ช่วงนี้ประเด็นเรื่อง ถอดนาฏศิลป์ออกจากหลักสูตรบังคับกำลังร้อนแรง (คนรับผิดชอบเขาก็บอกไม่ได้ถอดนะ) มีคนออกมาเป็นทุกข์เป็นร้อน... เป็นทุกข์เป็นร้อนไปในทางเดียวกันว่า "ทุกวันนี้เด็กแทบจะไม่รู้จักวัฒนธรรมไทยกันอยู่แล้ว ยังจะมาถอดหรือลดลงไปอีก แทนที่จะยิ่งเพิ่มเข้าไป เพื่อให้วัฒนธรรมไทยยังคงอยู่ต่อไปนานๆ เราจะได้ไม่ลืมรากเหง้าของเรา" .... แหม๋ ... เล่นจะขุดรากเง่ากันทั้งที ทำไมขุดตื้นกันแท้...
ส่วนตัวไม่เคยเรียนวิชานี้นะ คงต้องเสียใจและรู้สึกผิด (ใช่ไหมเนี่ย) ที่ไม่ได้ช่วยในการรักษาวัฒนธรรมไทยไว้ และตอนนี้ก็ไม่แน่ใจว่าความเป็นไทยของตัวเองเหลืออยู่เท่าไร !! และก็ไม่แน่ใจว่ากี่%ของคนไทยที่ได้เรียและ/หรืออยากเรียนวิชานี้... รวมทั้งคนที่กำลังเป็นทุกข์เป็นร้อนด้วย ในความเห็นผม การเรียนมันจะยังไงก็ได้ ขอให้ส่งเสริมให้ผู้เรียนค้นพบตัวเอง หรือค้นพบ "ความเป็นคน" ซะก่อน และความเป็นคนจะนำไปสู่ "ความเป็นไทย" เอง (หากเขาอยากเป็น) ...
การศึกษาสมัยใหม่จะต้องถือว่าไม่แฟร์เอามากๆ หากจะใช้ความรู้สึกของผู้ใหญ่ไปยัดเยียดให้เด็ก ด้วยถ้อยคำครอบจักวาลว่า "รักษาไว้ซึ่ง...","...อันดี" เพราะเด็ก(รวมถึงผู้ใหญ่) จะต้องดำรงอยู่ในโลกที่เป็นอนาคต ไม่ใช่โลกในความเห็นหรือความคิดของผู้ใหญ่ เพราะฉะนั้นสิ่งที่เด็กจำเป็นต้องรู้ ควรจะมาจากพื้นฐานของการการันตี (เรียกว่าตัวชีวัดก็ได้) ว่ามันจะทำให้เขาอยู่บนโลกนี้ได้อย่างไม่ด้อยโอกาสกว่าใคร ไม่ใช่บนพื้นฐานของความรู้สึกกลัวว่ามันจะหายไป...
ลำพังแค่การเกิดมาโดยไม่อาจเลือกเกิดได้ นี่ก็แย่มากอยู่แล้ว แถมเกิดมาแล้วยังจะต้องบงการกันอีกหรือ??
การสอนเด็ก มันก็เหมือนการที่เรากำลังหว่านพืชที่เราไม่รู้จัก... เราก็คงทำได้แค่ดูแล เอาใจใส่ และให้ภูมิคุ้มกันสำหรับการดำรงอยู่ในวันข้างหน้า ถ้ามันไม่ใช่เรื่องของความไม่แฟร์เอาเสียเลย มันก็คงเป็นเรื่องของคนบ้า... หากเราคิดอยากจะกินมะม่วง...
