คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
ผมก็ฝึกจากมินนะนี่แหละ เรื่องลำดับการเขียน ยึดหลักง่ายๆ ทุกเส้นเขียนจากบนซ้ายก่อน ลองเขียนซ้ำๆสักไม่กี่พันครั้งก็น่าจะเขียนถูกซะ 80% แล้วล่ะ แนะนำให้โหลด google translate บนสมาร์ทโฟน แล้วเขียนคันจิบนนั้รเมื่อเริ่มลากเส้นคล่องแล้ว เพร่ะลำดับการเขียนที่ถูกต้องมีผลต่อการแปลความหมายของคอมมาก หากผิดลำดับมันจะแปลเป็นตัวอื่นเลย
ส่วนเรื่องการจำคันจิ ผมจะเริ่มจำทีละบท โดยจำทีละศัพท์ๆตัวที่จำนั้นต้องแม่นศัพท์นั้นขนาดที่ไม่ต้องแปลเป็นไทยก็รู้ดรื่องก่อน เช่น คำว่า มินนะ ทาเบะรุ โทโมะดะจิ นิฮง พวกนี้เป็นคำง่ายๆที่เข้าใจได้ทันทีโดยไม่ต้องแปลเลือกมา ๒๐ ตัว จากนั้นผมก็จะ คัดคันจิตัวละราวๆ ๑๕ ครั้ง โดยดูตัวอักษร และให้นึกเสียงและความหมายให้ออกก่อนที่จะคัดตัวนั้นๆ คัดเสร็จ ๒๐ ตัวก็มาดูว่าคันจิที่อยู่ในศัพท์แต่ละตัวที่คัดมา มีความหมายของตัวมันว่าอะไร อ่านได้ว่าอย่างไรบ้าง (แค่ทำความเข้าใจไม่ต้องจำเสียงที่เราไม่เคยเจอ) ในเวบ
http://www.minnanokanji.com/php/kanji.php?searchkey=%E5%B1%8A&x=40&y=12&display=table
หากเอาชัวร์กลัวลืมหลังจากทำพวกนี้เสร็จก็เขียนคันจิที่เพิ่งคัดไปลงบนกระดาษ ด้านหลังเขียนคำอ่านและคำแปล สุ่มหยิบมาอ่านทุกวัน วันละสี่ห้าสิบคำก็จะจำได้ขึ้นใจ
แต่ยังไงก็ตามนอกจากคัดแล้วหลังจากนี้ก็ต้องอ่านเจอคำพวกนี้บ้าง ไม่งั้นยังไงก็ลืมอยุ่ดี แต่ถ้าเราเคยจำได้ครั้งนึงแบบแน่นๆแล้ว การจะจำอีกครั้งมันก็ไม่ยาก เหมือนคนเคยรักกันถึงไม่เจอกันนานก็จะรื้อฟื้นความรู้สึกเดิมๆได้ไม่ยาก อิอิ
ส่วนเรื่องการจำคันจิ ผมจะเริ่มจำทีละบท โดยจำทีละศัพท์ๆตัวที่จำนั้นต้องแม่นศัพท์นั้นขนาดที่ไม่ต้องแปลเป็นไทยก็รู้ดรื่องก่อน เช่น คำว่า มินนะ ทาเบะรุ โทโมะดะจิ นิฮง พวกนี้เป็นคำง่ายๆที่เข้าใจได้ทันทีโดยไม่ต้องแปลเลือกมา ๒๐ ตัว จากนั้นผมก็จะ คัดคันจิตัวละราวๆ ๑๕ ครั้ง โดยดูตัวอักษร และให้นึกเสียงและความหมายให้ออกก่อนที่จะคัดตัวนั้นๆ คัดเสร็จ ๒๐ ตัวก็มาดูว่าคันจิที่อยู่ในศัพท์แต่ละตัวที่คัดมา มีความหมายของตัวมันว่าอะไร อ่านได้ว่าอย่างไรบ้าง (แค่ทำความเข้าใจไม่ต้องจำเสียงที่เราไม่เคยเจอ) ในเวบ
http://www.minnanokanji.com/php/kanji.php?searchkey=%E5%B1%8A&x=40&y=12&display=table
หากเอาชัวร์กลัวลืมหลังจากทำพวกนี้เสร็จก็เขียนคันจิที่เพิ่งคัดไปลงบนกระดาษ ด้านหลังเขียนคำอ่านและคำแปล สุ่มหยิบมาอ่านทุกวัน วันละสี่ห้าสิบคำก็จะจำได้ขึ้นใจ
แต่ยังไงก็ตามนอกจากคัดแล้วหลังจากนี้ก็ต้องอ่านเจอคำพวกนี้บ้าง ไม่งั้นยังไงก็ลืมอยุ่ดี แต่ถ้าเราเคยจำได้ครั้งนึงแบบแน่นๆแล้ว การจะจำอีกครั้งมันก็ไม่ยาก เหมือนคนเคยรักกันถึงไม่เจอกันนานก็จะรื้อฟื้นความรู้สึกเดิมๆได้ไม่ยาก อิอิ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 5
"จะเริ่มเรียนเมื่อไหร่....?"
