ศูนย์หัวใจรพ.เอกชนภูเก็ต วินิจฉัยความรุนแรงของโรคผิดพลาด ทำให้การรักษาล่าช้าส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิต เราฟ้องได้หรือไม่

กลางเดือน กย.56 ลุงของดิฉันมีอาการวูบหมดสติล้มลงศีรษะกระแทกพิ้นในห้องน้ำ นำตัวส่งรพ.สิริโรจน์ภูเก็ต แพทย์ทำแผลที่ศีรษะแล้วให้กลับบ้าน โดยไม่ตรวจอาการอื่นอย่างละเอียด

หลังจากกลับบ้าน1วัน ญาติสงสัยว่าลุงอาจจะเป็นโรคหัวใจจึงนำตัวส่งรพ.เอกชนแห่งหนึ่งซึ่งเป็นศูนย์หัวใจแห่งเดียวในภูเก็ต หลังจากการตรวจโดยแพทย์หัวใจผู้เชี่ยวชาญจากกรุงเทพ พบว่า ลุงเป็นโรคลิ้นหัวใจตีบ 50-60% โดย Echocardiogram แพทย์บอกว่ามีแนวโน้มผ่าตัดในอนาคต แพทย์ให้กลับบ้าน และนัดอีกครั้ง วันที่ 3 ตค.เพื่อดูอาการ และพูดคุยเรื่องการผ่าตัดที่อาจจะเกิดขึ้น

แต่วันรุ่งขึ้น ลุงรู้สึกแย่จึงเข้าแอดมิดที่รพ.พบหมออีกคนซึ่งเป็นหมออายุรกรรม ญาติรู้สึกกังวลจึงให้แพทย์อายุรกรรมทำเรื่องส่งผู้ป่วยไป รพ.สุราษฎร์ซึ่งเป็นศูนย์หัวใจของภาคใต้ แต่แพทย์บอกว่า ไม่สามารถส่งตัวผ่าตัดด่วนได้เนื่องจากต้องรอแพทย์หัวใจคนเดิมที่มาจากกรุงเทพในวันที่ 3 ตค.ตามนัดเดิม ซึ่งต้องรออีกนานมาก

เมื่อถึงวันที่ 3 ตค. หมอหัวใจเจ้าของไข้คนดังกล่าวแจ้งว่า อาการลุงไม่หนัก ไม่ต้องผ่าตัด แค่ทานยาตามสั่ง และให้มาตามนัดทุกเดือน ซึ่งแพทย์ได้นัดอีกที วันที่ 24 ตค. ญาติจึงรู้สึกสบายใจขึ้นที่อาการของลุงไม่แย่อย่างที่คิดและไม่ต้องส่งผ่าตัดด่วนอย่างที่คิดไว้


แต่เมื่อวันที่ 13 ตค.ที่ผ่านมา ลุงมีอาการวูบหมดสติอีกครั้ง เข้าแอดมิดห้อง ccu หมอประจำรพ.บอกต้องผ่าตัดถ้าไม่ผ่าอยู่ได้ ไม่นาน ญาติตัดสินใจให้ลุงรับการผ่าตัดที่ภูเก็ต วันเสาร์ที่ 19 ตคนี้ ลุงได้รับการฉีดสีดูหลอดเลือดหัวใจก่อนผ่าตัดในวันที่ 14 ตค. ผลหลอดเลือด ปกติ ไม่มีปัญหา   หมอได้ย้ายไปห้องปกติ ในค่ำคืนนั้น และลุงก้เสียชีวิต ในคืนนั้นเอง

ประเด็นของเรื่องนี้ก้คือ หมอหัวใจที่มาจากกรุงเทพ ที่เป็นเจ้าของไข้ของลุงในวันแรก(กลางเดือน กย.)ได้นัด ตรวจอาการของลุงอีกครั้งในวันที่ 3 ตค. วินิจฉัย ความรุนแรงของโรคผิดพลาด กล่าวคือ หมอแจ้งญาติว่าลุงมีอาการไม่รุนแรง ไม่ต้องผ่าตัด แค่ให้มาเช็คที่รพ.ทุกเดือนก้เพียงพอ แต่ในความเป็นจริงแล้ว อาการของลุงอยู่ในขั้นโคม่า เพราะแค่หลังจากนั้น 10 วัน ลุงก็ล้มหมดสติ ดังที่กล่าวข้างต้น

ดิฉันจึงผิดหวังกับหมอหัวใจที่รพ.แห่งนี้มาก ในเมื่อคุณเป็นศูนย์หัวใจ แต่วินิจฉัยความรุนแรงของโรคผิดพลาด ทำให้เกิดความล่าช้าในการผ่าตัด และเป็นผลให้คนไข้เสียชีวิตก่อนเวลาอันควร

ดิฉันจึงมีความเห็นว่า  ถ้าหมอหัวใจตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด รอบครอบในวันที่ 3 ตค.และแจ้งญาติให้ทราบถึงความจำเป็นที่จะต้องผ่าตัดด่วนแทนที่จะละเลยเหมือนที่เกิดขึ้น คุณลุงก้คงมีโอกาสผ่าตัดรักษาเร็วขึ้น และอาจทำให้ลุงไม่เสียชีวิต

สรุป ก้คือ หมอหัวใจที่เป็นเจ้าของไข้ ได้ประมาทเลินเล่อ ประเมิน อันตรายและความรุนแรงของโรค ต่ำเกินไป เป็นผลให้ ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดช้า ผู้ป่วยจึงเสียชีวิต

ในกรณีนี้ ดิฉัน สามารถ ฟ้อง รพ.เอกชนแห่งนี้  ได้หรือไม่คะ ขอบคุณค่ะ.
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่