เดี๋ยวนี้ อะไร ๆ ก็สเต็มเซลล์ ...ได้เห็นได้ยิน จากโฆษณา ทั้ง ยาฉีด รักษาโน่นนี่นั่น .. ยาทา ครีมทาลบรอยย่น ครีมทำผิวขาว เครื่องสำอาง เกี่ยวกับความสวยความงาม อีกเพียบ ..
ลองอ่านดู ส่วนว่า จะเชื่อแบบไหน ตัดสินใจแบบไหน ก็ไม่ว่ากัน ..
การใช้เซลล์ต้นกำเนิด(Stem cell)เพื่อการรักษา
เซลล์ต้นกำเนิด(Stem cell) คือเซลล์ร่างกายของมนุษย์ที่เป็นจุดเริ่มต้นของการที่จะเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์ต่างๆของร่างกาย(pluripotential cell) ตัวอย่างเช่น การกำเนิดของตัวอ่อนจะเริ่มต้นจากไข่ของเพศหญิงผสมกับสเปอร์มของเพศชาย จากนั้นจึงแบ่งเซลล์เป็นทวีคูณ และโดยพันธุกรรมจะทำให้มีการกำหนดการเปลี่ยนแปลงของแต่ละเซลล์ว่าเซลล์ใดจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นอวัยวะใด
โดยหลักการนี้นักวิทยาศาสตร์การแพทย์จึงนำมาศึกษา สำหรับในสัตว์สามารถสร้างตัวใหม่ที่มีพันธุกรรมเหมือนตัวเดิมได้แล้ว
สำหรับในมนุษย์ยังเป็นที่ถกเถียงกันในด้านจริยธรรมและห้ามการทำเช่นนี้ แต่สามารถนำมาใช้ได้ในกรณีรักษาโรคเพื่อทดแทนอวัยวะเดิมหรือเซลล์เดิมที่เสียหาย เช่นการสร้างไต ตับ หัวใจ ขึ้นเป็นอวัยวะแต่ยังอยู่ในขั้นทดลอง
ในส่วนที่ประสบความสำเร็จในการใช้เซลล์ต้นกำเนิดสำหรับรักษาโรคในมนุษย์ได้แล้วและเป็นมาตรฐานในการรักษา ได้แก่ การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดจากไขกระดูก หรือการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต สำหรับรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวและโรคทาลัสชีเมีย ซึ่งจะต้องดำเนินการภายใต้ข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2549
สำหรับการใช้รักษาโรคอื่นๆนั้นยังไม่เป็นการรักษาที่เป็นมาตรฐาน หรืออยู่ในขั้นทดลองหากมีการนำไปใช้จะต้องดำเนินการตามแนวทางที่แพทยสภากำหนดในข้อบังคับแพทยสภา ว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม เรื่องการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด เพื่อการรักษา พ.ศ. 2552
ดังนั้น การที่มีผู้อวดอ้างการรักษาโดยใช้เซลล์ต้นกำเนิด รักษาโรคหัวใจ โรคทางสมองและไขสันหลัง ด้านความงาม ด้านการชะลอวัย ซึ่งเก็บค่ารักษาที่มีราคาแพงมาก นั้นเป็นการกระทำที่อาจเป็นการผิดข้อบังคับของแพทยสภา
ประชาชนที่ทราบเรื่องว่ามีแพทย์ให้การรักษาดังกล่าวสามารถร้องเรียน มายังแพทยสภาให้ตรวจสอบได้ หากบุคคลที่ทำการรักษานั้นไม่ใช่แพทย์ก็ต้องถูกดำเนินคดีอาญาฐานอวดอ้างว่าเป็นแพทย์ด้วย
ตามข้อบังคับแพทยสภากำหนดว่าการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเพื่อการรักษาจะกระทำได้ในกรณีต่าง ๆ ดังนี้
1. ต้องเป็นการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด เพื่อการรักษาที่มีการทำวิจัยมาแล้ว จนเป็นที่ยอมรับ
2. ในกรณีที่เป็นการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด เพื่อการรักษาโรคในคนที่ยังอยู่ในระหว่างการวิจัย โครงการนั้นต้องได้รับอนุมัติจาก คณะกรรมการจริยธรรมการทำวิจัยในคนของสถาบันที่ผู้ทำวิจัยสังกัด และคณะกรรมการวิชาการและจริยธรรมการทำวิจัยในคนด้านเซลล์ต้นกำเนิดของแพทยสภา
3. ผู้ทำปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเพื่อการรักษาต้องเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ได้รับวุฒิบัตร หรือหนังสืออนุมัติของแพทยสภาหรือจากสถาบันที่แพทยสภารับรองในสาขา หรืออนุสาขาที่เกี่ยวข้องกับโรคของผู้ป่วย และต้องขึ้นทะเบียนจากแพทยสภาว่าสามารถทำการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเพื่อการรักษาได้
ดังนั้นก่อนจะตัดสินใจเสียเงินจำนวนมากเพื่อรักษาด้วยวิธีที่มีการแอบอ้างว่าเป็นการรักษาโดยเซลล์ต้นกำเนิด ควรพิจารณาให้ถี่ถ้วนว่า ได้รับการรับรองว่าเป็นวิธีการรักษาที่เป็นมาตรฐานตามข้อบังคับของแพทยสภาแล้วหรือยัง
ด้วยความปรารถนาดีจาก
นายแพทย์สุกิจ ทัศนสุนทรวงศ์
ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา
การใช้เซลล์ต้นกำเนิด (Stem cell) เพื่อการรักษา ...........แพทยสภา ประกาศชัด
ลองอ่านดู ส่วนว่า จะเชื่อแบบไหน ตัดสินใจแบบไหน ก็ไม่ว่ากัน ..