เริ่มให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
ให้คิดว่า...การเขียนอ่านจริงจะใช้คันจิทั้งหมด
ฮิรากานะ....เป็นแค่ตัวช่วยวิธีออกเสียงเท่านั้น
"จะเรียนยังไง....?"
นอกจากเรียนตามปกติ ในหนังสือ ในห้องเรียนแล้ว
ควรแบ่งเวลามาฝึกจดจำทำความเข้าใจด้วยตัวเอง...ดังนี้
(เป็นวิธีส่วนตัว...อาจดูแปลก ๆ นิดหน่อย ลองใช้ดูนะ)
คันจิเป็นส่วนที่ยาก และเป็นอักษรที่คนไทยไม่คุ้นเคย
จะพิชิตได้ ต้องใช้วิธีที่ง่าย เป็นธรรมชาติ และรวดเร็ว
"จะจำคันจิ ก็จำคันจิเท่านั้น" ตัดทุกอย่างออกให้หมด
ไม่สนลำดับการเขียนวิธีเขียนและไม่สนเสียงอ่านด้วย
ฝึกโดย...ใช้แค่ "ตา" กับ "ใจ" (ความหมาย) เท่านั้น
คันจิ...เป็นภาษา"ตา"เมื่อเห็นต้องรู้ความหมายทันที
การไปค้นหา ท่องจำว่า...อ่านยังไงนั้น ผิดธรรมชาติ
ให้จำรูปร่างตัวอักษรแล้วโยงเข้ากับความหมายก็พอ
ภาษาตาต้องจำด้วยตา ต้องเห็นบ่อยและแยกแยะได้
ตาจะจำได้ เฉพาะสิ่งที่เคยรู้จักหรืออธิบายได้เท่านั้น
เช่น...คนมักหลงป่า เพราะป่ามีรูปทรงอิสระ จำยาก
ถ้ารู้จักชื่อต้นไม้ ว่าต้นนี้รูปร่างอย่างนี้เคย อยู่ตรงนี้
ก็จะเริ่มจับจุดได้ แยกแยะสถานที่ได้ไม่เดินหลงทาง
วิธีจำคันจิ...ก็คล้ายกัน
ให้เอาคันจิที่ซับซ้อนยุ่งเหยิง...มาชำแหละ แยกแยะ
ให้เป็นส่วนย่อยๆ และตั้งชื่อให้หมด เมื่อรู้จักก็จะจำได้
เมื่อรู้จัก จำส่วนย่อยๆได้ จะเริ่มจำคันจิยาก ๆ ได้เอง
คันจิเป็นพันๆ ประกอบขึ้นจากส่วนย่อยแค่ร้อยกว่าตัว
ถ้าเป็นคู่แฝด ต้องหาใฝตำหนิให้เจอก่อนถึงจะจำได้
ถ้าเป็นตัวประหลาด ให้แยกจำเฉพาะส่วนที่ประหลาด
ฝึกเขียนเฉพาะส่วนที่ประหลาด ที่รู้จักแล้วไม่ต้องฝึก
ทั้งหมด...ให้จำโดยโยงเข้ากับความหมายเท่านั้น
....................................................................
