สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 6
ค้นมาแล้วครับ เนื่องจากตำนานนี้เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ผู้ที่เคยมาปฏิบัติธรรม และผู้ศึกษาธรรมะ รวมทั้งศิษย์ของหลวงพ่อท่านนี้ จึงขอเปิดเผยชื่อของบุคคลและสถานที่เลยนะครับ (เรื่องนี้ จขกท. เคยได้ยินครั้งแรกตอนไปปฏิบัติธรรมที่วัดนี้ พระอาจารย์เล่าให้ฟังครับ)
ที่บ้านบางมอญ, สิงห์บุรี
หนุ่มสาวคู่หนึ่งตกอยู่ในห้วงแห่งความรัก แล้วสืบสานความสัมพันธ์นั้นไปสู่การร่วมชีวิตคู่เพื่อครองรัก เชื่อมั่นและมุ่งหวังให้รักนี้เป็นนิรันดร์ ฝ่ายชายเป็นหนุ่มหน้าตาคมสัน
ฝ่ายหญิงผิวคล้ำขำคม สวยไม่เป็นรองใคร ชื่อ “กาหลง” อายุไล่เลี่ยกันประมาณ ๒๐ กว่าปี
หลังจากแต่งงานกันแล้ว ผัวหนุ่มเมียสาวก็มาเช่าบ้านหลังหนึ่งอยู่ด้วยกัน บ้านหลังนั้นค่อนข้างใหญ่โตกว้างขวาง ปลูกสร้างแบบทรงไทยเป็นเรือนแฝด เป็นบ้านพักอาศัยของอดีตนายอำเภอ
ซึ่งเกษียณอายุราชการไปแล้ว และย้ายไปอยู่ในกรุงเทพมหานครกับลูก ๆ เมื่อบ้านทิ้งว่าง จึงให้ผู้อื่นเช่าอาศัย
เริ่มแรกชีวิตคู่ระหว่างหนุ่มสาว ประหนึ่งมีแต่ความสุขความรื่นรมย์อบอวลทุกอณูอากาศ ฝ่ายชายทำงานที่เทศบาลเมือง ฝ่ายหญิงเป็นแม่บ้านดูแลครัวเรือน กาลเวลาล่วงไป
จากวันเป็นเดือน แล้วเลยไปเป็นปี สัจจะแห่งความรักก็เริ่มประกาศธาตุแท้ของมัน
ไม่เคยมีความสุขในความรักอันเป็นโลกียวิสัยเป็นนิรันดร์
ฝ่ายชาย สามีแม่กาหลง ก็เริ่มออกลายเจ้าชู้ อาศัยว่ามีรูปร่างหน้าตาคมสัน เป็นคนรื่นเริง มีวาจาไพเราะ หญิงอื่นก็ยอมสนิทเสน่หาด้วย ความทุกข์ก็พลันบังเกิดแก่แม่กาหลง เพราะความหึงหวง จากที่เคยพูดจาอ่อนหวาน โอนอ่อนยอมความกันง่าย ๆ ก็กลับกลายเป็นปากเสียง ทะเลาะเบาะแว้งคำต่อคำไม่ยอมใคร
แม่กาหลงร้อนรุ่มกลุ้มใจหนักขึ้นทุกวัน ความผูกพันกระสันแน่นระหว่างชีวิตผัวเมียก็เริ่มคลายเกลียว เพราะไม่มีลูกด้วยกันเป็นโยงใยสายหนึ่ง
ติด ๆ กับบ้านของแม่กาหลง คือ บ้านผู้ใหญ่บ้านชื่อ กลีบ ภรรยาผู้ใหญ่คือ คุณป้ายุพิน บำเรอจิต ซึ่งเป็นอุบาสิกาผู้ฝักใฝ่ในธรรม ประกอบการบุญการกุศลมิได้เว้น
คุณป้ายุพินก็พอจะรู้อยู่บ้างว่า แม่กาหลงกับสามีมิได้กลมเกลียวกันเช่นเก่าก่อน แต่เรื่องผัว ๆ เมีย ๆ นั้นจะไปยุ่งเกี่ยวก้าวก่ายเกินไปไม่สมควร กระทำได้เพียงให้ข้อแนะนำเตือนสติ
เวลาแม่กาหลงมาปรึกษาระบายความทุกข์ให้ฟัง
