[Silver spoon]ดูแล้วสงสัยว่าในประเทศไทยมีโรงเรียนการเกษตรแบบในเรื่องนี้หรือไม่

เพิ่งดูอนิเมะ Silver spoon ไป2ตอน (ยังไม่ได้อ่านมังงะ รู้แค่ว่าคนเขียนเป็นคุณวัว คิดเอาไว้ว่าไงๆก็น่าดูแน่ๆ เดี๋ยวได้จัดเต็ม มีแต่คนบอกว่าฮากว่าอนิเมะ)
ชอบเรื่องแบบนี้แฮะ เกี่ยวกับการเกษตร ไม่ใช่การ์ตูนสายเมน แต่ทำได้น่าติดตาม ไม่น่าเบื่อ
เนื้อเรื่องก็ดำเนินอย่างธรรมดา ไม่หวือหวา แต่เป็นเรื่องที่คนกรุงอย่างเราไม่เคยเข้าถึง ดูแล้วสนใจ
พระเอกก็ไม่ได้หล่อหรือเก่งเทพ แต่ช่างฮาได้ใจ มุมมองคนธรรมดาของเจ้าแว่นนี่ทำให้คนดูคล้อยตามได้ง่ายดีแฮะ
นางเอกน่ารักมาก
ตัวละครอื่นๆดูมีเอกลักษณ์น่าจดจำ ไม่ใช่แค่background (ฮาชมรมโอตาคุวัวโฮล์สไตน์มั่ก)
ไม่รู้ว่าคนอื่นดูแล้วเป็นอย่างไรกันบ้าง
แต่เราดูแล้ว feel good มันเนิบๆ ฮาเป็นช่วงๆ น้ำลายไหลเป็นพักๆ น่ารักอยู่เนืองๆ จรรโลงจิตใจดีค่ะ
หลงเสน่ห์ในความธรรมดานี่แหละ


หลังดูการ์ตูนจบ นึกชื่นชมที่ประเทศญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับอาชีพเกษตรกรและปศุสัตว์ และมีการจัดโรงเรียนเฉพาะด้านนี้ขึ้น
(เข้าใจว่ามีโรงเรียนต้นแบบอยู่จริงนะ แต่อาจจะคนละชื่อกับในเรื่อง)

ประเทศเราก็เป็นประเทศที่ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม
ทำให้นึกสงสัยว่า เรามีโรงเรียนทางด้านนี้บ้างหรือไม่
search googleเจอส่วนใหญ่เป็นโครงการหลวงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, คณะเทคโนโลยีการเกษตร (ลาดกระบัง), คณะประมง(ม.บูรพา) และ โรงเรียนชาวนาที่ผู้นำชุมชนเป็นผู้ก่อตั้ง เป็นต้น
แต่ยังsearchไม่เจอโรงเรียนแบบในการ์ตูนเลยค่ะ

อันที่จริงประเทศไทยมีจุดเด่นด้านสภาพภูมิศาสตร์ที่เหมาะแก่การเพาะปลูก
ถ้าผู้ประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรมมีความรู้ในการพัฒนาอาชีพ ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบโดยนายทุน
น่าจะพลิกเกมส์ให้เกษตรกรเป็นอาชีพที่กุมบังเหียนเศรษฐกิจได้เลยนะเนี่ย
(คิดไปนู่น โลกสวยไปมั้ยนะ) -_-a

ทุกวันนี้เกษตรกรที่มีภูมิความรู้ในอาชีพของตนเองมีไม่มาก (จากการเคยไปทำงานต่างจังหวัด, ชายแดนอยู่2-3ปี พอจะได้คุยกับชาวบ้านเหล่านี้บ้าง)
ลูกหลานก็ไม่ค่อยอยู่ทำนาทำสวน เพราะรายได้ไม่พอกิน มักจะเข้ามารับจ้างทำงานในกรุงกันเป็นส่วนใหญ่ เช่น ทำงานโรงงานอุตสาหกรรม
ที่ต่างจังหวัดจึงเหลือแต่คนแก่คนเฒ่า ก้มหน้าก้มตาทำอาชีพของตนเองต่อไป
บางคนยากไร้ ไม่มีเงินเช่าที่นาทำกิน (นาที่เคยมีเอาไปจำนองเพื่อใช้หนี้)
เวลาเจ็บป่วยจะไปหาหมอก็เดินทางไกล ลำบาก (ไม่มีลูกหลานพามาส่ง ต้องเช่ารถเข้ามารพ. ค่ารถแพง ฯลฯ) ขาดนัดตรวจกับหมอบ่อยๆ ขาดยาที่ควรได้ประจำ
...
เอ๊ะ...นี่มันรายการวงเวียนชีวิตหรือเปล่า พอก่อนเนาะ

