เป็นหูตึงกันรึไง?? ทำไมต้องเปิดเสียงดังลั่นในตอนที่ใส่หูฟัง!!

ขอเกริ่นก่อนนะครับ เพราะว่ามันเหลืออดแล้วจริงๆผมเลยเข้ามาพิมพ์ในนี้เนื่องจากมันรบกวนผมและทำให้ผมหงุดหงิดเสมอ
เรื่องนั้นคือ "การใส่หูฟังแล้วเปิดเสียงดังรอดหูฟังออกมา"

มันเป็นเรื่องที่น่ารำคาญมาก โดยปกติ หูฟังมีไว้สำหรับ "ฟัง" (เป็นการส่วนตัว) แต่นี่คุณเล่นเปิดซะดังลั่นรบกวนการใช้ชีวิตของผู้อื่นมันก็เกินไป
ผมประสบมาเมื่อวาน และ วันนี้ และมันก็อดไม่ได้แล้วจริงๆเลยจะมาเล่าและตักเตือนหลายๆคน

ผมเป็นคนที่ใช้รถไฟฟ้า BTS ทุกวันครับ โดยนั่งระยะยาว(บางหว้า-หมอชิต) โดยขึ้นสถานีบางหว้าเวลา 07:00-07:30 น. เป็นประจำของทุกวัน เพราะต้องเดินทางไปฝั่งโน้น และทุกวันผู้โดยสารก็มีจำนวนเยอะมากเป็นปกติทุกวัน โดยยืนเบียดทำให้รู้สึกมีความอึดอัด และ ไม่คล่องตัวในการโดยสารอยู่แล้ว แต่ก็มี "มลภาวะทางเสียง" มารบกวนการเดินทางอีก นั่นก็คือ "หูฟัง" ผมไม่ทราบนะครับว่าคุณ "หูตึง" หรือ "หูเป็นน้ำหนวก" หรือป่าว??
แต่ถ้าหากคุณโดยสารรถสาธารณะแล้ว คุณควรที่จะมีจิตสำนึกความเป็นคน!! บ้าง ไม่ใช่สักแต่จะทำตามใจตนเอง มันน่าเกลียดเกินไปนะครับสำหรับคนที่ต้องมารับภาระทางความรำคาญร่วมกับคุณ ถึงคุณจะคิดว่าคุณชอบ แต่ก็มีหลายๆคนที่ไม่ชอบ ไม่ใช่เพียงแต่ BTS นะครับ รถตู้ ก็เช่นเดียวกัน การที่คุณเปิดเสียงดังมากรบกวนผู้โดยสารท่านอื่นมันน่าเกลียดเกินไปนะครับ ถ้าคุณยังไม่รู้สึกตัวหรือไม่แน่ใจว่าดังหรือป่าว?? คุณลองมองรอบตัวคุณครับ จะมีหลายคนเลยส่งสายตาอัมหิตไปหาคุณ ดังนั้นคุณจงรู้ตัวตั้งแต่ตอนนั้นแล้วกรุณาลดเสียงลงเพื่อไม่ให้เป็นการรำคาญต่อผู้โดยสารท่านอื่นรวมทั้งผมด้วย

*ขออนุญาตลบรูปที่เป็นประเด็นออกเพื่อบรรยากาศในการสนทนา และขออภัยหากทำการล่วงเกินไป แต่ได้ทำการ คุมรูปภาพให้ไม่เปิดเผยตัวตนอย่างชัดเจน แล้ว ต้องขออภัยบุคคลในภาพมา ณ ที่นี้ด้วย อมยิ้ม17

โดยรูปทางซ้ายพึ่งได้มาวันนี้สดๆร้อนๆ เปิดเพลง ร็อค ถามว่าผมชอบไหม ผมชอบนะ แต่ผมยังไม่มีอารมณ์ฟังในตอนนั้น อย่ามาทำตัวเป็น DJ เปิดเพลงให้ชาวบ้านฟัง!!

และทางขวาเป็นหนุ่มเกาหลีเปิดเพลงเกาหลีดังลั่นและเป็นเพลงในกลุ่มของสาวๆ ผมไม่รู้ชื่อหรอกแต่เสียงผู้หญิงร้อง มันไม่สบอารมณ์เท่าไร และแนวนี้ผมก็ไม่ได้ชอบเลย มันรำคาญมาก!!

