Lone Survivor : จนกว่าความตายจะพรากจาก ...



คุณจำ Red Wing ได้มั้ยคะ?


'ยุทธการปีกแดง' ที่เป็นความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ที่สึดของกองทัพสหรัฐในปี 2005
ไม่ว่า 'ยุทธการหอกของเนปจูน' จะยิ่งใหญ่แค่ไหนกับการปลิดชีพบินลาเดนได้สำเร็จ
แต่สิ่งเหล่านั้นไม่มีทางเกิดขึ้นได้ หากปราศจากความเสียสละของเพื่อนทหารคนอื่น
คนที่เสียชีวิตเพื่อภารกิจ เพื่อกองทัพ เพื่อประเทศชาติ

เนื่องจาก Red Wing เป็นเหตุการณ์ความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่และสะเทือนอารมณ์อยู่พอสมควร
การจะหยิบมาสร้างเป็นภาพยนตร์อาจต้องมีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดทางภารกิจ หรือ รายละเอียดด้านบุคคลเพื่อป้องกันประเด็นอ่อนไหวต่อครอบครัวของผู้เสียชีวิต

Red Wing ไม่เหมือนภารกิจอื่นๆ ที่เคยถูกนำมาทำเป็นหนัง ทิศทางการนำเสนอของผู้กำกับ จึงอาจถูกปรับเปลี่ยนไปตามความเหมาะสมและเพื่ออิงกับแนวทางของผู้กำกับเอง ทำให้ฉบับภาพยนตร์อาจตั้งอยู่บน 2 แนวทางคือ "ดราม่าสุดใจ" หรือ "แอ็คชั่นห้าวหาญ"

นั่นถือเป็นความท้าทายของ Peter Berg ผู้กำกับ ที่คิดหยิบภารกิจนี้มาทำหนัง หลังจากที่หนังปฏิบัติการทางทหารเรื่องล่าสุดนั้น ยิ่งใหญ่ระดับเวทีออสการ์เลยทีเดียว (Zero Dark Thirty คือปฏิบัติการหอกของเนปจูน)

Lone Survivor สร้างจากหนังสือชื่อเดียวกันของ Macus Ruttrell ซีลเพียง 1 เดียวที่รอดชีวิตจาก 'ยุทธการปีกแดง' เพื่อกลับมาเล่าเรื่องราวอันแสนเศร้าสลดให้โลกรับรู้ หนังสือได้รับการขัดเกลาสำนวนจากนักประพันธ์และนักหนังสือพิมพ์ชื่อดัง Patrick Robinson



หลายครั้งที่ชื่อปฏิบัติการ หรือแม้แต่โค้ดเนมและรหัสปฏิบัติการของทหาร ดูตลกและขี้เล่นจนเราอดนึกขำไม่ได้ว่า "จะเอาฮากันไปถึงไหน" ซึ่งอาจเพราะ สิ่งที่พวกเขาทำอยู่มันยากลำบาก กดดัน และเคร่งเครียดเกินไป บางครั้งพวกเขาเลยพยายามหาความสุขเล็กๆน้อยๆจากการตั้งชื่อปฏิบัติการเหล่านี้

Red Wing มาจากการเสนอชื่อจากทหารในกองทัพ โดยพวกเขาได้เปิดให้มีการโหวตจาก 4 ชื่อซึ่งแต่ละหน่วยเลือกชื่อมาจากทีมกีฬาที่ตัวเองชอบ นั่นคือ New York Rangers, Chicago Blackhawks, New Jersey Devils และ Detroit Red Wings สุดท้ายชื่อของ Red Wing ถูกเลือก อาจเพราะมันมีความคล้องจองปฏิบัติการณ์ทดลองอาวุธนิวเคลียร์ของกองทัพในปี 1956 ที่ชื่อ "Operation Redwing" เช่นเดียวกัน

Red Wing คือ ปฎิบัติการสังหาร Ahmad Shah ผู้นำระดับสูงกลุ่มทาลีบัน ซึ่งอยู่ในขอบข่ายการปฏิบัติงานของ SEAL TEAM 10 โดยปฏิบัติการแบ่งออกเป็น 5 เฟส คือ

เฟส 1 Shaping : ซีลทีมแรก สำรวจพื้นที่ ดูลาดเลา และ ยืนยันการมีตัวตนของเป้าหมายในพื้นที่
เฟส 2 Action on the Objective : ซีลทีมสอง เข้าโจมตี สังหารเป้าหมาย และ ผู้ร่วมกลุ่มคนอื่นๆ
เฟส 3 Outer Cordon : นาวิกโยธิน เข้าสำรวจพื้นที่พร้อมกับทหารอัฟกัน ที่เพื่อค้นหา ผู้ก่อการร้ายคนอื่นๆที่ยังหลงเหลือรอบบริเวณ
เฟส 4 Security and Stabilization : นาวิกโยธินพร้อมทหารอัฟกันเข้าเยียวยาประชาชนในพื้นที่
เฟส 5 Exfiltration : นาวิกโยธินจะอยู่ประจำการในพื้นที่อย่างน้อย 1 เดือนเพื่อตรวจสอบและป้องกันไม่ให้กลุ่มผู้ก่อการร้ายกลับมายังพื้นที่อีก แล้วจึงจะเป็นการเสร็จสิ้น ปฏิบัติการ

แต่เรื่องราวที่เกิดขึ้นจนกลายเป็นโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ เกิดขึ้นตอน เฟสที่ 1 เท่านั้น ...
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่