คุณอานันท์ ปันยารชุน ได้ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวโพสต์ทูเดย์ ลงพาดหัวหน้าหนึ่ง
“หวั่นวิกฤตศก. อานันท์เตือนการเมืองฉุดประเทศ-แนะคู่ขัดแย้งหาคนกลางเจรจา”
และบทความนี้ลงในเวปไซต์ของโพสต์ทูเดย์ด้วย ในชื่อคล้ายๆกัน
ใจความพูดถึง
เรื่องวิกฤตที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจากปัญหาการเมือง ซึ่งในตอนต้นๆ คุณอานันท์ พูดฟัง
ดูดีมาก แต่หากได้อ่านจนจบแล้วปรากฎว่าคุณอานันท์เล่นแนะนำให้นายกลาออกเสีย
อย่างนั้น คือรับลูก กปปส นั่นเอง
ถ้ามองเข้าไปลึกๆแล้ว คุณอานันท์ ก็ไม่ได้เชื่อหลักประชาธิปไตยสักเท่าไรเลย คุณอานันท์
พูดถูกในเรื่องว่าถ้าสถานการณ์การเมืองยังเป็นอย่างนี้อยู่ต่อไปประเทศจะเกิดวิกฤต
เศรษฐกิจแน่นอน แต่คุณอานันท์กลับโทษว่าต้นเหตุเกิดจากรัฐบาล โดยที่ไม่พูดถึงม็อบ
กปปส เลยแม้แต่น้อย คุณอานันท์จงใจละเลยต้นเหตุสำคัญที่ทำให้ประเทศเกิดวิกฤตจน
ถึงขนาดนี้
ในขณะเดียวกันคุณอานันท์ ก็พูดโน้มน้าวให้คนเลิกคิดถึงเรื่อง “ประชาธิปไตย” และ
“กฎหมาย” ทั้งที่ประเด็นเหล่านี้เป็นประเด็นสำคัญที่จะนำความเชื่อมั่นจากต่างชาติมาได้
ถ้าคุณอานันท์คิดว่าเรื่องเศรษฐกิจ เป็นเรื่องสำคัญจริงๆ
หากลองย้อนมาดูเส้นทางชีวิตของ อานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย ผู้ที่เป็น
ต้นแบบของ “คนดี” ในสายตามวลมหาประชาชนและพรรคประชาธิปัตย์
อานันท์ ปันยารชุน ได้ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 16 ของไทย สมัยแรกระหว่างวันที่
2 มีนาคม พ.ศ. 2534 ถึง 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 ภายหลังการรัฐประหารในประเทศไทย
พ.ศ. 2534 จากการเสนอชื่อโดยพลเอกสุจินดา คราประยูร ผู้ซึ่งมีความใกล้ชิดกัน [ii]
และ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่สอง ในวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535 หลังจาก
เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ในการดำรงตำแหน่งทั้งสองวาระนั้น คุณอานันท์ ไม่ได้เป็นนายกฯ
ที่มาจากการเลือกตั้ง เลย แต่มาจากการแต่งตั้งทั้งสองครั้ง
ในปี 2553 สมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ “คุณอานันท์” ได้เข้ามารับหน้าที่เป็นประธานคณะ
กรรมการปฏิรูปประเทศ ซึ่งเป็นสิ่ง กปปส และพรรคประชาธิปัตย์ เรียกร้องมาโดยตลอด ทั้งๆ
ที่ในสมัยตัวเองก็ได้มีคณะกรรมการปฎิรูปแล้ว แต่ทว่าคณะกรรมการนี้ล้มเหลวไม่เป็นท่า
คณะกรรมการปฎิรูปประเทศถูกตั้งข้อสงสัยมากมายเกี่ยวกับงบประมาณมหาศาลที่ถูกใช้ลงไป
โดยมีการผลาญงบประมาณไปทั้งสิ้น 1,187 ล้านบาท[iii] เพียงแค่ในปีแรกก็ใช้ไปถึง
200ล้านบาท ที่น่าสงสัยที่สุดคือ ค่าจัดทำต้นฉบับรายงานชุดละ 100,000 5 ชุด เป็นเงิน
500,000 บาท และค่าจัดพิมพ์เอกสาร 25 เรื่องๆละ 200,000 รวม 5,000,000 บาท[iv] ซึ่งน่า
จะแพงเกินจริงอย่างมาก ผลลัพธ์ที่ได้ก็ไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมใดๆเลย และ
ตอนนี้พวกเขาก็กลับมาเรียกร้องให้มีการปฎิรูปอีกครั้ง