แม่กาหลงขื่นขมอมทุกข์กับสามีจนย่างเข้าปีที่ ๓ ความรักความหวานที่จืดจางไป ก็เพราะความประพฤติของสามีเป็นสำคัญ ประกอบกับแม่กาหลงเอง เป็นคนอารมณ์แรง
ความหึงหวงยิ่งทำร้ายจิตใจตัวเองหนักเข้าไปอีก
วันนั้น...... เป็นวันที่แม่กาหลงจะสิ้นอายุขัย แม่กาหลงนุ่งผ้าถุงกระโจมอกลงจากเรือนมาทำปลา คุณป้ายุพินก็เดินไปทักทายที่ข้างรั้ว เพราะรั้วติดกัน
สังเกตเห็นผิวพรรณแม่กาหลงหมองคล้ำ หน้าตาไม่มีริ้วรอยความแจ่มใสเอาเสียเลย จึงถามว่า
“กาหลง ทำอะไรจ๊ะ”
“จะทำปลาจ้ะ วันนี้เป็นอะไรไม่รู้ป้า มันร้อน มันกลุ้ม”
แล้วแม่กาหลงก็คว้าปลาช่อน ขังไว้ในโอ่งออกมาพาดกับเขียง ใช้สันมีดทุบหัวปลาดิ้นพราด ๆ ก่อนจะขอดเกล็ด ปากก็บ่นให้ป้ายุพินได้ยิน
“หนูเป็นอย่างไรก็ไม่รู้ มันกลุ้มเหลือเกิน”
คุณป้ายุพินถามว่ากลุ้มเรื่องอะไร แม่กาหลงก็ไม่ตอบ คุณป้ายังพูดเย้าว่า ทำไมไม่นุ่งผ้านุ่งผ่อนให้เรียบร้อยล่ะ แม่กาหลงก็บอกว่า มันร้อน วันนี้รู้สึกร้อนเหลือเกิน
ไม่รู้จะทำอย่างไรให้หายร้อนหายกลุ้ม
คุณป้ายุพินเห็นแม่กาหลงมีท่าทางหงุดหงิดไม่สบายใจ จึงได้เลี่ยงออกมาเสีย กระทั่งเวลาล่วงไปประมาณบ่าย ๔ โมงเย็น คุณป้ายุพินสังเกตเห็นที่บ้านแม่กาหลงมีคนพลุกพล่าน
พูดคุยกันฟังไม่ได้ศัพท์ จึงเดินไปที่ข้างรั้ว ถามว่ามีอะไรกันหรือ คนในบ้านก็บอกว่า
แม่กาหลงตายแล้ว เป็นอะไรตายไม่รู้ กาฬดำขึ้นหมดทั้งตัวเลย....
คุณป้ายุพินพอรู้ว่าแม่กาหลงจากไปไม่มีวันกลับก็ใจหาย หวนนึกย้อนตอนพูดคุยกันที่แม่กาหลงบอกว่า ร้อนไปทั้งตัว ไม่รู้ว่าเป็นอะไร ตอนนั้นคงกำลังเป็นไข้กาฬอยู่แน่ ๆ
แต่แม่กาหลงไม่รู้ตัว และไม่บอกให้รู้ จึงช่วยเหลืออะไรไม่ทัน
ศพแม่กาหลงตั้งสวดครบ ๔ วัน ก็นำไปเผาตามประเพณี ระหว่างที่รอคอยให้ครบ ๗ วัน เพื่อทำบุญอีกครั้ง สามีนอนคนเดียวไม่ได้ ต้องให้เพื่อน ๆ มานอนเป็นเพื่อน
เพราะมีปรากฎการณ์หลายอย่างที่ทำให้อกสั่นขวัญกระเจิง เมื่อทำบุญ ๗ วัน แล้ว สามีก็รีบขนของโยกย้ายไปอยู่บ้านแม่ของตนตามเดิม ปล่อยบ้านทิ้งร้างตั้งแต่นั้น
และตั้งแต่นั้นอีกเช่นกัน บ้านเช่าซึ่งเคยเป็นโรงรักเรือนหอของแม่กาหลง ก็มีปรากฎการณ์ซึ่งแสดงว่าวิญญาณของแม่กาหลงยังสิงสู่ไม่ยอมไปไหน ทำให้ไม่มีใครกล้าเข้ามาเช่าอยู่ต่อ
หรือ..... แม้แต่ย่างกรายผ่านหน้าบ้านกลางวันแสก ๆ ก็ยังไม่ค่อยกล้าเสียด้วยซ้ำ