ประเด็นมันจึงไม่ได้อยู่ที่นาฏศิลป์ หรือเรื่องการไม่ส่งเสริมวัฒนธรรมเลย
ประเด็นมันอยู่ที่ สิ่งที่จะสอนเด็กต้องมีตัวชี้วัดทางวิทยาศาสตร์ว่าจำเป็นต้องเรียน คือถ้าไม่เรียนแล้วจะทำให้ด้อยโอกาสในสังคมหรือในโลก หรืออย่างน้อยมันก็ต้องสอดคล้องกับวิถีชีวิตจริงๆ (มันจะเป็นนาฏศิลป์ก็ได้ หรือการเปิบข้าวด้วยมือ หรือการเปลือยอกก็ได้) มันถึงจะเรียกว่า เราได้รับผิดชอบต่ออนาคตของเด็กอย่างเต็มที่แล้ว ไม่เช่นนั้นมันก็เป็นแค่การรับผิดชอบต่อความคิดความเชื่อของตนเอง ที่มีผลข้างเคียงคือการยัดเยียด "หรืออาจจะ" ถึงขั้นทำร้ายอนาคตของเด็ก หรือของชาติที่หวงแหนกันก็ได้
ใครจะรู้ว่าเมล็ดพันธ์ที่เรากำลังหว่านอยู่ มันอาจจะมีเชื้อของ นักวิทยาศาสตร์ นักบินอวกาศ ดารา หรือนักกีฬาระดับโลก ก็เป็นไปได้
นั่นคือความหมายของคำว่า .... "เรากำลังหว่านพืชที่เราไม่รู้จัก... เราก็คงทำได้แค่ดูแล เอาใจใส่ และให้ภูมิคุ้มกันสำหรับการดำรงอยู่ในวันข้างหน้า ถ้ามันไม่ใช่เรื่องของความไม่แฟร์เอาเสียเลย มันก็คงเป็นเรื่องของคนบ้า... หากเราคิดอยากจะกินมะม่วง" ...
... แม้แต่พระพุทธเจ้า (เห็นพอมีเรื่องกันทีไร อยู่ๆก็มักยกพระพุทธเจ้าขึ้นมาอ้างซะงั้น เลยขอด้วย) พระพุทธเจ้าถึงแม้ว่าจะรู้ว่าธรรมะดีแค่ไหน ก็ไม่มั่วสั่วสอนใครแบบยัดเยียด ต้องดูทุกครั้งว่าคนๆ นั้นพร้อมจะเรียนรู้หรือยัง หรือว่าต้องกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ด้วยวิธีอะไร และแต่ละคนก็สอนต่างๆกันไป โดยมีเป้าหมายเดียวกัน เป้าหมายที่พระพุทธเจ้าชัดเจนมาก ว่าผู้เรียนจะได้รับประโยชน์อะไรจากการเรียน ไม่ได้สอนเพียงเพื่อให้ชี่อของพระพุทธเจ้าได้คงอยู่ ที่สำคัญพระพุทธเจ้ามีตัวชี้วัดที่ผ่านการทดสอบมาแล้วจนมั่นใจเต็มที่ว่าดีมากพอที่จะสอนคนอื่น แปลว่าพระพุทธเจ้ามีความรับผิดชอบอย่างสูงต่อสิ่งที่จะส่งผลกระทบต่ออนาคตของผู้ที่ท่านจะสอน ...
(ถึงได้เกริ่นไปข้างบนว่า ไม่แน่ใจว่าคนไทยกี่%ที่ได้เรียนและ/หรืออยากเรียนวิชานี้ เพื่ออย่างน้อยจะได้อ้างอิงถึง หรือได้พิสูจน์แล้วว่ามันดีจริง ถึงกับต้องออกมาเป็นทุกข์เป็นร้อนประหนึ่งว่าใส่ใจและพร้อมจะรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่ออนาคตของชาติจริงๆ อย่างนั่นล่ะ --เด็กๆ คืออนาคตของชาติ)
----
หรือถ้าให้ลงลึกนะ (อันนี้จะซีเรียสหน่อย) ถ้าเราคิด --แค่ว่า-- "เพื่อรักษาวัฒนธรรมไทยไว้" "จะได้ไม่ลืมรากเหง้า" ... มันเป็นอะไรที่... ไม่ใช่เรื่องดราม่า แต่..ทำร้ายหลักขั้นพื้นฐานของสิทธิมนุษยชนสุดๆ และก็ทำร้ายประเทศไทยเองด้วย .. ไม่เชื่อลองเอาคำนี้ไปวางไว้บนโครงสร้างวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของสามจังหวัดภาคใต้สิ .. "รัฐ" ซึ่งในที่นี้คือ "รัฐไทย" ไม่จำเป็นต้องมีขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมกระทั่งกฏหมายเหมือนกันก็ได้ การเอา "อัตลักษณ์" ของคนเฉพาะกลุ่มหรือเฉพาะถิ่นไปครอบ "รัฐ" ทั้งรัฐ ที่ใหญ่พอสำหรับความหลากหลาย มันเป็นการบ่อนทำลายรัฐโดยรวมเอง.... เพราะงั้น ฟังดูคนจัดหลักสูตรเขาอธิบายก็ถูกต้องแล้วนะ แค่วางกรอบเอาไว้ ท้องถิ่นก็ไปจัดการเรื่องเนื้อหาที่สอดคล้องกับท้องถิ่นกันเอาเอง จะเป็นนาฏศิลป์ โขน รำ ฟ้อน หรือจะบัลเลห์ ก็สุดแล้วแต่ แบบนี้มันตอบโจทย์วัตถุประสงค์ของการเรียนมากกว่า และก็ไม่ได้ละเลยต่อสิทธิมนุษยชนและความหลากหลายทางวัฒนธรรมด้วย แต่ก็นั่นแหละ อะไรล่ะที่เราต้องการ "การอยู่ด้วยกันได้อย่างภราดรภาพ หรือการฟ้อนนาฏศิลป์เป็นกันทุกคน"?
