ตอนนี้ยังจะไม่พูดถึงภาษาอินเทอร์เน็ต น่ะครับ จะเอ่ยถึงเพียงแค่เฉพาะการใช้ภาษาไทยปกติทั่ว ๆ ไปซึ่งใช้กันจนเคยชินไปจนไม่รู้ตัวว่าตนใช้ผิดของนักเรียนสมัยนี้ ซึ่งถ้าปล่อยไปจนโต มันอันตรายมาก
เคยเป็นหรือรู้สึกไหมครับ เกิดอาการเบื่อและรำคาญคนที่ใช้ภาษาไทยไม่ถูกต้อง ที่พบเห็นบ่อย เช่น อักษรต่ำแต่ใช้ไม้ตรี น๊า ลั๊นลา ว๊า สนุ๊ก น่าร๊าก ฯลฯ จริง ๆ ไม่ใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์ใด ๆ เลยก็ได้ หรือถ้าจะใช้ ให้ใช้ไม้โท อย่างเดียว
ผมเรียนภาษาต่างประเทศมาห้าภาษา ใช้การได้มากน้อยลดหลั่นกันไป แต่ถึงอย่างไรก็ตาม จะให้ความสำคัญของภาษาไทยเท่า ๆ กันกับภาษาต่างประเทศที่เรียนเลย เพราะถ้าเรียนและฝึกฝนถึงขั้นกลางถึงสูงแล้ว จะหนีการแปลไม่พ้น โดยต้องมีการแปลจากภาษาต่างประเทศภาษาหนึ่งเป็นภาษาไทย หรือแปลจากภาษาไทยเป็นภาษาต่างประเทศภาษานั้น ๆ ผู้อื่นจึงเห็นความสามารถของเราได้จากทักษะตรงนี้ โดยเฉพาะการแปลเอกสารเป็นสำคัญ ถ้าภาษาไทยไม่ดี ตีความไม่แตก เลือกใช้คำไม่ถูกต้อง เขียนผิด ฯลฯ ก็จะสื่อความแปลความผิดพลาดได้ ทำให้เกิดความเสียหาย และส่อถึงพื้นฐานทางภาษาแม่อันอ่อนด้อยของคน ๆ นั้นด้วย เห็นชาวต่างชาติเรียนภาษาไทยเก่ง ๆ แล้ว น่าละอายใจ คนเราถ้าภาษาไทยซึ่งเป็นภาษาแม่ไม่ดี การเรียนภาษาต่างประเทศให้ดีก็ยากครับ
และที่พบบ่อย มักจะใช้กันจนเคยชินในภาษาพูด เนื่องจากภาษาพูดมักตัดเป็นเสียงพยางค์สั้น และบางคำได้รับอิทธิพลจากเสียงพยางค์ท้าย จนการออกเสียงเปลี่ยนไป พอไม่รู้ตาม้าตาเรือ นำมาเขียนจนชิน กระทั่งแทบจะไม่รู้ที่มา นำคำภาษาพูดมาเขียนเฉยเลย ทั้ง ๆ ที่รายงานหรือโครงงานต้องใช้ภาษามาตรฐาน เช่น ...ละกัน (...แล้วกัน) ...มั่ง (...บ้าง) ยังไง (อย่างไร) เป็นไง (เป็นอย่างไร) ฯลฯ
หรือการใช้คำที่ถูกต้องตามกาละเทศะหรือถูกกับความหมายสำหรับการสื่อสารในประโยค เช่น คะ/ค่ะ แก่/แด่ การใช้ไม้ม้วนไม้มลาย ฯลฯ
ทุกท่านคิดเช่นไรกันบ้างครับ
ทุกท่านคิดเห็นเป็นเช่นไรกับการใช้ภาษาไทยวันนี้
เคยเป็นหรือรู้สึกไหมครับ เกิดอาการเบื่อและรำคาญคนที่ใช้ภาษาไทยไม่ถูกต้อง ที่พบเห็นบ่อย เช่น อักษรต่ำแต่ใช้ไม้ตรี น๊า ลั๊นลา ว๊า สนุ๊ก น่าร๊าก ฯลฯ จริง ๆ ไม่ใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์ใด ๆ เลยก็ได้ หรือถ้าจะใช้ ให้ใช้ไม้โท อย่างเดียว
ผมเรียนภาษาต่างประเทศมาห้าภาษา ใช้การได้มากน้อยลดหลั่นกันไป แต่ถึงอย่างไรก็ตาม จะให้ความสำคัญของภาษาไทยเท่า ๆ กันกับภาษาต่างประเทศที่เรียนเลย เพราะถ้าเรียนและฝึกฝนถึงขั้นกลางถึงสูงแล้ว จะหนีการแปลไม่พ้น โดยต้องมีการแปลจากภาษาต่างประเทศภาษาหนึ่งเป็นภาษาไทย หรือแปลจากภาษาไทยเป็นภาษาต่างประเทศภาษานั้น ๆ ผู้อื่นจึงเห็นความสามารถของเราได้จากทักษะตรงนี้ โดยเฉพาะการแปลเอกสารเป็นสำคัญ ถ้าภาษาไทยไม่ดี ตีความไม่แตก เลือกใช้คำไม่ถูกต้อง เขียนผิด ฯลฯ ก็จะสื่อความแปลความผิดพลาดได้ ทำให้เกิดความเสียหาย และส่อถึงพื้นฐานทางภาษาแม่อันอ่อนด้อยของคน ๆ นั้นด้วย เห็นชาวต่างชาติเรียนภาษาไทยเก่ง ๆ แล้ว น่าละอายใจ คนเราถ้าภาษาไทยซึ่งเป็นภาษาแม่ไม่ดี การเรียนภาษาต่างประเทศให้ดีก็ยากครับ
และที่พบบ่อย มักจะใช้กันจนเคยชินในภาษาพูด เนื่องจากภาษาพูดมักตัดเป็นเสียงพยางค์สั้น และบางคำได้รับอิทธิพลจากเสียงพยางค์ท้าย จนการออกเสียงเปลี่ยนไป พอไม่รู้ตาม้าตาเรือ นำมาเขียนจนชิน กระทั่งแทบจะไม่รู้ที่มา นำคำภาษาพูดมาเขียนเฉยเลย ทั้ง ๆ ที่รายงานหรือโครงงานต้องใช้ภาษามาตรฐาน เช่น ...ละกัน (...แล้วกัน) ...มั่ง (...บ้าง) ยังไง (อย่างไร) เป็นไง (เป็นอย่างไร) ฯลฯ
หรือการใช้คำที่ถูกต้องตามกาละเทศะหรือถูกกับความหมายสำหรับการสื่อสารในประโยค เช่น คะ/ค่ะ แก่/แด่ การใช้ไม้ม้วนไม้มลาย ฯลฯ
ทุกท่านคิดเช่นไรกันบ้างครับ