ขณะ นั้น พระเดชพระคุณหลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม เป็นเจ้าอาวาสวัดอัมพวันแล้ว ระยะแรก ๆ ที่ท่านมาปกครองวัด มีพระภิกษุสามเณรจำพรรษาอย่างมากไม่เกิน ๑๕ รูป พื้นที่วัดอัมพวัน
มีประชาชนอยู่อาศัยไม่มากนัก ชาวบ้านมีฐานะอัตคัดขาดแคลน ประกอบอาชีพทำสวน ทำนา เป็นพื้น มีรายได้เล็ก ๆ น้อย ๆ พอประทังชีพไปวัน ๆ
เวลานั้นวัดอัมพวันไปมายากลำบาก ด้านหลังวัด (ปัจจุบันเป็นหน้าวัด) เป็นป่าดงรกเรื้อเต็มไปด้วยป่าไผ่ วัชพืช มีต้นตาลระเกะระกะนับร้อยต้น ทางถนนต่อเชื่อมจากวัดกับ
ทางหลวงสายเอเซียยังไม่มี และคลองชลประทานก็ยังมาไม่ถึง
การทำนาอาศัยน้ำหลากไหลเข้าทุ่ง คือ เดือน ๑๑ น้ำนอง เดือน ๑๒ น้ำทรง เดือนอ้ายเดือนยี่น้ำลง ชาวนาก็ทำนาข้าวหนัก ข้าวกลาง ตามแบบอย่างโบราณกาลสืบเนื่องกันมา ทางสัญจรสะดวกที่สุดเวลาไปวัด อัมพวันขณะนั้น อาศัยทางน้ำเป็นสำคัญ เพราะวัดอัมพวันเป็นวัดที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อหลวงพ่อจรัญ เป็นสมภารเจ้าวัด วัดอัมพวันก็เริ่มเจริญขึ้นเป็นลำดับ มีกุลบุตรมาอุปสมบทบรรพชาเป็นพระภิกษุสามเณรเพิ่มขึ้นพรรษาละ ๔๐ – ๕๐ รูป ญาติโยมลูกศิษย์เก่า ๆ ตั้งแต่ท่านสอนวิปัสสนากรรมฐานที่วัดพรหมบุรี ต่างพากันตามมานมัสการหลวงพ่อ เพิ่มจำนวนมากขึ้น เรื่อย ๆ เวลามีญาติโยมศรัทธามาวัดจำนวนมาก ๆ หลวงพ่อก็จำเป็นต้องไปขอบิณฑบาตอาหารหวานคาวบ้านเหนือบ้านใต้มาเลี้ยงดู เพราะวัดอยู่ในพื้นที่ทุรกันดารเหลือเกิน
ที่บ้านบางมอญ, สิงห์บุรี
หนุ่มสาวคู่หนึ่งตกอยู่ในห้วงแห่งความรัก แล้วสืบสานความสัมพันธ์นั้นไปสู่การร่วมชีวิตคู่เพื่อครองรัก เชื่อมั่นและมุ่งหวังให้รักนี้เป็นนิรันดร์ ฝ่ายชายเป็นหนุ่มหน้าตาคมสัน
ฝ่ายหญิงผิวคล้ำขำคม สวยไม่เป็นรองใคร ชื่อ “กาหลง” อายุไล่เลี่ยกันประมาณ ๒๐ กว่าปี
หลังจากแต่งงานกันแล้ว ผัวหนุ่มเมียสาวก็มาเช่าบ้านหลังหนึ่งอยู่ด้วยกัน บ้านหลังนั้นค่อนข้างใหญ่โตกว้างขวาง ปลูกสร้างแบบทรงไทยเป็นเรือนแฝด เป็นบ้านพักอาศัยของอดีตนายอำเภอ
ซึ่งเกษียณอายุราชการไปแล้ว และย้ายไปอยู่ในกรุงเทพมหานครกับลูก ๆ เมื่อบ้านทิ้งว่าง จึงให้ผู้อื่นเช่าอาศัย
เริ่มแรกชีวิตคู่ระหว่างหนุ่มสาว ประหนึ่งมีแต่ความสุขความรื่นรมย์อบอวลทุกอณูอากาศ ฝ่ายชายทำงานที่เทศบาลเมือง ฝ่ายหญิงเป็นแม่บ้านดูแลครัวเรือน กาลเวลาล่วงไป
จากวันเป็นเดือน แล้วเลยไปเป็นปี สัจจะแห่งความรักก็เริ่มประกาศธาตุแท้ของมัน
