแก้ไขปัญหาทางการเมือง 10 ขั้น ที่ถูกมองว่า ไม่แตกต่างจากแนวทางของ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ และ กปปส. ในการนำไปสู่การให้มีรัฐบาลคนกลาง และนายกรัฐมนตรีคนกลาง แลกกับการที่ตัวเขาเองจะเว้นวรรคทางการเมือง และพรรคประชาธิปัตย์ลงเลือกตั้ง
แนวทางของนายอภิสิทธิ์ นี้ถูกมองว่า ได้รับความเห็นชอบจากบรรดาผู้คนที่เขาเดินสายไปพบปะก่อนหน้านี้
อันส่งผลให้ถูกมองว่า พล.อ.ธนะศักดิ์ สนับสนุนแนวทางของนายอภิสิทธิ์ ด้วย เพราะใครๆ ก็ย่อมคิดว่า นายอภิสิทธิ์ คงจะได้พูดคุย หรือเล่าแนวทางให้ พล.อ.ธนะศักดิ์ รับทราบแล้ว ในการพูดคุยกันเกือบ 2 ชั่วโมง ที่กองบัญชาการกองทัพไทย
แม้ว่านายอภิสิทธิ์จะพูดคุยกับ พล.อ.ธนะศักดิ์ คนเดียว ไม่ได้มี ผบ.เหล่าทัพ ร่วมด้วย แต่ พล.อ.ธนะศักดิ์ ในฐานะ ผบ.สส. ก็ถูกมองว่าเป็นตัวแทนเชิงสัญลักษณ์ของ ผบ.เหล่าทัพ ด้วย
จึงไม่แปลกที่จะถูกมองว่า กองทัพหนุนแนวทางนี้ของนายอภิสิทธิ์ อีกทั้งในการแถลงทางออกประเทศนั้น นายอภิสิทธิ์ ก็ยังได้อ้างถึงการไปพบ ผบ.สส. มาก่อนอีกด้วย
แต่ที่สุดแล้ว พล.อ.ธนะศักดิ์ ก็ต้องออกมาตัดพ้อ ต่อกระแสเสียงวิจารณ์ที่ว่า เขาและกองทัพสนับสนุนการให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ และคณะรัฐมนตรี ลาออกหลังการเลือกตั้ง เพื่อเปิดทางให้มีรัฐบาลเฉพาะ นายกรัฐมนตรีคนกลาง เช่นที่นายอภิสิทธิ์เสนอ
"ผมเป็นคนที่ไม่เคยชี้แจง ตอบโต้ใครอยู่แล้ว ใครอยากคิดอะไร ก็คิดไป ใครจะเขียนอะไรก็เขียนไป ไม่มีใครเคยถามผมก่อนเลยว่า จริงหรือไม่ แล้วผมก็ไม่เคยไปตอบโต้" พล.อ.ธนะศักดิ์ พูดสั้นๆ กับเสียงวิจารณ์นี้
แต่ทว่า คนใกล้ชิด นั้นรู้หัวอกนายดีว่า ได้รู้ซึ้งถึงกลเกมทางการเมืองมากขึ้นจากครั้งนี้ เพราะไม่คาดคิดว่าการพบปะพูดคุยกับนายอภิสิทธิ์ในครั้งนั้น จะเป็นการเอาตัวเองและกองทัพไปการันตี สนับสนุนแนวทางและทุกคำพูดของนายอภิสิทธิ์ ไปโดยปริยาย
ด้วยเพราะใครๆ ก็คิดว่า นายอภิสิทธิ์ ย่อมต้องนำแนวทาง หรือแผน 9 ขั้น 10 ขั้นนี้ ขายไอเดียให้ พล.อ.ธนะศักดิ์ ฟังแล้ว
บางกระแส ถึงขั้นที่มองว่า แนวทางของนายอภิสิทธิ์นั้นเป็นแผนของ พล.อ.ธนะศักดิ์ ของกองทัพเองด้วยซ้ำ ที่ขายไอเดียผ่านนายอภิสิทธิ์
จึงไม่แปลก ที่ปฏิบัติการของนายอภิสิทธิ์ ครั้งนี้ จะถูกเรียกว่าเป็น "ปฏิวัติเงียบ" ไปด้วยนั่นเอง
เนื่องจากที่ผ่านมา ผบ.สส. และ ผบ.เหล่าทัพ ไม่อาจฝ่ากระแสประชาธิปไตย ไปกระซิบหรือกดดันให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ลาออกจากรักษาการนายกรัฐมนตรี ได้ แต่ทว่า มาใช้นายอภิสิทธิ์เป็นช่องทาง