อีกอย่างที่ไหนที่มีเปิดเรียนเปิดสอนอะไรอยู่แล้ว ก็จะได้วัดผลตัวเองด้วยว่าถ้าไม่ได้บังคับกันในหลักสูตรแล้ว สิ่งที่ทำกันอยู่น่ะเข้าท่าหรือเปล่า ... แบบนั้นถึงจะรู้ได้ว่าคุณมีความพยายามแค่ไหนที่จะรักษามันไว้ หรือมีความพยายามเพียงแค่ให้บังคับให้เด็กเรียนเท่านั้นก็พอแล้ว เพราะการรักษาที่แท้จริงคือ การทำให้เห็นคุณค่า ไม่ใช่การยัดเยียดให้ แต่ก็นั่นแหละ อะไรล่ะที่เราต้องการ "การได้เสพศิลป์จากนาฏศิลป์ หรือการฟ้อนนาฏศิลป์เป็นกันทุกคน"?
เรื่องนี้มันเป็นปัญหาระดับชาติจริงๆ แฮะ...
--- เพิ่มเติม ---- 18/10 12:10
ย้ำอีกครั้ง เนื่องจากหลายๆ คอมเม้นยังดูเหมือนไม่เข้าใจประเด็นของผม (ซึ่งผมอาจจะเขียนยาวไป)
ก็อย่างที่บอกนะคับ ประเด็นของผมคือ อะไรก็ตามที่คิดเอาโดยไม่มีตัวชี้วัด แล้วเอาไปสอน ผมเรียกว่าไม่แฟร์กับเด็กมันคือการยัดเยียด
แน่นอนเด็กไม่มีสิทธิ์เลือก (นั่นละเรื่องที่เราควรสงสารเด็ก) สิ่งที่จะสอนเด็กมันจึงต้องสะท้อนถึงความรับผิดชอบอย่างที่สุดของผู้ใหญ่ที่มีต่ออนาคตของเด็ก เพราะเราไม่อาจรู้ว่าเขาจะโตไปเป็นอะไร และโลกที่เขาจะอยู่ต่อไป มันไม่ใช่โลกของสิ่งที่เราอยากจะรักษาไว้แน่นอน เราคาดหวังได้ เราให้ได้ และเราก็ควรคาดหวังและควรให้ด้วย เพราะงั้นสิ่งที่จะให้ถ้ามันสนองตอบแค่ความเชื่อของเราโดยไม่ผ่านกระบวนการอื่น ที่อย่างน้อยคือการทดสอบแล้ว หรือชี้วัดได้ นั่นคือยัดเยียด (เรายังไม่เลยไปถึงประเด็นเรื่องการบังคับให้อยากเป็นตามที่เราต้องการนะ)
มันก็เหมือนพ่อแม่ที่อยากให้ลูกเป็นนักร้อง แล้วก็พยายามพาไปเรียน โดยที่พ่อกับแม่ก็ไม่ได้เป็นนักร้อง แม้จะไม่ได้รู้ว่าการเป็นนักร้องมันเป็นยังไง (ในฐานะนักร้องเอง) แต่นั่นก็ยังดีกว่าเพราะการเป็นนักร้อง(ดัง) สมัยนี้มันหากินได้ดีทีเดียว แบบนี้มันจึงไม่ถือว่าไม่แฟร์กับเด็ก เพราะพ่อแม่ที่พาไปเรียน ต้องหวังถึงอนาคตเด็กแบบเต็มๆ (ยังไม่ถึงประเด็นที่ว่าต้องให้ลูกเป็นนักร้องให้ได้ ซึ่งถึงขั้นเรียกว่าบังคับ)
ส่วนเรื่องนี้ล่ะ (นาฏศิลป์) เราหวังอะไรให้กับอนาคตของเด็ก .... ความหวังนั้นแฟร์กับเด็กแล้วหรือ? ถ้าไม่แฟร์ผมก็เห็นว่ายัดเยียด แต่ถ้ามันแฟร์ ผมก็เห็นว่าควรจัดไว้ในวิชาบังคับ...
