คำพิพากษา ศาลปกครอง ที่คลุมเครือ ให้ความยุติธรรมกับ จำเลย หรือ ผู้ถูกร้อง หรือไม่ อย่างไร



ผมแปลกใจกับคำพิพากษาของศาลปกครอง เพราะ เกิดมาเพิ่งเคยพบเคยเห็นคำพิพากษาที่คลุมเครือ ที่ จำเลย หรือ
ผู้ถูกร้อง ไม่สามารถเอาคำพิพากษาไปปฎิบัติจนสำเร็จผลตามคำพิพากษาได้

1. การนำแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำไปดำเนินการจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างทั่วถึง
2. การดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดให้มีการศึกษาและจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย

ถ้าอ่านประโยคแรก ผู้ปฎิบัติจะต้องไม่ทราบขอบเขตของเนื้อหา คำตัดสิน และ คำสั่งในคำพิพากษา เพราะ คำว่า
การให้มีการรับฟังความคิดเห็นอย่าง "ทั่วถึง" นั้น มันทั่วถึงขนาดไหน คำ ๆ นี้ มันเปิดกว้างมาก ถ้า รัฐบาลเปิดรับ
ฟังความคิดเห็นจากประชาชนในระดับตำบล เป็นการรับฟังที่ทั่วถึงหรือไม่ หรือ ต้องเป็นระดับ หมู่บ้าน หรือ ต้อง
ให้ ลูกบ้านแต่ละหลังมาให้ความคิดเห็นเช่นนั้นหรือ

ประโยคที่สอง มีคำสั่งให้รับฟังประชาชนผู้มีส่วนได้เสีย ผมว่ามันเปิดมาก ผู้ได้เสียจากการจัดการน้ำ ผู้มีส่วนได้เสีย
จากน้ำท่วม หรือ ส่วนได้เสียจากระบบเศรษฐกิจทั้งหมดโดยองค์รวม

น่าเสียใจที่ ศาลปกครอง ไม่ได้อ่าน TOR ของ สำนักนายกฯ ที่มีต่อผู้รับงานว่า ทุก module นั้น ผู้รับเหมางานทั้ง
หมดจะต้องจัดทำ การรับฟังความคิดเห็นในการจัดการในแต่ละโมดูลเพื่อเสนอรัฐบาล ซึ่ง รัฐบาลสามารถที่จะเข้าไป
แทรกแซง และ ร่วมรับฟังความคิดเห็นนั้นได้

ด้วยเหตุคำพิพากษาที่คลุมเครือนี้ ถึงแม้ว่า รัฐบาลทำตามคำสั่งศาล กลุ่ม มนุษย์ 45 คนที่ฟ้อง ยังไง ๆ ก็จะไม่พอใจ
และ จะยื่นต่อ ศาลปกครองหลังประชาพิจารณ์ได้อีกว่า "ไม่ทั่วถึง" และ "ไม่ครบคนที่มีส่วนได้เสีย"

ฤา นี่คือวิธีการที่จะยืดเวลาการบริหารจัดการน้ำของรัฐบาลชุดนี้ ให้ ยาว ยาว และ ยาว ออกไปจนสิ้นอายุรัฐบาล
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่