หักดิบคำสั่งศาล ไม่แยแสระบบคุณธรรม
ศาลปกครองกลางได้พิพากษาให้คืนตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.)
ให้แก่นายถวิล เปลี่ยนศรี ที่ถูกย้ายไปเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ฝ่ายข้าราชการประจำ
จนถึงวันนี้ นายกรัฐมนตรี ก็ยังไม่คืนตำแหน่งเลขาธิการฯ สมช.ให้นายถวิล
ลูกน้องนายกฯ อ้างว่า ขณะนี้ ไม่มีตำแหน่งในระดับ 11 ว่างอยู่
ดูเหมือนนายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะเดินหมากให้ทอดเวลายาวนานออกไป
ส่วนพล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยิ่งไปใหญ่
ถึงกับเสนอหน้าออกมาแขวะนายถวิล อ้างว่าเป็นคนละข้างกัน แล้วจะทำงานกันได้อย่างไร
“วันนี้ถวิลเพื่อนรัก จะทำงานกับเขาได้อย่างไร มันลำบาก โดยเฉพาะงานด้านความมั่นคง
เรื่องนี้ต้องเข้าใจ ไม่ใช่บอกว่า มาทำงานได้ อย่างที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อรัฐมนตรีลาออก
ทีมงานก็ลาออกทั้งหมด ต้องดูว่า เราทำงานเข้ากับเขาได้หรือไม่ แม้ว่า คุณจะบอกทำงานเข้า
กับเขาได้ แต่เขาบอกว่า ทำงานเข้ากับคุณไม่ได้ เรื่องนี้ต้องเข้าใจ เรื่องนี้เป็นข้อเท็จจริง
ไม่เกี่ยวกับเรื่องสปิริต ต้องรู้ว่าควรหรือไม่ควร ต้องดูว่า เราสนิทลงรอยกับเขาได้หรือไม่ เรารู้กันอยู่
เพราะมีการแสดงท่าทีอย่างชัดเจนว่า ใครเป็นใคร อย่างไร หรืออิงกับใครอย่างไร ดังนั้น เขาก็คง
ไม่เอาหรอก แต่เรื่องนี้ยังไม่จบ ไม่อยากวิจารณ์ศาลมาก แต่ต้องเข้าใจอะไรหลายอย่างไร ไ
ม่ใช่มองแต่ตัวบทกฎหมาย...”
รัฐมนตรีกลาโหมอาจจะสำคัญผิด คิดว่าตำแหน่งข้าราชการเป็น “ขี้ข้านักการเมือง” ไปเสียทั้งหมด
สะท้อนมาตรฐานว่า “ค่าของคน อยู่ที่คนของใคร”
จะต้องปลด ต้องย้าย ต้องล้างบาง เพื่อเอาคนของตนเอง หรือเอาขี้ข้าของตนเองเข้าไปจัดวาง
ในตำแหน่งราชการสำคัญของแผ่นดิน โดยไม่ต้องพิจารณาความรู้ความสามารถ กฎระเบียบ
ราชการ ธรรมเนียมปฏิบัติ
ถ้าใช้วิธีคิดแบบนี้ คงจะต้องไล่ย้ายข้าราชการอีกหลายคน
ไม่เว้นแม้แต่ตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก!
ทั้งๆ ที่ ระบบบริหารราชการแผ่นดิน มิได้สนับสนุนให้นักการเมืองใช้อำนาจบาตรใหญ่โดยปราศ
จากธรรมมาภิบาล หรือไม่คำนึงถึงระบบคุณธรรมเช่นนั้น
กรณีของนายถวิล เปลี่ยนศรี เมื่อไปดูรายละเอียดในคำพิพากษาศาลปกครอง
คดีหมายเลขแดงที่ 847/2556 ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ วันที่ 31 พฤษภาคม 2556
ปรากฏว่า มีประเด็นสำคัญที่ศาลปกครองพิพากษาไว้ชัดแจ้ง และสะท้อนพฤติการณ์การใช้
อำนาจรัฐอย่างไม่ถูกต้องของนักการเมือง ไม่เป็นไปตามระบบคุณธรรม เช่น
1) “...พิพากษาเพิกถอนคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๕๒/๒๕๕๔ ลงวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๔
ที่ให้ผู้ฟ้องคดีไปปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี และประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔ ที่ให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
(นักบริหารระดับสูง) สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ โดยให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่คำสั่ง
และประกาศฉบับดังกล่าวมีผลบังคับ กับเพิกถอนคำวินิจฉัยของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ที่ยกคำร้องทุกข์ของผู้ฟ้องคดี...”