การใช้เซลล์ต้นกำเนิด(Stem cell)เพื่อการรักษา
เซลล์ต้นกำเนิด(Stem cell) คือเซลล์ร่างกายของมนุษย์ที่เป็นจุดเริ่มต้นของการที่จะเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์ต่างๆของร่างกาย(pluripotential cell) ตัวอย่างเช่น การกำเนิดของตัวอ่อนจะเริ่มต้นจากไข่ของเพศหญิงผสมกับสเปอร์มของเพศชาย จากนั้นจึงแบ่งเซลล์เป็นทวีคูณ และโดยพันธุกรรมจะทำให้มีการกำหนดการเปลี่ยนแปลงของแต่ละเซลล์ว่าเซลล์ใดจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นอวัยวะใด
โดยหลักการนี้นักวิทยาศาสตร์การแพทย์จึงนำมาศึกษา สำหรับในสัตว์สามารถสร้างตัวใหม่ที่มีพันธุกรรมเหมือนตัวเดิมได้แล้ว
สำหรับในมนุษย์ยังเป็นที่ถกเถียงกันในด้านจริยธรรมและห้ามการทำเช่นนี้ แต่สามารถนำมาใช้ได้ในกรณีรักษาโรคเพื่อทดแทนอวัยวะเดิมหรือเซลล์เดิมที่เสียหาย เช่นการสร้างไต ตับ หัวใจ ขึ้นเป็นอวัยวะแต่ยังอยู่ในขั้นทดลอง
ในส่วนที่ประสบความสำเร็จในการใช้เซลล์ต้นกำเนิดสำหรับรักษาโรคในมนุษย์ได้แล้วและเป็นมาตรฐานในการรักษา ได้แก่ การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดจากไขกระดูก หรือการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต สำหรับรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวและโรคทาลัสชีเมีย ซึ่งจะต้องดำเนินการภายใต้ข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2549
สำหรับการใช้รักษาโรคอื่นๆนั้นยังไม่เป็นการรักษาที่เป็นมาตรฐาน หรืออยู่ในขั้นทดลองหากมีการนำไปใช้จะต้องดำเนินการตามแนวทางที่แพทยสภากำหนดในข้อบังคับแพทยสภา ว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม เรื่องการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด เพื่อการรักษา พ.ศ. 2552
ดังนั้น การที่มีผู้อวดอ้างการรักษาโดยใช้เซลล์ต้นกำเนิด รักษาโรคหัวใจ โรคทางสมองและไขสันหลัง ด้านความงาม ด้านการชะลอวัย ซึ่งเก็บค่ารักษาที่มีราคาแพงมาก นั้นเป็นการกระทำที่อาจเป็นการผิดข้อบังคับของแพทยสภา
ประชาชนที่ทราบเรื่องว่ามีแพทย์ให้การรักษาดังกล่าวสามารถร้องเรียน มายังแพทยสภาให้ตรวจสอบได้ หากบุคคลที่ทำการรักษานั้นไม่ใช่แพทย์ก็ต้องถูกดำเนินคดีอาญาฐานอวดอ้างว่าเป็นแพทย์ด้วย
ตามข้อบังคับแพทยสภากำหนดว่าการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเพื่อการรักษาจะกระทำได้ในกรณีต่าง ๆ ดังนี้
1. ต้องเป็นการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด เพื่อการรักษาที่มีการทำวิจัยมาแล้ว จนเป็นที่ยอมรับ
2. ในกรณีที่เป็นการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด เพื่อการรักษาโรคในคนที่ยังอยู่ในระหว่างการวิจัย โครงการนั้นต้องได้รับอนุมัติจาก คณะกรรมการจริยธรรมการทำวิจัยในคนของสถาบันที่ผู้ทำวิจัยสังกัด และคณะกรรมการวิชาการและจริยธรรมการทำวิจัยในคนด้านเซลล์ต้นกำเนิดของแพทยสภา
3. ผู้ทำปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเพื่อการรักษาต้องเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ได้รับวุฒิบัตร หรือหนังสืออนุมัติของแพทยสภาหรือจากสถาบันที่แพทยสภารับรองในสาขา หรืออนุสาขาที่เกี่ยวข้องกับโรคของผู้ป่วย และต้องขึ้นทะเบียนจากแพทยสภาว่าสามารถทำการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเพื่อการรักษาได้
ดังนั้นก่อนจะตัดสินใจเสียเงินจำนวนมากเพื่อรักษาด้วยวิธีที่มีการแอบอ้างว่าเป็นการรักษาโดยเซลล์ต้นกำเนิด ควรพิจารณาให้ถี่ถ้วนว่า ได้รับการรับรองว่าเป็นวิธีการรักษาที่เป็นมาตรฐานตามข้อบังคับของแพทยสภาแล้วหรือยัง
ด้วยความปรารถนาดีจาก
นายแพทย์สุกิจ ทัศนสุนทรวงศ์
ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา