ออกตัวก่อนนะครับว่า ผมไม่ได้จบวิศวะโยธา ไม่ได้เป็นช่าง ไม่ได้มีความรู้เรื่องนี้มากมายนะครับ ผมก็อาศัยอ่านจากหนังสือที่แจกฟรีในเน็ตนี่ล่ะครับ แล้วก็ไปตรวจด้วยตนเอง เลยเอาประสบการณ์มาแชร์ให้สำหรับผู้ที่ยังลังเลอยู่ว่าจะตรวจเอง หรือ จะจ้างเค้า เห็นช่วงนี้มีกระทู้สอบถามมาเยอะ เลยขออนุญาตแชร์ครับ
หนังสือที่ผมใช้ คือ เล่มนี้ครับ
http://www.thaiengineering.com/chk.pdf ต้องขอขอบคุณผู้เขียน และผู้เผยแพร่นะครับ
แนะนำว่า หากคิดจะตรวจรับเอง ควรต้องอ่านเล่มนี้ให้จบ อย่างน้อย 2 รอบ จะทำให้เข้าใจและจดจำได้ดียิ่งขึ้นนะครับ หนังสือเล่มบางๆครับ อ่านแป๊บเดียวก็จบรอบนึงแล้วครับ
ขั้นตอนการเตรียมการ
1. นัดวันที่จะตรวจรับบ้านกับทางโครงการ โดยเลือกวันที่ว่างทั้งวันนะครับ เพราะต้องใช้เวลาทั้งวันในการตรวจแน่นอน ส่วนจะเอาวันไหน ก็นัดกับเซลล์ได้เลยครับ สำหรับผม เนื่องจากผมรู้ตัวดีว่า ผมขี้เกรงใจ ถ้ามีคนมาเดินตรวจกับผม อาจทำให้ผมตรวจไม่ละเอียด และไม่มีสมาธิในการตรวจ ผมเลยนัดกับเซลล์ ช่วงบ่าย 2 (โครงการของผม มีเซลล์ วิศวะโยธา โฟร์แมน สถาปนิก มาเดินร่วมด้วย) ส่วนตัวผมจะเข้ามาตรวจก่อนตอนเช้า (ประมาณ 9 โมงเช้า) เพื่อที่ว่า จะได้นำเสนอข้อมูลได้เลย ไม่เสียเวลาครับ
2. สิ่งสำคัญคือ ต้องให้ทางโครงการต่อน้ำต่อไฟเข้าบ้านให้เราก่อนตรวจรับครับ เพื่อจะได้เช็คว่ามีปัญหาไฟรั่ว น้ำรั่วตรงไหนหรือไม่ แต่ทั้งนี้ถ้าไม่ได้ต่อมิเตอร์ ก็อาจจะเช็คการรั่วของน้ำและไฟแบบเล็กๆน้อยๆไม่ได้ ถ้าโครงการไหนยังไม่ต่อให้ สั่งให้ทำเลยครับ บอกเค้าเลยว่า ถ้าเอ็งยังไม่ต่อ ข้าก็ยังไม่เข้าตรวจ 5555 ถ้ายังไม่โอน เอ็งก็ยังไม่ได้ค่าคอม 555

(แต่เราก็ได้เข้าบ้านช้าด้วย T_T

) ของผมทางโครงการต่อน้ำไฟเข้าแบบชั่วคราวให้เลย ไม่ต้องขอ
3. นอกจากนี้ อาจให้โครงการเค้าเตรียมบันไดพับไว้ด้วย (จะได้ใช้ตรวจใต้หลังคา เข้าทางช่องเซอร์วิส) แต่ต้องถามให้ดีนะครับว่าบันไดสูงแค่ไหน เข้าบ้านได้มั้ย เพราะของผม ขอเค้าไว้ ทางโครงการก็เตรียมให้ แต่เป็นบันไดยาว เอาเข้าบ้านไม่ได้

