
นิททสสูตรที่ ๑ (บางส่วน)
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรสารีบุตร จะไม่มีใครๆ อาจเพื่อบัญญัติภิกษุผู้นิททสะด้วยเหตุ
เพียงนับพรรษาอย่างเดียว ในธรรมวินัยนี้
ดูกรสารีบุตรวัตถุแห่งนิททสะ ๗ ประการนี้ เรากระทำให้แจ้งด้วย
ปัญญาอันยิ่งเอง ประกาศแล้ว ๗ ประการเป็นไฉน
ดูกรสารีบุตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้มีฉันทะกล้าในการสมาทานสิกขา
และมีความรักอย่างลึกซึ้งในการสมาทานสิกขาต่อไป ๑
มีฉันทะกล้าในการฟังธรรม และมีความรักอย่างลึกซึ้งในการฟังธรรมต่อไป ๑
มีฉันทะกล้าในการกำจัดความอยาก และมีความรักอย่างลึกซึ้งในการกำจัด
ความอยากต่อไป ๑
มีฉันทะกล้าในการหลีกออกเร้น และมีความรักอย่างลึกซึ้งในการ
หลีกออกเร้นต่อไป ๑
มีฉันทะกล้าในการปรารภความเพียร และมีความรักอย่างลึกซึ้งในการ
ปรารภความเพียรต่อไป ๑
มีฉันทะกล้าในสติเครื่องรักษาตัว และมีความรักอย่างลึกซึ้งใน
สติเครื่องรักษาตัวต่อไป ๑
มีฉันทะกล้าในการแทงตลอดด้วยทิฐิ และมีความรักอย่างลึกซึ้ง
ในการแทงตลอดด้วยทิฐิต่อไป ๑
ดูกรสารีบุตร วัตถุแห่งนิททสะ ๗ ประการนี้แล เรากระทำให้แจ้ง
ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ประกาศแล้ว
ดูกรสารีบุตร ภิกษุผู้ประกอบด้วยวัตถุแห่งนิททสะ ๗ ประการนี้แล
ถ้าประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบ ๑๒ ปี ก็ควรจะเรียกได้ว่า ภิกษุผู้
นิททสะ ถ้าประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบ ๒๔ ปี ก็ดี ... ๓๖ ปีก็ดี ...
๔๘ ปีก็ดี ก็ควรจะเรียกได้ว่า ภิกษุผู้นิททสะ ฯ
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ บรรทัดที่ ๘๕๓ - ๙๐๐. หน้าที่ ๓๘ - ๔๐.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=853&Z=900&bgc=lavender&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=39&bgc=lavender

คำว่า
นิททสวัตถุ แปลว่า ธรรมที่เป็นเหตุให้ชื่อว่า “นิททสะ” แปลว่า มีอายุไม่ถึง ๑๐ ปี
คำนี้เป็นคำที่พวกเดียรถีย์ใช้เรียกนิครนถ์ผู้ประพฤติพรหมจรรย์กำหนด ๑๒ ปี
ถ้าตายลง เมื่อถึง ๑๐ ปี เรียกผู้นั้นว่า “นิททสะ” คือ เมื่อมาเกิดอีกจะมีอายุไม่ถึง ๑๐ ปี
และอาจไม่ถึง ๙ ปี ... ๑ ปี
แต่พระผู้มีพระภาคทรงใช้คำนี้ หมายถึงพระขีณาสพ (พระอรหันต์) ในความหมายว่า
“ไม่มีการเกิดอีก” ไม่ว่าจะเกิดมาเพียงวันเดียวหรือครู่เดียว
โดยมีเงื่อนไขว่าผู้นั้นต้องเพียบพร้อมด้วยธรรม ๗ ประการ
ส่วนเวลาประพฤติพรหมจรรย์มากน้อยไม่สำคัญ
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11&i=221&p=7#นิททสวัตถุ

การบวชนานเพียงอย่างเดียว แต่ไม่มีความยินดีในการศึกษายิ่งๆ ขึ้นไป
ก็ไม่พอต่อการบรรลุคุณวิเศษเบื้องสูงยิ่งๆ ขึ้นไป
ในพระชาติหนึ่ง พระโพธิสัตว์ได้ออกบวชนาน 50 ปีกว่า แต่มีความยินดี
ในการบวชเพียงแค่ 7 วันเท่านั้น จากนั้นไม่มีความยินดีเลย แต่สู้อุตสาหะ
บวชอยู่ต่อไปได้ แม้ไม่ยินดีเลย เรื่องนี้มาในมัณฑัพยชาดก
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙
ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
มัณฑัพยชาดก
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗ บรรทัดที่ ๕๖๔๙ - ๕๖๘๙. หน้าที่ ๒๕๙ - ๒๖๑.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=27&A=5649&Z=5689&bgc=mistyrose&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถาชาดกนี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1380&bgc=mistyrose
บวชนาน แต่ไม่มีความยินดีในการศึกษายิ่งๆ ขึ้นไป ...