ใช้หนังสือคันจิยิเตนระดับประถม ในการเรียนรู้ด้วย
(เราใช้ของญี่ปุ่นนะ หาซื้อได้ตามร้านหนังสือญี่ปุ่น)
เพื่ออ้างอิงการเขียนความหมาย และเสียงอ่านต่างๆ
มีคันจิพื้นฐานราว 1000 ตัว ที่ลำดับไว้ให้เรียนง่าย
อ่านหนังสือพิมพ์ หรือนิตยสาร ทุกวันให้บ่อยที่สุด
ไม่เข้าใจไม่เป็นไร คอยค้นหาตัวอักษรที่ไม่เคยเห็น
เราจะทำความคุ้นเคยรู้จักอักษรใหม่ ๆ ให้มากที่สุด
ล้ำหน้าไปโดยไม่สนใจวิธีเขียน หรือเสียงอ่านเลย
เมื่อทำบ่อย ๆ จะอ่านเข้าใจได้ แม้ไม่รู้เสียงอ่านก็ตาม
ก็ถือว่า...การอ่านสัมฤทธิ์ผลแล้วนะ คือคุณเข้าใจได้
ส่วนการอ่านออกเสียง...
ต้องมาจากคุณรู้เสียงอ่านของคำศัพท์นั้นอยู่ก่อนแล้วเท่านั้น
เช่น...
感動 ความรู้สึก/เคลื่อนไหว=ประทับใจ (รู้ความหมายทันทีเมื่อเห็น)
ประทับใจ=คันโด (ซึ่งเคยท่องไว้แล้ว) ดังนั้นก็จะอ่านได้โดยธรรมชาติ
การเอาคันจิมาท่องเสียงอ่านที่ไม่รู้จัก จะจำยากกว่าหรือจำไม่ได้เลย
เพราะ...เป็นนามธรรมทั้งคู่ ทั้งอักษร ทั้งเสียงอ่าน (ไม่เคยรู้จักทั้งคู่)
และตัวคันจิ ก็ไม่ได้ไกด์เสียงอ่านอะไรเลย ท่องไป 10 นาทีก็ลืมแล้ว
แต่ถ้าทำแบบข้างต้น ครั้งเดียวจำได้เลย และที่สำคัญกว่า...คือ
ตัวคันจิล้วน ๆ ได้ถูกแยกไปจำ อย่างละเอียดไว้ก่อนหน้าแล้ว
ทำให้จุดที่ยากที่สุด กลายเป็นจุดที่ง่ายที่สุดไปเสียแล้ว ตอนนี้
ยืนยันว่า...เราสามารถอ่านเข้าใจได้ โดยไม่ต้องรู้เสียงอ่าน
และจะรู้ความหมาย คำผสมในศัพท์ใหม่ ๆ ได้โดยอัตโนมัติ
บางที นี้คือวิธีใช้คันจิอย่างถูกต้อง ในแบบของจีนดังเดิม
ประเทศที่หลากหลายชนเผ่าหลายสำเนียง แต่เข้าใจกันได้
................................................................
เสียงอ่านจีน/ญี่ปุ่นนั้น เป็นภาษา"หู" ต้องจำด้วย"หู"
โดยฟังซ้ำ ๆ เอาเสียงโยงกับความหมาย ก็จะจำได้
ส่วนการเขียนนั้น...ไม่ต้องไปท่อง ให้จำด้วย "มือ"
คือ...เมื่อเขียนซ้ำ ๆ ไปตามลำดับ มือจะจำได้เอง
และจะไม่มีทางเขียนผิด ให้เขียนผิดวิธียากกว่าด้วย
................................................................
