มาดูกันว่าเมื่อพื้นที่ 2.2% ของผืนป่าเขตอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ กลายเป็นเขื่อนจะเกิดอะไรขึ้น


มาดูกันว่าเมื่อพื้นที่ 2.2% ของผืนป่าเขตอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ กลายเป็นเขื่อนจะเกิดอะไรขึ้น (อันนี้ตามความคิดของผมนะครับ ไม่ขอพูดว่าใครคิดแบบไหนดีกว่าใคร)

โดยข้อมูลที่ค้นพบ คือ การก่อสร้างเขื่อนกั้นลำน้ำแม่วงก์นั้นจะถูกสร้างขึ้นที่บริเวณเขาสบกก ตำบลแม่เลย์ อำเภอแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ เขื่อนดังกล่าวมีลักษณะเป็นเขื่อนหินทิ้งแกนดินเหนียวขนาดใหญ่ ความยาว 730 เมตร กว้าง 10 เมตร สูง 57 เมตร พื้นที่อ่างเก็บน้ำประมาณ 13,000 ไร่ ปริมาณกักเก็บน้ำ 250 ล้านลูกบาศก์เมตร ครอบคลุมพื้นที่ชลประทาน 291,900 ไร่ ในอำเภอลาดยาว อำเภอแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์ และพื้นที่บางส่วนในอำเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี

โดยมีการจัดทำประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเมื่อต้นปี 2543 ชาวบ้านจำนวนมากและนักการเมืองท้องถิ่นส่วนใหญ่จะสนับสนุนให้มีการสร้างเขื่อน โดยที่ชาวบ้านบางส่วนเชื่อเช่นนั้นจริงว่าเขื่อนแม่วงก์จะสามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งได้

ในรายงานอีไอเอระบุผลกระทบต่อผืนป่าแค่ว่าพื้นที่ป่าที่จะสูญเสียไป 13,000 ไร่นั้น คิดเป็นพื้นที่เพียงร้อยละ 2.2 ทั้งนี้พื้นที่ที่ต้องสูญเสียนั้นเป็นสังคมป่าที่ลุ่ม ซึ่งหากเปรียบเทียบกับร่างกายของคนเรา ก็เปรียบได้ดั่งหัวใจ ไม่ใช่แขนหรือขาด้วยเหตุผลที่ว่าเป็นบริเวณที่มีความหนาแน่นของพรรณไม้สูงมาก และเป็นแหล่งหากินของสัตว์ป่าจำนวนมากที่อาศัยอยู่ในที่ลุ่มและใกล้แม่น้ำ ภายหลังจึงมีการตีกลับรายงานอีไอเอของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ทำให้ความเคลื่อนไหวในการผลักดันโครงการชะลอไปพักใหญ่ แต่เมื่อเกิดน้ำท่วมใหญ่ในปี 2553 โครงการเขื่อนแม่วงก์ก็ถูกนำมาปัดฝุ่นอีกครั้ง และมีการจ้างบริษัทที่ปรึกษาศึกษารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพใหม่ เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2554 และคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนกรกฎาคม 2555 แต่แล้วเมื่อเกิดน้ำท่วมใหญ่อีกครั้งในปี 2554 ครม. รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ได้รับพระราชทานพระราชดำริจากพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ให้เร่งก่อสร้าง จึงคลอดมติให้สร้างเขื่อนแม่วงก์ พร้อมกับอนุมัติงบประมาณ 13,000 ล้านบาท จึงเกิดเป็นประเด็นขึ้น

เหตุผลของผู้คัดค้าน
1. กระทบระบบนิเวศน์ พันธุ์สัตว์ พันธุ์พืช ที่เสียหายไปภายในพื้นที่ 13,000 ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ 2.2% ของป่านั้น?
2. คิดว่าไม่สามารถแก้ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้งได้
3. การใช้งบประมาณที่ไม่เหมาะสม ฟุ่มเฟือยไปหรือเปล่า? ชช
4. อาจมีเหตุผลอื่นๆ แต่ยังไม่มีการพูดถึงแพร่หลายในขณะนี้

