เท่าที่ติดตามผมก็เห็นว่าทั้งฝ่ายสนับสนุนเขื่อนและค้านเขื่อนก็มีเหตุผลทั้งคู่ ถ้าจะมาวัดว่าของใครดีกว่ามันก็ไม่มีอะไรจะมาวัดชี้ขาดได้ว่าใครถูกใครผิด ถ้างั้นแทนที่จะเคลื่อนไหวว่าไม่เอาเขื่อนเลยทำไมไม่เคลื่อนไหวว่าให้สร้างเขื่อนที่เขาชนกันล่ะครับ เพราะตามข้อมูลมันเป็นจุดที่ดีที่สุดที่จะสร้างเพราะฝ่ายค้านก็จะรักษาผืนป่าไว้ได้ ฝ่ายชาวบ้านก็ได้เขื่อน ก็จะเหลือแค่ปัญหาเดียวคือการย้ายชุมชนบริเวณเขาชนกัน ซึ่งเท่าที่ตามข่าวมาก็สามารถแจกแจงประเด็นได้ดังนี้
1. หากสร้างที่สบกกก็ต้องย้ายชุมชนเหมือนกัน เพียงแต่การย้ายที่เขาชนกันจะส่งผลกระทบต่อชาวบ้านมากขึ้น
2. บริเวณชุมชนที่เขาชนกันนับเป็นพื้นที่กี่ % ของจังหวัด ถือเป็นพื้นที่สำคัญหรือไม่ในเชิงเศรษฐกิจหรือภูมิศาสตร์ มีมูลค่าเทียบเท่ากับผืนป่า 2.2% ที่เป็นหัวใจของป่าหรือไม่
ตามที่ผมเข้าใจหากรัฐจะสร้างไม่ว่าบริเวณไหนหากมันคุ้มค่าก็สามารถเวนคืนพื้นที่ได้ เช่นสร้างรถไฟฟ้าก็มีการเวนคืนพื้นที่เช่นกัน หรืออย่างในประเทศจีนก็มีการเวนคืนทั้งหมู่บ้านมาแล้ว กรณีของมนุษย์เราอาจจะต้องเผชิญความยากลำบากแต่ก็ยังสามารถย้ายที่ทำกินได้ แต่กรณีของสัตว์ป่าเราไม่สามารถจะย้ายเขาไปไหนได้เพราะสัตว์ป่าที่ติดที่หากย้ายไปที่อื่นก็จะตาย ผมจึงคิดว่าหากภาครัฐจัดการดูแลการย้ายถิ่นของชาวบ้านได้ดี อาจมีการระดมทุนและกำลังจากภาคเอกชน, กลุ่ม NGO และประชาชนทั่วไป เพื่อเข้าช่วยเหลือชาวบ้านที่จะเป็นผู้เสียสละที่ดินทำกินและถิ่นที่อยู่อาศัยเพื่อประเทศชาติแล้ว ผมคิดว่ามันก็น่าจะสามารถสร้างเขื่อนได้พร้อมกับช่วยเหลือชาวบ้านที่เป็นผู้เสียสละให้ได้รับความคุ้มค่าในการย้ายออกได้ก็จะเรียกได้ว่าเป็นสถานการณ์ที่ดีที่สุดไม่ใช่หรือครับ
ทุกท่านคิดเห็นกันอย่างไรบ้างครับ
เขื่อนแม่วงก์ : ทำไมเราไม่เปลี่ยนจาก "รณรงค์ไม่เอาเขื่อน" เป็น "รณรงค์เอาเขื่อนที่เขาชนกัน" ครับ?
1. หากสร้างที่สบกกก็ต้องย้ายชุมชนเหมือนกัน เพียงแต่การย้ายที่เขาชนกันจะส่งผลกระทบต่อชาวบ้านมากขึ้น
2. บริเวณชุมชนที่เขาชนกันนับเป็นพื้นที่กี่ % ของจังหวัด ถือเป็นพื้นที่สำคัญหรือไม่ในเชิงเศรษฐกิจหรือภูมิศาสตร์ มีมูลค่าเทียบเท่ากับผืนป่า 2.2% ที่เป็นหัวใจของป่าหรือไม่
ตามที่ผมเข้าใจหากรัฐจะสร้างไม่ว่าบริเวณไหนหากมันคุ้มค่าก็สามารถเวนคืนพื้นที่ได้ เช่นสร้างรถไฟฟ้าก็มีการเวนคืนพื้นที่เช่นกัน หรืออย่างในประเทศจีนก็มีการเวนคืนทั้งหมู่บ้านมาแล้ว กรณีของมนุษย์เราอาจจะต้องเผชิญความยากลำบากแต่ก็ยังสามารถย้ายที่ทำกินได้ แต่กรณีของสัตว์ป่าเราไม่สามารถจะย้ายเขาไปไหนได้เพราะสัตว์ป่าที่ติดที่หากย้ายไปที่อื่นก็จะตาย ผมจึงคิดว่าหากภาครัฐจัดการดูแลการย้ายถิ่นของชาวบ้านได้ดี อาจมีการระดมทุนและกำลังจากภาคเอกชน, กลุ่ม NGO และประชาชนทั่วไป เพื่อเข้าช่วยเหลือชาวบ้านที่จะเป็นผู้เสียสละที่ดินทำกินและถิ่นที่อยู่อาศัยเพื่อประเทศชาติแล้ว ผมคิดว่ามันก็น่าจะสามารถสร้างเขื่อนได้พร้อมกับช่วยเหลือชาวบ้านที่เป็นผู้เสียสละให้ได้รับความคุ้มค่าในการย้ายออกได้ก็จะเรียกได้ว่าเป็นสถานการณ์ที่ดีที่สุดไม่ใช่หรือครับ
ทุกท่านคิดเห็นกันอย่างไรบ้างครับ