สุดท้าย...ต้องเชื่อมั่นว่าเราทำได้ และสนุกกับมัน
อักษรภาพ สนุกจะตาย สวยกว่า สื่อสารได้ดีกว่า
ถ้าไม่ดีจริง บริษัทต่าง ๆ หรือถนนจะใช้โลโก้ทำไม
ดูไอคอนหน้าคอมก็ได้ จดจำค้นหาง่ายกว่าเยอะนะ
ในชีวิตประจำวัน เราจดจำโลโก้สินค้า ป้ายจราจร
ได้เป็นพัน ๆ ตัว โดยไม่ต้องท่องจำ คันจิ...จิ๊บ ๆนะ
เพ้อเจ้อได้ยาวมาก...555
แค่นี้ก่อนนะ
ลองนำไปปรับใช้ดูนะ...แต่ห้ามนำไปเถียงครูนะ 555+
เริ่มให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
ให้คิดว่า...การเขียนอ่านจริงจะใช้คันจิทั้งหมด
ฮิรากานะ....เป็นแค่ตัวช่วยวิธีออกเสียงเท่านั้น
"จะเรียนยังไง....?"
นอกจากเรียนตามปกติ ในหนังสือ ในห้องเรียนแล้ว
ควรแบ่งเวลามาฝึกจดจำทำความเข้าใจด้วยตัวเอง...ดังนี้
(เป็นวิธีส่วนตัว...อาจดูแปลก ๆ นิดหน่อย ลองใช้ดูนะ)
คันจิเป็นส่วนที่ยาก และเป็นอักษรที่คนไทยไม่คุ้นเคย
จะพิชิตได้ ต้องใช้วิธีที่ง่าย เป็นธรรมชาติ และรวดเร็ว
"จะจำคันจิ ก็จำคันจิเท่านั้น" ตัดทุกอย่างออกให้หมด
ไม่สนลำดับการเขียนวิธีเขียนและไม่สนเสียงอ่านด้วย
ฝึกโดย...ใช้แค่ "ตา" กับ "ใจ" (ความหมาย) เท่านั้น
คันจิ...เป็นภาษา"ตา"เมื่อเห็นต้องรู้ความหมายทันที
การไปค้นหา ท่องจำว่า...อ่านยังไงนั้น ผิดธรรมชาติ
ให้จำรูปร่างตัวอักษรแล้วโยงเข้ากับความหมายก็พอ
ภาษาตาต้องจำด้วยตา ต้องเห็นบ่อยและแยกแยะได้
ตาจะจำได้ เฉพาะสิ่งที่เคยรู้จักหรืออธิบายได้เท่านั้น
เช่น...คนมักหลงป่า เพราะป่ามีรูปทรงอิสระ จำยาก
ถ้ารู้จักชื่อต้นไม้ ว่าต้นนี้รูปร่างอย่างนี้เคย อยู่ตรงนี้
ก็จะเริ่มจับจุดได้ แยกแยะสถานที่ได้ไม่เดินหลงทาง
วิธีจำคันจิ...ก็คล้ายกัน
ให้เอาคันจิที่ซับซ้อนยุ่งเหยิง...มาชำแหละ แยกแยะ
ให้เป็นส่วนย่อยๆ และตั้งชื่อให้หมด เมื่อรู้จักก็จะจำได้
เมื่อรู้จัก จำส่วนย่อยๆได้ จะเริ่มจำคันจิยาก ๆ ได้เอง
คันจิเป็นพันๆ ประกอบขึ้นจากส่วนย่อยแค่ร้อยกว่าตัว
ถ้าเป็นคู่แฝด ต้องหาใฝตำหนิให้เจอก่อนถึงจะจำได้
ถ้าเป็นตัวประหลาด ให้แยกจำเฉพาะส่วนที่ประหลาด
ฝึกเขียนเฉพาะส่วนที่ประหลาด ที่รู้จักแล้วไม่ต้องฝึก
ทั้งหมด...ให้จำโดยโยงเข้ากับความหมายเท่านั้น
....................................................................
