รวมข้อมูล คณะตุลากาลศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ซึ่งทำให้คนไทยทั้งประเทศพลาดโอกาสแห่งความเจริญทั้งปวง

กระทู้สนทนา
ศาลรัฐธรรมนูญ เป็นองค์กรอิสระที่จัดตั้งขึ้นครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 แทนคณะตุลาการรัฐธรรมนูญที่ยุบเลิกไป และมีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ แต่ไม่มีอำนาจหน้าที่พิจารณาอรรถคดีทั่วไป

คณะที่เพิ่งตัดสินไปนั้นนับเป็น คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ประเทศไทย) ที่เกิดขึ้น พ.ศ. 2550 เป็นคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดที่ 3 ของไทย จัดตั้งขึ้นตามความในมาตรา 300 แห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550

ภายหลังจากการรัฐประหาร พ.ศ. 2549 ได้มีการตั้งคณะตุลาการรัฐธรรมนูญขึ้นมา โดยมีอำนาจตามที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยมีตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ต่อมามีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ซึ่งมาตรา 300 ได้กำหนดให้ คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ เป็น ศาลรัฐธรรมนูญ จนกว่าจะมีการแต่งตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ภายหลังจากการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550

ซึ่งคณะนี้เองที่มีการตกลงลับ...กับพรรคประชาธิปัตย์ที่มีคลิปออกมาเผยแพร่เมื่อปีที่ผ่านมาโน้นๆ! ในระหว่างที่ศาลรัฐธรรมนูญกำลังพิจารณาคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งนายทะเบียนพรรคการเมืองมีคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคประชาธิปัตย์ อันเป็นฝ่ายรัฐบาลอยู่ในเวลานั้น ปรากฏว่ามีการเผยแพร่สิ่งบันทึกวีดิทัศน์ซึ่งมีเนื้อหาว่ามีการวิ่งเต้นไม่ให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ โดย เหตุการณ์นี้ เริ่มขึ้นเมื่อพรรคเพื่อไทย ฝ่ายค้าน และ แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ("นปช.") กลุ่มทางการเมืองที่ต่อต้านฝ่ายรัฐบาล ได้เผยแพร่สิ่งบันทึกวีดิทัศน์อ้างว่าเป็นภาพและเสียงการที่ฝ่ายรัฐบาลชักจูงให้ศาลรัฐธรรมนูญช่วยเหลือในคดีตน เป็นเหตุให้เกิดข้อครหาเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ ส่งผลให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจำนวนหนึ่งขอถอนตัวจากการทำคดี เพื่อเลี่ยงความไม่เหมาะสม ... หึหึ (ช่างเป็นคณะตุลาการที่บริสุทธ์โปร่งใสเสียจริงๆซ้ำยังมีความสัมพันธ์กับพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นพรรคที่ถ่วงความเจริญชาติอย่างมากมายมหาศาล เป็นพรรคที่สุดแสนจะโกงแต่โบ้ยความผิดให้พรรคอื่นมาโดยตลอด และยังเป็นพรรคที่ให้การสนับสนุนกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย รวมถึงกำเนิด กปปส อีกด้วย)

โฉมหน้า

นายจรูญ  อินทจาร - ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
การศึกษา
- นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
- ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ประวัติการทำงาน
- ตุลาการศาลปกครองสูงสุด วันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๔๙
- ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลจังหวัดสมุทรปราการ แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว
  วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๗
- ผู้พิพากษาศาลฎีกา วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๖
- รองประธานศาลอุทธรณ์ ภาค ๑วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๕



นายจรัญ  ภักดีธนากุล - ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ประวัติการศึกษา
- นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ ๑) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
- B.A. (CAMBRIDGE) ประเทศอังกฤษ
- Barrister - at - Law (Grey's Inn) ประเทศอังกฤษ

ประวัติการทำงาน
- ปลัดกระทรวงยุติธรรม วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๙
- เลขาธิการประธานศาลฎีกา วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๔๔
- ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ วันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๔๐
- เลขาธิการส่งเสริมงานตุลาการ วันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๓๕



