"เพื่อนๆที่อยากเข้าใจแบบง่ายๆว่าประชาธิปไตยคืออะไร เอาแบบนี้เลยครับ ประชาธิปไตยมาจากความคิดที่ว่า ทุกคนมีอำนาจในการปกครองประเทศเท่ากันหมด ไม่มีใครมีอำนาจมากกว่าใคร อำนาจที่นักการเมืองมีต้องเป็นอำนาจชั่วคราว ที่เมื่อผ่านไปเวลาหนึ่งเช่นสี่ปี ก็จะต้องกลับคืนมาสู่ประชาชน อำนาจที่ว่านี้ไม่เกี่ยวกับชาติตระกูล ไม่ใชว่าถ้าคุณมีนามสกุลนี้แล้วคุณจะโหวดทีเดียวได้ห้าคะแนน แต่คนอื่นได้แค่คะแนนเดียว หรือไม่เกี่ยวกับว่าคุณรวยหรือจน ไม่เกี่ยวกับวุฒิการศึกษา (เคยมีคนเสนอว่าคนมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งต้องจบ ป. ตรีขึ้นไป แต่โดนวิจารณ์จนตกไปอย่างรวดเร็ว) แต่เกี่ยวกับว่าคุณมีความเป็นตัวของตัวเองพอหรือยัง
ดังนั้นรัฐธรรมนูญจึงกำหนดว่าต้องอายุสิบแปดก่อนถึงจะโหวตได้ ทีนี้หลายคนเอาประเด็นเรื่องโกงกินมาปนกับประชาธิปไตย มันทำให้สับสนครับ หลายคนพยายามจะอ้างว่าประชาธิปไตยเป็นระบอบที่รับไม่ได้ เพราะเปิดโอกาสให้มีการโกงกิน แต่จริงๆแล้วไม่ว่าระบบไหนก็สามารถโกงกินได้ทั้งนั้น ระบอบเผด็จการที่ปกครองโดยคนๆเดียวก็โกงกินได้ ระบอบที่ปกครองโดยคณะบุคคล แบบ คมช. สมัยปี 49 ก็โกงกินได้ ประเทศอิตาลีตอนมุสโสลินีปกครองรวบอำนาจคนเดียวก็โกง ตอนเป็นประชาธิปไตยมีหลายพรรคแบบตอนนี้ก็โกง มันไม่ใช่ว่าต้องเป็นประชาธิปไตยอย่างเดียวถึงจะโกงได้
ดังนั้นถ้าเราไม่ชอบโกง ถึงจะเปลี่ยนระบอบมันก็ยังโกงได้อยู่ดี ต้องแก้ที่ต้นเหตุครับ คือต้องมีระบบตรวจสอบและ accountability (ความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ทำลงไป) ที่เข้มแข็ง แต่ทีนี้ระบบที่ว่านี้มันจะเข้มแข็งได้ ก็ต้องเป็นประชาธิปไตยก่อนอยู่ดี อิตาลีที่ตอนนี้เป็นประชาธิปไตยแล้วยังโกงอยู่ ก็เพราะคนชอบโกง เป็นมาตั้งแต่สมัยโรมันแล้ว แต่พอเป็นประชาธิปไตยโอกาสจับคนโกงได้มีมากกว่าตอนเป็นเผด็จการภายใต้มุสโสลินี เมื่อการโกงกับประชาธิปไตยเป็นคนละประเด็น เราก็ต้องมาดูถึงเหตุผลพื้นฐานที่ทำให้เรายอมรับประชาธิปไตยมากกว่าระบอบการปกครองแบบอื่นๆ
ก็คือเรื่องที่ว่าคนทุกคนมีอำนาจในการปกครองประเทศเท่ากัน ประชาธิปไตยอย่างเดียวที่เป็นแบบนี้ แบบอื่นเช่นเผด็จการหรือสมบูรณาญาฯ บางทีถ้าได้คนปกครองดีๆ ก็ดีไป แต่ถ้าไม่ดี มันจะเลวร้ายสุดๆ เพราะอำนาจอยุ่ในมือคนๆเดียว ถ้าแบ่งอำนาจกันให้กระจายออกไป โอกาสที่จะเกิดเลวร้ายสุดๆก็จะไม่มี"
ประชาชนใน ประเทศกรุงเทพ ท่านหนึ่ง
CR.