อาจจะเป็นเพราะว่างบประมาณของการปฎิรูปนั้นช่างเป็นตัวเลขที่สูงมากนัก จนเย้ายวนให้
“เหล่าคนดี” พร้อมใจกันออกมาแสดงความเป็นห่วงเป็นใยขึ้นมาอีกครั้ง
ในเอกสารวิกิลีกส์หลายฉบับ มีรายงานชัดเจนว่า อานันท์ ปันยารชุน ได้มีชื่อเข้าไปเกี่ยวข้องกับ
การพยายามยึดอำนาจรัฐหลายครั้ง หลังจากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ
ในการรัฐประหารปี 49 คุณอานันท์ ให้ความชอบธรรมกับการรัฐประหารครั้งนี้อย่างมาก เขากล่าวหา
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ว่าเป็นปฎิปักษ์ต่อการปกครองในรูปแบบประชาธิปไตย ปิดกั้นเสรีภาพของ
การสื่อสารข้อมูลและหลอกลวงผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง ให้สินบนกับทางฝ่ายตุลาการ และทำลาย
ล้างรัฐธรรมนูญ ซึ่งไม่มีวิถีทางใดจะกำจัดระบอบนี้ได้
รวมไปถึงเมื่อครั้งที่มีความเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในการโค่น
ล้มารัฐบาลพรรคพลังประชาชน ที่นำโดย สมัคร สุนทรเวช ได้รับเลือกตั้งขึ้นมา ความพยายามจะ
โค่นอำนาจของนายกฯ สมัคร ก็ได้เกิดขึ้นอีกครั้ง และเอกสารวิกิลีกส์ฉบับหนึ่งก็ได้เปิดเผยออก
มาว่า ในการพยายามโค่นอำนาจครั้งนี้ ชื่อของ “อานันท์ ปันยารชุน” ได้ถูกเสนอจากองคมนตรี
ท่านหนึ่ง ให้ขึ้นเป็นนายกฯ แทนนายสมัคร
เส้นทางอำนาจของนายอานันท์ ปันยารชุน นั้นช่างโรยด้วยกลีบกุหลาบแต่ก็เต็มไปด้วยเขม่า
ปืนที่คละคลุ้งเช่นเดียวกัน เพราะดูเหมือนจะเป็นผู้ที่ได้รับการอุปถัมภ์ค้ำชูจากอำนาจนอกระบบ
หลายครั้ง แบบที่ข้ามหัวประชาชนตาดำๆ อย่างไม่ใยดี ภาพ “นักการเมืองน้ำดี” ที่พยายามสร้าง
ก็ไม่ต่างอะไรกับวาทกรรม “คนดี” แค่เปลือก แบบที่ กปปส. พยายามสร้าง
จึงไม่น่าแปลกใจเท่าไร ที่นายอานันท์พยายามที่จะให้คนเลิกถกเถียงกันเรื่องประชาธิปไตย
และกฏหมาย แนะนำให้เห็นดีเห็นงามไปกับ ม.ร.ว. ปรีดียาธร เทวกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการ
กระทรวงพาณิชย์ในสมัยของท่านเอง จงเกลียดจงชังทักษิณที่กล่าวหาว่าไม่เป็นประชาธิปไตย
แต่สนับสนุนการรัฐประหาร ฉีกรัฐธรรมนูญในทุกครั้ง ทั้งยังดูถูกเสียงของประชาชน และชัดเจน
ว่าไม่สนับสนุนแนวทางการเลือกตั้งตามวิถีประชาธิปไตย
เป็นบทสรุปได้ดีว่า นายอานันท์ไม่ต่างอะไรจากกลุ่ม “รัฐบุคคล” ที่เป็นเพียงชายชราใกล้ฝั่ง
ผู้โหยหาอำนาจ ด้วยวิถีทางนอกระบบ และใช้วาทกรรมที่สวยหรูเพื่อสร้างภาพลักษณ์ว่าเป็น
ห่วงประเทศไทยเสียเต็มประดา
http://bit.ly/1bLUeZL
[ii] http://www.udon108.com/thai/showthread.php?t=38637
[iii] เกิดอะไรขึ้นกับงบประมาณ ของคณะกรรมการปฎิรูปประเทศไทย http://www.thaipost.net/node/31358
[iv] http://www.thaihospital.org/board/index.php?topic=1752.0%3Bwap2
ที่มา :ispace THAILAND
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNNU1qRTVOemc1TUE9PQ==&subcatid=
ไม่อยาก comment .... เพราะเคยอ่าน "อานันท์อันตราย" ของอานันท์ เสนาขันธ์ ที่เขียนนี้
