***********ตามสัญญา เรื่องควรรู้ก่อนติดฟิล์ม ***********

กระทู้สนทนา
โครงสร้างของ ฟิล์มกรองแสง

ฟิล์มกรองแสง เป็น วัสดุที่ถูกคิดค้นขึ้นเพื่อใช้ในการควบคุมพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ ผลิตจากพลาสติกชนิดหนึ่งซึ่งทำจากแผ่นโพลีเอสเตอร์ต่างๆ ( PVDG, Tedlar Foils Metallized Film, Acetate, PET, Polyolefins and Polycarbonates )
โดยใช้เทคโนโลยีในการเคลือบชั้นฟิล์ม ต่างๆกันเช่น สี , โลหะ , กาว , สารกัยรอยขีดข่วน , สารดูดซับรังสี UV ( UV absorber ) ซึ่งแผ่นโพลีเอสเตอร์เป็นวัสดุที่เหมาะต่อการผลิตฟิล์มเนื่องจากมี ความเหนียว ทนทาน ยืดหยุ่นสูง ดูดซับความชื้นน้อย และสามารถทนอุณหภูมิได้ทั้งสูงและต่ำ จนทำให้สามารถลดแสงและความร้อนได้ แต่ยังคงความโปร่งใส(Trawsparency) ทำให้สามารถมองเห็นภายนอกได้

ฟิล์มกรองแสง กับ ฟิล์มลดความร้อน เหมือน หรือ ต่างกันอย่างไร?

เรามักจะได้ยินกันมาตลอดว่า รถยนต์ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีวิธีการป้องกันคลื่นความร้อน และให้ในรถมีความเย็นสบาย ในขณะ ใช้รถ
เนื่องจากแสงแดดในตอนกลางวัน หรือ แม้ในยามค่ำคืนหากขับรถโดยไม่เปิดกระจก ก็ไม่สามารถจะขับได้นาน เพราะความ อบอ้าวในรถอันเกิด จากแสงแดด และอากาศภายใน ดังนั้น รถยนต์จำเป็นจะต้องมีฟิล์มกรองแสง หรือ ฟิล์มลดความร้อน และเครื่องปรับอากาศ ใช้งานกับรถของท่าน

ในส่วนของฟิล์มกรองแสง หรือฟิล์มลดความร้อน นั้น มีความเหมือนและมีความแตกต่างกันอยู่ในตัวเองในอดีตผู้คนมักจะเรียก วัสดุสีดำๆ ที่เป็นพลาสติก มาติดกระจกรถ ว่าเป็นฟิล์มกรองแสง ต่อมาก็จะมีการเรียกฟิล์มลดความร้อนบ้าง ซึ่งในอย่างหลังนั้น ก็คือฟิล์มกรองแสง ที่มีคุณสมบัติ ในการลดคลื่นความร้อนได้มากกว่า ฟิล์มกรองแสงแบบเดิมนั่นเอง ทั้งนี้ จากการที่ได้วิวัฒนาการผลิต ด้วยเทคโนโลยี สมัยใหม่ เช่น Sputtering Metallized Coating; Metal Selection Coating etc.


ฟิล์มกรองแสงที่จำหน่ายอยู่ในตลาดมีมากมายหลายชนิดส่วนใหญ่เป็นฟิล์มย้อมสีมีคุณภาพต่ำ กันความร้อนน้อย และไม่มีเคลือบสารป้องกันรังสีอุลต้าไวโอเลท แต่ปัจจุบันนี้ ด้วยเทคโนโลยีล่าสุดได้กำเนิดฟิล์มกรองแสงยุคใหม่ ซึ่งเป็นฟิล์มแห่งอนาคต เรียกกว่า "สปัทเตอร์ฟิล์ม" (Sputter-Coated Metallized films) ซึ่งสามารถนำเอาโลหะชนิดต่าง ๆ มาเคลือบเป็นเนื้อเดียวกับฟิล์ม ทำให้ฟิล์มมีความคงทนและกันความร้อนได้อย่างดีเยี่ยม

