ประชาธิปไตยคือการกระจายอำนาจ เผด็จการคือการรวมศูนย์อำนาจ ทางออกของประเทศไทย

กระทู้คำถาม
แนวคิดที่เป็นรูปธรรมมากที่สุดในประเทศไทย เสนอโดย อ.ประเวศ วะสี ลองศึกษาดูครับ ว่าสิ่งที่กำนันพูดนั้นเป็นจริงได้ครับ

นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส ได้เขียนบทความเรื่อง การปฏิวัติประชาธิปไตยโดยคนไทยทั้งมวล โดยระบุว่า ประเทศไทยพยายามเป็นประชาธิปไตยตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 แต่ไม่สำเร็จ เพราะทำกันแต่รูปแบบ ไม่ได้ปฏิวัติจิตสำนึกประชาธิปไตย ทำให้ปัจจุบันการเมืองไทยเกิดวิกฤติ เพราะเต็มไปด้วยตัณหา มานะ ทิฐิ

"การเลือกตั้งก็กลายเป็นเพียงเครื่องมือ ที่กลุ่มคนที่มีจิตสำนึกอันคับแคบใช้ในการเข้าไปสู่การยึดกุมอำนาจรัฐรวมศูนย์ ความไม่เป็นธรรมจึงเกิดขึ้นทั่วไป บ้านเมืองระส่ำระสาย แก้ปัญหาไม่ได้ ขัดแย้ง แตกแยก และเสี่ยงต่อการเกิดความรุนแรงนองเลือด เคลื่อนเข้าสู่มิคสัญญีกลียุคมากขึ้นเรื่อยๆ จึงจำเป็นต้องมีปฏิวัติประชาธิปไตย"

อาจารย์หมออธิบายต่อว่า การปฏิวัติดังกล่าวทำโดยคนไทยทั้งมวล ไม่ใช่โดยฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด หรือกลุ่มหนึ่งกลุ่มใด ซึ่งการปฏิวัติก็จะเป็นไปด้วยสันติวิธี เพราะความรุนแรงอาจไม่ใช่การปฏิวัติ แต่สันติวิธีก็เป็นการปฏิวัติได้ ถ้าเปลี่ยนจิตสำนึก วิธีคิด ระบบคุณค่า และระบบการปกครอง เพราะคนไทยและประเทศไทยลำบากมามากพอแล้ว จึงถึงเวลาที่คนไทยทั้งมวลทุกหมู่เหล่า ทุกองค์กร ทุกสถาบัน จะรวมตัวกันปฏิวัติประชาธิปไตย สำหรับหลักการปฏิวัติประชาธิปไตย มีหลายข้อ เช่น

1.การปฏิวัติจิตสำนึกประชาธิปไตย ที่เคารพศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นคนของคนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน เคารพประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว ซึ่งจิตสำนึกประชาธิปไตยเป็นรากฐานของประชาธิปไตย

2.การกระจายอำนาจอย่างทั่วถึง เพราะประชาธิปไตยคือการกระจายอำนาจ เผด็จการคือการรวมศูนย์อำนาจ โดยการกระจายอำนาจไปสู่ชุมชนท้องถิ่น


อ่านต่อที่

http://www.posttoday.com/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9/267699/2557%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B8%AF-%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD-
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่