"ที่ผ่านมา พล.อ.ธนะศักดิ์ ได้แสดงออกถึงการวางตัวเป็นกลางทางการเมือง และทำตามหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ มาตลอด แสดงออกถึงการเป็นทหารอาชีพ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง ปล่อยให้การเมืองแก้ด้วยการเมือง โดยกำหนดระยะห่างของตนเองกับการเมือง ได้ดีพอสมควร แต่ที่สุด เจตนาดี ก็ทำให้ถูกมองว่า เลือกข้างท่าน ท่านอาจรู้สึกน้อยใจ ที่ถูกเอาชื่อและเอาภาพกองทัพ ไปสนับสนุนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง" นายทหารผู้ใกล้ชิด ระบุ
บทเรียนครั้งนี้ ทำให้ พล.อ.ธนะศักดิ์ รู้จักนักการเมือง และกลเกมทางการเมืองมากขึ้น แบบที่นายทหารที่พยายามจะทำให้มิตรประเทศเห็นว่า กองทัพไทย เจริญแล้ว ยึดมั่นระบอบประชาธิปไตย ด้วยการอดทน ไม่รัฐประหาร ปล่อยให้การเมืองแก้ด้วยการเมือง มาตลอด ช่วงวิกฤติการเมือง นั้น ล่มสลาย
จะเห็นได้ว่า ในวันที่นายอภิสิทธิ์ไปพบที่ บก.กองทัพไทย นั้น พล.อ.ธนะศักดิ์ ได้มีแถลงการณ์ 3 ข้อ คือ กองทัพจะทำหน้าที่และบทบาทตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ และให้การเมืองแก้ด้วยการเมือง และสนับสนุนแนวทางการเจรจาของนายอภิสิทธิ์ แต่ทว่า ไม่ได้รวมถึงแนวทางที่นายอภิสิทธิ์เสนอในภายหลัง
กระนั้นก็ตาม ทั้งหมดถูกนำมาตีความรวมกันแล้วว่า พล.อ.ธนะศักดิ์ และกองทัพ เอาด้วยกับนายอภิสิทธิ์
จนทำให้ พล.อ.ธนะศักดิ์ ที่ปกติมักจะนิ่งเงียบต่อการถูกพาดพิง ต้องออกมาตัดพ้อ ผสมไม่พอใจ ที่ถูกตีความว่าเออออห่อหมกด้วยทุกอย่าง
แต่อย่างไรก็ตาม ใครๆ ก็เชื่อว่า นายอภิสิทธิ์ ต้องได้พูดแนวคิดต่างๆ ให้ พล.อ.ธนะศักดิ์ ฟังมาบ้างแล้ว แต่ พล.อ.ธนะศักดิ์ ก็คงแค่รับฟังและรับทราบเท่านั้น แต่ไม่ได้สนับสนุน
คล้ายๆ กับที่ พล.อ.เปรม ก็ต้องชี้แจงว่า แค่รับฟัง พล.อ.สายหยุด แห่งคณะรัฐบุคคล เท่านั้น ไม่ใช่เห็นด้วย
แต่ทว่า ทั้ง 2 กรณีนี้ ถูกมองอย่างมี "นัยสำคัญ" ว่า หาก พล.อ.เปรม ไม่คิดอะไร ก็คงจะไม่เชิญ พล.อ.สายหยุด เข้ามาพบแบบส่วนตัวที่บ้านสี่เสาเทเวศร์
อีกทั้ง พล.อ.สายหยุด ก็เป็นเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกัน ที่ย่อมต้องรู้จัก พล.อ.เปรม มาไม่น้อย ไม่น่าจะเข้าใจผิดว่า การพยักหน้า หรือยิ้มรับ ของ พล.อ.เปรม คือแค่การเข้าใจ และรับทราบ เท่านั้น
น่าจะมีคำพูดใดของ พล.อ.เปรม ที่ทำให้ พล.อ.สายหยุด เชื่อว่า สนับสนุน เห็นด้วยกับแนวทางของรัฐบุคคล ไม่ใช่แค่ท่าทาง หรือภาษากาย ที่อาจทำให้ตีความเข้าใจ
ส่วนปัจจัย อายุ และสภาพร่างกาย ของนายทหารแก่ วัย 94 กับ 92 ปีนั้น ที่อาจสื่อสารกันไม่เข้าใจ เพราะได้ยินบ้าง ไม่ได้ยินบ้าง นั้น อาจทำให้เข้าใจกันคลาดเคลื่อน
จนทำให้ พล.อ.เปรม ยังคงถูกมองอย่างต้องสงสัยว่า มีจุดยืนใดกันแน่ และเป็นไปได้หรือไม่ว่า พล.อ.เปรม ไม่คาดคิดว่า พล.อ.สายหยุด จะออกมาให้ข่าวเช่นนั้น ฝ่าย พล.อ.สายหยุด เองก็บอกว่า ได้แจ้ง พล.อ.เปรม ก่อนที่จะออกมาจากบ้านสี่เสาฯ ว่าจะให้ข่าว ซึ่ง พล.อ.เปรม ก็พยักหน้ารับ ที่ทำให้ พล.อ.สายหยุด ตีความว่า ไฟเขียว