ถ้าอยากจะตรวจใต้หลังคาด้วย ก็ต้องหาบันไดมาเองด้วย (แต่ของผมหาไม่ได้ เลยไม่ได้ตรวจ)
4. อุปกรณ์ที่เตรียมไป อ้างอิงตามหนังสือที่ผมโพสไว้ข้างบนนะครับ มีบางหัวข้อไม่ได้ใช้ก็มีครับ
1) กระดาษจดข้อมูล + ปากกา/ดินสอ ผมใช้เป็นสมุด เพราะจะได้ไม่ปลิวหาย ถ้าเป็นกระดาษ ควรเตรียมกระดานหนีบไปด้วยจะได้เขียนได้สะดวกนะครับ ในหนังสือทำเป็นตารางด้วย จริงๆก็ดีนะครับ แต่สำหรับผมไม่ชอบ เพราะผมต้องวาดรูปด้วย เพื่อระบุตำแหน่งแบบภาพรวมให้ชัดเจน
2) แปลนบ้าน ของผมมีอยู่ แต่ขี้เกียจพก และคงไม่ได้ไปขุดคุ้ยดูท่อน้ำท่อไฟภายในแน่ๆ จึงไม่ได้ใช้ครับ แต่ถ้าจะดูละเอียดก็เอาไปด้วยครับ
3) อุปกรณ์ทำเครื่องหมาย เพื่อใช้มาร์คตำแหน่งที่มีปัญหา ผมใช้เทปพันสายไฟสีดำ เพราะมีอยู่แล้ว แนะนำว่าควรใช้เทปสีเข้มๆชัดๆ ถ้าใช้สีอ่อนจะดูยาก ถ้ามีเทปกาวที่ฉีกด้วยมือได้ก็จะยิ่งสะดวก
4) อุปกรณ์ตัด ผมใช้กรรไกร
5) ไฟฉาย แนะนำว่าควรใช้ไฟสว่างๆ แต่ไม่หนักมากนะครับ เพราะจะได้ใช้ส่องในซอกแคบๆมืดๆ เช่น ใต้อ่างล้างมือ ใต้หลังคา
6) ถังน้ำ ใช้สำหรับตักน้ำเทราด เพื่อเช็คการระบายน้ำ สำหรับผม เอาไปแต่ไม่ได้ใช้ เพราะมีก๊อกระดับต่ำ และฝักบัวฉีดก้น จึงใช้ฉีดราดได้เลย
7) เศษผ้า ใช้เพื่ออุดสะดืออ่าง แต่ของผมมีจุกยางอุดทุกอ่าง เลยไม่ต้องใช้
8) ไม้ตรงๆยาวๆ ใช้เพื่อเช็คระนาบความเรียบ แต่ผมหาได้แค่ไม้บรรทัดนักเรียน 1 ฟุต เอาเข้าจริงก็ไม่ได้ใช้ อาศัยแค่ว่าเดินแล้วไม่พบลักษณะเป็นแอ่ง หรือ เนิน ชัดๆ ก็พอ ส่วนกำแพง ถ้าเอียงจนมองเห็นด้วยตาแล้ว ก็คงต้องแก้ไขแล้วล่ะครับ
9) ลูกแก้ว ใช้เช็คความลาดเอียง ผมเตรียมเป็นถุงเลย แต่ไม่ได้ใช้ เพราะใช้หลักตามข้อ 8 ถ้าเป็นความลาดเอียงที่ราดน้ำได้ ก็ใช้น้ำราดเอา
10) ขนมปัง ใช้แทนอุนจิ เพื่อเช็คการชักโครก (แต่ถ้าใครปวดอึอยู่ อาจใช้ของจริงทดสอบแทนก็ได้นะครับ) ผมวิ่งเข้าเซเว่นเช้าวันนั้นแหละครับ โดยฉีกเอาเปลือกนอกออก ใช้จริงแค่ 2 แผ่นต่อส้วม 1 แห่ง ที่เหลือก็กินแก้หิวระหว่างตรวจ
