ลงบันไดเครื่อง ยังไม่ทันได้เหยียบแผ่นดิน โดนสอย ตอนยิงนาทีที่ 3.00

ย้อนอดีต เบนิโญ อาคิโน ทันทีที่ลงจากเครื่องบิน ก็ถูกลอบสังหาร
ในประวัติศาสตร์การเมืองของฟิลิปปินส์ อาคิโนคนแรกที่เป็นที่รู้จักคือ นายเบนิโญ เซอร์บิยาโน อาคิโน จูเนียร์ (Benigno Servillano Aquino Jr., 1933-1983) หรือที่ชาวฟิลิปปินส์มักจะเรียกด้วยชื่อเล่นว่า "นินอย" (Ninoy) อดีตวุฒิสมาชิกผู้ต่อต้าน นายเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส (Ferdinand Marcos) ประธานาธิบดีเผด็จการในขณะนั้น เขามาจากตระกูลเจ้าของที่ดินที่มั่งคั่ง ปู่ทวดของเขาทำงานให้กับอดีตประธานาธิบดีอากินัลโด (Aguinaldo)ปู่ของเขาอยู่ในรัฐบาลสมัยประธานาธิบดีมานูเอล เคซอน (Manuel L. Quezon) และประธานาธิบดีโฮเซ ลอเรล (Jose P. Laurel)
สำหรับนายเบนิโญ อาคิโนผู้นี้ จะเรียกได้ว่าเขาเกิดมาเพื่อเป็นนักการเมืองก็ได้ เพราะด้วยอายุเพียงยี่สิบต้นๆ ก็สามารถก้าวขึ้นเป็นผู้ว่าการเทศบาลที่อายุน้อยที่สุดในประเทศได้ และเป็นผู้ช่วยผู้ว่าการนครที่อายุน้อยที่สุดในวัย 27 ปี ก่อนจะขึ้นเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดทาร์ลักบ้านเกิด ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงมะนิลาไปทางเหนือราว 120 กม. ในปี 1961 เมื่ออายุ 29 ปี และดำรงตำแหน่งเลขาธิการใหญ่ของพรรคเสรี (Liberal Party-LP) ในปี 1966 และสร้างประวัติศาสตร์อีกครั้งด้วยการได้รับเลือกให้เป็นวุฒิสมาชิกที่อายุน้อยที่สุดในวัย 34 ปี
นายอาคิโนเป็นที่รักของประชาชนชาวฟิลิปปินส์ เพราะการเป็นผู้นำฝ่ายค้านต่อต้านประธานาธิบดีเฟอร์ดินานด์ มาร์กอสอย่างกล้าหาญ เป้าหมายสูงสุดของเขาคือ การล้มล้างระบอบเผด็จการซึ่งบ่อนทำลายประเทศมายาวนาน และวางรากฐานประชาธิปไตยลงบนผืนแผ่นดินเกิด จากการต่อสู้อย่างไม่เกรงกลัวอิทธิพลนี่เอง ที่ภายหลังเขาถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีฆาตกรรม มีอาวุธปืนในครอบครอง และถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลา 7 ปี
นายอาคิโนประท้วงรัฐบาลเผด็จการด้วยการอดอาหารประท้วงภายในคุก แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ภายหลังนายอาคิโนล้มป่วยจากโรคหัวใจ และได้รับอนุญาตให้เดินทางไปรับการผ่าตัดบายพาส ณ ประเทศสหรัฐอเมริกาในปี 1980 โดยไม่ได้รับอนุญาตให้เดินทางกลับเข้าประเทศอีก ครอบครัวอาคิโนจึงต้องใช้ชีวิตที่เมืองบอสตัน สหรัฐอเมริกานานกว่า 3 ปี
ตลอดระยะเวลาที่อยู่นอกประเทศ นายอาคิโนเดินสายบรรยายในมหาวิทยาลัย ในที่สุดก็ตัดสินใจเดินทางกลับฟิลิปปินส์ แม้จะได้รับการทัดทานจากครอบครัวก็ตาม ก่อนหน้าที่จะเดินทาง คนใกล้ชิดสายการเมืองต่างก็เตือนถึงการขู่เอาชีวิตจากผู้กุมอำนาจขณะนั้น แต่นายอาคิโนได้ตัดสินใจแล้ว
วันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ.1983 เขาเดินทางกลับมาคนเดียวก่อน แม้นายอาคิโนจะสวมเสื้อกันกระสุนตามคำแนะนำแกมขอร้องจากคนรอบข้าง แต่เขาก็รู้ดีว่าหากถูกปองร้ายจริงๆ ก็คงยากที่จะรอด และก็เป็นดังที่คาด แทบจะทันทีที่ก้าวเท้าลงมาสัมผัสผืนแผ่นดินเกิด ณ สนามบินนานาชาติมะนิลา (Manila International Airport-MIA) เขาก็ถูกยิง กระสุนเจาะเข้าที่ศีรษะและเสียชีวิตด้วยวัยเพียง 50 ปี ร่างของเขาถูกฝังไว้ที่ มะนิลาเมโมเรียลปาร์ก ต่อมานายพลเวอร์ (General Ver) ผู้สนับสนุนคนหนึ่งของนายมาร์กอสถูกจับ สองปีให้หลังถูกศาลตัดสินว่ามีความผิดในคดีลอบสังหารนายอาคิโน