เมื่อตกเป็นข่าวหน้าหนึ่ง ใหญ่โต เกิดเสียงวิจารณ์อย่างมาก พล.อ.เปรม และนายทหารคนสนิท จึงต้องออกมาชี้แจง และโยนไปที่ความเข้าใจผิดของ พล.อ.สายหยุด เอง
แต่ผลพวงของ พล.อ.สายหยุด ได้ส่งผลกระทบต่อ บิ๊กโบ้ พล.อ.อักษรา เกิดผล เสนาธิการทหารบก ผู้เป็นลูกชาย ไม่น้อย เนื่องจากฝ่ายที่ไม่พอใจ พล.อ.สายหยุด พยายามมาโจมตีลูกชาย โดยเฉพาะในโซเชียลเน็ตเวิร์ก
จนมีรายงานว่า ต้องมีการพูดคุยกับผู้เป็นบิดา ให้เข้าใจสถานการณ์บ้านเมืองในเวลานี้ เพราะเกรงว่า จะมีผู้ใช้ความหวังดีต่อชาติบ้านเมืองของ พล.อ.สายหยุด ไปใช้ประโยชน์ในทางการเมือง จึงอยากให้ลดบทบาทลง และใช้เวลาในบั้นปลายชีวิต พักผ่อน และเดินทางไปเยี่ยมลูกๆ หลานๆ ในต่างประเทศบ้าง
ในเมื่อทางออกของคณะรัฐบุคคล ในการพึ่งพระบารมี ถูกต่อต้าน อีกทั้งในพระราชพิธีฉัตรมงคล 5 พฤษภาคมที่ผ่านมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มิได้ทรงมีพระบรมราโชวาทใดๆ กับพสกนิกรชาวไทย แม้ว่าก่อนหน้านั้น 16 เมษายน พล.อ.เปรม จะได้เข้าเฝ้าฯ ที่พระตำหนักไกลกังวล มาแล้วก็ตาม
ในเมื่อทางออกต่างๆ ถูกปิดลง แม้แต่ทางออกที่นายอภิสิทธิ์เสนอ จึงทำให้ความหวังในการแก้ปัญหาริบหรี่ลง
จนท้ายที่สุด ใครๆ ก็เชื่อว่า จะต้องไปจบที่การปฏิวัติรัฐประหาร แบบที่ทุกฝ่ายยินยอมให้กระทำ เพราะไม่มีทางออกใดอีกแล้ว ทั้งๆ ที่ผู้นำกองทัพ โดยเฉพาะ บิ๊กตู่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. พยายามอดทน และหลีกเลี่ยงการรัฐประหาร มาตลอด เพราะรู้ว่า ไม่อาจแก้ปัญหาความแตกแยก และวิกฤติทางการเมืองในเวลานี้ได้
แม้แต่นายอภิสิทธิ์เองก็ยังระบุว่า การที่เขาเสนอทางออกประเทศ ก็เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดรัฐประหารขึ้น ที่เป็นการตอกย้ำว่า นายอภิสิทธิ์เองก็เชื่อว่า ที่สุดแล้ว สถานการณ์จะบีบให้กองทัพต้องรัฐประหาร
แน่นอนว่า ฝ่ายนายสุเทพ และ กปปส. นั้น ต้องการให้ทหารปฏิวัติ มาตั้งแต่แรก แต่ได้พยายามมาตลอดการชุมนุมหลายเดือน ไม่ว่าจะเกิดเหตุรุนแรงแค่ไหน กองทัพก็นิ่ง จนหมดมุขที่จะเล่น ส่งผลให้ พล.อ.ประยุทธ์ ถูกโจมตีอย่างหนัก และถูกกล่าวหาว่า เพราะความสนิทสนมกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์
ฝ่าย น.ส.ยิ่งลักษณ์ เอง ก็เคยพูดทีเล่นทีจริงให้ พล.อ.ประยุทธ์ ปฏิวัติมาหลายครั้ง แม้ว่าใจจริงจะกลัวการรัฐประหาร แต่มันก็เป็นทางออก ที่ทำให้เธอพ้นสภาพที่ต้องท่องคาถาประชาธิปไตย เป็นนายกรัฐมนตรีรักษาการต่อไป ท่ามกลางเสียงก่นด่า และความสูญเสีย ความรุนแรงที่เกิดขึ้น