นาฏศิลป์ ที่กำลังร้อนแรง จริงๆแล้วมันไม่เกี่ยวกับนาฏศิลป์ซะด้วยซ้ำ
ส่วนตัวไม่เคยเรียนวิชานี้นะ คงต้องเสียใจและรู้สึกผิด (ใช่ไหมเนี่ย) ที่ไม่ได้ช่วยในการรักษาวัฒนธรรมไทยไว้ และตอนนี้ก็ไม่แน่ใจว่าความเป็นไทยของตัวเองเหลืออยู่เท่าไร !! และก็ไม่แน่ใจว่ากี่%ของคนไทยที่ได้เรียและ/หรืออยากเรียนวิชานี้... รวมทั้งคนที่กำลังเป็นทุกข์เป็นร้อนด้วย ในความเห็นผม การเรียนมันจะยังไงก็ได้ ขอให้ส่งเสริมให้ผู้เรียนค้นพบตัวเอง หรือค้นพบ "ความเป็นคน" ซะก่อน และความเป็นคนจะนำไปสู่ "ความเป็นไทย" เอง (หากเขาอยากเป็น) ...
การศึกษาสมัยใหม่จะต้องถือว่าไม่แฟร์เอามากๆ หากจะใช้ความรู้สึกของผู้ใหญ่ไปยัดเยียดให้เด็ก ด้วยถ้อยคำครอบจักวาลว่า "รักษาไว้ซึ่ง...","...อันดี" เพราะเด็ก(รวมถึงผู้ใหญ่) จะต้องดำรงอยู่ในโลกที่เป็นอนาคต ไม่ใช่โลกในความเห็นหรือความคิดของผู้ใหญ่ เพราะฉะนั้นสิ่งที่เด็กจำเป็นต้องรู้ ควรจะมาจากพื้นฐานของการการันตี (เรียกว่าตัวชีวัดก็ได้) ว่ามันจะทำให้เขาอยู่บนโลกนี้ได้อย่างไม่ด้อยโอกาสกว่าใคร ไม่ใช่บนพื้นฐานของความรู้สึกกลัวว่ามันจะหายไป...
ลำพังแค่การเกิดมาโดยไม่อาจเลือกเกิดได้ นี่ก็แย่มากอยู่แล้ว แถมเกิดมาแล้วยังจะต้องบงการกันอีกหรือ??
การสอนเด็ก มันก็เหมือนการที่เรากำลังหว่านพืชที่เราไม่รู้จัก... เราก็คงทำได้แค่ดูแล เอาใจใส่ และให้ภูมิคุ้มกันสำหรับการดำรงอยู่ในวันข้างหน้า ถ้ามันไม่ใช่เรื่องของความไม่แฟร์เอาเสียเลย มันก็คงเป็นเรื่องของคนบ้า... หากเราคิดอยากจะกินมะม่วง...
ประเด็นมันจึงไม่ได้อยู่ที่นาฏศิลป์ หรือเรื่องการไม่ส่งเสริมวัฒนธรรมเลย
ประเด็นมันอยู่ที่ สิ่งที่จะสอนเด็กต้องมีตัวชี้วัดทางวิทยาศาสตร์ว่าจำเป็นต้องเรียน คือถ้าไม่เรียนแล้วจะทำให้ด้อยโอกาสในสังคมหรือในโลก หรืออย่างน้อยมันก็ต้องสอดคล้องกับวิถีชีวิตจริงๆ (มันจะเป็นนาฏศิลป์ก็ได้ หรือการเปิบข้าวด้วยมือ หรือการเปลือยอกก็ได้) มันถึงจะเรียกว่า เราได้รับผิดชอบต่ออนาคตของเด็กอย่างเต็มที่แล้ว ไม่เช่นนั้นมันก็เป็นแค่การรับผิดชอบต่อความคิดความเชื่อของตนเอง ที่มีผลข้างเคียงคือการยัดเยียด "หรืออาจจะ" ถึงขั้นทำร้ายอนาคตของเด็ก หรือของชาติที่หวงแหนกันก็ได้
ใครจะรู้ว่าเมล็ดพันธ์ที่เรากำลังหว่านอยู่ มันอาจจะมีเชื้อของ นักวิทยาศาสตร์ นักบินอวกาศ ดารา หรือนักกีฬาระดับโลก ก็เป็นไปได้
นั่นคือความหมายของคำว่า .... "เรากำลังหว่านพืชที่เราไม่รู้จัก... เราก็คงทำได้แค่ดูแล เอาใจใส่ และให้ภูมิคุ้มกันสำหรับการดำรงอยู่ในวันข้างหน้า ถ้ามันไม่ใช่เรื่องของความไม่แฟร์เอาเสียเลย มันก็คงเป็นเรื่องของคนบ้า... หากเราคิดอยากจะกินมะม่วง" ...