ผมก็ขอจบไว้เท่านี้ละกัน และถ้าใครเห็นด้วยกับ อุดมคติผม ก็ช่วยมากด ไลค์เพจ และทำการประจานให้สังคมได้รับรู้ว่ามันน่ารำคาญเพียงใด

เพิ่มเติมนะครับ * ผมก็บอกแล้ว ว่าบางคนอาจจะชอบ บางคนอาจจะไม่ชอบ นานาจิตตังครับ เพราะคนเราชอบอะไรก็ไม่ได้เหมือนกันซะทุกอย่างไป และอีกอย่าง การที่บอกเค้าไม่รู้ตัว เค้าควรที่จะมีสำนึกนะครับ ไม่ใช่ต้องเตือนก่อน ไม่งั้นเจอคน 60 ล้านคนก็ต้องเตือน 60 ล้านครังหรอครับ มันใช่ไหมครับ การที่เรารู้ตัวเอง มันไม่เป็นการดีกว่าหรอ มันถือเป็นการให้เกียรติคนอื่นไปด้วย
ถ้ามันเป็นเรื่องธรรมดาของใครหลายๆคนก็เผชิญไปเถอะครับ ผมว่าก็มีอีกหลายคนที่ไม่ต้องการที่ไปเผชิญกับสิ่งเหล่านี้

เพิ่มเติมอีก * ผมไม่ใช่คนที่สังคมโลกสวยที่ว่าจะเตือนใครแล้วทุกคนเค้าจะฟังในสถานการณ์นั้นๆผมว่าเสียงรางรถไฟมันยังเป็นจังหวะมากกว่าเพลงที่คุณเปิดแล้วมันดังเล็ดลอดออกมาให้คนอื่นได้ฟังอีกนะครับ อย่างโฆษณา ถ้าพวกคุณคิดว่ารำคาญเวลาคุณดูละครแล้วเข้าโฆษณา คุณต้องหรี่เสียงโทรทัศน์แล้วพอละครมาค่อยเปิดดังหรือป่าวครับ เสียงโฆษณามันไม่ได้รำคาญอะไรเลยแม้แต่น้อย
สังคมปัจจุบันเป็นสังคมที่เรียกว่าต้องเร็ว และทุกคนต่างมีอารมณ์กันทั้งนั้น การที่ผมเข้ามาพิมพ์ในที่นี้ก็เป็นการแสดงความคิดเห็นส่วนตัว รูปที่เป็นประเด็นก็ได้นำเอาออกไปแล้วเพื่อรักษาบรรยากาศในการสนทนา ถ้าเกิดผมเตือนขึ้นไปแล้วเกิดมีเรื่องกันตรงนั้นแล้วทำยังไง อย่ามาคิดว่าทำไมไม่ลองเตือนก่อน ในปัจจุบันแค่ขับรถยนต์เวลาจะบีบแตรเตือน แค่นั้นก็อาจจะตายได้นะครับ

เพิ่มเติมเป็นรอบที่ 3 * ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศที่ทุกคนมีระเบียบวินัย ได้มีระเบียบต่างๆในการใช้รถสาธารณะมากมาย โดยที่อย่างแรกที่คนไทยนำมาปรับใช้ และพึ่งเริ่มใช้ไปเมื่อไม่นานนี้คือการ รณรงค์ยืนชิดขวาเดินทางซ้าย ซึ่งก็มีมนุษย์ส่วนหนึ่งกระทำได้ และ คนบางส่วนที่ยังกระทำไม่ได้ แต่อันนี้ไม่ใช่ปัญหา เพราะมีการเริ่มรณรงค์แล้ว มันก็สามารถที่จะปรับไปได้อยู่ และที่ญี่ปุ่นก็มีการรณรงค์เรื่องการใช้หูฟังในที่สาธารณะเหมือนกันดังปรากฎในภาพ

ซึ่งข้อความในภาพที่เป็นภาษาอังกฤษเขียนไว้ว่า "Don't you realize? The sound is leaking form your headphone"
แปลเป็นไทยได้ว่า "คุณไม่ได้ตระหนักเลยหรอ เกี่ยวกับเสียงที่มันลอดออกมาจากหูฟังของคุณ" ซึ่งการรณรงค์นี้เค้ารณรงค์อย่างจริงจังโดยกระทำเป็นป้ายออกมาติดตามระบบขนส่งสาธารณะในประเทศของเขา