11) กล้องดิจิตัล อันนี้สำคัญครับ เพราะใช้ถ่ายจุดที่มีปัญหาไว้เป็นหลักฐาน และใช้ทบทวนความจำร่วมกับข้อมูลที่จดไว้ด้วยครับ ถ้าเป็นไปได้ ควรเลือกกล้องที่ซูมได้เยอะๆหน่อย เพราะจะได้ส่องดูบริเวณที่อยู่สูงๆ แต่อย่าเอากล้องเทพๆไปเลยครับ จะสร้างความปวดเมื่อยเปล่าๆ ของผมใช้ fuji hs 20 (ซูมได้ 30x)
12) อุปกรณ์ไฟฟ้า ผมใช้เป็นสายชาร์จโทรศัพท์ ครับ เบาดี
13) โทรศัพท์ ผมไม่ได้เช็ค เพราะมันหาอุปกรณ์ยากครับ ไว้ถ้าจะติดแล้วค่อยตรวจละกัน หุหุ
14) ไขควงเช็คไฟ ผมใช้แค่อันนี้แหละตรวจระบบไฟ ด้วยหลักการว่า รูปลั๊ก 3 รู ควรมีไฟเข้าแค่รูเดียว อีก 2 รู เป็นสาย Neutral และ สาย Ground ซึ่งไม่ควรมีไฟเข้า ถ้ามีไฟเข้า ก็ผิดปกติ ถ้าหาไขควงแบบที่เปลี่ยนสลับหัวได้ก็ยิ่งดีครับ จะได้ใช้ขันน็อตได้ด้วยเลย
ที่สำคัญ ควรมีผู้ช่วยไปช่วยตรวจด้วย เพราะทั้งตรวจ ทั้งจด ทั้งถ่ายรูป ไม่ไหวหรอกครับ ผมหนีบแฟนไปด้วย โดยผมเป็นคนตรวจ แฟนเป็นคนจดข้อมูล ถ่ายรูป และ ป้อนขนมปัง
[CR] รีวิว ประสบการณ์ตรวจรับบ้านด้วยตนเอง ครับ
ออกตัวก่อนนะครับว่า ผมไม่ได้จบวิศวะโยธา ไม่ได้เป็นช่าง ไม่ได้มีความรู้เรื่องนี้มากมายนะครับ ผมก็อาศัยอ่านจากหนังสือที่แจกฟรีในเน็ตนี่ล่ะครับ แล้วก็ไปตรวจด้วยตนเอง เลยเอาประสบการณ์มาแชร์ให้สำหรับผู้ที่ยังลังเลอยู่ว่าจะตรวจเอง หรือ จะจ้างเค้า เห็นช่วงนี้มีกระทู้สอบถามมาเยอะ เลยขออนุญาตแชร์ครับ
หนังสือที่ผมใช้ คือ เล่มนี้ครับ http://www.thaiengineering.com/chk.pdf ต้องขอขอบคุณผู้เขียน และผู้เผยแพร่นะครับ
แนะนำว่า หากคิดจะตรวจรับเอง ควรต้องอ่านเล่มนี้ให้จบ อย่างน้อย 2 รอบ จะทำให้เข้าใจและจดจำได้ดียิ่งขึ้นนะครับ หนังสือเล่มบางๆครับ อ่านแป๊บเดียวก็จบรอบนึงแล้วครับ
ขั้นตอนการเตรียมการ