... แม้แต่พระพุทธเจ้า (เห็นพอมีเรื่องกันทีไร อยู่ๆก็มักยกพระพุทธเจ้าขึ้นมาอ้างซะงั้น เลยขอด้วย) พระพุทธเจ้าถึงแม้ว่าจะรู้ว่าธรรมะดีแค่ไหน ก็ไม่มั่วสั่วสอนใครแบบยัดเยียด ต้องดูทุกครั้งว่าคนๆ นั้นพร้อมจะเรียนรู้หรือยัง หรือว่าต้องกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ด้วยวิธีอะไร และแต่ละคนก็สอนต่างๆกันไป โดยมีเป้าหมายเดียวกัน เป้าหมายที่พระพุทธเจ้าชัดเจนมาก ว่าผู้เรียนจะได้รับประโยชน์อะไรจากการเรียน ไม่ได้สอนเพียงเพื่อให้ชี่อของพระพุทธเจ้าได้คงอยู่ ที่สำคัญพระพุทธเจ้ามีตัวชี้วัดที่ผ่านการทดสอบมาแล้วจนมั่นใจเต็มที่ว่าดีมากพอที่จะสอนคนอื่น แปลว่าพระพุทธเจ้ามีความรับผิดชอบอย่างสูงต่อสิ่งที่จะส่งผลกระทบต่ออนาคตของผู้ที่ท่านจะสอน ...
(ถึงได้เกริ่นไปข้างบนว่า ไม่แน่ใจว่าคนไทยกี่%ที่ได้เรียนและ/หรืออยากเรียนวิชานี้ เพื่ออย่างน้อยจะได้อ้างอิงถึง หรือได้พิสูจน์แล้วว่ามันดีจริง ถึงกับต้องออกมาเป็นทุกข์เป็นร้อนประหนึ่งว่าใส่ใจและพร้อมจะรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่ออนาคตของชาติจริงๆ อย่างนั่นล่ะ --เด็กๆ คืออนาคตของชาติ)
----
หรือถ้าให้ลงลึกนะ (อันนี้จะซีเรียสหน่อย) ถ้าเราคิด --แค่ว่า-- "เพื่อรักษาวัฒนธรรมไทยไว้" "จะได้ไม่ลืมรากเหง้า" ... มันเป็นอะไรที่... ไม่ใช่เรื่องดราม่า แต่..ทำร้ายหลักขั้นพื้นฐานของสิทธิมนุษยชนสุดๆ และก็ทำร้ายประเทศไทยเองด้วย .. ไม่เชื่อลองเอาคำนี้ไปวางไว้บนโครงสร้างวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของสามจังหวัดภาคใต้สิ .. "รัฐ" ซึ่งในที่นี้คือ "รัฐไทย" ไม่จำเป็นต้องมีขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมกระทั่งกฏหมายเหมือนกันก็ได้ การเอา "อัตลักษณ์" ของคนเฉพาะกลุ่มหรือเฉพาะถิ่นไปครอบ "รัฐ" ทั้งรัฐ ที่ใหญ่พอสำหรับความหลากหลาย มันเป็นการบ่อนทำลายรัฐโดยรวมเอง.... เพราะงั้น ฟังดูคนจัดหลักสูตรเขาอธิบายก็ถูกต้องแล้วนะ แค่วางกรอบเอาไว้ ท้องถิ่นก็ไปจัดการเรื่องเนื้อหาที่สอดคล้องกับท้องถิ่นกันเอาเอง จะเป็นนาฏศิลป์ โขน รำ ฟ้อน หรือจะบัลเลห์ ก็สุดแล้วแต่ แบบนี้มันตอบโจทย์วัตถุประสงค์ของการเรียนมากกว่า และก็ไม่ได้ละเลยต่อสิทธิมนุษยชนและความหลากหลายทางวัฒนธรรมด้วย แต่ก็นั่นแหละ อะไรล่ะที่เราต้องการ "การอยู่ด้วยกันได้อย่างภราดรภาพ หรือการฟ้อนนาฏศิลป์เป็นกันทุกคน"?
