ติดอายัดสรรพากร คือ ผู้เสียภาษีฯ จะต้องหลีกเลี่ยงภาษีจะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม และไม่ได้เสียภาษีตามกำหนดเวลา
หลังจากนั้นสรรพากรจะส่งหนังสือเตือนทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ หรือนําไปส่ง ณ ภูมิลําเนาที่ให้ไว้
ถ้าไม่พบผู้รับ จะส่งให้แก่บุคคลใดซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว และอยู่ในบ้าน หรือปิดหมาย หรือโฆษณาหนังสือพิมพ์ก็ได้
เมื่อได้ปฏิบัติตามวิธีดังกล่าวข้างต้นแล้ว ให้ถือว่าเป็นอันได้รับแล้ว (รายละเอียดปลีกย่อย ยังมีอีกมาก ผมขอข้ามไป)
หากพ้นกำหนดเวลาเสียภาษีแล้ว ผู้มีเงินได้ฯไม่เสียภาษี ก็จะต้องเสียเบี้ยปรับตามกฎหมาย พร้อมเสียเงินเพิ่ม
ดูตัวอย่างผู้ค้างชำระภาษี และต้องตกเป็นผู้ต้องรับผิดชำระภาษีอากร และอาจถูกยึดหรืออายัดทรัพย์ จากกระทู้นี้
http://pantip.com/topic/30756937/comment41
ถึงขั้นตอนนี้ก็ยังพอมีทางแก้ แต่ดูเหมือน จกท.ไม่สนใจ เพราะไม่ยอมตอบคำถามผม ก็ขออนุญาตข้ามไปนะครับ
ขั้นต่อมาสรรพากรจะออกหมายเรียกผู้ต้องรับผิดชำระภาษีอากรค้าง ให้มาชำระภาษีค้างภายในเวลาที่กำหนด
หากผู้เสียภาษีฯ เพิกเฉย หรือไม่มีเหตุอันสมควร จนถือว่าเป็น “ภาษีอากรค้าง”
ผู้นั้นอาจต้องถูก “ยึดหรืออายัดและการขายทอดตลาดทรัพย์สิน” มาจ่ายค่าภาษีฯ โดยอำนาจของอธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัด
ทั้งนี้สามารถยึดหรืออายัดได้ทั่วราชอาณาจักร โดยไม่ต้องฟ้องศาล หรือขอให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่งแต่อย่างใด
เมื่อได้ยึดหรืออายัดที่ดินหรือทรัพย์สินอื่นมาแล้ว
ห้ามผู้ใด ทำลาย ย้ายไปเสีย ซ่อนเร้นหรือโอนไปให้แก่บุคคลอื่น ซึ่งทรัพย์สินที่ถูกยึด หรืออายัดดังกล่าว.
ประมวลกฎหมายรัษฎากร
มาตรา ๑๒ ภาษีอากรซึ่งต้องเสียหรือนำส่งตามลักษณะนี้เมื่อถึงกำหนดชำระแล้ว ถ้ามิได้เสียหรือนำส่งให้ถือเป็นภาษีอากรค้าง
เพื่อให้ได้รับชำระภาษีอากรค้าง ให้อธิบดีมีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและการขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากร หรือนำส่งภาษีอากรได้ทั่วราชอาณาจักร โดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่ง อำนาจดังกล่าวอธิบดีจะมอบให้รองอธิบดีหรือสรรพากรเขตก็ได้
ในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานครให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอมีอำนาจเช่นเดียวกับอธิบดีตามวรรคสอง ภายในเขตท้องที่จังหวัด หรืออำเภอนั้น แต่สำหรับนายอำเภอนั้นจะใช้อำนาจสั่งขายทอดตลาดได้ ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัด
วิธีการยึดและขายทอดตลาดทรัพย์สินให้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยอนุโลม ส่วนวิธีการอายัดให้ปฏิบัติตามระเบียบ ที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี
เงินที่ได้จากการขายทอดตลาดดังกล่าวให้หักค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่ายในการยึดและขายทอดตลาดและเงินภาษีอากร
ค้าง ถ้ามีเงินเหลือให้คืนแก่ เจ้าของทรัพย์สิน
ผู้ต้องรับผิดชอบเสียภาษีอากรตามวรรคสองให้หมายความรวมถึงผู้เป็น หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดในห้าง
หุ้นส่วนนิติบุคคลด้วย
มาตรา ๑๒ ทวิ เมื่อได้มีคำสั่งยึดหรืออายัดตามมาตรา ๑๒ แล้ว ห้ามผู้ใด ทำลาย ย้ายไปเสีย ซ่อนเร้นหรือโอนไปให้แก่บุคคลอื่น