ชัดเจนว่า ศาลเพิกถอนคำสั่งย้าย
เพราะฉะนั้น นายถวิล เปลี่ยนศรี ก็ต้องกลับเข้าสู่ตำแหน่งที่อยู่เดิมก่อนถูกย้าย นั่นคือ เลขาธิการ สมช.
ยิ่งกว่านั้น ศาลปกครองยังระบุไว้ในคำพิพากษาอย่างชัดเจนด้วยว่า
“โดยมีข้อสังเกตเกี่ยวกับแนวทางหรือวิธีการดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษา
ตามมาตรา ๖๙ วรรคหนึ่ง (๘) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธี
พิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คือ เมื่อคำสั่งพิพาทถูกศาลเพิกถอนโดยให้มีผล
ย้อนหลังดังกล่าว ย่อมมีผลทางกฎหมายว่าผู้ฟ้องคดีมิได้พ้นจากตำแหน่งเลขาธิการ
สภาความมั่นคงแห่งชาติ ผู้เกี่ยวข้องก็ต้องดำเนินการให้ผู้ฟ้องคดีสามารถปฏิบัติหน้าที่
ในตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติโดยเร็ว”
เสมือนว่านายถวิลไม่ได้พ้นจากตำแหน่งเลขาธิการ สมช.
นายกฯ และผู้เกี่ยวข้องก็จะต้องให้นายถวิลสามารถปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวได้โดยเร็ว
ศาลปกครองพิพากษาไว้ชัดแจ้งแล้วทั้งสิ้น
2) ข้อวินิจฉัยในคำพิพากษาของศาลปกครอง ยังสะท้อนการบริหารราชการที่ไม่ถูกต้องของนายกรัฐมนตรี
ประเด็นการสั่งย้ายนายถวิล (ผู้ฟ้องคดี) คำพิพากษาของศาลปกครองระบุว่า
“...ข้อเท็จจริงยังปรากฏว่ากระบวนการโอนผู้ฟ้องคดีก็ดำเนินการอย่างเร่งรีบ ไม่เป็นไปตามขั้น
ตอนการรับโอนในการปฏิบัติราชการตามปกติ จึงเชื่อได้ว่าปัจจัยอันเป็นที่มาของการเปลี่ยนแปลง
ผู้ฟ้องคดีจากการดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษา
นายกรัฐมนตรี ฝ่ายข้าราชการประจำ คือความประสงค์ให้ตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ที่พลตำรวจเอกวิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ดำรงอยู่ในขณะนั้นว่างลง เพื่อแต่งตั้งบุคคลอื่นให้ดำรง
ตำแหน่งดังกล่าวแทน เหตุผลตามข้ออ้างข้างต้นยังไม่เพียงพอจะรับฟังว่าการออกคำสั่งให้
ผู้ฟ้องคดีไปปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ราชการตามนโยบายของ
คณะรัฐมนตรีที่แถลงไว้ต่อรัฐสภา จึงเป็นการกระทำที่ไม่สอดคล้องกับหลักการจัดระเบียบข้าราชการ
พลเรือนสามัญตามระบบคุณธรรม ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
มาตรา ๓๔ ประกอบมาตรา ๔๒ ที่บัญญัติสรุปว่า ต้องเป็นไปเพื่อผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
ความมีประสิทธิภาพ และความคุ้มค่า โดยให้ข้าราชการปฏิบัติราชการอย่างมีคุณภาพ คุณธรรม
และมีคุณภาพชีวิตที่ดี และให้คำนึงถึงระบบคุณธรรมไม่ว่าจะเป็นเรื่องการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรง
ตำแหน่ง การบริหารทรัพยากรบุคคล การพิจารณาความดีความชอบ การดำเนินการทางวินัย หรือ
การบริหารทรัพยากรบุคคลที่ต้องมีความเป็นกลางทางการเมือง
ด้วยเหตุผลดังที่ได้วินิจฉัยข้างต้น การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี
ที่ ๑๕๒/๒๕๕๔ ลงวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๔ ให้ผู้ฟ้องคดีไปปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี
เกิดจากกระบวนการโอนที่ไม่เป็นไปตามขั้นตอนหรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กฎหมายกำหนด
ไว้สำหรับการโอนข้าราชการ และเป็นการใช้ดุลพินิจโดยไม่สมเหตุสมผลซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ย่อมมีผลให้ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔ ที่ให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจาก
ตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (นักบริหารระดับสูง) สำนักงานสภาความมั่นคง
แห่งชาติ เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วย...”