เหตุผลแย้งที่ผมคิดว่าคนสนับสนุนเขาคิด
1. ยังเหลือป่าอีกกว่า 90% ให้สัตว์ป่าเหล่านั้นดำรงชีวิต ระบบนิเวศน์มีการพัฒนาความอยู่รอดให้แก่ตัวมันเอง
2. เกิดระบบนิเวศน์ใหม่ใต้ท้องน้ำ (เสียอย่างแต่ก็ได้อีกอย่าง) อย่างไรธรรมชาติก็จะพัฒนาไปโดยอัตโนมัติในตัวมันเอง
3. แก่ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้งได้ส่วนหนึ่ง การใช้น้ำเป็นระบบมากขึ้น (ทุกประเทศทราบดีว่าการสร้างเขื่อนทำให้เราสามารถ Control น้ำได้ แต่ตัวแปรในการ Control น้ำไม่ได้อยู่ที่เขื่อนอย่างเดียวแต่ยังอยู่ที่ผู้ Control เขื่อนอีกด้วย)
4. มีสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่เกิดขึ้น เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีทั้งบนบกและทางน้ำ ซึ่งรัฐบาลเองไปดูงานต่างประเทศในส่วนนี้มามากระดับนึงเลยทีเดียว (ทุกวันนี้คนสุราษฏร์มีกุ้ยหลินไทยแลนด์ คนเพชรบุรีมีแก่งกระจาน คนลพบุรีมีป่าศักดิ์ชลสิทธิ์ ทุกที่ล้วนเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศทั้งนั้น)
5. เกิดการหมุนเวียนด้านเศรษฐกิจกับชุมชนไกล้เคียง หรือทางผ่าน
6. ประโยชน์จากการผลิตไฟฟ้า ถึงไม่มากเต็มที่ก็ตาม
7. คิดว่ารัฐบาลมองในระยะยาวในเรื่องของการใช้งบ กับผลตอบแทน คือใช้การป้องกันปัญหา แทนการอุดปัญหาหลังน้ำท่วม ถึงแม้ไม่มีผลมากต่อลุ่มน้ำเจ้าพระยา แต่บริเวณท้องถิ่น คิดว่าเป็นประโยชน์อย่างมาก แล้วยังได้ผลได้ทางอ้อมที่ตามมาอีกด้วย เขื่อนแม่วงก์จะเป็นเพียงส่วนหนึ่งของระบบน้ำที่รัฐบาลกำลังพัฒนา ไม่ใช่ทั้งหมดของแผน หากมองในมุมแคบจะเห็นว่าไม่เกิดประโยชน์ แต่เมื่อมองภาพรวมทั้งประเทศ ทั้งระบบ ย่อมมีผลดีขึ้นมา อาทิ เช่น ลดปริมาณน้ำจากลุ่มแม่น้ำสะแกกรัง อันเป็๋นที่มาส่วนหนึ่งของปริมาณในแม่น้ำเจ้าพระยา ในเมื่อเป็นส่วนหนึ่งก็จะส่งผลให้เราสามารถ Control ได้ส่วนหนึ่งเช่นกัน
8. เรามีทางเลือกในการสร้างป่าโดยการช่วยกันรณรงค์และ(ลงมือ) ปลูกป่าในพื้นที่ที่โดนบุกรุกหรือโดนทำลายทั้งที่ไม่สมควรทำลายอีกนับไม่ถ้วน คือไปปลูกป่าตรงที่ควรจะปลูกดีกว่ามาห้ามทำลายในส่วนที่ควรจะทำ และผืนป่าแม่วงก์ก็ยังมีพื้นที่เสื่อมโทรมให้เราได้พัฒนา บำรุงรักษาอีกด้วย หากเราใช้เวลาในการรณรงค์หยุดสร้าง ไปลงมือปลูกกันตั้งแต่วันนี้ จะไม่ดีกว่าหรือ และหากการปลูกป่าช่วยไม่ได้ พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระราชินิฯท่านจะเน้นในส่วนนี้ทำไม (ข้อนี้ผมว่าเหมาะสมกว่า)
9. เราสามารถช่วยกันสร้างระบบนิเวศน์ขึ้นได้ ทั้งพันธุ์สัตว์ พันธุ์พืช มนุษย์เราสามารถทำได้อยู่แล้ว การสร้างเขื่อนส่วนสำคัญคือสันเขื่อนที่จะกั้นลำน้ำและภูเขา น้ำจะค่อยๆเพิ่มระดับขึ้น ซึ่งใช้เวลามากพอให้สิ่งมีชีวิตจำพวกสัตว์อพยพไปยังบริเวณที่เหลือ ส่วนพืชพันธุ์ ต้องยอมรับว่าต้องยอมเสียไปในส่วนนั้น แต่นับว่ายังเหลืออีกมากกว่า90% โดยพันธุ์สัตว์ที่พบในแม่วงก์ได้แก่ #สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จำนวน 57 ชนิด 26 วงศ์ #สัตว์จำพวกนก จำนวน 305 ชนิด 53 วงศ์ #สัตว์เลื้อยคลาน จำนวน 22 ชนิด 11 วงศ์ #สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก จำนวน 7 ชนิด 4 วงศ์ #ปลา จำพวกปลาน้ำจืด จำนวน 68 ชนิด 14 วงศ์
10. เหตุผลอื่น ๆ ยังมีอีกหลาย ๆ คนมีเหตุผลอีกหลาย ๆ เหตุผล

ดาวน์โหลดผลการทำประชาพิจารณ์ซึ่งมีกล่าวถึงผลกระทบข้อดีและข้อเสีย (Recommend Credit: 945340)
############################
"เราจะสนใจแต่อากาศหายใจของตนเอง โดยไม่สนใจความเป็นอยู่ของคนอื่นหรือยังไง?"
############################


#ทั้งหมดนี้อาจเป็นเพราะความที่ผมคิดไม่ถ้วนถี่ ถ้าความเห็นไม่ลงรอยกับใคร ก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ครับ


แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่