อยากรู้แค่ว่ามีโรงเรียนเกษตรมั้ย ถ้ามีจริงและลูกหลานชาวนาได้มีโอกาสเข้าถึงจะดีมากๆเลยค่า

ปิดท้ายด้วย...ความทรมานช่วงท้าย Episode 1 ที่เราต้องผ่านไปให้ได้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B5
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 8
น่ากลัวว่าประเทศไทยถ้าทำโรงเรียนแบบญี่ปุ่นจะประสบความสำเร็จยากครับ       เกษตรกรไทยจำนวนมากเลยที่เป็นพวกน้ำเต็มแก้ว

ภาครัฐส่งคนไปให้ความรู้ต่างๆพี่แกไม่สนท่าเดียว      รู้แต่ว่าทำตามแบบเดิมดีที่สุด     โดยไม่มองเลยว่าที่เป็นหนี้หัวโตกันอยู่ทุกวันก็เพราะการเกษตรที่ทำแบบเดิมๆนั่นแหละ

แนะนำให้ขุดบ่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ก็ไม่เอา   บอกเสียดายที่

แนะนำให้ปลูกพืชผสมผสานเพื่อจะได้กระจายความเสี่ยง      ไม่เอา   จะปลูกอย่างเดียวกะว่าพอผลผลิตออกจะได้โกยเงินมหาศาล

สอนให้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ก็ไม่เอา   บอกปุ๋ยเคมีที่ซื้อมาให้ผลผลิตดีกว่า

ดินเสียได้ผลผลิตแย่   แนะนำให้ปรับปรุงดินด้วยวิธีต่างๆก็ไม่เอา    รู้แต่ว่าต้องประโคมปุ๋ยมันเข้าไปมากๆ

แนะนำว่าน้ำกำลังขาดแคลน     ให้งดปลูกรึเปลี่ยนไปปลูกพืชน้ำน้อยก่อนก็ไม่เอา   ตั้งหน้าตั้งตาปลูกเหมือนเดิม      บอกเสียหายเดี๋ยวรัฐบาลก็จ่าย

แนะนำว่าตรงนี้เป็นพื้นที่นอกชลประทาน   ไม่ควรปลูกข้าว     ควรไปปลูกอย่างอื่นก็ไม่เอา    บอกปลูกกันมาแต่ปู่ย่าตายายแล้ว

สอนให้ปลูกพืชแบบไม่ใช้ยาฆ่าแมลง   ยกระดับเป็นของธรรมชาติปลอดสารพิษ    แรกๆก็ทำตามดี    แต่ไปๆมาๆเก็งรวยเร็วๆ   เห็นว่าแบบไม่ใช้ยาฆ่าแมลงถึงได้ราคาดีแต่ผลผลิตมันน้อย     เลยกะลักไก่เอายาฆ่าแมลงไปพ่น   จะได้ได้ผลผลิตเยอะๆแล้วตีลูกเนียนมาขายเป็นของปลอดสาร    ขายราคาดีได้จำนวนเยอะๆจะได้รวย       แต่พอผู้ซื้อตรวจพบว่ามียาฆ่าแมลงอยู่งานนี้ก็จบ     ผู้ซื้อหมดความเชื่อมั่นไม่ซื้ออีกแล้ว

แต่ถึงประสบความสำเร็จยากก็ควรจะมีไว้    สอนเด็กและเกษตรกรรุ่นใหม่ๆให้รู้จักการเกษตรแนวใหม่ๆ      ต่อไปจะได้มาแทนรุ่นเก่าๆที่หัวดื้อบรรลัย
ความคิดเห็นที่ 23
มาตอบยาวๆละกันครับ ในฐานะคนที่ทำซับเรื่องนี้

