ความต่อเนื่องนโยบายเฟดสำคัญกว่าลดคิวอี
นักวิเคราะห์มองความต่อเนื่องนโยบายเฟด หลัง "เบน เบอร์นันเก"หมดวาระ สำคัญมากกว่าแผนลดขนาดคิวอี
คำแถลงของ เบน เบอร์นันเก ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ต่อนโยบายการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (คิวอี 3) จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับตลาดเงินตลาดทุนมากขึ้น หากไม่มีเรื่องการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งประธานเฟดในต้นปีหน้า
ทั้งนี้ เบอร์นันเก จะก้าวลงจากตำแหน่งประธานเฟดในวันที่ 31 ม.ค. 2557 และคาดว่าการแถลงข่าวครั้งสุดท้ายจะมีขึ้นหลังการประชุมเฟดประจำวันที่ 17-18 ธ.ค. 2556 ขณะที่การประชุม เฟด ในวันที่ 29-30 ต.ค. จะไม่มีการจัดแถลงข่าว
เฟด เริ่มต้นดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อรับมือต่อวิกฤติการเงินโลกที่ทวีความรุนแรงขึ้นเมื่อ 5 ปีก่อน โดย วาณิชธนกิจเลแมน บราเดอร์ส ของสหรัฐล้มละลายลงในสัปดาห์เดียวกันนี้ในปี 2551
แต่มาตรการคิวอี ที่เฟดดำเนินการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ตั้งแต่เดือนก.ย.ปีที่แล้ว ด้วยการซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐในวงเงิน 4.5 หมื่นล้านดอลลาร์ และซื้อหลักทรัพย์ที่ได้รับการค้ำประกันจากสัญญาจำนอง (MBS) ในวงเงิน 4 หมื่นล้านดอลลาร์ รวมกัน 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ทุกเดือน โดยมีเป้าหมายสำคัญคือ อัตราการว่างงานและเงินเฟ้อ
เฟดตั้งเป้าหมายว่าจะยุติคิวอี เมื่ออัตราว่างงานอยู่ที่ 6.5% และอัตราเงินเฟ้อไม่เกิน 2.5%
จากข้อมูลล่าสุด อัตราว่างงานของสหรัฐ อยู่ที่ระดับ 7.3% ถือว่ายังห่างไกลจากเป้าหมายที่ตั้งไว้ ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจมีแนวโน้มดีขึ้น แต่ยังประเมินได้ยากว่าจะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้เมื่อไร
ครั้งหลังสุดเมื่อเดือนก.ค. นายเบอร์นันเก้ ย้ำว่าเฟดยังยึดเป้าหมายเดิมในการลดคิวอี แม้ว่าก่อนหน้านั้นนายเบอร์นันเก้ กล่าวว่าจะเริ่มลดปลายปีนี้และยุติโดยสิ้นเชิงราวกลางปีหน้า
หากว่า นายเบอร์นันเก ต้องพ้นจากตำแหน่งประธานเฟดในเดือนม.ค. ปีหน้า ก็หมายความว่าเป้าหมายจะยุติกลางปีหน้ายังมีความไม่แน่นอนสูง เพราะเขาได้ออกจากตำแหน่งไปแล้ว ก่อนกำหนดเป้าหมายที่ตั้งไว้
ดังนั้น ความต่อเนื่องของนโยบายเฟด จึงเป็นเรื่องสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นว่าเฟดจะยึดเป้าหมายเดิม นั่นคือ หากทุกอย่างเป็นไปตามประมาณการ อัตราว่างงานน่าจะลดสู่ระดับ 6.5% กลางปีหน้า ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่นายเบอร์นันเก้ ระบุว่าจะยุติคิวอี
ความต่อเนื่องของคิวอี จึงขึ้นกับผู้ดำรงตำแหน่งประธานเฟดคนต่อไป
ขณะนี้ นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า นางเจเน็ต เยลเลน รองประธาน เฟด น่าจะเป็นตัวเก็งผู้ที่ขึ้นมาเป็นประธานเฟดต่อจากนายเบอร์นันเก้ และหากประธานาธิบดีบารัก โอบามา เสนอชื่อนางเยลเลน และวุฒิสภาสหรัฐลงคะแนนเสียงรับรอง ขณะที่ตลาดคาดว่านางเยลเลนจะสานต่อแนวทางนโยบายที่นายเบอร์นันเก้ได้วางไว้แล้ว
ตลาดและนักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่าหาก นางเยลเลน สืบตำแหน่งต่อไป นโยบายเฟดจะไม่เปลี่ยนแปลงไปจากยุคของนายเบอร์นันเก้
