ภาคใต้โมเดล

การต่อสู้ของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนโดยอ้างเงื่อนไขศาสนามุสลิมในภาคใต้ ต่อสู้โดยใช้ความรุนแรง ไม่สนใจกฏหมาย สุดท้าย ทหารไม่สามารถทำให้เกิดความสงบได้ แต่กลับเสนอให้ฝ่ายต่อต้านหัวรุนแรงเข้าร่วมพัฒนาประเทศไทย และนิรโทษกรรมให้ (เป็นเรื่องประหลาด เพราะ การให้เข้าร่วมพัฒนาประเทศไทย ย่อมต้องแลกกับการให้เขาปกครองตนเองได้ อันนี้คงต้องดูกันต่อไป ประเทศไทยจะแตกเป็นเสี่ยงๆ หรือไม่?)

วันนี้ม็อบประกาศชัดว่า กำลังทำรัฐประหาร ปฏิวัติประชาชน ในขณะที่ตุลาการรัฐธรรมนูญ ชี้ว่าไม่ใช่ล้มล้างการปกครอง (เป็นเรื่องประหลาด เพราะ การปฏิวัติ เรียกว่าไม่ล้มล้างการปกครองได้หรือ?) ผมมีความสงสัยว่า ถ้าผู้พิพากษาที่ทำหน้าที่ตัดสินด้วยความผิดพลาดแล้ว ใครจะเป็นผู้คัดค้านถ่วงดุลย์ ในเมื่อศาลอาญา มีสู้กันถึง 3 ศาล แต่ ศาลรัฐธรรมนูญสู้ศาลเดียว แล้วใครจะทำหน้าที่ให้ความเป็นธรรม? กรณีวินิจฉัยผิดพลาด! แล้วความผิดพลาดนั้นใครต้องรับผิดชอบ? ผู้พิพากษาต้องรับผิดชอบหรือไม่? อย่างไร? ใครจะเป็นคนแก้ไขให้ถูกต้อง? แล้วกรณีที่การตัดสิน วินิจฉัยผิดนั้น คำวินิจฉัยยังจะผูกพันธ์ต่อทุกองค์กรอีกหรือไม่? แล้วใครจะเป็นผู้ชี้ว่าผิดหรือถูก?

การถอดถอนก็ดี การแก้กฏหมายรัฐธรรมนูญก็ดี หากต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่ากฏหมายใดแก้ได้หรือไม่ได้? แสดงว่า อำนาจศาลรัฐธรรมนูญกุมอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดต่อฝ่ายบริหาร และนโยบายใช่หรือไม่?

วันนี้ม็อบไม่ได้คำนึงถึงกฏหมายแล้ว (เพราะสุเทพ ประกาศว่าปฏิวัติ ยึดอำนาจ ชัดเจน รวมทั้งการกระทำที่ละเมิดกฏหมายอาญา บุกสถานที่ราชการด้วย) อย่างนี้ คำวินิจฉัยของ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ บอกว่าเป็นการใช้สิทธิ์ชุมนุมตามรัฐธรรมนูญนั้น ยังจะมีผลผูกพันธ์ทุกองค์กรอยู่หรือไม่? เช่นนี้ ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบความผิดพลาดนี้ ซึ่งทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่กล้าจับผู้กระทำผิดกฏหมาย? ถึงขั้นเสียชีวิตเลือดเนื้อต่อทั้งสองฝ่าย คือ ผู้ใช้ความรุ่นแรง คือ ม็อบที่กระทำผิดกฏหมายพยายามบุกยึดสถานที่ราชการ พยายามล้มการเลือกตั้ง ผู้พิพากษาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญต้องรับผิดชอบไหม? ผลออกมาเช่นนี้แล้ว ประชาชนสามารถยกเหตุ และผลนี้ขึ้นถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้หรือไม่? เพราะทำให้เกิดความสูญเสียต่อรัฐ ก่อให้เกิดความไม่มั่นคงต่อประเทศชาติ เพราะกลุ่มม็อบใช้สิทธิ์ชุมนุมเพื่อปฏิวัติ รัฐประหาร ยึดอำนาจ ไม่ได้ชุมนุมโดยสงบตามที่ ผู้พิพากษาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยใช่หรือไม่? กรณีนี้ ประชาชนสามารถฟ้องอาญาผู้พิพากษาได้หรือไม่?

กลุ่มม็อบเห็นโมเดลภาคใต้ กำลังจะดำเนินการทำผิดกฏหมาย แล้วค่อยเข้ามาร่วมพัฒนาประเทศพร้อมนิรโทษกรรมหรือไม่? เพราะจะตั้งสภาประชาชนที่มีอำนาจออกกฏหมายได้ ตามที่ประกาศบนเวที และปรากฏตามสื่อทั่วไป เช่นนี้ คำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ยังมีผลผูกพันธ์ต่อทุกองค์กรอีกหรือไม่? ความผิดพลาดนี้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะให้ใครเป็นผู้ชี้ผิดถูก?

ผมกำลังสงสัยว่าคนไทยทุกวันนี้กำลังใช้กฏหมายฉบับเดียวกันหรือไม่?
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่