ปัจจุบันฟิล์มเกือบทุกชนิดซึ่งเป็น "สปัทเตอร์" ฟิล์มได้รับการพัฒนา และผลิดขึ้นจากกรรมวิธีดังกล่าว ที่มีคุณสมบัติกันความร้อนสูงภายใต้สภาพสูญญากาศ ทำให้โลหะเกิดการแตกสภาพเป็นอะตอม ซึ่งเป็นอนุภาคเล็กที่สุด แล้วแยกตัวลอยไปจับบนแผ่นใส Polyester ทีละอะตอม ทำให้เกิดแผ่นฟิล์มโลหะบาง ๆ เคลือบอยู่บนผิวของแผ่น Polyester กลายเป็นฟิล์มกรองแสงในยุคปัจจุบัน แผ่นฟิล์มโลหะบาง ๆ นี้เองที่ทำหน้าที่ป้องกันความร้อนได้อย่างอัศจรรย์ ด้วยเทคโนโลยีการผลิตเช่นนี้เราสามารถเลือกโลหะที่นำมาใช้เคลือบฟิล์มได้หลากหลายชนิดมาก ทำให้ได้เนื้อฟิล์มที่มีประสิทธิภาพในการลดคววามร้อนจากแสงแดดจริงได้ดีเยี่ยม อีกทั้งยังให้ความสวยงามมีความทนทาน และไม่เปลี่ยนสี

ในปัจจุบันฟิล์มหลายยี่ห้อ ปัองกันรังสีอุลตร้าไวโอเลตหรือ UV จากแสงอาทิตย์ได้เกือบ 100% ซึ่งมีคุณสมบัติปกป้องสิ่งของภายในรถของท่านไม่ให้ซีดจางหรือเสื่อมสภาพเร็วกว่ากำหนด พร้อมทั้งลดอันตรายจากการเกิดมะเร็งผิวหนังและฝ้าบนใบหน้า

ฟิล์มกรองแสงในยุคปัจจุบันเคลือบด้วยสารเคลือบแข็งป้องกันรอยขูดขีด ทำให้มีความคงทนให้ความปลอดภัย มีประสิทธิภาพสูงกว่าฟิล์มย้อมสีที่มีคุณภาพต่ำ


ประเภทของ ฟิล์มกรองแสง

    ฟิล์มกรองแสง คือ พลาสติก ทำมาจากโพลีเอสเตอร์ที่มีความเหนียว บาง เรียบ ไร้รอยย่น และสามารถแนบสนิทเป็นเนื้อเดียวกับกระจกที่นำฟิล์มไปติด ซึ่งยึดอยู่บนกระจกได้ด้วยกาวที่มีความใส ไม่ทำให้ภาพที่มองผ่านฟิล์มบิดเบือน ฟิล์มกรองแสงนั้นทำหน้าที่ในการลด หรือกรองแสงสว่างที่ผ่านเข้ามาทางกระจก ดังนั้นฟิล์มกรองแสงทั่วไปจึงมีการย้อมสีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะการกรองแสงสว่างเท่านั้น แต่ฟิล์มกรองแสงที่มีความสามารถ มากกว่าฟิล์มกรองแสงทั่วไป จะต้องสามารถลดความร้อน และรังสีอุลตร้าไวโอเลตได้เป็นอย่างดี

    เราสามารถแบ่งฟิล์มกรองแสงได้ 2 ประเภท คือ

    1. ฟิล์มย้อมสี เป็นฟิล์มที่มีคุณสมบัติในการลดแสงสว่าง ที่ผ่านเข้ามาทางกระจกเท่านั้น แต่ไม่ได้มีคุณสมบัติในการลดความร้อน หรือหากมีก็มีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และเมื่อมีการใช้งานไปสักระยะ ฟิล์มจะเกิดการเปลี่ยนสีเป็นสีม่วง ซึ่งให้ทัศนวิสัยในการขับขี่รถยนต์ที่ผิดเพี้ยน เป็นอันตราย แต่หากฟิล์มกรองแสงทั่วไปผลิตมาจากโพลีเอสเตอร์คุณภาพสูง จะมีคุณสมบัติในการลดรังสีอุลตร้าไวโอเลตด้วย