ใช้หนังสือคันจิยิเตนระดับประถม ในการเรียนรู้ด้วย
(เราใช้ของญี่ปุ่นนะ หาซื้อได้ตามร้านหนังสือญี่ปุ่น)
เพื่ออ้างอิงการเขียนความหมาย และเสียงอ่านต่างๆ
มีคันจิพื้นฐานราว 1000 ตัว ที่ลำดับไว้ให้เรียนง่าย
อ่านหนังสือพิมพ์ หรือนิตยสาร ทุกวันให้บ่อยที่สุด
ไม่เข้าใจไม่เป็นไร คอยค้นหาตัวอักษรที่ไม่เคยเห็น
เราจะทำความคุ้นเคยรู้จักอักษรใหม่ ๆ ให้มากที่สุด
ล้ำหน้าไปโดยไม่สนใจวิธีเขียน หรือเสียงอ่านเลย
เมื่อทำบ่อย ๆ จะอ่านเข้าใจได้ แม้ไม่รู้เสียงอ่านก็ตาม
ก็ถือว่า...การอ่านสัมฤทธิ์ผลแล้วนะ คือคุณเข้าใจได้
ส่วนการอ่านออกเสียง...
ต้องมาจากคุณรู้เสียงอ่านของคำศัพท์นั้นอยู่ก่อนแล้วเท่านั้น
เช่น...
感動 ความรู้สึก/เคลื่อนไหว=ประทับใจ (รู้ความหมายทันทีเมื่อเห็น)
ประทับใจ=คันโด (ซึ่งเคยท่องไว้แล้ว) ดังนั้นก็จะอ่านได้โดยธรรมชาติ
การเอาคันจิมาท่องเสียงอ่านที่ไม่รู้จัก จะจำยากกว่าหรือจำไม่ได้เลย
เพราะ...เป็นนามธรรมทั้งคู่ ทั้งอักษร ทั้งเสียงอ่าน (ไม่เคยรู้จักทั้งคู่)
และตัวคันจิ ก็ไม่ได้ไกด์เสียงอ่านอะไรเลย ท่องไป 10 นาทีก็ลืมแล้ว
แต่ถ้าทำแบบข้างต้น ครั้งเดียวจำได้เลย และที่สำคัญกว่า...คือ
ตัวคันจิล้วน ๆ ได้ถูกแยกไปจำ อย่างละเอียดไว้ก่อนหน้าแล้ว
ทำให้จุดที่ยากที่สุด กลายเป็นจุดที่ง่ายที่สุดไปเสียแล้ว ตอนนี้
ยืนยันว่า...เราสามารถอ่านเข้าใจได้ โดยไม่ต้องรู้เสียงอ่าน
และจะรู้ความหมาย คำผสมในศัพท์ใหม่ ๆ ได้โดยอัตโนมัติ
บางที นี้คือวิธีใช้คันจิอย่างถูกต้อง ในแบบของจีนดังเดิม
ประเทศที่หลากหลายชนเผ่าหลายสำเนียง แต่เข้าใจกันได้
................................................................
เสียงอ่านจีน/ญี่ปุ่นนั้น เป็นภาษา"หู" ต้องจำด้วย"หู"
โดยฟังซ้ำ ๆ เอาเสียงโยงกับความหมาย ก็จะจำได้
ส่วนการเขียนนั้น...ไม่ต้องไปท่อง ให้จำด้วย "มือ"
คือ...เมื่อเขียนซ้ำ ๆ ไปตามลำดับ มือจะจำได้เอง
และจะไม่มีทางเขียนผิด ให้เขียนผิดวิธียากกว่าด้วย
................................................................