โรงเรียนเกษตร ในบ้านเราก็คือ วิทยาลัยการเกษตรและเทคโนโลยีนั่นเองครับ (ปัจจุบันก็กำลังจะเปลี่ยนชื่อเป็น สถาบันอาชีวะการเกษจรและเทคโนโลยี) หลายๆคนอาจแปลกใจว่า เอ้า ก็มีทั้ง ปวส. ป.ตรี แล้วมันจะเท่ากันได้ยังไง อันนี้ต้องเท้าความไปซัก สิบกว่าปีที่แล้ว น้องๆหลายคนที่ไม่รู้จักสายอาชีพน่าไม่รู้ว่า พวกวิทยาลัยอาชีวะทั้งหลายเนี่ยเมื่อก่อนไม่มีทั้งปวส. และปริญาเปิดให้เรียนกันหรอกนะครับ มีแต่ปวช.ให้เรียนกัน เพิ่งมาเปิดเพิ่มไม่กี่ปีเท่านั้นเอง โดยเฉพาะปริญาตรีนี่เพิ่งมามีตอนเขาให้ออกนอกระบบกันนี่แหละครับ

อ้อ วิทยาลัยการอาชีพมันมีสองอย่างนะครับ คือ วิทยาลัยเทคนิค กับ วิทยาลัยอาชีวะ ซึ่งอาชีวะก็อย่างทั่บอกไปข้างต้น ส่วยวิทยาลัยเทคนิคเค้ามีปวส.มาตั้งแต่ก่อตั้งแล้วครับ บอกไว้ก่อนเดี่ยวจะงง

กลับมาที่วิทยาลัยอาชีวะ ปัจจุบันวิทยาลัยอาชีวะที่เปิดเพียงปวช.นั้นมีน้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นวิทยาลัยอาชีวะของทหารอีกด้วยครับ จึงไม่แปลกใจว่าน้องๆสมัยนี้จะไม่เข้าใจว่าเรามีทำไมเอโสะโน ถึงได้เทียบเท่ากับกับวิทยาลัยการเกษตรในบ้านเราครับ ยิ่งเป็นเด็กกรุงเทพแล้วยิ่งไปกันใหญ่ หลายคนไม่รู้ด้วยซ้ำว่าข้าวกับหญ้ามันต่างกันตรงไหนเลย

ทีนี้มาเรื่องความเหมือนและต่างของวิทยาลัยการเกษตรของไทย กับ โรงเรียนการเกษตรแบบญี่ปุ่นนะครับ (ไม่นับเรื่องวุฒิแล้วนะ)

เรื่องแรก กาอยู่กินไม่แตกต่างกันครับคือต้องอยู่หอเหมือนกัน เพราะ ว.เกษตรทั้งหลายมันตั้วอยู่ไกลจากชุมชนมาก (แต่ยกเว้นให้ ว.เกษตรธวัชบุรีนะ แค่สองกิโลฯจากเมือง) แต่ที่ต่างเล็กน้อยคือบ้านเราหยุดสองวันครับ แต่ที่ญี่ปุ่นส่วนใหญ่หยุดแค่วันอาทิตย์ มีบ้างที่หยุดสองวันแต่น้อยมาก

เรื่องที่สอง
การเข้าชมรมบ้านเราไม่มีการบังคับเหมือนกับสายอาชีพอื่นๆครับ น้องสายสามัญมีอิจฉาล่ะสิ อิอิ แต่จริงๆเรื่องชมรมนี่บ้านเรามันไม่มีความหมายอะไรหรอกครับ

เรื่องที่สาม ฝึกปฏิบัติ
มีเหมือนกันครับ เหมือนกับในเรื่องนั่นแหละ แล้วก็ไม่มีเว้นชาย-หญิงครับ งานเท่ากัน

เรื่องที่สี่ สินค้าเกษตร
ส่วนใหญ่วิทยาลัยการเกษตรบ้านเราจะขายฝักเองคนับ ส่วนปศุสัตว์ขายให้โรงเชือดชำแหละขายเองไปเลยไม่ค่อยสต๊อกไว้ และไม่ค่อยมีการสต๊อกสินค้าเกษตรไว้เท่าไรนัก ไม่มากพอให้นักเรียนมาถลุงกินกันแบบในเรื่อง