    2. ฟิล์มกรองแสงลดความร้อน หรือ ฟิล์มเคลือบโลหะ เป็นฟิล์มกรองแสงที่มีคุณสมบัติในการลดความร้อนที่ผ่านเข้ามาทางกระจกได้ดีกว่าแบบแรก โดยอาศัยคุณสมบัติของไอโลหะที่เคลือบบนฟิล์มในการกรองความร้อน และสะท้อนความร้อน ซึ่งมีผลให้ความร้อนผ่านเข้ามาทางกระจกได้น้อยลง สีของฟิล์มที่ได้จะแตกต่างไปตามประเภทของไอโลหะที่นำมาเคลือบ รวมทั้งยังสามารถย้อมสีของฟิล์มเพื่อให้ฟิล์มมีสีต่างๆ ได้ โดยปกติกระบวนการเคลือบไอโลหะมีขั้นตอนซับซ้อน และค่าใช้จ่ายสูง

    ฟิล์มกรองแสงที่ดีจะต้องพิจารณาจากคุณสมบัติของกาวด้วย กาวที่ดีต้องมีความบางใส และเหนียว เมื่อ ติด แล้ว ต้องทนทานต่อสภาวะความร้อนเย็นของกระจกที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ยึดติดกับกระจกได้ดีไม่ทำให้ฟิล์มกรองแสงนั้นๆ พอง ลอก ล่อน เป็นฟองอากาศ อีกทั้งกาวที่ดีควรมีคุณสมบัติที่ติดแน่นกับเนื้อฟิล์ม เมื่อต้องการลอกฟิล์มออกมา กาวควรอยู่บนด้านฟิล์มมิใช่ด้านกระจก รวมทั้งกาวจะต้องไม่เปลี่ยนสี ซึ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนสีของฟิล์มที่ติด ที่เรียกว่าฟิล์มเป็นสนิม นอกจากนี้ ฟิล์มที่ดีจะต้องป้องกันรอยขีดข่วน หรือเคลือบสารกันรอยขีดข่วน ฟิล์มกรองแสงทำมาจากโพลีเอสเตอร์ มีจุดอ่อนในเรื่องความอ่อนของผิว ซึ่งมักสามารถเป็นรอยเส้นคล้ายรอยขนแมวได้ง่าย เมื่อมีการขีดข่วนจากการใช้งานปกติ แต่ปัจจุบันได้มีการคิดค้นสารเคมีที่ทำหน้าที่เคลือบแข็งบนผิวของฟิล์ม ทำหน้าที่ในการป้องกันการขีดข่วนจากการใช้งานปกติ คุณสมบัตินี้ทำให้ฟิล์มมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น และดูสวยงามตลอดอายุการใช้งาน



    คุณสมบัติของ ฟิล์มกรองแสง
    ฟิล์มกรองแสงปัจจุบันมีให้เลือกมากมาย ทั้งยี่ห้อ ราคา และคุณภาพ อย่าเดาคุณภาพจากราคา เพราะบางยี่ห้อมีการปั่นราคาเกินจริง บางยี่ห้อราคาถูกกว่า แต่คุณภาพทัดเทียมหรือดีกว่ายี่ห้อที่แพงกว่า ในการซื้อรถใหม่ ส่วนใหญ่มักแถมมากับรถ โดยอ้างว่าเป็นยี่ห้อนั้นยี่ห้อนี้ ซึ่งยากจะพิสูจน์และต้องทำใจ เพราะไม่สามารถไปเฝ้าตอนที่ช่างติดตั้งได้ ใบรับประกันจะให้มายังไงก็ได้ ยากที่จะพิสูจน์ว่าฟิล์มเป็นยี่ห้อตามที่ตกลงไว้หรือไม่ ถ้ากังวลก็ไม่ต้องเลือกฟิล์มกรองแสงเป็นของแถม

    ฟิล์มกรองแสงส่วนใหญ่ จะมียี่ห้อบนแผ่นใสที่ประกบอยู่กับตัวฟิล์มซึ่งต้องถูกลอกออกก่อนติด หรือบางยี่ห้อจะเป็นสีที่ลบได้ด้วยแอลกอฮอล์อยู่บนเนื้อฟิล์มด้านผิว

    ฟิล์มกรองแสงมี 2 คุณสมบัติหลัก คือ
    1. ความเข้ม หรือความทึบแสง ซึ่งมีผลต่อการกรองแสง
    2. การกรองรังสีความร้อน

    สรุปง่ายๆ ก็คือ การกรองแสง กับกรองความร้อน.......ฟิล์มสีเข้มกรองแสงดี มองทะลุยาก แต่อาจจะกรองรังสียูวีและความร้อนไม่ดีก็เป็นได้ ส่วนฟิล์มสีอ่อนหรือใสมองทะลุง่าย ก็อาจกรองรังสีและความร้อนได้ดีกว่าก็มี อย่าคิดว่าฟิล์มสีทึบจะต้องกรองความร้อนได้ดีเสมอไป