นายเดวิด สต็อคตัน อดีตนักเศรษฐศาสตร์ของเฟด กล่าวว่า หาก นางเยลเลน ได้รับเลือก จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับสัญญาณชี้นำล่วงหน้าของเฟด เพราะสิ่งนี้ทำให้นักลงทุนคาดว่าหลักการพื้นฐานและทิศทางนโยบายของเฟด จะมีความต่อเนื่อง มากยิ่งขึ้น
นายสต็อคตัน กล่าวเสริมว่า "ถ้าหากตลาดเผชิญกับความไม่แน่นอน ในเรื่องการเปลี่ยนตัวประธานเฟดเหมือนเมื่อหนึ่งสัปดาห์ก่อน สัญญาณชี้นำล่วงหน้าที่เฟดประกาศออกมาก็จะมีความน่าเชื่อถือน้อยลง"
ตลาดดูเหมือนว่าจะตอบรับข่าวเรื่องนางเยลเลน จะได้รับตำแหน่งประธานเฟดคนต่อไป และหากเป็นเช่นนั้น การคาดการณ์ในนโยบายเฟดก็จะประเมินได้
เพราะนางเยลเลน ปัจจุบันเป็นรองประธานเฟดมาตั้งแต่ปี 2553 ถือเป็นผู้สนับสนุนมาตรการเชิงรุกที่ดำเนินการภายใต้การบริหารของนายเบอร์นันเก้เพื่อกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ ส่งผลให้นางเยลเลน มีชื่อเสียงในด้านการเป็นผู้กำหนดนโยบายสายพิราบ ซึ่งจะยอมให้มีเงินเฟ้อเล็กน้อย เพื่อลดอัตราการว่างงาน
ก่อนที่จะเข้ารับตำแหน่งรองประธานเฟด นางเยลเลนเป็นประธานเฟด สาขาซานฟรานซิสโก และเคยเป็นประธานคณะที่ปรึกษาเศรษฐกิจของทำเนียบขาวสมัยประธานาธิบดีบิล คลินตัน และเคยเป็นผู้ว่าการคณะกรรมการเฟดในวอชิงตันตั้งแต่ปี 2547-2550
ดังนั้น ไม่ว่าเฟดจะมีแผนลดคิวอี อย่างไร แต่ขณะนี้มีการมองไปถึงความต่อเนื่องของนโยบายในช่วงเปลี่ยนผ่านประธานเฟดและยังไม่มีความชัดเจนว่าใครจะเข้ามาดำรงตำแหน่ง
ผู้ดำรงตำแหน่งประธานเฟดคนต่อไปต่างหาก จะเป็นผู้กุมทิศทางคิวอี และมีความสำคัญพอๆ กับมติของเฟดในช่วงที่เหลือของปีนี้
ที่มา : Bangkokbiznews
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=650087538359007&set=a.205531606147938.53604.158225184211914&type=1&theater
ความต่อเนื่องนโยบายเฟดสำคัญกว่าลดคิวอี
นักวิเคราะห์มองความต่อเนื่องนโยบายเฟด หลัง "เบน เบอร์นันเก"หมดวาระ สำคัญมากกว่าแผนลดขนาดคิวอี
คำแถลงของ เบน เบอร์นันเก ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ต่อนโยบายการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (คิวอี 3) จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับตลาดเงินตลาดทุนมากขึ้น หากไม่มีเรื่องการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งประธานเฟดในต้นปีหน้า
ทั้งนี้ เบอร์นันเก จะก้าวลงจากตำแหน่งประธานเฟดในวันที่ 31 ม.ค. 2557 และคาดว่าการแถลงข่าวครั้งสุดท้ายจะมีขึ้นหลังการประชุมเฟดประจำวันที่ 17-18 ธ.ค. 2556 ขณะที่การประชุม เฟด ในวันที่ 29-30 ต.ค. จะไม่มีการจัดแถลงข่าว
เฟด เริ่มต้นดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อรับมือต่อวิกฤติการเงินโลกที่ทวีความรุนแรงขึ้นเมื่อ 5 ปีก่อน โดย วาณิชธนกิจเลแมน บราเดอร์ส ของสหรัฐล้มละลายลงในสัปดาห์เดียวกันนี้ในปี 2551
แต่มาตรการคิวอี ที่เฟดดำเนินการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ตั้งแต่เดือนก.ย.ปีที่แล้ว ด้วยการซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐในวงเงิน 4.5 หมื่นล้านดอลลาร์ และซื้อหลักทรัพย์ที่ได้รับการค้ำประกันจากสัญญาจำนอง (MBS) ในวงเงิน 4 หมื่นล้านดอลลาร์ รวมกัน 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ทุกเดือน โดยมีเป้าหมายสำคัญคือ อัตราการว่างงานและเงินเฟ้อ
เฟดตั้งเป้าหมายว่าจะยุติคิวอี เมื่ออัตราว่างงานอยู่ที่ 6.5% และอัตราเงินเฟ้อไม่เกิน 2.5%