สุดท้าย...ต้องเชื่อมั่นว่าเราทำได้ และสนุกกับมัน
อักษรภาพ สนุกจะตาย สวยกว่า สื่อสารได้ดีกว่า
ถ้าไม่ดีจริง บริษัทต่าง ๆ หรือถนนจะใช้โลโก้ทำไม
ดูไอคอนหน้าคอมก็ได้ จดจำค้นหาง่ายกว่าเยอะนะ
ในชีวิตประจำวัน เราจดจำโลโก้สินค้า ป้ายจราจร
ได้เป็นพัน ๆ ตัว โดยไม่ต้องท่องจำ คันจิ...จิ๊บ ๆนะ
เพ้อเจ้อได้ยาวมาก...555
แค่นี้ก่อนนะ
ลองนำไปปรับใช้ดูนะ...แต่ห้ามนำไปเถียงครูนะ 555+
ความคิดเห็นที่ 9
1.เริ่มจากตัวรากอักษรพื้นฐานที่ใช้บ่อย ส่วนใหญ่จะแบ่งแยกอีกไม่ได้ (พวกBushuที่เขียนง่าย ๆ )...จำความหมาย
2.แยกตัวลูกอักษร...ส่วนใหญ่อยู่ตรงข้ามกับบูชุ ให้เป็นหน่วยย่อย ๆ (แยกแล้วจะไม่มีความหมาย)...ตั้งชื่อจากรูปทรงของมัน...แล้วจำ
สรุปง่าย ๆ ส่วนไหนรู้ความหมาย...ไม่ต้องแยก ส่วนไหนไม่รู้ต้องแยกให้เล็กพอที่จะจำได้ แล้วตั้งชื่อ(ส่วนนี้เป็นรายละเอียดเฉพาะบุคคลนะ)
ถ้าผ่านขั้นตอนนี้...บ่อย ๆ เราจะเริ่มเห็นว่า...อักษรส่วนใหญ่ ใช้วิธีเขียนซ้ำ ๆ กันของลูกอักษร วนไปมา ทีแปลกจริงๆมีไม่ถึง 5 เปอร์เซน
เรื่องของภาพ...
เส้นคันจิที่วุ่นวาย...แท้จริง มีแค่ 4 แบบ จุด เส้นนอน เส้นตั้ง เส้นเฉียง เพราะภู่กันเขียนเส้นโค้งยาก คำนี้ 口อักษรโบราณจะไม่เหลี่ยม
เส้นแนวตั้ง หรือแนวนอน จะซ้อนกันไม่เกิน 4 เส้น เกินจากนี้จะตาลายนะ เช่น 冊 目
อักษรผสมมักไม่เกิน 4 ตัว มากกว่านี้จะล้นกรอบนะ และส่วนใหญ่ แค่ 2 เอง (ดังนั้น...อย่าไปกลัว มันไม่เยอะอย่างที่คิดหรอก)
อักษรผสม 2 ตัว ส่วนใหญ่ ไกด์เสียงอ่านมาพร้อม มีมากถึง 80 เปอร์เซน เช่น 奸 竿 肝 汗 刊 干 อ่าน"คัง"หมดถ้ามีอีเสาไฟนี่
3.เอาทุกส่วนที่มีความหมาย หรือมีชื่อ มาผสมกันด้วยความหมาย โดยโยงเข้ากับความหมายจริงของคำ ๆ นั้น
เช่น 土 ....ไม้กางเขนปักพื้น นี่คือ....ดิน
寺 ....ดิน+ที่ติดมือ /ใช้ปั้นพระ นี่คือ....วัด
待 ....คน2คน+ที่วัด/นัดเจอกัน นี่คือ....คอย
持 ....มือ+วัด/ไปวัดอย่าไปมือป่าว นี่คือ....ถือ
特 ....วัว+วัด/วัดบ้าอะไรกินเนื้อ นี่คือ....พิเศษ
สังเกต...待 持 และ 特คล้ายกันมาก และส่วนใหญ่จะจำสลับไปมาตลอด ให้คัดให้ท่องก็จำไม่ได้ แต่เมื่อลงรหัส จากวันนี้คุณจะไม่มีทางลืม
(ตัวลูกอักษรที่ไม่รู้ความหมาย...ให้มั่วตามใจชอบเลย อะไรก็ได้ที่เราคุ้นเคย มันไม่สำคัญหรอก ตราบที่มันทำให้เราจำมันได้ จบ)
2.แยกตัวลูกอักษร...ส่วนใหญ่อยู่ตรงข้ามกับบูชุ ให้เป็นหน่วยย่อย ๆ (แยกแล้วจะไม่มีความหมาย)...ตั้งชื่อจากรูปทรงของมัน...แล้วจำ
สรุปง่าย ๆ ส่วนไหนรู้ความหมาย...ไม่ต้องแยก ส่วนไหนไม่รู้ต้องแยกให้เล็กพอที่จะจำได้ แล้วตั้งชื่อ(ส่วนนี้เป็นรายละเอียดเฉพาะบุคคลนะ)
ถ้าผ่านขั้นตอนนี้...บ่อย ๆ เราจะเริ่มเห็นว่า...อักษรส่วนใหญ่ ใช้วิธีเขียนซ้ำ ๆ กันของลูกอักษร วนไปมา ทีแปลกจริงๆมีไม่ถึง 5 เปอร์เซน
เรื่องของภาพ...