1. นัดวันที่จะตรวจรับบ้านกับทางโครงการ โดยเลือกวันที่ว่างทั้งวันนะครับ เพราะต้องใช้เวลาทั้งวันในการตรวจแน่นอน ส่วนจะเอาวันไหน ก็นัดกับเซลล์ได้เลยครับ สำหรับผม เนื่องจากผมรู้ตัวดีว่า ผมขี้เกรงใจ ถ้ามีคนมาเดินตรวจกับผม อาจทำให้ผมตรวจไม่ละเอียด และไม่มีสมาธิในการตรวจ ผมเลยนัดกับเซลล์ ช่วงบ่าย 2 (โครงการของผม มีเซลล์ วิศวะโยธา โฟร์แมน สถาปนิก มาเดินร่วมด้วย) ส่วนตัวผมจะเข้ามาตรวจก่อนตอนเช้า (ประมาณ 9 โมงเช้า) เพื่อที่ว่า จะได้นำเสนอข้อมูลได้เลย ไม่เสียเวลาครับ
2. สิ่งสำคัญคือ ต้องให้ทางโครงการต่อน้ำต่อไฟเข้าบ้านให้เราก่อนตรวจรับครับ เพื่อจะได้เช็คว่ามีปัญหาไฟรั่ว น้ำรั่วตรงไหนหรือไม่ แต่ทั้งนี้ถ้าไม่ได้ต่อมิเตอร์ ก็อาจจะเช็คการรั่วของน้ำและไฟแบบเล็กๆน้อยๆไม่ได้ ถ้าโครงการไหนยังไม่ต่อให้ สั่งให้ทำเลยครับ บอกเค้าเลยว่า ถ้าเอ็งยังไม่ต่อ ข้าก็ยังไม่เข้าตรวจ 5555 ถ้ายังไม่โอน เอ็งก็ยังไม่ได้ค่าคอม 555
3. นอกจากนี้ อาจให้โครงการเค้าเตรียมบันไดพับไว้ด้วย (จะได้ใช้ตรวจใต้หลังคา เข้าทางช่องเซอร์วิส) แต่ต้องถามให้ดีนะครับว่าบันไดสูงแค่ไหน เข้าบ้านได้มั้ย เพราะของผม ขอเค้าไว้ ทางโครงการก็เตรียมให้ แต่เป็นบันไดยาว เอาเข้าบ้านไม่ได้
4. อุปกรณ์ที่เตรียมไป อ้างอิงตามหนังสือที่ผมโพสไว้ข้างบนนะครับ มีบางหัวข้อไม่ได้ใช้ก็มีครับ
1) กระดาษจดข้อมูล + ปากกา/ดินสอ ผมใช้เป็นสมุด เพราะจะได้ไม่ปลิวหาย ถ้าเป็นกระดาษ ควรเตรียมกระดานหนีบไปด้วยจะได้เขียนได้สะดวกนะครับ ในหนังสือทำเป็นตารางด้วย จริงๆก็ดีนะครับ แต่สำหรับผมไม่ชอบ เพราะผมต้องวาดรูปด้วย เพื่อระบุตำแหน่งแบบภาพรวมให้ชัดเจน
2) แปลนบ้าน ของผมมีอยู่ แต่ขี้เกียจพก และคงไม่ได้ไปขุดคุ้ยดูท่อน้ำท่อไฟภายในแน่ๆ จึงไม่ได้ใช้ครับ แต่ถ้าจะดูละเอียดก็เอาไปด้วยครับ
3) อุปกรณ์ทำเครื่องหมาย เพื่อใช้มาร์คตำแหน่งที่มีปัญหา ผมใช้เทปพันสายไฟสีดำ เพราะมีอยู่แล้ว แนะนำว่าควรใช้เทปสีเข้มๆชัดๆ ถ้าใช้สีอ่อนจะดูยาก ถ้ามีเทปกาวที่ฉีกด้วยมือได้ก็จะยิ่งสะดวก
4) อุปกรณ์ตัด ผมใช้กรรไกร
5) ไฟฉาย แนะนำว่าควรใช้ไฟสว่างๆ แต่ไม่หนักมากนะครับ เพราะจะได้ใช้ส่องในซอกแคบๆมืดๆ เช่น ใต้อ่างล้างมือ ใต้หลังคา