3) จะเห็นว่า นักการเมืองผู้มีอำนาจรัฐนั้น ใช่ว่าจะออกคำสั่งแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการได้ตามอำเภอใจ
โดยไม่คำนึงถึงระบบคุณธรรม ตลอดจนขั้นตอนปฏิบัติตามกฎหมาย
มิฉะนั้นแล้ว ระบบราชการก็จะไม่ไม่ต่างจาก “ระบบขี้ข้านักการเมือง”
จะเลวร้ายและอันตรายยิ่งกว่าซ่องโจรเสียอีก
เพราะถ้าได้คนเลวเข้ามามีอำนาจรัฐ ก็จะใช้ข้าราชการไปทำเลว โดยไม่คำนึงถึงหลักคุณธรรม
อาจจะเอาคนที่พร้อมทำเลวรับใช้ตนเองเข้ามาตำแหน่งสำคัญ
กลั่นแกล้งโยกย้ายข้าราชการที่ไม่ยอมตนเป็นขี้ข้า ยืนหยัดปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายบ้านเมือง
ถือผลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติเป็นหลัก
ขอชื่นชมการทำหน้าที่ของศาลปกครองที่ยืนเป็นเสาหลักให้กับระบบคุณธรรมในงานราชการแผ่นดิน
และขอให้กำลังใจข้าราชการอย่างนายถวิล เปลี่ยนศรี ที่ไม่ยอมเปลี่ยนสี
เชื่อว่ายังมีคนดีในระบบราชการอีกหลายแสนคนที่ไม่ยอมตนเป็นขี้ข้านักการเมือง-ขี้ข้าทักษิณ
หากนักการเมืองสามานย์ยังยืนยันจะหักดิบคำสั่งศาล ไม่แยแสระบบคุณธรรม พยายามนำระบบ
ราชการไปรับใช้ผลประโยชน์ส่วนตัวของตนและพรรคพวกต่อไป ก็คงถึงเวลาที่ทุกองคาพยพจะ
ต้องยืนหยัดขึ้นต่อสู้ร่วมกัน
ประเทศไทยไม่ใช่สมบัติส่วนตัวของตระกูลชินวัตรและวงศ์วานว่านเครือ!
สารส้ม
http://www.naewna.com/politic/columnist/7050
(ยังมีต่อ)
..... ถวิล เปลี่ยนศรี .... มุมมองของ "แนวหน้า" ผิดทั้งคุณธรรม พลาดในการทำงาน ... บ้านเมืองเสียหาย
ศาลปกครองกลางได้พิพากษาให้คืนตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.)
ให้แก่นายถวิล เปลี่ยนศรี ที่ถูกย้ายไปเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ฝ่ายข้าราชการประจำ
จนถึงวันนี้ นายกรัฐมนตรี ก็ยังไม่คืนตำแหน่งเลขาธิการฯ สมช.ให้นายถวิล
ลูกน้องนายกฯ อ้างว่า ขณะนี้ ไม่มีตำแหน่งในระดับ 11 ว่างอยู่
ดูเหมือนนายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะเดินหมากให้ทอดเวลายาวนานออกไป
ส่วนพล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยิ่งไปใหญ่
ถึงกับเสนอหน้าออกมาแขวะนายถวิล อ้างว่าเป็นคนละข้างกัน แล้วจะทำงานกันได้อย่างไร
“วันนี้ถวิลเพื่อนรัก จะทำงานกับเขาได้อย่างไร มันลำบาก โดยเฉพาะงานด้านความมั่นคง
เรื่องนี้ต้องเข้าใจ ไม่ใช่บอกว่า มาทำงานได้ อย่างที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อรัฐมนตรีลาออก
ทีมงานก็ลาออกทั้งหมด ต้องดูว่า เราทำงานเข้ากับเขาได้หรือไม่ แม้ว่า คุณจะบอกทำงานเข้า
กับเขาได้ แต่เขาบอกว่า ทำงานเข้ากับคุณไม่ได้ เรื่องนี้ต้องเข้าใจ เรื่องนี้เป็นข้อเท็จจริง
ไม่เกี่ยวกับเรื่องสปิริต ต้องรู้ว่าควรหรือไม่ควร ต้องดูว่า เราสนิทลงรอยกับเขาได้หรือไม่ เรารู้กันอยู่
เพราะมีการแสดงท่าทีอย่างชัดเจนว่า ใครเป็นใคร อย่างไร หรืออิงกับใครอย่างไร ดังนั้น เขาก็คง
ไม่เอาหรอก แต่เรื่องนี้ยังไม่จบ ไม่อยากวิจารณ์ศาลมาก แต่ต้องเข้าใจอะไรหลายอย่างไร ไ
ม่ใช่มองแต่ตัวบทกฎหมาย...”