ไม่เคยมีความสุขในความรักอันเป็นโลกียวิสัยเป็นนิรันดร์
ฝ่ายชาย สามีแม่กาหลง ก็เริ่มออกลายเจ้าชู้ อาศัยว่ามีรูปร่างหน้าตาคมสัน เป็นคนรื่นเริง มีวาจาไพเราะ หญิงอื่นก็ยอมสนิทเสน่หาด้วย ความทุกข์ก็พลันบังเกิดแก่แม่กาหลง เพราะความหึงหวง จากที่เคยพูดจาอ่อนหวาน โอนอ่อนยอมความกันง่าย ๆ ก็กลับกลายเป็นปากเสียง ทะเลาะเบาะแว้งคำต่อคำไม่ยอมใคร
แม่กาหลงร้อนรุ่มกลุ้มใจหนักขึ้นทุกวัน ความผูกพันกระสันแน่นระหว่างชีวิตผัวเมียก็เริ่มคลายเกลียว เพราะไม่มีลูกด้วยกันเป็นโยงใยสายหนึ่ง
ติด ๆ กับบ้านของแม่กาหลง คือ บ้านผู้ใหญ่บ้านชื่อ กลีบ ภรรยาผู้ใหญ่คือ คุณป้ายุพิน บำเรอจิต ซึ่งเป็นอุบาสิกาผู้ฝักใฝ่ในธรรม ประกอบการบุญการกุศลมิได้เว้น
คุณป้ายุพินก็พอจะรู้อยู่บ้างว่า แม่กาหลงกับสามีมิได้กลมเกลียวกันเช่นเก่าก่อน แต่เรื่องผัว ๆ เมีย ๆ นั้นจะไปยุ่งเกี่ยวก้าวก่ายเกินไปไม่สมควร กระทำได้เพียงให้ข้อแนะนำเตือนสติ
เวลาแม่กาหลงมาปรึกษาระบายความทุกข์ให้ฟัง
แม่กาหลงขื่นขมอมทุกข์กับสามีจนย่างเข้าปีที่ ๓ ความรักความหวานที่จืดจางไป ก็เพราะความประพฤติของสามีเป็นสำคัญ ประกอบกับแม่กาหลงเอง เป็นคนอารมณ์แรง
ความหึงหวงยิ่งทำร้ายจิตใจตัวเองหนักเข้าไปอีก
วันนั้น...... เป็นวันที่แม่กาหลงจะสิ้นอายุขัย แม่กาหลงนุ่งผ้าถุงกระโจมอกลงจากเรือนมาทำปลา คุณป้ายุพินก็เดินไปทักทายที่ข้างรั้ว เพราะรั้วติดกัน
สังเกตเห็นผิวพรรณแม่กาหลงหมองคล้ำ หน้าตาไม่มีริ้วรอยความแจ่มใสเอาเสียเลย จึงถามว่า
“กาหลง ทำอะไรจ๊ะ”
“จะทำปลาจ้ะ วันนี้เป็นอะไรไม่รู้ป้า มันร้อน มันกลุ้ม”
แล้วแม่กาหลงก็คว้าปลาช่อน ขังไว้ในโอ่งออกมาพาดกับเขียง ใช้สันมีดทุบหัวปลาดิ้นพราด ๆ ก่อนจะขอดเกล็ด ปากก็บ่นให้ป้ายุพินได้ยิน
“หนูเป็นอย่างไรก็ไม่รู้ มันกลุ้มเหลือเกิน”
คุณป้ายุพินถามว่ากลุ้มเรื่องอะไร แม่กาหลงก็ไม่ตอบ คุณป้ายังพูดเย้าว่า ทำไมไม่นุ่งผ้านุ่งผ่อนให้เรียบร้อยล่ะ แม่กาหลงก็บอกว่า มันร้อน วันนี้รู้สึกร้อนเหลือเกิน
ไม่รู้จะทำอย่างไรให้หายร้อนหายกลุ้ม
คุณป้ายุพินเห็นแม่กาหลงมีท่าทางหงุดหงิดไม่สบายใจ จึงได้เลี่ยงออกมาเสีย กระทั่งเวลาล่วงไปประมาณบ่าย ๔ โมงเย็น คุณป้ายุพินสังเกตเห็นที่บ้านแม่กาหลงมีคนพลุกพล่าน
พูดคุยกันฟังไม่ได้ศัพท์ จึงเดินไปที่ข้างรั้ว ถามว่ามีอะไรกันหรือ คนในบ้านก็บอกว่า
แม่กาหลงตายแล้ว เป็นอะไรตายไม่รู้ กาฬดำขึ้นหมดทั้งตัวเลย....