ไม่ถึงเศษเสี้ยว ของหนังสือเล่มนั้น 
อานันท์ ปันยารชุน: เส้นทางใต้คราบเขม่า : ปฎิวัติก่อนปฎิรูป? ข่าวสดออนไลน์
“หวั่นวิกฤตศก. อานันท์เตือนการเมืองฉุดประเทศ-แนะคู่ขัดแย้งหาคนกลางเจรจา”
และบทความนี้ลงในเวปไซต์ของโพสต์ทูเดย์ด้วย ในชื่อคล้ายๆกัน ใจความพูดถึง
เรื่องวิกฤตที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจากปัญหาการเมือง ซึ่งในตอนต้นๆ คุณอานันท์ พูดฟัง
ดูดีมาก แต่หากได้อ่านจนจบแล้วปรากฎว่าคุณอานันท์เล่นแนะนำให้นายกลาออกเสีย
อย่างนั้น คือรับลูก กปปส นั่นเอง
ถ้ามองเข้าไปลึกๆแล้ว คุณอานันท์ ก็ไม่ได้เชื่อหลักประชาธิปไตยสักเท่าไรเลย คุณอานันท์
พูดถูกในเรื่องว่าถ้าสถานการณ์การเมืองยังเป็นอย่างนี้อยู่ต่อไปประเทศจะเกิดวิกฤต
เศรษฐกิจแน่นอน แต่คุณอานันท์กลับโทษว่าต้นเหตุเกิดจากรัฐบาล โดยที่ไม่พูดถึงม็อบ
กปปส เลยแม้แต่น้อย คุณอานันท์จงใจละเลยต้นเหตุสำคัญที่ทำให้ประเทศเกิดวิกฤตจน
ถึงขนาดนี้
ในขณะเดียวกันคุณอานันท์ ก็พูดโน้มน้าวให้คนเลิกคิดถึงเรื่อง “ประชาธิปไตย” และ
“กฎหมาย” ทั้งที่ประเด็นเหล่านี้เป็นประเด็นสำคัญที่จะนำความเชื่อมั่นจากต่างชาติมาได้
ถ้าคุณอานันท์คิดว่าเรื่องเศรษฐกิจ เป็นเรื่องสำคัญจริงๆ
หากลองย้อนมาดูเส้นทางชีวิตของ อานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย ผู้ที่เป็น
ต้นแบบของ “คนดี” ในสายตามวลมหาประชาชนและพรรคประชาธิปัตย์
อานันท์ ปันยารชุน ได้ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 16 ของไทย สมัยแรกระหว่างวันที่
2 มีนาคม พ.ศ. 2534 ถึง 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 ภายหลังการรัฐประหารในประเทศไทย
พ.ศ. 2534 จากการเสนอชื่อโดยพลเอกสุจินดา คราประยูร ผู้ซึ่งมีความใกล้ชิดกัน [ii]
และ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่สอง ในวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535 หลังจาก
เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ในการดำรงตำแหน่งทั้งสองวาระนั้น คุณอานันท์ ไม่ได้เป็นนายกฯ
ที่มาจากการเลือกตั้ง เลย แต่มาจากการแต่งตั้งทั้งสองครั้ง
ในปี 2553 สมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ “คุณอานันท์” ได้เข้ามารับหน้าที่เป็นประธานคณะ
กรรมการปฏิรูปประเทศ ซึ่งเป็นสิ่ง กปปส และพรรคประชาธิปัตย์ เรียกร้องมาโดยตลอด ทั้งๆ
ที่ในสมัยตัวเองก็ได้มีคณะกรรมการปฎิรูปแล้ว แต่ทว่าคณะกรรมการนี้ล้มเหลวไม่เป็นท่า
คณะกรรมการปฎิรูปประเทศถูกตั้งข้อสงสัยมากมายเกี่ยวกับงบประมาณมหาศาลที่ถูกใช้ลงไป
โดยมีการผลาญงบประมาณไปทั้งสิ้น 1,187 ล้านบาท[iii] เพียงแค่ในปีแรกก็ใช้ไปถึง
200ล้านบาท ที่น่าสงสัยที่สุดคือ ค่าจัดทำต้นฉบับรายงานชุดละ 100,000 5 ชุด เป็นเงิน
500,000 บาท และค่าจัดพิมพ์เอกสาร 25 เรื่องๆละ 200,000 รวม 5,000,000 บาท[iv] ซึ่งน่า
จะแพงเกินจริงอย่างมาก ผลลัพธ์ที่ได้ก็ไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมใดๆเลย และ
ตอนนี้พวกเขาก็กลับมาเรียกร้องให้มีการปฎิรูปอีกครั้ง