จนทำให้ฝ่ายมวลชน กปปส. แก้เกี้ยวว่า แท้ที่จริงแล้ว หากทหารจะปฏิวัติ ก็จะเป็นการทำเพื่อรัฐบาลยิ่งลักษณ์ แบบที่เรียกว่า ปฏิวัติตัวเอง
แต่กองทัพ โดยเฉพาะ พล.อ.ประยุทธ์ ก็ท่องคาถาอดทน นิ่งได้มาตลอดหลายเดือน เพื่อให้การเมืองแก้ด้วยการเมือง ให้การเมืองหาทางออกกันเอง หลังจากที่ฝ่ายทหารพยายามช่วยมาตลอด โดยเฉพาะการเปิดโต๊ะเจรจาระหว่าง น.ส.ยิ่งลักษณ์ กับ นายสุเทพ แต่ก็ล้มเหลว จน ผบ.เหล่าทัพ ก็หมดมุขเสนอทางออกประเทศไปตามๆ กัน
ยิ่งบรรดาประชาชนที่เบื่อหน่ายกับทั้งรัฐบาล และ กปปส. และ นปช. แต่อยากให้บ้านเมืองสงบ ก็นึกถึงทหาร อยากให้ทหารปฏิวัติ
แต่มันไม่ง่ายอย่างที่คิด ไม่ง่ายเช่นการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เพราะไหนจะสังคมโลก ไหนจะสหรัฐอเมริกา และการต่อต้านจากคนเสื้อแดง ที่เตรียมกองกำลังไว้เต็มที่
ไม่แค่นั้น ฝ่ายคนเสื้อแดง ที่เกาะติดความเคลื่อนไหวของทหาร ก็หวาดระแวงการรัฐประหารอย่างมาก บางครั้งก็กลายเป็นการปล่อยกระแส ปล่อยข่าว เช่น การอ้าง ชนชั้นสูง กับบิ๊กทหารใน ทบ. และ ผบ.หน่วยคุมกำลัง วางแผนรัฐประหารบ้าง บิ๊กทหารเก่าแห่งบูรพาพยัคฆ์ จะรัฐประหารบ้าง
เพราะใน ทบ. รู้กันดีว่า หาก พล.อ.ประยุทธ์ ไม่ร่วมด้วย หรือไม่หลิ่วตาให้แล้ว ก็ไม่มีทางที่การรัฐประหารจะสำเร็จ ยกเว้น พล.อ.ประยุทธ์ ซึ่งจะเกษียณกันยายนนี้แล้ว ขยิบตาให้บิ๊กทหารคนอื่นบัญชาการปฏิวัติแทน ด้วยการกระซิบ หรือส่งสัญญาณให้ลูกน้องรับทราบก่อน แต่ก็เกิดขึ้นได้ยาก เพราะยังมี ผบ.เหล่าทัพคนอื่นๆ อีกด้วย
ที่สำคัญคือ เชื่อว่า หากมีการรัฐประหาร จะต้องมีการนองเลือด เพราะการต่อต้านจากคนเสื้อแดง
แต่นั่นก็ไม่ใช่อุปสรรคใหญ่ หากทหารตกลงใจจะปฏิวัติ ต่อให้แกนนำ นปช. และคนเสื้อแดง ประกาศที่จะต่อต้านการรัฐประหาร ในทุกรูปแบบก็ตาม แต่กองทัพก็ต้องเตรียมพร้อมสำหรับทุกอย่าง ที่ไม่ใช่แค่ แพลนเอ แพลนบี หรือซี เท่านั้น
"พล.อ.ประยุทธ์ และ ผบ.เหล่าทัพ ในชุดนี้ ไม่มีเจตนา หรือวางแผนที่จะก่อการรัฐประหารเลย ไม่มีใครอยากทำ ได้อดทนกันมาตลอด แต่ในเมื่อมันไม่มีทางออกใดๆ เลย ไม่ยอมกัน ในที่สุดแล้ว ถ้าไม่มีทางออกอื่น ก็ไม่มีใครรู้ว่า การปฏิวัติจะเกิดขึ้นหรือเปล่า แต่ยืนยันว่า ทุกอย่างจะเป็นไปตามสถานการณ์ สถานการณ์วันต่อวัน จะเป็นตัวตัดสิน ไม่มีใครอยากปฏิวัติ" ผบ.หน่วยคุมกำลัง คนหนึ่งกล่าว
เมื่อ ทางออก ทุกทางถูกปิด และเมื่อ การเมืองไทย มาถึง ทางตัน...
................
(ที่มา:มติชนสุดสัปดาห์ประจำวันที่ 9 - 15 พฤษภ
เมื่อ ทางออก ทุกทางถูกปิด และเมื่อ การเมืองไทย มาถึง ทางตัน...
รายงานพิเศษมติชนสุดสัปดาห์
เทคนิค ชั้นเชิงทางการเมือง ประการหนึ่ง ที่แม้จะเป็นลูกไม้เก่าๆ แต่ก็ใช้ได้ผลมาทุกยุคทุกสมัย...