เพิ่มเติมวันแรงงานครับ วันนี้ผมขึ้น BTS โดยที่มีผู้โดยสารน้อยมากๆหรือแทบจะไม่มีเลย และไม่สร้างความรำคาญแม้แต่น้อย ส่วนคนที่คิดว่าเป็นเรื่องหยุมหยิม คงเป็นเรื่องหยุมหยิมของคุณแค่เพียงไม่กี่คนครับ ถ้าหากคุณไม่ได้ประสบพบเจอก็คงหยุมหยิมแหล่ะครับ หรือว่าคุณอาจจะเป็นคนที่ชอบฟังเพลงมากและชอบโชว์หูฟังห่วยๆแต่ราคาแพงมาก จนลืมแคร์ความรู้สึกของคนอื่นไป ว่าคนอื่นเค้ารำคาญเพียงใด ถ้าหากสังคมนี้มีแค่ด้านเดียว ทุกคนก็ทำอะไรสิ่งเดียวไปสิครับ และอยากให้ทุกคนมาชอบเหมือนคุณว่ามันเป็นเรื่องหยุมหยิม มันก็ไม่ใช่ครับ นานาจิตตังครับ เพราะยังไงผมก็ไม่ได้เครียดอยู่แล้ว แค่เตือนให้หลายๆคนมี "จิตสำนึกของความเป็นคน" บ้างก็เท่านั้นเองยิ้ม

เพิ่มเติมวันหยุดนะครับ : ขอบคุณสำหรับความเห็นทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย วิถีชีวิตของแต่ละคนในแต่ละวันมันต่างกัน หลายๆอาจจะชอบฟังเพลงมากจนลืมที่จะคิดถึงคนอื่นไป อันนี้ผมก็เข้าใจ เพราะมันเป็นการอบรมสั่งสอนมาแต่ละบ้าน ผมไม่ขัดเลยแม้แต่น้อย แต่ถ้าจะให้ผมมาเปลี่ยนวิถีชีวิตของตนเองเพื่อคนพวกนี้ ผมบอกเลยครับว่าไม่มีทาง ทำไมเราต้องใช้ชีวิตให้ผิดแปลกไปจากเดิม ในเมื่อสิ่งที่เราทำเป็นสิ่งที่ถูกต้อง และเป็นสิ่งที่ไม่ได้รบกวนใครแม้แต่น้อย แต่การที่คุณมาบอกว่า ให้ผมเอา หูฟังมาใส่บ้างเพื่อตัดความรำคาญ หรือให้ลงรถไฟฟ้าบ้างเพื่อขึ้นรถขบวนถัดไป หรือไม่ว่าจะเป็นการให้ใช้รถส่วนตัวบ้าง ผมคิดว่าสิ่งเหล่านี้มันไม่ถูกต้อง คุณมีสิทธิ์ที่จะฟังเสียงที่น่ารำคาญเหล่านั้นมันก็สิทธิ์ของคุณ แต่สิทธิ์ของผมก็คือ การได้รับสิ่งที่มีความสงบ ในพื้นฐานของความเป็นจริง ถ้าเปรียบเทียบง่ายๆ ถ้าเกิดเหตุการณ์จราจลกลางเมืองเกิดขึ้น ถ้ารัฐบอกว่าให้ทุกคนใส่หมวกกันน็อก ออกจากบ้านทุกคน คุณจะทำหรือไม่ ?? เพราะเหตุการณ์การจราจลนั้นก็เหมือนกับการที่เสียงเพลงสร้างความรำคาญ และ การใส่หมวกกันน็อก ก็เหมือนกับการที่ผมหาวิธีทางแก้ต่างๆที่มันส่งผลต่อตัวผมเอง ไม่ได้ส่งผลต่อส่วนรวมเลย ผมคิดว่า คนไทย คงไร้จิตสำนึกอีกมาก ครับ เพราะส่วนใหญ่ก็มีแต่พวกที่เห็นแก่ตัวเอง เปิดเพลงเสียงดังคอยรบกวนชาวบ้าน พยายามที่จะโชว์พาวเวอร์ ว่า หูฟังฉันดีนะ โทรศัพท์มือถือผมหรูนะ สังคมไทยมันเลยแย่อยู่ในทุกวันนี้ไงครับยิ้ม

อธิบายแท็ก "เฉลิมกรุง แทค เพลง เพราะเกี่ยวกับการฟังเพลง" "มาบุญครอง แทค สมาร์ทโฟน เพราะเกี่ยวกับการใช้มือถือฟังเพลง"
"สยามสแควร์ แทค ชีวิตวัยรุ่น เพราะวัยรุ่นฟังเพลงแบบนี้กันเยอะ แต่ในรูปที่ประจานจะเป็นผู้ใหญ่ซะมากกว่า"
"ศาลาประชาคม แทค ปัญหาสังคม เพราะคิดว่า เป็นปัญหาสังคมจริงๆ"
แก้ไขข้อความเมื่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่