อีกอย่างที่ไหนที่มีเปิดเรียนเปิดสอนอะไรอยู่แล้ว ก็จะได้วัดผลตัวเองด้วยว่าถ้าไม่ได้บังคับกันในหลักสูตรแล้ว สิ่งที่ทำกันอยู่น่ะเข้าท่าหรือเปล่า ... แบบนั้นถึงจะรู้ได้ว่าคุณมีความพยายามแค่ไหนที่จะรักษามันไว้ หรือมีความพยายามเพียงแค่ให้บังคับให้เด็กเรียนเท่านั้นก็พอแล้ว เพราะการรักษาที่แท้จริงคือ การทำให้เห็นคุณค่า ไม่ใช่การยัดเยียดให้ แต่ก็นั่นแหละ อะไรล่ะที่เราต้องการ "การได้เสพศิลป์จากนาฏศิลป์ หรือการฟ้อนนาฏศิลป์เป็นกันทุกคน"?
เรื่องนี้มันเป็นปัญหาระดับชาติจริงๆ แฮะ...
--- เพิ่มเติม ---- 18/10 12:10
ย้ำอีกครั้ง เนื่องจากหลายๆ คอมเม้นยังดูเหมือนไม่เข้าใจประเด็นของผม (ซึ่งผมอาจจะเขียนยาวไป)
ก็อย่างที่บอกนะคับ ประเด็นของผมคือ อะไรก็ตามที่คิดเอาโดยไม่มีตัวชี้วัด แล้วเอาไปสอน ผมเรียกว่าไม่แฟร์กับเด็กมันคือการยัดเยียด
แน่นอนเด็กไม่มีสิทธิ์เลือก (นั่นละเรื่องที่เราควรสงสารเด็ก) สิ่งที่จะสอนเด็กมันจึงต้องสะท้อนถึงความรับผิดชอบอย่างที่สุดของผู้ใหญ่ที่มีต่ออนาคตของเด็ก เพราะเราไม่อาจรู้ว่าเขาจะโตไปเป็นอะไร และโลกที่เขาจะอยู่ต่อไป มันไม่ใช่โลกของสิ่งที่เราอยากจะรักษาไว้แน่นอน เราคาดหวังได้ เราให้ได้ และเราก็ควรคาดหวังและควรให้ด้วย เพราะงั้นสิ่งที่จะให้ถ้ามันสนองตอบแค่ความเชื่อของเราโดยไม่ผ่านกระบวนการอื่น ที่อย่างน้อยคือการทดสอบแล้ว หรือชี้วัดได้ นั่นคือยัดเยียด (เรายังไม่เลยไปถึงประเด็นเรื่องการบังคับให้อยากเป็นตามที่เราต้องการนะ)
มันก็เหมือนพ่อแม่ที่อยากให้ลูกเป็นนักร้อง แล้วก็พยายามพาไปเรียน โดยที่พ่อกับแม่ก็ไม่ได้เป็นนักร้อง แม้จะไม่ได้รู้ว่าการเป็นนักร้องมันเป็นยังไง (ในฐานะนักร้องเอง) แต่นั่นก็ยังดีกว่าเพราะการเป็นนักร้อง(ดัง) สมัยนี้มันหากินได้ดีทีเดียว แบบนี้มันจึงไม่ถือว่าไม่แฟร์กับเด็ก เพราะพ่อแม่ที่พาไปเรียน ต้องหวังถึงอนาคตเด็กแบบเต็มๆ (ยังไม่ถึงประเด็นที่ว่าต้องให้ลูกเป็นนักร้องให้ได้ ซึ่งถึงขั้นเรียกว่าบังคับ)
ส่วนเรื่องนี้ล่ะ (นาฏศิลป์) เราหวังอะไรให้กับอนาคตของเด็ก .... ความหวังนั้นแฟร์กับเด็กแล้วหรือ? ถ้าไม่แฟร์ผมก็เห็นว่ายัดเยียด แต่ถ้ามันแฟร์ ผมก็เห็นว่าควรจัดไว้ในวิชาบังคับ...