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=579361658800959&set=a.539907092746416.1073741828.539898509413941&type=1&theater
สิ่งที่ถูกต้อง และควรจะเป็น กติกา มิใช่กติกู เป็นคนดี เป็นคนมีการศึกษา ต้องเป็นให้ถูกต้อง ด้วยการกระทำจริงๆ
"เพื่อนๆที่อยากเข้าใจแบบง่ายๆว่าประชาธิปไตยคืออะไร เอาแบบนี้เลยครับ ประชาธิปไตยมาจากความคิดที่ว่า ทุกคนมีอำนาจในการปกครองประเทศเท่ากันหมด ไม่มีใครมีอำนาจมากกว่าใคร อำนาจที่นักการเมืองมีต้องเป็นอำนาจชั่วคราว ที่เมื่อผ่านไปเวลาหนึ่งเช่นสี่ปี ก็จะต้องกลับคืนมาสู่ประชาชน อำนาจที่ว่านี้ไม่เกี่ยวกับชาติตระกูล ไม่ใชว่าถ้าคุณมีนามสกุลนี้แล้วคุณจะโหวดทีเดียวได้ห้าคะแนน แต่คนอื่นได้แค่คะแนนเดียว หรือไม่เกี่ยวกับว่าคุณรวยหรือจน ไม่เกี่ยวกับวุฒิการศึกษา (เคยมีคนเสนอว่าคนมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งต้องจบ ป. ตรีขึ้นไป แต่โดนวิจารณ์จนตกไปอย่างรวดเร็ว) แต่เกี่ยวกับว่าคุณมีความเป็นตัวของตัวเองพอหรือยัง
ดังนั้นรัฐธรรมนูญจึงกำหนดว่าต้องอายุสิบแปดก่อนถึงจะโหวตได้ ทีนี้หลายคนเอาประเด็นเรื่องโกงกินมาปนกับประชาธิปไตย มันทำให้สับสนครับ หลายคนพยายามจะอ้างว่าประชาธิปไตยเป็นระบอบที่รับไม่ได้ เพราะเปิดโอกาสให้มีการโกงกิน แต่จริงๆแล้วไม่ว่าระบบไหนก็สามารถโกงกินได้ทั้งนั้น ระบอบเผด็จการที่ปกครองโดยคนๆเดียวก็โกงกินได้ ระบอบที่ปกครองโดยคณะบุคคล แบบ คมช. สมัยปี 49 ก็โกงกินได้ ประเทศอิตาลีตอนมุสโสลินีปกครองรวบอำนาจคนเดียวก็โกง ตอนเป็นประชาธิปไตยมีหลายพรรคแบบตอนนี้ก็โกง มันไม่ใช่ว่าต้องเป็นประชาธิปไตยอย่างเดียวถึงจะโกงได้
ดังนั้นถ้าเราไม่ชอบโกง ถึงจะเปลี่ยนระบอบมันก็ยังโกงได้อยู่ดี ต้องแก้ที่ต้นเหตุครับ คือต้องมีระบบตรวจสอบและ accountability (ความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ทำลงไป) ที่เข้มแข็ง แต่ทีนี้ระบบที่ว่านี้มันจะเข้มแข็งได้ ก็ต้องเป็นประชาธิปไตยก่อนอยู่ดี อิตาลีที่ตอนนี้เป็นประชาธิปไตยแล้วยังโกงอยู่ ก็เพราะคนชอบโกง เป็นมาตั้งแต่สมัยโรมันแล้ว แต่พอเป็นประชาธิปไตยโอกาสจับคนโกงได้มีมากกว่าตอนเป็นเผด็จการภายใต้มุสโสลินี เมื่อการโกงกับประชาธิปไตยเป็นคนละประเด็น เราก็ต้องมาดูถึงเหตุผลพื้นฐานที่ทำให้เรายอมรับประชาธิปไตยมากกว่าระบอบการปกครองแบบอื่นๆ
ก็คือเรื่องที่ว่าคนทุกคนมีอำนาจในการปกครองประเทศเท่ากัน ประชาธิปไตยอย่างเดียวที่เป็นแบบนี้ แบบอื่นเช่นเผด็จการหรือสมบูรณาญาฯ บางทีถ้าได้คนปกครองดีๆ ก็ดีไป แต่ถ้าไม่ดี มันจะเลวร้ายสุดๆ เพราะอำนาจอยุ่ในมือคนๆเดียว ถ้าแบ่งอำนาจกันให้กระจายออกไป โอกาสที่จะเกิดเลวร้ายสุดๆก็จะไม่มี"
ประชาชนใน ประเทศกรุงเทพ ท่านหนึ่ง
CR. https://www.facebook.com/photo.php?fbid=579361658800959&set=a.539907092746416.1073741828.539898509413941&type=1&theater