รัฐมนตรีกลาโหมอาจจะสำคัญผิด คิดว่าตำแหน่งข้าราชการเป็น “ขี้ข้านักการเมือง” ไปเสียทั้งหมด
สะท้อนมาตรฐานว่า “ค่าของคน อยู่ที่คนของใคร”
จะต้องปลด ต้องย้าย ต้องล้างบาง เพื่อเอาคนของตนเอง หรือเอาขี้ข้าของตนเองเข้าไปจัดวาง
ในตำแหน่งราชการสำคัญของแผ่นดิน โดยไม่ต้องพิจารณาความรู้ความสามารถ กฎระเบียบ
ราชการ ธรรมเนียมปฏิบัติ
ถ้าใช้วิธีคิดแบบนี้ คงจะต้องไล่ย้ายข้าราชการอีกหลายคน
ไม่เว้นแม้แต่ตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก!
ทั้งๆ ที่ ระบบบริหารราชการแผ่นดิน มิได้สนับสนุนให้นักการเมืองใช้อำนาจบาตรใหญ่โดยปราศ
จากธรรมมาภิบาล หรือไม่คำนึงถึงระบบคุณธรรมเช่นนั้น
กรณีของนายถวิล เปลี่ยนศรี เมื่อไปดูรายละเอียดในคำพิพากษาศาลปกครอง
คดีหมายเลขแดงที่ 847/2556 ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ วันที่ 31 พฤษภาคม 2556
ปรากฏว่า มีประเด็นสำคัญที่ศาลปกครองพิพากษาไว้ชัดแจ้ง และสะท้อนพฤติการณ์การใช้
อำนาจรัฐอย่างไม่ถูกต้องของนักการเมือง ไม่เป็นไปตามระบบคุณธรรม เช่น
1) “...พิพากษาเพิกถอนคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๕๒/๒๕๕๔ ลงวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๔
ที่ให้ผู้ฟ้องคดีไปปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี และประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔ ที่ให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
(นักบริหารระดับสูง) สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ โดยให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่คำสั่ง
และประกาศฉบับดังกล่าวมีผลบังคับ กับเพิกถอนคำวินิจฉัยของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ที่ยกคำร้องทุกข์ของผู้ฟ้องคดี...”
ชัดเจนว่า ศาลเพิกถอนคำสั่งย้าย
เพราะฉะนั้น นายถวิล เปลี่ยนศรี ก็ต้องกลับเข้าสู่ตำแหน่งที่อยู่เดิมก่อนถูกย้าย นั่นคือ เลขาธิการ สมช.
ยิ่งกว่านั้น ศาลปกครองยังระบุไว้ในคำพิพากษาอย่างชัดเจนด้วยว่า
“โดยมีข้อสังเกตเกี่ยวกับแนวทางหรือวิธีการดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษา
ตามมาตรา ๖๙ วรรคหนึ่ง (๘) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธี
พิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คือ เมื่อคำสั่งพิพาทถูกศาลเพิกถอนโดยให้มีผล
ย้อนหลังดังกล่าว ย่อมมีผลทางกฎหมายว่าผู้ฟ้องคดีมิได้พ้นจากตำแหน่งเลขาธิการ
สภาความมั่นคงแห่งชาติ ผู้เกี่ยวข้องก็ต้องดำเนินการให้ผู้ฟ้องคดีสามารถปฏิบัติหน้าที่
ในตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติโดยเร็ว”
เสมือนว่านายถวิลไม่ได้พ้นจากตำแหน่งเลขาธิการ สมช.