ถ้าแม้วกลับมาเมืองไทยมีสิทธิ์โดนแบบ ไอคิโน ป่าวคับ
ย้อนอดีต เบนิโญ อาคิโน ทันทีที่ลงจากเครื่องบิน ก็ถูกลอบสังหาร
ในประวัติศาสตร์การเมืองของฟิลิปปินส์ อาคิโนคนแรกที่เป็นที่รู้จักคือ นายเบนิโญ เซอร์บิยาโน อาคิโน จูเนียร์ (Benigno Servillano Aquino Jr., 1933-1983) หรือที่ชาวฟิลิปปินส์มักจะเรียกด้วยชื่อเล่นว่า "นินอย" (Ninoy) อดีตวุฒิสมาชิกผู้ต่อต้าน นายเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส (Ferdinand Marcos) ประธานาธิบดีเผด็จการในขณะนั้น เขามาจากตระกูลเจ้าของที่ดินที่มั่งคั่ง ปู่ทวดของเขาทำงานให้กับอดีตประธานาธิบดีอากินัลโด (Aguinaldo)ปู่ของเขาอยู่ในรัฐบาลสมัยประธานาธิบดีมานูเอล เคซอน (Manuel L. Quezon) และประธานาธิบดีโฮเซ ลอเรล (Jose P. Laurel)
สำหรับนายเบนิโญ อาคิโนผู้นี้ จะเรียกได้ว่าเขาเกิดมาเพื่อเป็นนักการเมืองก็ได้ เพราะด้วยอายุเพียงยี่สิบต้นๆ ก็สามารถก้าวขึ้นเป็นผู้ว่าการเทศบาลที่อายุน้อยที่สุดในประเทศได้ และเป็นผู้ช่วยผู้ว่าการนครที่อายุน้อยที่สุดในวัย 27 ปี ก่อนจะขึ้นเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดทาร์ลักบ้านเกิด ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงมะนิลาไปทางเหนือราว 120 กม. ในปี 1961 เมื่ออายุ 29 ปี และดำรงตำแหน่งเลขาธิการใหญ่ของพรรคเสรี (Liberal Party-LP) ในปี 1966 และสร้างประวัติศาสตร์อีกครั้งด้วยการได้รับเลือกให้เป็นวุฒิสมาชิกที่อายุน้อยที่สุดในวัย 34 ปี
นายอาคิโนเป็นที่รักของประชาชนชาวฟิลิปปินส์ เพราะการเป็นผู้นำฝ่ายค้านต่อต้านประธานาธิบดีเฟอร์ดินานด์ มาร์กอสอย่างกล้าหาญ เป้าหมายสูงสุดของเขาคือ การล้มล้างระบอบเผด็จการซึ่งบ่อนทำลายประเทศมายาวนาน และวางรากฐานประชาธิปไตยลงบนผืนแผ่นดินเกิด จากการต่อสู้อย่างไม่เกรงกลัวอิทธิพลนี่เอง ที่ภายหลังเขาถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีฆาตกรรม มีอาวุธปืนในครอบครอง และถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลา 7 ปี
นายอาคิโนประท้วงรัฐบาลเผด็จการด้วยการอดอาหารประท้วงภายในคุก แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ภายหลังนายอาคิโนล้มป่วยจากโรคหัวใจ และได้รับอนุญาตให้เดินทางไปรับการผ่าตัดบายพาส ณ ประเทศสหรัฐอเมริกาในปี 1980 โดยไม่ได้รับอนุญาตให้เดินทางกลับเข้าประเทศอีก ครอบครัวอาคิโนจึงต้องใช้ชีวิตที่เมืองบอสตัน สหรัฐอเมริกานานกว่า 3 ปี
ตลอดระยะเวลาที่อยู่นอกประเทศ นายอาคิโนเดินสายบรรยายในมหาวิทยาลัย ในที่สุดก็ตัดสินใจเดินทางกลับฟิลิปปินส์ แม้จะได้รับการทัดทานจากครอบครัวก็ตาม ก่อนหน้าที่จะเดินทาง คนใกล้ชิดสายการเมืองต่างก็เตือนถึงการขู่เอาชีวิตจากผู้กุมอำนาจขณะนั้น แต่นายอาคิโนได้ตัดสินใจแล้ว
วันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ.1983 เขาเดินทางกลับมาคนเดียวก่อน แม้นายอาคิโนจะสวมเสื้อกันกระสุนตามคำแนะนำแกมขอร้องจากคนรอบข้าง แต่เขาก็รู้ดีว่าหากถูกปองร้ายจริงๆ ก็คงยากที่จะรอด และก็เป็นดังที่คาด แทบจะทันทีที่ก้าวเท้าลงมาสัมผัสผืนแผ่นดินเกิด ณ สนามบินนานาชาติมะนิลา (Manila International Airport-MIA) เขาก็ถูกยิง กระสุนเจาะเข้าที่ศีรษะและเสียชีวิตด้วยวัยเพียง 50 ปี ร่างของเขาถูกฝังไว้ที่ มะนิลาเมโมเรียลปาร์ก ต่อมานายพลเวอร์ (General Ver) ผู้สนับสนุนคนหนึ่งของนายมาร์กอสถูกจับ สองปีให้หลังถูกศาลตัดสินว่ามีความผิดในคดีลอบสังหารนายอาคิโน