    ปัจจุบันกฎหมายยังกำหนดว่าห้ามติดฟิล์มเกิน 1/4 ส่วนของกระจกหน้า นับจากขอบบนสุด ดังนั้นถ้าติดแบบเต็มบานหน้า ตำรวจก็สามารถเอาผิดได้เสมอ ตอนนี้ราชการเริ่มจริงจังกับฟิล์มฉาบปรอท เริ่มยกกฎหมายเดิมมาบังคับใช้ไม่ใช่ตั้งกฎหมายใหม่ขึ้นมา ถ้าฉาบเพียงบางๆ มีการสะท้อนแสงบ้าง อาจจะได้รับการอนุโลมจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ แต่ถ้าสะท้อนมากก็ผิดกฎหมายตอนนี้ตำรวจเริ่มจับกุมรถที่ติดฟิล์มกรองแสงแบบปรอทหรือสะท้อนแสงแล้ว


การลดพลังงานความร้อน

การพิจารณาประสิทธิภาพในการลคความร้อนต้องทำความ เข้าใจเกี่ยวกับรายละเอียดของพลังงานแสงอาทิตย์ก่อนว่าพลังงานแสงอาทิตย์ ประกอบด้วยรังสี 3 ชนิดคือ
รังสีอินฟาเรด (IR) 53%
รังสีอุลตร้าไวโอเลต (UV) 3%
แสงสว่าง ( แสงที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า Visible Light ) 44%

ดังนั้นแล้ว
ความร้อนที่เกิดขึ้นจากแสงอาทิตย์ เกิดจากรังสีอินฟราเรดและแสงสว่างรวมกัน มิได้เกิดจากรังสีเพียงชนิดใดชนิดหนึ่ง ดังนั้นฟิล์มที่ลดพลังงานจากรังสีอินฟาเรดได้สูง จึงมิได้หมายความว่าฟิล์มตัวนั้นจะลดความร้อนจากแสงอาทิตย์ ได้สูง เพราะรังสีอินฟาเรดเป็นเพียงส่วนประกอบ ( ประมาณ 50% ) ส่วนหนึ่งของพลังงานของแสงอาทิตย์เท่านั้น ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่าแต่รู้สึกได้จากความร้อน ฉะนั้นแล้วฟิล์มที่กันความร้อนที่ดี ต้องสามารถป้องกันได้ทั้ง 2 ส่วน นั่นก็คือ ค่าการลดความร้อนรวมจากแสงอาทิตย์ ( Total Solar Energy Rejected ) จะได้ค่าที่ถูกต้องที่สุด

ดังนั้นหากนำฟิล์มกรองแสงมาทดสอบค่าการลดปริมาณความร้อนจากแสงสปอร์ตไลท์ หรือ แสงจากรังสีอินฟาเรดจะให้ค่าสูงกว่าจากแสงอาทิตย์ เพราะแสงสปอร์ตไลท์รวมทั้งแสงจากหลอดรังสีอินฟาเรด มีปริมาณรังสีอินฟาเรดสูงกว่าในแสงอาทิตย์มาก
โดยทั่วไปฟิล์มที่มีคุณภาพดีเยี่ยมจะป้องกันรังสีอินฟราเรดได้มากกว่า 90% อยู่แล้ว

ส่วนการทดสอบการลดปริมาณความร้อน ( ซึ่งมีค่า % ลดรังสีอินฟราเรดรวมกับค่า % การลดความร้อนจากแสงสว่าง ) ควรวัดจากแสงแดดโดยตรงจะได้ผลที่ถูกต้องกว่าการวัดปริมาณความร้อนจากไฟสปอร์ตไลท์ เนื่องจากแหล่งกำเนิดความร้อนทั้งสองมี ส่วนประกอบที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

    ฟิล์มกรองแสง จำเป็นสำหรับเมืองร้อนอย่างไทย แต่ต้องเลือกติดฟิล์มที่คุ้มค่าราคาสมเหตุสมผล และต้องไม่สะท้อนมากเกินไป ที่สำคัญ คือ ต้องมีการรับประกันคุณภาพอย่างชัดเจนทั้งเงื่อนไขและเวลา
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่