จาก นสพ แนวหน้า 19 เม.ย. 2553
ศาลยกฟ้อง คดีพร้อมพงษ์ ฟ้อง อภิสิทธิ์ ประกาศ พรก.ฉุกเฉิน
ข่าวทั่วไป หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- จันทร์ที่ 19 เมษายน 2553 18:35:57 น.
เมื่อเวลา 16.00 น. ศาลแพ่งมีคำสั่งยกฟ้อง คดีที่นายพร้อมพงษ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย ยื่นฟ้อง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กรณีประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน โดยพิเคราะห์แล้วเห็นว่าตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 มีเจตนารมณ์ที่จะให้อำนาจนายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อบังคับใช้ทั่วราชอาณาจักรหรือในบางเขตท้องที่ได้ตามความจำเป็นในสถานการณ์ ซึ่งตามมาตรา 4 แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวให้ความหมายของ “สถานการณ์ฉุกเฉิน” ว่าสถานการณ์อันกระทบหรืออาจกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐหรืออาจทำให้ประเทศหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของประเทศตกอยู่ในภาวะคับขัน หรือมีการกระทำความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา การรบหรือการสงคราม ซึ่งจำเป็นต้องมีมาตรการเร่งด่วนเพื่อรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เอกราชและบูรณภาพแห่งอาณาเขต ผลประโยชน์ของชาติ การปฏิบัติตามกฎหมาย ความปลอดภัยของประชาชน การดำรงชีวิตโดยปกติสุขของประชาชนการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ความสงบเรียบร้อยและประโยชน์ส่วนรวมหรือการป้องปัดหรือแก้ไขเยียวยาความเสียหายจากภัยพิบัติสาธารณะอันมีมาอย่างฉุกเฉินและร้ายแรง ดังนั้นการที่คณะรัฐมนตรี (จำเลยที่1) ให้การเห็นชอบแก่นายกรัฐมนตรี (จำเลยที่2) ในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2553 ย่อมเป็นการใช้อำนาจในการบริหารราชการแผ่นดินตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่และดุลพินิจของฝ่ายบริหารโดยเฉพาะ ศาลมิอาจก้าวล่วงไปพิจารณาหรือทบทวนการใช้ดุลพินิจของฝ่ายบริหารเช่นว่านั้นได้ และการที่จำเลยที่ 2 ได้มีคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ พิเศษ 1/2553 ให้นายสุเทพ จำเลยที่ 3 เป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ โดยอาศัยอำนาจตาม ม.7 วรรคสาม วรรคห้า และวรรคหก ม.8 — 9 ,11 และ 15 แห่ง พ.ร.ก.ดังกล่าว
ขอนำคดีเก่า เรื่อง พรก ฉุกเฉิน มาให้ศาล อ่าน
ศาลยกฟ้อง คดีพร้อมพงษ์ ฟ้อง อภิสิทธิ์ ประกาศ พรก.ฉุกเฉิน
ข่าวทั่วไป หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- จันทร์ที่ 19 เมษายน 2553 18:35:57 น.
เมื่อเวลา 16.00 น. ศาลแพ่งมีคำสั่งยกฟ้อง คดีที่นายพร้อมพงษ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย ยื่นฟ้อง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กรณีประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน โดยพิเคราะห์แล้วเห็นว่าตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 มีเจตนารมณ์ที่จะให้อำนาจนายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อบังคับใช้ทั่วราชอาณาจักรหรือในบางเขตท้องที่ได้ตามความจำเป็นในสถานการณ์ ซึ่งตามมาตรา 4 แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวให้ความหมายของ “สถานการณ์ฉุกเฉิน” ว่าสถานการณ์อันกระทบหรืออาจกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐหรืออาจทำให้ประเทศหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของประเทศตกอยู่ในภาวะคับขัน หรือมีการกระทำความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา การรบหรือการสงคราม ซึ่งจำเป็นต้องมีมาตรการเร่งด่วนเพื่อรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เอกราชและบูรณภาพแห่งอาณาเขต ผลประโยชน์ของชาติ การปฏิบัติตามกฎหมาย ความปลอดภัยของประชาชน การดำรงชีวิตโดยปกติสุขของประชาชนการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ความสงบเรียบร้อยและประโยชน์ส่วนรวมหรือการป้องปัดหรือแก้ไขเยียวยาความเสียหายจากภัยพิบัติสาธารณะอันมีมาอย่างฉุกเฉินและร้ายแรง ดังนั้นการที่คณะรัฐมนตรี (จำเลยที่1) ให้การเห็นชอบแก่นายกรัฐมนตรี (จำเลยที่2) ในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2553 ย่อมเป็นการใช้อำนาจในการบริหารราชการแผ่นดินตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่และดุลพินิจของฝ่ายบริหารโดยเฉพาะ ศาลมิอาจก้าวล่วงไปพิจารณาหรือทบทวนการใช้ดุลพินิจของฝ่ายบริหารเช่นว่านั้นได้ และการที่จำเลยที่ 2 ได้มีคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ พิเศษ 1/2553 ให้นายสุเทพ จำเลยที่ 3 เป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ โดยอาศัยอำนาจตาม ม.7 วรรคสาม วรรคห้า และวรรคหก ม.8 — 9 ,11 และ 15 แห่ง พ.ร.ก.ดังกล่าว