นายเฉลิมพล  เอกอุรุ - ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ประวัติการศึกษา
- นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- Master of Arts (M.A.) International Law and Relations, Columbia University,
  New York ประเทศสหรัฐอเมริกา
- Diploma in International Relations, Institute of Social Studies, The Hague ประเทศ
  เนเธอร์แลนด์
- ประกาศนียบัตรชั้นสูงทางรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ประวัติการทำงาน
- รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ วันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๔๖
- เอกอัครราชฑูต ณ กรุงบูดาเปสต์ สาธารณรัฐฮังการี วันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๔๓
- เอกอัครราชฑูต ณ กรุงฮานอย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๓๗



นายชัช  ชลวร - ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ประวัติการศึกษา
- นิติศาสตรบัณฑิต  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา

ประวัติการทำงาน
- ประธานศาลรัฐธรรมนูญ (๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๑ ถึง ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๔)
- ประธานแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลฎีกา (๑ ตุลาคม ๒๕๕๐)
- ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา (๑ ตุลาคม ๒๕๔๙)
- เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม (๑ ตุลาคม ๒๕๔๖)
- ผู้พิพากษาศาลฎีกา (๑ ตุลาคม ๒๕๔๔)



นายทวีเกียรติ  มีนะกนิษฐ - ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ประวัติการศึกษา
- นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับสอง) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
- นิติศาสตรมหาบัณฑิต (สาขากฏหมายอาญา) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- LL.M. (Master of Law, University of Pennsylvania, U.S.A.)
- ประกาศนียบัตรการศึกษาชั้นสูงทางกฏหมายอาญา
  (Diplôme d’Etude Approfondies de sciences criminelles)
- ปริญญาเอก (เกียรตินิยม) Doctorat en droit pénal mention
  très honorable, l’Université de Nancy II, France

ประวัติการทำงาน
- ผู้บรรยายพิเศษโรงเรียนนายร้อยตำรวจ (พ.ศ. ๒๕๓๖-๒๕๕๖)
- รองอธิการบดีฝ่ายบริหารทั่วไปมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
   (๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๘ – พ.ศ. ๒๕๔๑ )
- กรรมการพิจารณาปรับปรุงประมวลกฎหมายอาญา สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
   (๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ - ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖)
- กรรมการการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินคณะกรรมการป้องกัน
  และปราบปรามการฟอกเงิน (๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓)
- อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  (๒๓ กันยายน พ.ศ.๒๕๑๘ - ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ )
- ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ (๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๔)




นายนุรักษ์  มาประณีต - ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ประวัติการศึกษา
- นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา

ประวัติการทำงาน
- ผู้พิพากษาศาลฎีกา วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๙
- ประธานแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลอุทธรณ์ ภาค ๗ วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๗
- ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ ภาค ๘ วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๒
- รองอธิบดีผู้พิพากษา ภาค ๖ วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๓๙




นายบุญส่ง  กุลบุปผา - ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ประวัติการศึกษา
- นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา

ประวัติการทำงาน
- ผู้พิพากษาศาลฎีกา วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๐
- รองประธานศาลอุทธรณ์ วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๙
- หัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๕
- ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๓



นายสุพจน์  ไข่มุกด์ - ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ประวัติการศึกษา
- รัฐศาสตรบัณฑิต สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและการฑูต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ประกาศนียบัตรชั้นสูง สาขาการฑูต, Institut International d' Administration Publique   (IIAP) ประเทศฝรั่งเศส
- ปริญญาเอกด้านรัฐศาสตร์และกฎหมายระหว่างประเทศ, Universite des Sciences Sociales   de Toulouse ประเทศฝรั่งเศส

ประวัติการทำงาน
- เอกอัครราชฑูต ณ กรุงวอร์ซอ สาธารณรัฐโปแลนด์ วันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๔๖
- เอกอัครราชฑูต ณ กรุงเตหะราน สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓




นายอุดมศักดิ์  นิติมนตรี - ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ประวัติการศึกษา
- นิติศาสตรบัณฑิต  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา

ประวัติการทำ งาน
- ตุลาการศาลปกครองสูงสุด วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐
- ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ วันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๔๙
- ผู้พิพากษาศาลฎีกา วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๖
- รองประธานศาลอุทธรณ์ วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๕
- ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๓


ผมจำได้ขึ้นใจเลยบุคคลเหล่านี้แหละที่ทำให้ผมยังคงต้องอยู่ในประเทศที่มีแต่รถไฟที่มีอายุกว่าร้อยปี คนบ้านนอกไม่มีโอกาสนั่งรถไฟดี ๆและอีกหลายอย่าง บลาๆ หดหู่อีกกระทู้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่