6) ถังน้ำ ใช้สำหรับตักน้ำเทราด เพื่อเช็คการระบายน้ำ สำหรับผม เอาไปแต่ไม่ได้ใช้ เพราะมีก๊อกระดับต่ำ และฝักบัวฉีดก้น จึงใช้ฉีดราดได้เลย
7) เศษผ้า ใช้เพื่ออุดสะดืออ่าง แต่ของผมมีจุกยางอุดทุกอ่าง เลยไม่ต้องใช้
8) ไม้ตรงๆยาวๆ ใช้เพื่อเช็คระนาบความเรียบ แต่ผมหาได้แค่ไม้บรรทัดนักเรียน 1 ฟุต เอาเข้าจริงก็ไม่ได้ใช้ อาศัยแค่ว่าเดินแล้วไม่พบลักษณะเป็นแอ่ง หรือ เนิน ชัดๆ ก็พอ ส่วนกำแพง ถ้าเอียงจนมองเห็นด้วยตาแล้ว ก็คงต้องแก้ไขแล้วล่ะครับ
9) ลูกแก้ว ใช้เช็คความลาดเอียง ผมเตรียมเป็นถุงเลย แต่ไม่ได้ใช้ เพราะใช้หลักตามข้อ 8 ถ้าเป็นความลาดเอียงที่ราดน้ำได้ ก็ใช้น้ำราดเอา
10) ขนมปัง ใช้แทนอุนจิ เพื่อเช็คการชักโครก (แต่ถ้าใครปวดอึอยู่ อาจใช้ของจริงทดสอบแทนก็ได้นะครับ) ผมวิ่งเข้าเซเว่นเช้าวันนั้นแหละครับ โดยฉีกเอาเปลือกนอกออก ใช้จริงแค่ 2 แผ่นต่อส้วม 1 แห่ง ที่เหลือก็กินแก้หิวระหว่างตรวจ
11) กล้องดิจิตัล อันนี้สำคัญครับ เพราะใช้ถ่ายจุดที่มีปัญหาไว้เป็นหลักฐาน และใช้ทบทวนความจำร่วมกับข้อมูลที่จดไว้ด้วยครับ ถ้าเป็นไปได้ ควรเลือกกล้องที่ซูมได้เยอะๆหน่อย เพราะจะได้ส่องดูบริเวณที่อยู่สูงๆ แต่อย่าเอากล้องเทพๆไปเลยครับ จะสร้างความปวดเมื่อยเปล่าๆ ของผมใช้ fuji hs 20 (ซูมได้ 30x)
12) อุปกรณ์ไฟฟ้า ผมใช้เป็นสายชาร์จโทรศัพท์ ครับ เบาดี
13) โทรศัพท์ ผมไม่ได้เช็ค เพราะมันหาอุปกรณ์ยากครับ ไว้ถ้าจะติดแล้วค่อยตรวจละกัน หุหุ
14) ไขควงเช็คไฟ ผมใช้แค่อันนี้แหละตรวจระบบไฟ ด้วยหลักการว่า รูปลั๊ก 3 รู ควรมีไฟเข้าแค่รูเดียว อีก 2 รู เป็นสาย Neutral และ สาย Ground ซึ่งไม่ควรมีไฟเข้า ถ้ามีไฟเข้า ก็ผิดปกติ ถ้าหาไขควงแบบที่เปลี่ยนสลับหัวได้ก็ยิ่งดีครับ จะได้ใช้ขันน็อตได้ด้วยเลย
ที่สำคัญ ควรมีผู้ช่วยไปช่วยตรวจด้วย เพราะทั้งตรวจ ทั้งจด ทั้งถ่ายรูป ไม่ไหวหรอกครับ ผมหนีบแฟนไปด้วย โดยผมเป็นคนตรวจ แฟนเป็นคนจดข้อมูล ถ่ายรูป และ ป้อนขนมปัง