เรื่องที่ห้า การแสดงผลงาน
ที่ไทยเรามีการให้นักเรียนทำงานวิจัยได้โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาเหมือนกับญี่ปุ่น และมีการนำเสนอผลงานบ่อยมาก แต่แปลกคือเกือบทุกชิ้นมีประโยชน์ใช้งานได้จริง ได้รับรางวัล แต่เกือบทั้งหมดไม่มีการต่อยอดเลยทำให้เสียไอเดียเหล่านี้ไปเปล่าๆจำนวนมากมาย

เรื่องที่หก แล็บวิจัย
เมื่อก่อนนั้นระดับปวช.ก็สามารถทำแล็บวิจัยได้แล้วครับ แต่หลังการปรับปรุงหลักสูตรมันโดนย้ายไปอยู่กับปริญญาตรีหรือมหาวิทยาลัยไปแล้วครับ ซึ่งตรงนี้บอกตรงๆว่าไม่ปลื้มเลย

เรื่องที่เจ็ด โกเด้นวีค
บ้านเราก็คือสงกรานต์นั่นแหละครับ ถ้าของเรามันไม่ตรงกับช่วงดูแลผลผลิตเลยกลับไปเอามันกันมากว่า ส่งนที่ฮอกไกโดตามเรื่องมันจะโดนช่วงแทงยอดแทงผลพอดีครับ เพราะงั้นเกษตรกรฮอกไกโดจึงไม่มีโกลเด้นวีคครับ ส่วนเรื่องแรงงาน ถ้าเมื่อก่อนก็เหมือนกันครับมีแรงงานเท่าไหน่ขนมาให้หมดครับ อ้อลืมบอกว่าของเราช่วงงานหนักคือเดือน พฤาภาคม-มถุนายนครับ ช่วงนี้ข้าวต้องปลูก ดอกผลก็แทงยอด พืชล้มลุก็ชอบกะให้เก็บเกี่ยวกันพอดีในบ้านเรา เพราะงั้นงานเพียบครับ แต่แปลกอย่างคือทางอีสานดันมีเวลาว่างมาพนันบั้งไฟกันนี่สิ เอ้อ (เล่นยาวยันสิงหาเลยล่ะ)

เรื่องสุดท้ายที่จะแถลง เครื่องจักร
ในว.เกษตรส่วนมากบ้านเรามีแต่เครื่องจักรขนาดเบาครับ อย่างมากสุดก็แค่โหลดเดอร์ หกสิบแรงม้า ซึ่งก็ถือว่ากลางค่อนเบาเท่านั้นเอง อีกตัวที่อาจจะมีฝห้เล่นก็รถเก็บเกี่ยวขนาดเล็กแต่บ้านเราเรียกขนาดกลาง จริงๆคือมีสองขนาดในบ้านเราคือ ขนาดย่อม กับขนาดเล็กครับ (นอกจากนี้ก็มีขนาดบุคคล(ขนาดใช้ไม่เกิน 3 ไร่ กับขนาดมหึมา ซึ่งสมชื่อจริงๆ อย่างในการตูนนั่นเป็นขนาดใหญ่นะครับ คิดเอาละกันว่าขนาดมหึมาจะขนาดไหน) สรุปง่ายๆตือ ว.เกษตรบ้านเรางบไม่สู้เค้าครับ ต่อให้สู้ได้ไอ้ครั้นจบไปแล้วแต่ไม่มีให้ขับมันก็เหมือนเดิมอ่ะครับ ก็เลยกลายเป็นเรื่องไม่จำเป็นไป  

แต่มี่สำคัญสุดคือ เทคนิคการเกษตรบ้านเราแทบไม่พัฒนาเลยในหลายสิบปีมานี้ เครื่องจักรการเกษรชนิดล่าสุดในไทยรู้ไหมครับว่าคืออะไร มันคือล้อติดเครื่องยนต์ขนาดเบาสำหรับลากจูงอุปกรณ์ครับ ซึ่งคนญี่ปุ่นใช้มากเกือบจะสามสิบปีแล้ว กับอีกอันก็คือ รถ ATV utility (All terrain vehicle) ซึ่งจำเป็นมากในการขนย้ายเครื่องมือการเกษตรขนาดเบา แต่ทั้งสองตัวนี้ยังไม่เป็นที่นิยมเลยครับ

ขาดเหลือตรงไหนสอบถามเพิ่มเติมได้นะครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่