กรณีที่พี่น้องชาวสวนยางได้รวมตัวกันเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาราคายางพาราตกต่ำนั้น ผมคิดว่ารัฐาลมีช่องทาง "แก้ไข" ปัญหาได้ แต่อาจต้องอาศัยความ "กล้าหาญ" สักหน่อย คือกล้าที่จะ "หัก" กับบรรดาบริษัทที่นำเข้ายางมะตอย โดย "กำหนด" ในโครงการ 2.2 ล้านล้านบาท ตลอดจนโครงการตามงบประมาณปกติ ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและผู้ประกอบการที่ "รับจ้าง" ทำ "ถนน" ทั่วราชอาณาจักร จะต้อง "ใช้" ยางธรรมชาติผสมยางมะตอยลาดถนน โดยใช้ยางแห้งแทนการใช้น้ำยางข้น อัตรา 5% ผสมยางมะตอยในงานลาดถนน ซึ่งเทคโนโลยีใหม่นี้ไม่ต้องใช้สารเคมีที่มีราคาแพง สามารถนำยางพารามาใช้ได้หลายรูปแบบ เช่น ยางเครพ ยางแผ่นผึ่งแห้ง ยางแผ่นรมควัน ยาง Cutting จากยางแผ่นรมควัน ฯลฯ ทั้งยังไม่เกิดฟองและแรงดันในขณะผสมยางกับยางมะตอย ทำให้ไม่มีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายระหว่างผสม นอกจากนั้น ยังเป็นเทคโนโลยีที่ง่ายและไม่ซับซ้อน ผู้ประกอบการสามารถดำเนินการได้โดยมีข้อจำกัดน้อย ช่วยลดการผูกขาด ซึ่งสามารถขยายผลต่อยอดทั้งด้านเครื่องมือและอุปกรณ์ รวมถึงเทคโนโลยีการผสมไปสู่กลุ่มเกษตรกรและผู้ประกอบการให้ผลิตในเชิงพาณิชย์ได้ เป็นการเพิ่มทางเลือกและสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ในภาคอุตสาหกรรมยางพาราไทย ที่สำคัญยังเป็นแนวทางช่วยสร้างเสถียรภาพราคายางได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยเฉพาะยางแห้งที่อยู่ในโครงการรักษาเสถียรภาพราคายาง ถึงแม้ยางนั้นจะเสียรูปทรงไปก็สามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบผสมกับยางมะตอยเพื่องานลาดถนน ได้ดีกว่าเก็บยางไว้นานไปยางจะเสื่อมสภาพลง หากทำได้จริงจะมีการนำยางแห้งมาใช้ปริมาณมาก เนื่องจากถนนกว้าง 11 เมตร ระยะทาง 1 กิโลเมตร จะใช้ยางแห้ง ประมาณ 3.3 ตัน และต้องผลิตหัวเชื้อที่จะใช้ผสมกับยางมะตอยถึง 6.6 ตัน (ข้อมูลจาก สยามธุรกิจ ออนไลน์ วันอังคารที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2556 เวลา 00.47 น.)
เพื่อนสมาชิกว่าอย่างไรครับ
ป.ล. ขออนุญาตแท็กไปห้องสินธร เพราะเกี่ยวเนื่องกับด้านเศรษฐกิจ ด้วย เผื่อมีข้อมูลด้านเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องมาแชร์กัน
เรื่องยางพาราผมว่ารัฐบาลกล้าๆ หน่อย
เพื่อนสมาชิกว่าอย่างไรครับ
ป.ล. ขออนุญาตแท็กไปห้องสินธร เพราะเกี่ยวเนื่องกับด้านเศรษฐกิจ ด้วย เผื่อมีข้อมูลด้านเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องมาแชร์กัน