ทั้งการที่ พล.อ.สายหยุด เกิดผล อดีต ผบ.สส. ในฐานะประธานคณะรัฐบุคคล ที่อาศัยโอกาสที่ ป๋าเปรม พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เชิญไปพบที่บ้านสี่เสาเทเวศร์ เมื่อ 25 เมษายนนั้น ก่อนออกมาให้ข่าวว่า ป๋าเปรมเห็นด้วยกับแนวทางของคณะรัฐบุคคล ในการพึ่งพระบารมีในหลวง และการขอนายกรัฐมนตรี มาตรา 7
ถึงขั้นที่ขอให้ พล.อ.สายหยุด ร่างพระบรมราชโองการ เพื่อให้ พล.อ.เปรม พิจารณา และนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อให้ในหลวงทรงมีพระราชวินิจฉัย ต่อการแก้ปัญหาชาติบ้านเมือง ก่อนที่จะเกิดสุญญากาศ
แต่ที่สุดแล้ว พล.อ.เปรม ต้องให้นายทหารคนสนิทโทรศัพท์ไปแจ้งว่า "คุณสายหยุด เข้าใจผิด"
เหตุเพราะ พล.อ.เปรม แค่เชิญ พล.อ.สายหยุด ไปพูดคุย ในฐานะมิตรเก่า เพื่อสอบถามว่า คณะรัฐบุคคล เป็นใครบ้าง มีแนวทางอย่างไร เพื่อรับฟังเท่านั้น ไม่ใช่การแสดงความเห็นด้วย
"ปกติป๋าท่านจะเป็นคนที่ชอบพยักหน้า ยิ้มรับ ซึ่งนั่นหมายถึง การได้ยิน ได้รับฟังแล้ว แต่ไม่ได้หมายถึง การเห็นด้วย" พล.ท.พิศณุ พุทธวงศ์ นายทหารคนสนิทป๋า แจง
โดยบทบาทหน้าที่ของ พล.อ.เปรม แล้ว ก็ไม่สามารถที่จะไปแสดงออก หรือแสดงความเห็นได้เช่นนั้น แต่แค่รับทราบข้อมูลเท่านั้น
เช่นเดียวกับกรณีที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เล่นบทพระเอก ที่แรกๆ ใครก็คิดว่าจะขี่ม้าขาวมาช่วยหาทางออก ด้วยวิธีการที่ทุกฝ่ายยอมรับได้ จึงเดินสายพูดคุยกับทุกฝ่าย โดยเฉพาะการขอเข้าพบ บิ๊กเจี๊ยบ พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ผบ.สส. เมื่อ 28 เมษายน
จนที่สุด ก็ได้ออกมาแถลงโรดแม็ป การแก้ไขปัญหาทางการเมือง 10 ขั้น ที่ถูกมองว่า ไม่แตกต่างจากแนวทางของ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ และ กปปส. ในการนำไปสู่การให้มีรัฐบาลคนกลาง และนายกรัฐมนตรีคนกลาง แลกกับการที่ตัวเขาเองจะเว้นวรรคทางการเมือง และพรรคประชาธิปัตย์ลงเลือกตั้ง
แนวทางของนายอภิสิทธิ์ นี้ถูกมองว่า ได้รับความเห็นชอบจากบรรดาผู้คนที่เขาเดินสายไปพบปะก่อนหน้านี้
อันส่งผลให้ถูกมองว่า พล.อ.ธนะศักดิ์ สนับสนุนแนวทางของนายอภิสิทธิ์ ด้วย เพราะใครๆ ก็ย่อมคิดว่า นายอภิสิทธิ์ คงจะได้พูดคุย หรือเล่าแนวทางให้ พล.อ.ธนะศักดิ์ รับทราบแล้ว ในการพูดคุยกันเกือบ 2 ชั่วโมง ที่กองบัญชาการกองทัพไทย
แม้ว่านายอภิสิทธิ์จะพูดคุยกับ พล.อ.ธนะศักดิ์ คนเดียว ไม่ได้มี ผบ.เหล่าทัพ ร่วมด้วย แต่ พล.อ.ธนะศักดิ์ ในฐานะ ผบ.สส. ก็ถูกมองว่าเป็นตัวแทนเชิงสัญลักษณ์ของ ผบ.เหล่าทัพ ด้วย
จึงไม่แปลกที่จะถูกมองว่า กองทัพหนุนแนวทางนี้ของนายอภิสิทธิ์ อีกทั้งในการแถลงทางออกประเทศนั้น นายอภิสิทธิ์ ก็ยังได้อ้างถึงการไปพบ ผบ.สส. มาก่อนอีกด้วย
แต่ที่สุดแล้ว พล.อ.ธนะศักดิ์ ก็ต้องออกมาตัดพ้อ ต่อกระแสเสียงวิจารณ์ที่ว่า เขาและกองทัพสนับสนุนการให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ และคณะรัฐมนตรี ลาออกหลังการเลือกตั้ง เพื่อเปิดทางให้มีรัฐบาลเฉพาะ นายกรัฐมนตรีคนกลาง เช่นที่นายอภิสิทธิ์เสนอ
