รัฐสภามีความชอบธรรมเหนือกว่าศาลรัฐธรรมนูญ

กระทู้ข่าว


"ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์" นักกฎหมายมหาชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บอกว่า ถือว่าวิกฤติรัฐธรรมนูญ และในทางกฎหมายถือว่าศาลรัฐธรรมนูญ คณะรัฐมนตรี และรัฐสภา มีสถานะเท่ากัน ส่วนที่รัฐสภาต้องออกมาแถลงข่าว ก็เพื่อปกป้องอำนาจหน้าที่ของตัวเองในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญผูกพันให้องค์กรอื่นต้องปฏิบัติ จึงต้องออกมาแถลงข่าวยืนยันถึงอำนาจของตัวเอง เนื่องจากไม่มีรัฐธรรมนูญมาตราใด หรือกฎหมายฉบับใด รองรับอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญในการรับคำร้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญของสมาชิกรัฐสภาไว้พิจารณา

               ส่วนการออกมาแถลงข่าวของประธานรัฐสภา "ดร.วรเจตน์" มองว่า การปฏิเสธอำนาจศาลรัฐธรรมนูญควรต้องทำเป็นมิติรัฐสภา หรือมิติองค์กรตามรัฐธรรมนูญโดยตรง แต่คิดว่าการกระทำครั้งนี้อาจเป็นการกระทำเบื้องต้นไปก่อน หลังจากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยออกมา เชื่อว่าทางรัฐสภาน่าจะมีมติรัฐสภาอย่างเป็นทางการ

               "การที่ผู้นำองค์กร หรือประธานรัฐสภาออกมาแถลงก่อน เพื่อยืนยันอำนาจขององค์กรก่อนเบื้องต้น เชื่อว่าหลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยน่าจะมติรัฐสภาอย่างถูกต้อง ถือเป็นการปะทะกันระหว่างนิติบัญญัติกับองค์กรรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญผูกพันทุกองค์กร แต่อย่างน้อยที่สุดเขตอำนาจต้องชอบด้วย"

                ในฐานะนักกฎหมายมหาชน "ดร.วรเจตน์" เห็นว่า รัฐสภามีความชอบธรรมตามระบอบประชาธิปไตยมากกว่าศาลรัฐธรรมนูญ เพราะมาจากการเลือกตั้งของประชาชนมีความชอบธรรมเหนือกว่าศาลรัฐธรรมนูญ ถือว่าสมาชิกรัฐสภามีอำนาจเด็ดขาดในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และในรัฐธรรมนูญไม่ได้เขียนให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญสอบสวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ การที่ศาลรัฐธรรมนูญรับเรื่องไว้วินิจฉัย ถือเป็นการจัดงานนอกสั่ง ศาลรัฐธรรมนูญได้ก้าวล่วงกระทำการเกินอำนาจของตัวเอง

               "ความแตกแยกของสังคมในขณะนี้จะมีการหยิบยกเรื่องนี้มาอ้างกัน และในแง่ทางการเมืองถือว่ารัฐบาลอาจเสียเปรียบเรื่องความชอบธรรมหลังจากไปแก้ไขหลักการร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ในวาระ 2 แต่ในเรื่องนี้ควรจะแยกกันเรื่องไหนถูก เรื่องไหนไม่ถูก แต่เผอิญจังหวะในช่วงนี้อาจไม่เหมาะ เนื่องจากมีคนจำนวนหนึ่งไม่เชื่อใจ ขณะที่มีคนอีกกลุ่มหนึ่งสนับสนุน จึงเกิดกองเชียร์ขึ้น 2 ฝ่าย คือฝ่ายรัฐบาล และฝ่ายศาลรัฐธรรมนูญ" ดร.วรเจตน์ กล่าว

               "นักกฎหมายมหาชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์" ท่านนี้ยังมองว่า คนมาตัดสินปัญหา เพื่อหาข้อยุติในบ้านเมืองขณะนี้ไม่มีแล้ว และเป็นเรื่องที่น่าเศร้าสุดท้ายหากผลการวินิจฉัยไปในทางร้ายอาจจะมีการใช้กำลังกัน จึงเชื่อว่าการตัดสินของศาลน่าจะออกไปในทางการให้ข้อสังเกตหรือข้อเสนอแนะมากกว่า เพราะถ้าตัดสินว่ายุบพรรค หรือตัดสิทธิส.ส.คิดว่ามวลชนฝ่ายที่สนับสนุนรัฐบาลคงไม่ยอม ดังนั้นการตัดสินของศาลครั้งนี้ก็อยู่ภายใต้ความกดดันเหมือนกัน

               "ดร.วรเจตน์" บอกว่า ถ้าศาลมีอำนาจวินิจฉัยการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญต่อไปรัฐสภาก็จะแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ได้ หรือถ้าจะแก้ไขให้ให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยก่อน ต่อไปอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญก็จะล้นและมีปัญหาในอนาคต

http://www.komchadluek.net/detail/20131120/173153.html

แต่ท่านมหาศาตราจารย์แมงสาบ แถ-วร บอกไม่ใช่นะครัชชช ดร.วรเจตน์
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่