ความจริงของ พฤษภา 35 กับ พฤษภา 53

กระทู้สนทนา
เหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองเมื่อปี พศ.2535 หรือที่เรียกกันว่าเหตุการณ์ "พฤษภาทมิฬ" ต่อมาคณะกกรมการจัดงานรำลึกรณรงค์ให้ใช้คำว่า "เหตุการณ์พฤษภาประชาธรรม"

ผมขอสดุดีวีรกรรม "วีรชน" ผู้ที่สูญเสียในเหตุการณ์ทุกท่านทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่หรือเสียชีวิตไปในเหตุการณ์ครั้งนั้น

    เหตุการณ์ความรุนแรงและจราจลทางการเมืองที่สี่แยกราชประสงค์หรือที่เรียกกันว่า เหตุการณ์ "พฤษภา 53" ซึ่งคนเสื้อแดงก็กำลังจะจัดงานรำลึกเช่นกัน

                             ทั้ง 2 เหตุการณ์ ชูธงต่อสู้ด้วยวาทกรรม "ประชาธิปไตย" เช่นกัน

แต่ความขลังของทั้ง 2 เหตุการณ์ ดูจะ"ต่างกันอย่างสิ้นเชิง" งานรำลึก เหตุการณ์พฤษภาประชาธรรม มีคนทุกกลุ่มทุกสีเข้าร่วม แต่งานรำลึกที่ราชประสงค์ เป็นกิจกรรมที่จัดกันเอง" รำลึกกันเองในหมู่คนเสื้อแดง"

เหตุเพราะว่า "วาทกรรมประชาธิปไตย" ในเหตุการณ์พฤษภาประชาธรรม หมายถึงผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ ที่อยากเป็นการปฏิรูปสังคมการเมือง ไม่ได้ต่อสู้เพื่อ พล.อ.ชาติชาย ชุณหวัน อดีตนายกฯที่ถูกคณะทหาร รสช.ยึดอำนาจไป

แต่เหตุการณ์พฤษภา 53 วาทกรรมประชาธิปไตย ของคนเสื้อแดง กลับถูก "ย่อส่วน" และ "บดบัง" ด้วย ผลประโยชน์

แต่ก็เป็นเพียงสีสันทางวาทกรรม เพราะแกนนำหลายคนกลายเป็นอำมาตย์ใหม่ ลืมความเป็นไพร่ ไปโดยสิ้นเชิง

ถ้าจะหาจุดเหมือนกันของทั้ง 2 เหตุการณ์ที่พอจะหาได้ก็คือ "ความรุนแรง" ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาหรือคำตอบสุดท้ายของความขัดแย้งแต่อย่างใด...

                                                                                                                                                    ประธิปไตยระบบทุนนิยม
                                                                                                                                                             เหมารถบัส
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่