อาจจะเป็นเพราะว่างบประมาณของการปฎิรูปนั้นช่างเป็นตัวเลขที่สูงมากนัก จนเย้ายวนให้
“เหล่าคนดี” พร้อมใจกันออกมาแสดงความเป็นห่วงเป็นใยขึ้นมาอีกครั้ง
ในเอกสารวิกิลีกส์หลายฉบับ มีรายงานชัดเจนว่า อานันท์ ปันยารชุน ได้มีชื่อเข้าไปเกี่ยวข้องกับ
การพยายามยึดอำนาจรัฐหลายครั้ง หลังจากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ
ในการรัฐประหารปี 49 คุณอานันท์ ให้ความชอบธรรมกับการรัฐประหารครั้งนี้อย่างมาก เขากล่าวหา
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ว่าเป็นปฎิปักษ์ต่อการปกครองในรูปแบบประชาธิปไตย ปิดกั้นเสรีภาพของ
การสื่อสารข้อมูลและหลอกลวงผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง ให้สินบนกับทางฝ่ายตุลาการ และทำลาย
ล้างรัฐธรรมนูญ ซึ่งไม่มีวิถีทางใดจะกำจัดระบอบนี้ได้
รวมไปถึงเมื่อครั้งที่มีความเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในการโค่น
ล้มารัฐบาลพรรคพลังประชาชน ที่นำโดย สมัคร สุนทรเวช ได้รับเลือกตั้งขึ้นมา ความพยายามจะ
โค่นอำนาจของนายกฯ สมัคร ก็ได้เกิดขึ้นอีกครั้ง และเอกสารวิกิลีกส์ฉบับหนึ่งก็ได้เปิดเผยออก
มาว่า ในการพยายามโค่นอำนาจครั้งนี้ ชื่อของ “อานันท์ ปันยารชุน” ได้ถูกเสนอจากองคมนตรี
ท่านหนึ่ง ให้ขึ้นเป็นนายกฯ แทนนายสมัคร
เส้นทางอำนาจของนายอานันท์ ปันยารชุน นั้นช่างโรยด้วยกลีบกุหลาบแต่ก็เต็มไปด้วยเขม่า
ปืนที่คละคลุ้งเช่นเดียวกัน เพราะดูเหมือนจะเป็นผู้ที่ได้รับการอุปถัมภ์ค้ำชูจากอำนาจนอกระบบ
หลายครั้ง แบบที่ข้ามหัวประชาชนตาดำๆ อย่างไม่ใยดี ภาพ “นักการเมืองน้ำดี” ที่พยายามสร้าง
ก็ไม่ต่างอะไรกับวาทกรรม “คนดี” แค่เปลือก แบบที่ กปปส. พยายามสร้าง
จึงไม่น่าแปลกใจเท่าไร ที่นายอานันท์พยายามที่จะให้คนเลิกถกเถียงกันเรื่องประชาธิปไตย
และกฏหมาย แนะนำให้เห็นดีเห็นงามไปกับ ม.ร.ว. ปรีดียาธร เทวกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการ
กระทรวงพาณิชย์ในสมัยของท่านเอง จงเกลียดจงชังทักษิณที่กล่าวหาว่าไม่เป็นประชาธิปไตย
แต่สนับสนุนการรัฐประหาร ฉีกรัฐธรรมนูญในทุกครั้ง ทั้งยังดูถูกเสียงของประชาชน และชัดเจน
ว่าไม่สนับสนุนแนวทางการเลือกตั้งตามวิถีประชาธิปไตย
เป็นบทสรุปได้ดีว่า นายอานันท์ไม่ต่างอะไรจากกลุ่ม “รัฐบุคคล” ที่เป็นเพียงชายชราใกล้ฝั่ง
ผู้โหยหาอำนาจ ด้วยวิถีทางนอกระบบ และใช้วาทกรรมที่สวยหรูเพื่อสร้างภาพลักษณ์ว่าเป็น
ห่วงประเทศไทยเสียเต็มประดา
http://bit.ly/1bLUeZL
[ii] http://www.udon108.com/thai/showthread.php?t=38637
[iii] เกิดอะไรขึ้นกับงบประมาณ ของคณะกรรมการปฎิรูปประเทศไทย http://www.thaipost.net/node/31358
[iv] http://www.thaihospital.org/board/index.php?topic=1752.0%3Bwap2
ที่มา :ispace THAILAND
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNNU1qRTVOemc1TUE9PQ==&subcatid=
ไม่อยาก comment .... เพราะเคยอ่าน "อานันท์อันตราย" ของอานันท์ เสนาขันธ์ ที่เขียนนี้
ไม่ถึงเศษเสี้ยว ของหนังสือเล่มนั้น