นิททสสูตรที่ ๑ (บางส่วน)
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรสารีบุตร จะไม่มีใครๆ อาจเพื่อบัญญัติภิกษุผู้นิททสะด้วยเหตุ
เพียงนับพรรษาอย่างเดียว ในธรรมวินัยนี้
ดูกรสารีบุตรวัตถุแห่งนิททสะ ๗ ประการนี้ เรากระทำให้แจ้งด้วย
ปัญญาอันยิ่งเอง ประกาศแล้ว ๗ ประการเป็นไฉน
ดูกรสารีบุตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีฉันทะกล้าในการสมาทานสิกขา
และมีความรักอย่างลึกซึ้งในการสมาทานสิกขาต่อไป ๑
มีฉันทะกล้าในการฟังธรรม และมีความรักอย่างลึกซึ้งในการฟังธรรมต่อไป ๑
มีฉันทะกล้าในการกำจัดความอยาก และมีความรักอย่างลึกซึ้งในการกำจัด
ความอยากต่อไป ๑
มีฉันทะกล้าในการหลีกออกเร้น และมีความรักอย่างลึกซึ้งในการ
หลีกออกเร้นต่อไป ๑
มีฉันทะกล้าในการปรารภความเพียร และมีความรักอย่างลึกซึ้งในการ
ปรารภความเพียรต่อไป ๑
มีฉันทะกล้าในสติเครื่องรักษาตัว และมีความรักอย่างลึกซึ้งใน
สติเครื่องรักษาตัวต่อไป ๑
มีฉันทะกล้าในการแทงตลอดด้วยทิฐิ และมีความรักอย่างลึกซึ้ง
ในการแทงตลอดด้วยทิฐิต่อไป ๑
ดูกรสารีบุตร วัตถุแห่งนิททสะ ๗ ประการนี้แล เรากระทำให้แจ้ง
ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ประกาศแล้ว
ดูกรสารีบุตร ภิกษุผู้ประกอบด้วยวัตถุแห่งนิททสะ ๗ ประการนี้แล
ถ้าประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบ ๑๒ ปี ก็ควรจะเรียกได้ว่า ภิกษุผู้
นิททสะ ถ้าประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบ ๒๔ ปี ก็ดี ... ๓๖ ปีก็ดี ...
๔๘ ปีก็ดี ก็ควรจะเรียกได้ว่า ภิกษุผู้นิททสะ ฯ
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ บรรทัดที่ ๘๕๓ - ๙๐๐. หน้าที่ ๓๘ - ๔๐.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=853&Z=900&bgc=lavender&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=39&bgc=lavender
คำว่า นิททสวัตถุ แปลว่า ธรรมที่เป็นเหตุให้ชื่อว่า “นิททสะ” แปลว่า มีอายุไม่ถึง ๑๐ ปี
คำนี้เป็นคำที่พวกเดียรถีย์ใช้เรียกนิครนถ์ผู้ประพฤติพรหมจรรย์กำหนด ๑๒ ปี
ถ้าตายลง เมื่อถึง ๑๐ ปี เรียกผู้นั้นว่า “นิททสะ” คือ เมื่อมาเกิดอีกจะมีอายุไม่ถึง ๑๐ ปี
และอาจไม่ถึง ๙ ปี ... ๑ ปี
แต่พระผู้มีพระภาคทรงใช้คำนี้ หมายถึงพระขีณาสพ (พระอรหันต์) ในความหมายว่า
“ไม่มีการเกิดอีก” ไม่ว่าจะเกิดมาเพียงวันเดียวหรือครู่เดียว
โดยมีเงื่อนไขว่าผู้นั้นต้องเพียบพร้อมด้วยธรรม ๗ ประการ
ส่วนเวลาประพฤติพรหมจรรย์มากน้อยไม่สำคัญ
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11&i=221&p=7#นิททสวัตถุ
การบวชนานเพียงอย่างเดียว แต่ไม่มีความยินดีในการศึกษายิ่งๆ ขึ้นไป
ก็ไม่พอต่อการบรรลุคุณวิเศษเบื้องสูงยิ่งๆ ขึ้นไป
ในพระชาติหนึ่ง พระโพธิสัตว์ได้ออกบวชนาน 50 ปีกว่า แต่มีความยินดี
ในการบวชเพียงแค่ 7 วันเท่านั้น จากนั้นไม่มีความยินดีเลย แต่สู้อุตสาหะ
บวชอยู่ต่อไปได้ แม้ไม่ยินดีเลย เรื่องนี้มาในมัณฑัพยชาดก
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙
ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
มัณฑัพยชาดก
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗ บรรทัดที่ ๕๖๔๙ - ๕๖๘๙. หน้าที่ ๒๕๙ - ๒๖๑.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=27&A=5649&Z=5689&bgc=mistyrose&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถาชาดกนี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1380&bgc=mistyrose