นายกฯ และผู้เกี่ยวข้องก็จะต้องให้นายถวิลสามารถปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวได้โดยเร็ว
ศาลปกครองพิพากษาไว้ชัดแจ้งแล้วทั้งสิ้น
2) ข้อวินิจฉัยในคำพิพากษาของศาลปกครอง ยังสะท้อนการบริหารราชการที่ไม่ถูกต้องของนายกรัฐมนตรี
ประเด็นการสั่งย้ายนายถวิล (ผู้ฟ้องคดี) คำพิพากษาของศาลปกครองระบุว่า
“...ข้อเท็จจริงยังปรากฏว่ากระบวนการโอนผู้ฟ้องคดีก็ดำเนินการอย่างเร่งรีบ ไม่เป็นไปตามขั้น
ตอนการรับโอนในการปฏิบัติราชการตามปกติ จึงเชื่อได้ว่าปัจจัยอันเป็นที่มาของการเปลี่ยนแปลง
ผู้ฟ้องคดีจากการดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษา
นายกรัฐมนตรี ฝ่ายข้าราชการประจำ คือความประสงค์ให้ตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ที่พลตำรวจเอกวิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ดำรงอยู่ในขณะนั้นว่างลง เพื่อแต่งตั้งบุคคลอื่นให้ดำรง
ตำแหน่งดังกล่าวแทน เหตุผลตามข้ออ้างข้างต้นยังไม่เพียงพอจะรับฟังว่าการออกคำสั่งให้
ผู้ฟ้องคดีไปปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ราชการตามนโยบายของ
คณะรัฐมนตรีที่แถลงไว้ต่อรัฐสภา จึงเป็นการกระทำที่ไม่สอดคล้องกับหลักการจัดระเบียบข้าราชการ
พลเรือนสามัญตามระบบคุณธรรม ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
มาตรา ๓๔ ประกอบมาตรา ๔๒ ที่บัญญัติสรุปว่า ต้องเป็นไปเพื่อผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
ความมีประสิทธิภาพ และความคุ้มค่า โดยให้ข้าราชการปฏิบัติราชการอย่างมีคุณภาพ คุณธรรม
และมีคุณภาพชีวิตที่ดี และให้คำนึงถึงระบบคุณธรรมไม่ว่าจะเป็นเรื่องการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรง
ตำแหน่ง การบริหารทรัพยากรบุคคล การพิจารณาความดีความชอบ การดำเนินการทางวินัย หรือ
การบริหารทรัพยากรบุคคลที่ต้องมีความเป็นกลางทางการเมือง
ด้วยเหตุผลดังที่ได้วินิจฉัยข้างต้น การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี
ที่ ๑๕๒/๒๕๕๔ ลงวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๔ ให้ผู้ฟ้องคดีไปปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี
เกิดจากกระบวนการโอนที่ไม่เป็นไปตามขั้นตอนหรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กฎหมายกำหนด
ไว้สำหรับการโอนข้าราชการ และเป็นการใช้ดุลพินิจโดยไม่สมเหตุสมผลซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ย่อมมีผลให้ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔ ที่ให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจาก
ตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (นักบริหารระดับสูง) สำนักงานสภาความมั่นคง
แห่งชาติ เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วย...”
3) จะเห็นว่า นักการเมืองผู้มีอำนาจรัฐนั้น ใช่ว่าจะออกคำสั่งแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการได้ตามอำเภอใจ
โดยไม่คำนึงถึงระบบคุณธรรม ตลอดจนขั้นตอนปฏิบัติตามกฎหมาย
มิฉะนั้นแล้ว ระบบราชการก็จะไม่ไม่ต่างจาก “ระบบขี้ข้านักการเมือง”
จะเลวร้ายและอันตรายยิ่งกว่าซ่องโจรเสียอีก
เพราะถ้าได้คนเลวเข้ามามีอำนาจรัฐ ก็จะใช้ข้าราชการไปทำเลว โดยไม่คำนึงถึงหลักคุณธรรม
อาจจะเอาคนที่พร้อมทำเลวรับใช้ตนเองเข้ามาตำแหน่งสำคัญ
กลั่นแกล้งโยกย้ายข้าราชการที่ไม่ยอมตนเป็นขี้ข้า ยืนหยัดปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายบ้านเมือง
ถือผลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติเป็นหลัก
ขอชื่นชมการทำหน้าที่ของศาลปกครองที่ยืนเป็นเสาหลักให้กับระบบคุณธรรมในงานราชการแผ่นดิน
และขอให้กำลังใจข้าราชการอย่างนายถวิล เปลี่ยนศรี ที่ไม่ยอมเปลี่ยนสี
เชื่อว่ายังมีคนดีในระบบราชการอีกหลายแสนคนที่ไม่ยอมตนเป็นขี้ข้านักการเมือง-ขี้ข้าทักษิณ
หากนักการเมืองสามานย์ยังยืนยันจะหักดิบคำสั่งศาล ไม่แยแสระบบคุณธรรม พยายามนำระบบ
ราชการไปรับใช้ผลประโยชน์ส่วนตัวของตนและพรรคพวกต่อไป ก็คงถึงเวลาที่ทุกองคาพยพจะ
ต้องยืนหยัดขึ้นต่อสู้ร่วมกัน
ประเทศไทยไม่ใช่สมบัติส่วนตัวของตระกูลชินวัตรและวงศ์วานว่านเครือ!
สารส้ม
http://www.naewna.com/politic/columnist/7050
(ยังมีต่อ)