เส้นคันจิที่วุ่นวาย...แท้จริง มีแค่ 4 แบบ จุด เส้นนอน เส้นตั้ง เส้นเฉียง เพราะภู่กันเขียนเส้นโค้งยาก คำนี้ 口อักษรโบราณจะไม่เหลี่ยม
เส้นแนวตั้ง หรือแนวนอน จะซ้อนกันไม่เกิน 4 เส้น เกินจากนี้จะตาลายนะ เช่น 冊 目
อักษรผสมมักไม่เกิน 4 ตัว มากกว่านี้จะล้นกรอบนะ และส่วนใหญ่ แค่ 2 เอง (ดังนั้น...อย่าไปกลัว มันไม่เยอะอย่างที่คิดหรอก)
อักษรผสม 2 ตัว ส่วนใหญ่ ไกด์เสียงอ่านมาพร้อม มีมากถึง 80 เปอร์เซน เช่น 奸 竿 肝 汗 刊 干 อ่าน"คัง"หมดถ้ามีอีเสาไฟนี่
3.เอาทุกส่วนที่มีความหมาย หรือมีชื่อ มาผสมกันด้วยความหมาย โดยโยงเข้ากับความหมายจริงของคำ ๆ นั้น
เช่น 土 ....ไม้กางเขนปักพื้น นี่คือ....ดิน
寺 ....ดิน+ที่ติดมือ /ใช้ปั้นพระ นี่คือ....วัด
待 ....คน2คน+ที่วัด/นัดเจอกัน นี่คือ....คอย
持 ....มือ+วัด/ไปวัดอย่าไปมือป่าว นี่คือ....ถือ
特 ....วัว+วัด/วัดบ้าอะไรกินเนื้อ นี่คือ....พิเศษ
สังเกต...待 持 และ 特คล้ายกันมาก และส่วนใหญ่จะจำสลับไปมาตลอด ให้คัดให้ท่องก็จำไม่ได้ แต่เมื่อลงรหัส จากวันนี้คุณจะไม่มีทางลืม
(ตัวลูกอักษรที่ไม่รู้ความหมาย...ให้มั่วตามใจชอบเลย อะไรก็ได้ที่เราคุ้นเคย มันไม่สำคัญหรอก ตราบที่มันทำให้เราจำมันได้ จบ)
แสดงความคิดเห็น
ขอถามเรื่องการเรียน Kanji ด้วยตัวเองครับ
เมื่อไหร่ถึงจะสมควรเริ่มเรียนคันจิครับ
วันนี้ลองๆไปเดินดูหนังสือสอนคันจิ ลองอ่านๆดูแล้วเหมือนว่าต้องมีพื้นฐานพอสมควร
เลยอยากทราบว่าต้องมีพื้นฐานระดับไหน
จบมินนะกี่เล่ม ถึงจะเริ่มต้นได้ครับ