คุณป้ายุพินพอรู้ว่าแม่กาหลงจากไปไม่มีวันกลับก็ใจหาย หวนนึกย้อนตอนพูดคุยกันที่แม่กาหลงบอกว่า ร้อนไปทั้งตัว ไม่รู้ว่าเป็นอะไร ตอนนั้นคงกำลังเป็นไข้กาฬอยู่แน่ ๆ
แต่แม่กาหลงไม่รู้ตัว และไม่บอกให้รู้ จึงช่วยเหลืออะไรไม่ทัน
ศพแม่กาหลงตั้งสวดครบ ๔ วัน ก็นำไปเผาตามประเพณี ระหว่างที่รอคอยให้ครบ ๗ วัน เพื่อทำบุญอีกครั้ง สามีนอนคนเดียวไม่ได้ ต้องให้เพื่อน ๆ มานอนเป็นเพื่อน
เพราะมีปรากฎการณ์หลายอย่างที่ทำให้อกสั่นขวัญกระเจิง เมื่อทำบุญ ๗ วัน แล้ว สามีก็รีบขนของโยกย้ายไปอยู่บ้านแม่ของตนตามเดิม ปล่อยบ้านทิ้งร้างตั้งแต่นั้น
และตั้งแต่นั้นอีกเช่นกัน บ้านเช่าซึ่งเคยเป็นโรงรักเรือนหอของแม่กาหลง ก็มีปรากฎการณ์ซึ่งแสดงว่าวิญญาณของแม่กาหลงยังสิงสู่ไม่ยอมไปไหน ทำให้ไม่มีใครกล้าเข้ามาเช่าอยู่ต่อ
หรือ..... แม้แต่ย่างกรายผ่านหน้าบ้านกลางวันแสก ๆ ก็ยังไม่ค่อยกล้าเสียด้วยซ้ำ
ขณะ นั้น พระเดชพระคุณหลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม เป็นเจ้าอาวาสวัดอัมพวันแล้ว ระยะแรก ๆ ที่ท่านมาปกครองวัด มีพระภิกษุสามเณรจำพรรษาอย่างมากไม่เกิน ๑๕ รูป พื้นที่วัดอัมพวัน
มีประชาชนอยู่อาศัยไม่มากนัก ชาวบ้านมีฐานะอัตคัดขาดแคลน ประกอบอาชีพทำสวน ทำนา เป็นพื้น มีรายได้เล็ก ๆ น้อย ๆ พอประทังชีพไปวัน ๆ
เวลานั้นวัดอัมพวันไปมายากลำบาก ด้านหลังวัด (ปัจจุบันเป็นหน้าวัด) เป็นป่าดงรกเรื้อเต็มไปด้วยป่าไผ่ วัชพืช มีต้นตาลระเกะระกะนับร้อยต้น ทางถนนต่อเชื่อมจากวัดกับ
ทางหลวงสายเอเซียยังไม่มี และคลองชลประทานก็ยังมาไม่ถึง
การทำนาอาศัยน้ำหลากไหลเข้าทุ่ง คือ เดือน ๑๑ น้ำนอง เดือน ๑๒ น้ำทรง เดือนอ้ายเดือนยี่น้ำลง ชาวนาก็ทำนาข้าวหนัก ข้าวกลาง ตามแบบอย่างโบราณกาลสืบเนื่องกันมา ทางสัญจรสะดวกที่สุดเวลาไปวัด อัมพวันขณะนั้น อาศัยทางน้ำเป็นสำคัญ เพราะวัดอัมพวันเป็นวัดที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อหลวงพ่อจรัญ เป็นสมภารเจ้าวัด วัดอัมพวันก็เริ่มเจริญขึ้นเป็นลำดับ มีกุลบุตรมาอุปสมบทบรรพชาเป็นพระภิกษุสามเณรเพิ่มขึ้นพรรษาละ ๔๐ – ๕๐ รูป ญาติโยมลูกศิษย์เก่า ๆ ตั้งแต่ท่านสอนวิปัสสนากรรมฐานที่วัดพรหมบุรี ต่างพากันตามมานมัสการหลวงพ่อ เพิ่มจำนวนมากขึ้น เรื่อย ๆ เวลามีญาติโยมศรัทธามาวัดจำนวนมาก ๆ หลวงพ่อก็จำเป็นต้องไปขอบิณฑบาตอาหารหวานคาวบ้านเหนือบ้านใต้มาเลี้ยงดู เพราะวัดอยู่ในพื้นที่ทุรกันดารเหลือเกิน
แสดงความคิดเห็น
เรื่อง "เรือนกาหลง" นี่อิงมาจากตำนานของแม่กาหลงใช่ไหมครับ
(รอผู้รู้มาตอบอีก หากพิมพ์เรื่องส่วนใดผิดพลาดไปขออภัยด้วยนะครับ)