จากข้อมูลล่าสุด อัตราว่างงานของสหรัฐ อยู่ที่ระดับ 7.3% ถือว่ายังห่างไกลจากเป้าหมายที่ตั้งไว้ ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจมีแนวโน้มดีขึ้น แต่ยังประเมินได้ยากว่าจะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้เมื่อไร
ครั้งหลังสุดเมื่อเดือนก.ค. นายเบอร์นันเก้ ย้ำว่าเฟดยังยึดเป้าหมายเดิมในการลดคิวอี แม้ว่าก่อนหน้านั้นนายเบอร์นันเก้ กล่าวว่าจะเริ่มลดปลายปีนี้และยุติโดยสิ้นเชิงราวกลางปีหน้า
หากว่า นายเบอร์นันเก ต้องพ้นจากตำแหน่งประธานเฟดในเดือนม.ค. ปีหน้า ก็หมายความว่าเป้าหมายจะยุติกลางปีหน้ายังมีความไม่แน่นอนสูง เพราะเขาได้ออกจากตำแหน่งไปแล้ว ก่อนกำหนดเป้าหมายที่ตั้งไว้
ดังนั้น ความต่อเนื่องของนโยบายเฟด จึงเป็นเรื่องสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นว่าเฟดจะยึดเป้าหมายเดิม นั่นคือ หากทุกอย่างเป็นไปตามประมาณการ อัตราว่างงานน่าจะลดสู่ระดับ 6.5% กลางปีหน้า ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่นายเบอร์นันเก้ ระบุว่าจะยุติคิวอี
ความต่อเนื่องของคิวอี จึงขึ้นกับผู้ดำรงตำแหน่งประธานเฟดคนต่อไป
ขณะนี้ นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า นางเจเน็ต เยลเลน รองประธาน เฟด น่าจะเป็นตัวเก็งผู้ที่ขึ้นมาเป็นประธานเฟดต่อจากนายเบอร์นันเก้ และหากประธานาธิบดีบารัก โอบามา เสนอชื่อนางเยลเลน และวุฒิสภาสหรัฐลงคะแนนเสียงรับรอง ขณะที่ตลาดคาดว่านางเยลเลนจะสานต่อแนวทางนโยบายที่นายเบอร์นันเก้ได้วางไว้แล้ว
ตลาดและนักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่าหาก นางเยลเลน สืบตำแหน่งต่อไป นโยบายเฟดจะไม่เปลี่ยนแปลงไปจากยุคของนายเบอร์นันเก้
นายเดวิด สต็อคตัน อดีตนักเศรษฐศาสตร์ของเฟด กล่าวว่า หาก นางเยลเลน ได้รับเลือก จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับสัญญาณชี้นำล่วงหน้าของเฟด เพราะสิ่งนี้ทำให้นักลงทุนคาดว่าหลักการพื้นฐานและทิศทางนโยบายของเฟด จะมีความต่อเนื่อง มากยิ่งขึ้น
นายสต็อคตัน กล่าวเสริมว่า "ถ้าหากตลาดเผชิญกับความไม่แน่นอน ในเรื่องการเปลี่ยนตัวประธานเฟดเหมือนเมื่อหนึ่งสัปดาห์ก่อน สัญญาณชี้นำล่วงหน้าที่เฟดประกาศออกมาก็จะมีความน่าเชื่อถือน้อยลง"
ตลาดดูเหมือนว่าจะตอบรับข่าวเรื่องนางเยลเลน จะได้รับตำแหน่งประธานเฟดคนต่อไป และหากเป็นเช่นนั้น การคาดการณ์ในนโยบายเฟดก็จะประเมินได้
เพราะนางเยลเลน ปัจจุบันเป็นรองประธานเฟดมาตั้งแต่ปี 2553 ถือเป็นผู้สนับสนุนมาตรการเชิงรุกที่ดำเนินการภายใต้การบริหารของนายเบอร์นันเก้เพื่อกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ ส่งผลให้นางเยลเลน มีชื่อเสียงในด้านการเป็นผู้กำหนดนโยบายสายพิราบ ซึ่งจะยอมให้มีเงินเฟ้อเล็กน้อย เพื่อลดอัตราการว่างงาน
ก่อนที่จะเข้ารับตำแหน่งรองประธานเฟด นางเยลเลนเป็นประธานเฟด สาขาซานฟรานซิสโก และเคยเป็นประธานคณะที่ปรึกษาเศรษฐกิจของทำเนียบขาวสมัยประธานาธิบดีบิล คลินตัน และเคยเป็นผู้ว่าการคณะกรรมการเฟดในวอชิงตันตั้งแต่ปี 2547-2550
ดังนั้น ไม่ว่าเฟดจะมีแผนลดคิวอี อย่างไร แต่ขณะนี้มีการมองไปถึงความต่อเนื่องของนโยบายในช่วงเปลี่ยนผ่านประธานเฟดและยังไม่มีความชัดเจนว่าใครจะเข้ามาดำรงตำแหน่ง
ผู้ดำรงตำแหน่งประธานเฟดคนต่อไปต่างหาก จะเป็นผู้กุมทิศทางคิวอี และมีความสำคัญพอๆ กับมติของเฟดในช่วงที่เหลือของปีนี้
ที่มา : Bangkokbiznews
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=650087538359007&set=a.205531606147938.53604.158225184211914&type=1&theater