ซึ่งทรัพย์สินที่ถูกยึด หรืออายัดดังกล่าว
ที่ดิน หรือทรัพย์สิน ติดอายัดสรรพากร
หลังจากนั้นสรรพากรจะส่งหนังสือเตือนทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ หรือนําไปส่ง ณ ภูมิลําเนาที่ให้ไว้
ถ้าไม่พบผู้รับ จะส่งให้แก่บุคคลใดซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว และอยู่ในบ้าน หรือปิดหมาย หรือโฆษณาหนังสือพิมพ์ก็ได้
เมื่อได้ปฏิบัติตามวิธีดังกล่าวข้างต้นแล้ว ให้ถือว่าเป็นอันได้รับแล้ว (รายละเอียดปลีกย่อย ยังมีอีกมาก ผมขอข้ามไป)
หากพ้นกำหนดเวลาเสียภาษีแล้ว ผู้มีเงินได้ฯไม่เสียภาษี ก็จะต้องเสียเบี้ยปรับตามกฎหมาย พร้อมเสียเงินเพิ่ม
ดูตัวอย่างผู้ค้างชำระภาษี และต้องตกเป็นผู้ต้องรับผิดชำระภาษีอากร และอาจถูกยึดหรืออายัดทรัพย์ จากกระทู้นี้
http://pantip.com/topic/30756937/comment41
ถึงขั้นตอนนี้ก็ยังพอมีทางแก้ แต่ดูเหมือน จกท.ไม่สนใจ เพราะไม่ยอมตอบคำถามผม ก็ขออนุญาตข้ามไปนะครับ
ขั้นต่อมาสรรพากรจะออกหมายเรียกผู้ต้องรับผิดชำระภาษีอากรค้าง ให้มาชำระภาษีค้างภายในเวลาที่กำหนด
หากผู้เสียภาษีฯ เพิกเฉย หรือไม่มีเหตุอันสมควร จนถือว่าเป็น “ภาษีอากรค้าง”
ผู้นั้นอาจต้องถูก “ยึดหรืออายัดและการขายทอดตลาดทรัพย์สิน” มาจ่ายค่าภาษีฯ โดยอำนาจของอธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัด
ทั้งนี้สามารถยึดหรืออายัดได้ทั่วราชอาณาจักร โดยไม่ต้องฟ้องศาล หรือขอให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่งแต่อย่างใด
เมื่อได้ยึดหรืออายัดที่ดินหรือทรัพย์สินอื่นมาแล้ว
ห้ามผู้ใด ทำลาย ย้ายไปเสีย ซ่อนเร้นหรือโอนไปให้แก่บุคคลอื่น ซึ่งทรัพย์สินที่ถูกยึด หรืออายัดดังกล่าว.
ประมวลกฎหมายรัษฎากร
มาตรา ๑๒ ภาษีอากรซึ่งต้องเสียหรือนำส่งตามลักษณะนี้เมื่อถึงกำหนดชำระแล้ว ถ้ามิได้เสียหรือนำส่งให้ถือเป็นภาษีอากรค้าง
เพื่อให้ได้รับชำระภาษีอากรค้าง ให้อธิบดีมีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและการขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากร หรือนำส่งภาษีอากรได้ทั่วราชอาณาจักร โดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่ง อำนาจดังกล่าวอธิบดีจะมอบให้รองอธิบดีหรือสรรพากรเขตก็ได้
ในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานครให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอมีอำนาจเช่นเดียวกับอธิบดีตามวรรคสอง ภายในเขตท้องที่จังหวัด หรืออำเภอนั้น แต่สำหรับนายอำเภอนั้นจะใช้อำนาจสั่งขายทอดตลาดได้ ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัด
วิธีการยึดและขายทอดตลาดทรัพย์สินให้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยอนุโลม ส่วนวิธีการอายัดให้ปฏิบัติตามระเบียบ ที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี
เงินที่ได้จากการขายทอดตลาดดังกล่าวให้หักค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่ายในการยึดและขายทอดตลาดและเงินภาษีอากร
ค้าง ถ้ามีเงินเหลือให้คืนแก่ เจ้าของทรัพย์สิน
ผู้ต้องรับผิดชอบเสียภาษีอากรตามวรรคสองให้หมายความรวมถึงผู้เป็น หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดในห้าง
หุ้นส่วนนิติบุคคลด้วย
มาตรา ๑๒ ทวิ เมื่อได้มีคำสั่งยึดหรืออายัดตามมาตรา ๑๒ แล้ว ห้ามผู้ใด ทำลาย ย้ายไปเสีย ซ่อนเร้นหรือโอนไปให้แก่บุคคลอื่น
ซึ่งทรัพย์สินที่ถูกยึด หรืออายัดดังกล่าว