"ผมเป็นคนที่ไม่เคยชี้แจง ตอบโต้ใครอยู่แล้ว ใครอยากคิดอะไร ก็คิดไป ใครจะเขียนอะไรก็เขียนไป ไม่มีใครเคยถามผมก่อนเลยว่า จริงหรือไม่ แล้วผมก็ไม่เคยไปตอบโต้" พล.อ.ธนะศักดิ์ พูดสั้นๆ กับเสียงวิจารณ์นี้
แต่ทว่า คนใกล้ชิด นั้นรู้หัวอกนายดีว่า ได้รู้ซึ้งถึงกลเกมทางการเมืองมากขึ้นจากครั้งนี้ เพราะไม่คาดคิดว่าการพบปะพูดคุยกับนายอภิสิทธิ์ในครั้งนั้น จะเป็นการเอาตัวเองและกองทัพไปการันตี สนับสนุนแนวทางและทุกคำพูดของนายอภิสิทธิ์ ไปโดยปริยาย
ด้วยเพราะใครๆ ก็คิดว่า นายอภิสิทธิ์ ย่อมต้องนำแนวทาง หรือแผน 9 ขั้น 10 ขั้นนี้ ขายไอเดียให้ พล.อ.ธนะศักดิ์ ฟังแล้ว
บางกระแส ถึงขั้นที่มองว่า แนวทางของนายอภิสิทธิ์นั้นเป็นแผนของ พล.อ.ธนะศักดิ์ ของกองทัพเองด้วยซ้ำ ที่ขายไอเดียผ่านนายอภิสิทธิ์
จึงไม่แปลก ที่ปฏิบัติการของนายอภิสิทธิ์ ครั้งนี้ จะถูกเรียกว่าเป็น "ปฏิวัติเงียบ" ไปด้วยนั่นเอง
เนื่องจากที่ผ่านมา ผบ.สส. และ ผบ.เหล่าทัพ ไม่อาจฝ่ากระแสประชาธิปไตย ไปกระซิบหรือกดดันให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ลาออกจากรักษาการนายกรัฐมนตรี ได้ แต่ทว่า มาใช้นายอภิสิทธิ์เป็นช่องทาง
"ที่ผ่านมา พล.อ.ธนะศักดิ์ ได้แสดงออกถึงการวางตัวเป็นกลางทางการเมือง และทำตามหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ มาตลอด แสดงออกถึงการเป็นทหารอาชีพ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง ปล่อยให้การเมืองแก้ด้วยการเมือง โดยกำหนดระยะห่างของตนเองกับการเมือง ได้ดีพอสมควร แต่ที่สุด เจตนาดี ก็ทำให้ถูกมองว่า เลือกข้างท่าน ท่านอาจรู้สึกน้อยใจ ที่ถูกเอาชื่อและเอาภาพกองทัพ ไปสนับสนุนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง" นายทหารผู้ใกล้ชิด ระบุ
บทเรียนครั้งนี้ ทำให้ พล.อ.ธนะศักดิ์ รู้จักนักการเมือง และกลเกมทางการเมืองมากขึ้น แบบที่นายทหารที่พยายามจะทำให้มิตรประเทศเห็นว่า กองทัพไทย เจริญแล้ว ยึดมั่นระบอบประชาธิปไตย ด้วยการอดทน ไม่รัฐประหาร ปล่อยให้การเมืองแก้ด้วยการเมือง มาตลอด ช่วงวิกฤติการเมือง นั้น ล่มสลาย
จะเห็นได้ว่า ในวันที่นายอภิสิทธิ์ไปพบที่ บก.กองทัพไทย นั้น พล.อ.ธนะศักดิ์ ได้มีแถลงการณ์ 3 ข้อ คือ กองทัพจะทำหน้าที่และบทบาทตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ และให้การเมืองแก้ด้วยการเมือง และสนับสนุนแนวทางการเจรจาของนายอภิสิทธิ์ แต่ทว่า ไม่ได้รวมถึงแนวทางที่นายอภิสิทธิ์เสนอในภายหลัง
กระนั้นก็ตาม ทั้งหมดถูกนำมาตีความรวมกันแล้วว่า พล.อ.ธนะศักดิ์ และกองทัพ เอาด้วยกับนายอภิสิทธิ์
จนทำให้ พล.อ.ธนะศักดิ์ ที่ปกติมักจะนิ่งเงียบต่อการถูกพาดพิง ต้องออกมาตัดพ้อ ผสมไม่พอใจ ที่ถูกตีความว่าเออออห่อหมกด้วยทุกอย่าง
แต่อย่างไรก็ตาม ใครๆ ก็เชื่อว่า นายอภิสิทธิ์ ต้องได้พูดแนวคิดต่างๆ ให้ พล.อ.ธนะศักดิ์ ฟังมาบ้างแล้ว แต่ พล.อ.ธนะศักดิ์ ก็คงแค่รับฟังและรับทราบเท่านั้น แต่ไม่ได้สนับสนุน
คล้ายๆ กับที่ พล.อ.เปรม ก็ต้องชี้แจงว่า แค่รับฟัง พล.อ.สายหยุด แห่งคณะรัฐบุคคล เท่านั้น ไม่ใช่เห็นด้วย
แต่ทว่า ทั้ง 2 กรณีนี้ ถูกมองอย่างมี "นัยสำคัญ" ว่า หาก พล.อ.เปรม ไม่คิดอะไร ก็คงจะไม่เชิญ พล.อ.สายหยุด เข้ามาพบแบบส่วนตัวที่บ้านสี่เสาเทเวศร์
อีกทั้ง พล.อ.สายหยุด ก็เป็นเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกัน ที่ย่อมต้องรู้จัก พล.อ.เปรม มาไม่น้อย ไม่น่าจะเข้าใจผิดว่า การพยักหน้า หรือยิ้มรับ ของ พล.อ.เปรม คือแค่การเข้าใจ และรับทราบ เท่านั้น
น่าจะมีคำพูดใดของ พล.อ.เปรม ที่ทำให้ พล.อ.สายหยุด เชื่อว่า สนับสนุน เห็นด้วยกับแนวทางของรัฐบุคคล ไม่ใช่แค่ท่าทาง หรือภาษากาย ที่อาจทำให้ตีความเข้าใจ
ส่วนปัจจัย อายุ และสภาพร่างกาย ของนายทหารแก่ วัย 94 กับ 92 ปีนั้น ที่อาจสื่อสารกันไม่เข้าใจ เพราะได้ยินบ้าง ไม่ได้ยินบ้าง นั้น อาจทำให้เข้าใจกันคลาดเคลื่อน
จนทำให้ พล.อ.เปรม ยังคงถูกมองอย่างต้องสงสัยว่า มีจุดยืนใดกันแน่ และเป็นไปได้หรือไม่ว่า พล.อ.เปรม ไม่คาดคิดว่า พล.อ.สายหยุด จะออกมาให้ข่าวเช่นนั้น ฝ่าย พล.อ.สายหยุด เองก็บอกว่า ได้แจ้ง พล.อ.เปรม ก่อนที่จะออกมาจากบ้านสี่เสาฯ ว่าจะให้ข่าว ซึ่ง พล.อ.เปรม ก็พยักหน้ารับ ที่ทำให้ พล.อ.สายหยุด ตีความว่า ไฟเขียว
เมื่อตกเป็นข่าวหน้าหนึ่ง ใหญ่โต เกิดเสียงวิจารณ์อย่างมาก พล.อ.เปรม และนายทหารคนสนิท จึงต้องออกมาชี้แจง และโยนไปที่ความเข้าใจผิดของ พล.อ.สายหยุด เอง
แต่ผลพวงของ พล.อ.สายหยุด ได้ส่งผลกระทบต่อ บิ๊กโบ้ พล.อ.อักษรา เกิดผล เสนาธิการทหารบก ผู้เป็นลูกชาย ไม่น้อย เนื่องจากฝ่ายที่ไม่พอใจ พล.อ.สายหยุด พยายามมาโจมตีลูกชาย โดยเฉพาะในโซเชียลเน็ตเวิร์ก
จนมีรายงานว่า ต้องมีการพูดคุยกับผู้เป็นบิดา ให้เข้าใจสถานการณ์บ้านเมืองในเวลานี้ เพราะเกรงว่า จะมีผู้ใช้ความหวังดีต่อชาติบ้านเมืองของ พล.อ.สายหยุด ไปใช้ประโยชน์ในทางการเมือง จึงอยากให้ลดบทบาทลง และใช้เวลาในบั้นปลายชีวิต พักผ่อน และเดินทางไปเยี่ยมลูกๆ หลานๆ ในต่างประเทศบ้าง
ในเมื่อทางออกของคณะรัฐบุคคล ในการพึ่งพระบารมี ถูกต่อต้าน อีกทั้งในพระราชพิธีฉัตรมงคล 5 พฤษภาคมที่ผ่านมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มิได้ทรงมีพระบรมราโชวาทใดๆ กับพสกนิกรชาวไทย แม้ว่าก่อนหน้านั้น 16 เมษายน พล.อ.เปรม จะได้เข้าเฝ้าฯ ที่พระตำหนักไกลกังวล มาแล้วก็ตาม
ในเมื่อทางออกต่างๆ ถูกปิดลง แม้แต่ทางออกที่นายอภิสิทธิ์เสนอ จึงทำให้ความหวังในการแก้ปัญหาริบหรี่ลง
จนท้ายที่สุด ใครๆ ก็เชื่อว่า จะต้องไปจบที่การปฏิวัติรัฐประหาร แบบที่ทุกฝ่ายยินยอมให้กระทำ เพราะไม่มีทางออกใดอีกแล้ว ทั้งๆ ที่ผู้นำกองทัพ โดยเฉพาะ บิ๊กตู่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. พยายามอดทน และหลีกเลี่ยงการรัฐประหาร มาตลอด เพราะรู้ว่า ไม่อาจแก้ปัญหาความแตกแยก และวิกฤติทางการเมืองในเวลานี้ได้
แม้แต่นายอภิสิทธิ์เองก็ยังระบุว่า การที่เขาเสนอทางออกประเทศ ก็เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดรัฐประหารขึ้น ที่เป็นการตอกย้ำว่า นายอภิสิทธิ์เองก็เชื่อว่า ที่สุดแล้ว สถานการณ์จะบีบให้กองทัพต้องรัฐประหาร
แน่นอนว่า ฝ่ายนายสุเทพ และ กปปส. นั้น ต้องการให้ทหารปฏิวัติ มาตั้งแต่แรก แต่ได้พยายามมาตลอดการชุมนุมหลายเดือน ไม่ว่าจะเกิดเหตุรุนแรงแค่ไหน กองทัพก็นิ่ง จนหมดมุขที่จะเล่น ส่งผลให้ พล.อ.ประยุทธ์ ถูกโจมตีอย่างหนัก และถูกกล่าวหาว่า เพราะความสนิทสนมกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์
ฝ่าย น.ส.ยิ่งลักษณ์ เอง ก็เคยพูดทีเล่นทีจริงให้ พล.อ.ประยุทธ์ ปฏิวัติมาหลายครั้ง แม้ว่าใจจริงจะกลัวการรัฐประหาร แต่มันก็เป็นทางออก ที่ทำให้เธอพ้นสภาพที่ต้องท่องคาถาประชาธิปไตย เป็นนายกรัฐมนตรีรักษาการต่อไป ท่ามกลางเสียงก่นด่า และความสูญเสีย ความรุนแรงที่เกิดขึ้น
จนทำให้ฝ่ายมวลชน กปปส. แก้เกี้ยวว่า แท้ที่จริงแล้ว หากทหารจะปฏิวัติ ก็จะเป็นการทำเพื่อรัฐบาลยิ่งลักษณ์ แบบที่เรียกว่า ปฏิวัติตัวเอง
แต่กองทัพ โดยเฉพาะ พล.อ.ประยุทธ์ ก็ท่องคาถาอดทน นิ่งได้มาตลอดหลายเดือน เพื่อให้การเมืองแก้ด้วยการเมือง ให้การเมืองหาทางออกกันเอง หลังจากที่ฝ่ายทหารพยายามช่วยมาตลอด โดยเฉพาะการเปิดโต๊ะเจรจาระหว่าง น.ส.ยิ่งลักษณ์ กับ นายสุเทพ แต่ก็ล้มเหลว จน ผบ.เหล่าทัพ ก็หมดมุขเสนอทางออกประเทศไปตามๆ กัน
ยิ่งบรรดาประชาชนที่เบื่อหน่ายกับทั้งรัฐบาล และ กปปส. และ นปช. แต่อยากให้บ้านเมืองสงบ ก็นึกถึงทหาร อยากให้ทหารปฏิวัติ
แต่มันไม่ง่ายอย่างที่คิด ไม่ง่ายเช่นการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เพราะไหนจะสังคมโลก ไหนจะสหรัฐอเมริกา และการต่อต้านจากคนเสื้อแดง ที่เตรียมกองกำลังไว้เต็มที่
ไม่แค่นั้น ฝ่ายคนเสื้อแดง ที่เกาะติดความเคลื่อนไหวของทหาร ก็หวาดระแวงการรัฐประหารอย่างมาก บางครั้งก็กลายเป็นการปล่อยกระแส ปล่อยข่าว เช่น การอ้าง ชนชั้นสูง กับบิ๊กทหารใน ทบ. และ ผบ.หน่วยคุมกำลัง วางแผนรัฐประหารบ้าง บิ๊กทหารเก่าแห่งบูรพาพยัคฆ์ จะรัฐประหารบ้าง
เพราะใน ทบ. รู้กันดีว่า หาก พล.อ.ประยุทธ์ ไม่ร่วมด้วย หรือไม่หลิ่วตาให้แล้ว ก็ไม่มีทางที่การรัฐประหารจะสำเร็จ ยกเว้น พล.อ.ประยุทธ์ ซึ่งจะเกษียณกันยายนนี้แล้ว ขยิบตาให้บิ๊กทหารคนอื่นบัญชาการปฏิวัติแทน ด้วยการกระซิบ หรือส่งสัญญาณให้ลูกน้องรับทราบก่อน แต่ก็เกิดขึ้นได้ยาก เพราะยังมี ผบ.เหล่าทัพคนอื่นๆ อีกด้วย
ที่สำคัญคือ เชื่อว่า หากมีการรัฐประหาร จะต้องมีการนองเลือด เพราะการต่อต้านจากคนเสื้อแดง
แต่นั่นก็ไม่ใช่อุปสรรคใหญ่ หากทหารตกลงใจจะปฏิวัติ ต่อให้แกนนำ นปช. และคนเสื้อแดง ประกาศที่จะต่อต้านการรัฐประหาร ในทุกรูปแบบก็ตาม แต่กองทัพก็ต้องเตรียมพร้อมสำหรับทุกอย่าง ที่ไม่ใช่แค่ แพลนเอ แพลนบี หรือซี เท่านั้น
"พล.อ.ประยุทธ์ และ ผบ.เหล่าทัพ ในชุดนี้ ไม่มีเจตนา หรือวางแผนที่จะก่อการรัฐประหารเลย ไม่มีใครอยากทำ ได้อดทนกันมาตลอด แต่ในเมื่อมันไม่มีทางออกใดๆ เลย ไม่ยอมกัน ในที่สุดแล้ว ถ้าไม่มีทางออกอื่น ก็ไม่มีใครรู้ว่า การปฏิวัติจะเกิดขึ้นหรือเปล่า แต่ยืนยันว่า ทุกอย่างจะเป็นไปตามสถานการณ์ สถานการณ์วันต่อวัน จะเป็นตัวตัดสิน ไม่มีใครอยากปฏิวัติ" ผบ.หน่วยคุมกำลัง คนหนึ่งกล่าว
เมื่อ ทางออก ทุกทางถูกปิด และเมื่อ การเมืองไทย มาถึง ทางตัน...
................
(ที่มา:มติชนสุดสัปดาห์ประจำวันที่ 9 - 15 พฤษภ