ถ้าคุณกำลังเตรียมตัวสมัครสอบโครงการเรือเยาวชนเอเชียอาคเนย์อยู่ หวังว่าสิ่งที่คุณกำลังจะอ่านต่อไปนี้คงพอจะเป็นประโยชน์ในการสอบของคุณบ้างนะคะ เนื่องจากตอนที่ตัวเองกำลังจะสมัครสอบก็SearchในInternetไปเรื่อยเพราะไม่รู้เรื่องรู้ราวอะไรเลย พอได้อ่านจากที่พี่ๆรุ่นก่อนเค้าเขียนไว้ก็เลยนึกออกคร่าวๆว่ามันจะประมาณไหนบวกกับมีเพื่อนที่เคยไปโครงการนี้มา(ขอขอบคุณรุ่นพี่เหล่านั้นและเพื่อนกากของอิชั้นมา ณ ที่นี้) เลยตั้งใจว่าถ้าหากสอบผ่านได้ไปโครงการนี้จะกลับมาเขียนให้คนอื่นอ่านบ้างเผื่อจะเป็นประโยชน์แก่สาธุชน และนี้ก็เป็นการเขียนกระทู้ครั้งแรกเพื่อการนี้เลยทีเดียว
การสอบโครงการเรือเยาชนเอเชียอาคเนย์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ผู้แทนจังหวัดและบุคคลทั่วไป อายุตั้งแต่ 18-30 ปี (รายละเอียดในการรับสมัครก็Searchดูในประกาศรับสมัครปีก่อนๆก็ได้ค่ะ(เข้าไปที่เวปของ สท. www.opp.go.th รับสมัครประมาณช่วงเดือนมีนาหรือเมษา) ขอข้ามการสอบด่านแรกซึ่งก็คือการสอบข้อเขียนภาษาอังกฤษสำหรับประเภทบุคคลทั่วไปและการสอบสัมภาษณ์ประเภทผู้แทนจังหวัดไปเลยนะคะ เราจะพูดถึงการสอบสัมภาษณ์รอบสุดท้าย(ก็คือคนที่ผ่านข้อเขียนหรือผ่านสัมภาษณ์ในระดับจังหวัดมาได้) ประมาณว่าเล่าสู่กันฟังแล้วกันนะคะ
ก่อนอื่นการสอบสัมภาษณ์ควรเตรียมว่าจะแนะนำตัวอย่างไร(ควรเป็นภาษาอังกฤษ) เอาแบบกระชับมีประเด็นที่ต้องการบอกครบ จบพอ อย่ายาวเยิ่นเย้อ ต่อมาคือความมั่นใจ ต้องมี!!! อย่าไปเงอะๆงะๆ และทำตัวเป็นธรรมชาติ เป็นตัวของตัวเองในแบบที่คุณคิดว่าเหมาะสม อันดับต่อมาคือภาษาอังกฤษ เพราะเวลาที่คุณอยู่กับเพื่อนๆบนเรือหลากหลายเชื้อชาติหรือทำกิจกรรมต่างๆจำเป็นต้องใช้ภาษาอังกฤษค่ะ แต่อย่าได้แอบเซ็งหรือล้มเลิกความตั้งใจในการสอบเลยนะคะ ลองดูซักครั้งไม่ได้ก็ไม่เห็นเป็นไรแต่ถ้าได้ขึ้นมาขอบอกว่า “ความหรรษารอคุณอยู่” คุณไม่จำเป็นต้องฝอยได้จนไฟแลบ สำเนียงไม่ต้องส่งตรงมาจากแมนแฮ๊ตอึ้น New York ก็ได้ ขอแค่สื่อสารพอรู้เรื่องนั่นก็โอเคแล้ว และแน่นอนที่ขาดไม่ได้คือแสดงให้กรรมการเห็นว่าเรามีศักยภาพและความสามารถอย่างไรบ้าง ทำกิจกรรมอะไรมาบ้าง (ไม่จำเป็นต้องเป็นกิจกรรมในสถานศึกษาก็ได้นะ อะไรก็ได้ที่คิดว่านี่แหล่ะถนัด ทำได้ เก๋ไก๋โดดเด่น ว่ากันไป)อาจจะเตรียมผลงานไปโชว์หรือแสดงความสามารถพิเศษ(ซึ่งไม่จำเป็นเพราะบางคนที่สอบผ่านก็ไม่ได้แสดงความสามาถพิเศษ แต่อาจจะเข้ามาได้ด้วยกึ๋นอะไรซักอย่าง เช่น ทักษะในการพูดอาจจะดีเริ่ดทะลุฟ้า มีลูกล่อลูกชน) เอาเป็นว่าเรื่องความสามารถนี่ไม่มีแบบแผนตายตัวค่ะ แล้วแต่มุมมองในการประเมินของกรรมการด้วย ตอนที่ตัวเองจะสอบนั้นก็เกิดความอึนค่ะ เพราะความสามารถของอิชั้นคือการเล่นกลองชุด(แล้วตรูจะแบกไปโชว์ยังไงค๊า)เลยโชว์คลิปที่เล่นดนตรีแต่สิ่งนี้เป็นแค่ตัวช่วยเสริมค่ะ(เพราะเปิดคลิปให้กรรมการดูตอนก่อนจะออกจากห้องสัมภาษณ์แค่แป๊บเดียว)ก่อนหน้านั้นก็เล่ากิจกรรมที่เคยทำ บลาๆๆ ไก่กาของเราไป สำหรับคำถามที่กรรมการจะถามบอกตรงๆว่ามีเป็นร้อยแปดพันประการ ไม่รู้จะแนะนำทุกท่านยังไง เอาเป็นว่าตอนที่อิชั้นเตรียมตัวก็อ่านข่าวอ่านข้อมูลทั่วไปของอาเซียน ส่วนมากกรรมการมักจะถามให้เราแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องนั้นๆมากกว่า ดูมุมมองดูไอเดียของเรา ไม่ได้ถามตรงๆว่าอาเซียนมีกี่ประเทศ ถ้าแบบนี้ก็ดูไก่กาเกินไป บางทีก็ไม่ได้ถามเกี่ยวกับอาเซียนเลย ยกตัวอย่างคำถามที่ตัวเองถูกถามเช่น ถ้าจะบอกคนอื่นว่าสิ่งที่ดีที่สุดของประเทศไทยคืออะไร คุณจะบอกว่า... หรือ งานวิจัยของคุณอธิบายประเด็นทางสังคมยังไง เป็นต้น แต่ก็ควรจะให้เวลากับการหาความรู้รอบตัวหน่อยเช่นความรู้ทั่วไปก็ควรใช้ระยะเวลาประมาณนึงในการอ่านหรือดูข่าว ท้ายนี้อยากบอกว่า คนที่สอบผ่านอาจจะไม่ใช่คนเก่งก็ได้แต่เขามีความพร้อมและมีความเหมาะสมกับโครงการนี้ สิ่งที่ต้องทำคือมีสติ เมื่อมีสติความประหม่าก็จะลดลงทำให้เราแสดงศักยภาพของเราได้อย่างเต็มที่ แล้วโอกาสดีๆก็จะเป็นของคุณ ขอให้โชคดีค่ะ
เตรียมตัวสอบสัมภาษณ์โครงการเรือเยาวชนเอเชียอาคเนย์ (SSEAYP)
การสอบโครงการเรือเยาชนเอเชียอาคเนย์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ผู้แทนจังหวัดและบุคคลทั่วไป อายุตั้งแต่ 18-30 ปี (รายละเอียดในการรับสมัครก็Searchดูในประกาศรับสมัครปีก่อนๆก็ได้ค่ะ(เข้าไปที่เวปของ สท. www.opp.go.th รับสมัครประมาณช่วงเดือนมีนาหรือเมษา) ขอข้ามการสอบด่านแรกซึ่งก็คือการสอบข้อเขียนภาษาอังกฤษสำหรับประเภทบุคคลทั่วไปและการสอบสัมภาษณ์ประเภทผู้แทนจังหวัดไปเลยนะคะ เราจะพูดถึงการสอบสัมภาษณ์รอบสุดท้าย(ก็คือคนที่ผ่านข้อเขียนหรือผ่านสัมภาษณ์ในระดับจังหวัดมาได้) ประมาณว่าเล่าสู่กันฟังแล้วกันนะคะ
ก่อนอื่นการสอบสัมภาษณ์ควรเตรียมว่าจะแนะนำตัวอย่างไร(ควรเป็นภาษาอังกฤษ) เอาแบบกระชับมีประเด็นที่ต้องการบอกครบ จบพอ อย่ายาวเยิ่นเย้อ ต่อมาคือความมั่นใจ ต้องมี!!! อย่าไปเงอะๆงะๆ และทำตัวเป็นธรรมชาติ เป็นตัวของตัวเองในแบบที่คุณคิดว่าเหมาะสม อันดับต่อมาคือภาษาอังกฤษ เพราะเวลาที่คุณอยู่กับเพื่อนๆบนเรือหลากหลายเชื้อชาติหรือทำกิจกรรมต่างๆจำเป็นต้องใช้ภาษาอังกฤษค่ะ แต่อย่าได้แอบเซ็งหรือล้มเลิกความตั้งใจในการสอบเลยนะคะ ลองดูซักครั้งไม่ได้ก็ไม่เห็นเป็นไรแต่ถ้าได้ขึ้นมาขอบอกว่า “ความหรรษารอคุณอยู่” คุณไม่จำเป็นต้องฝอยได้จนไฟแลบ สำเนียงไม่ต้องส่งตรงมาจากแมนแฮ๊ตอึ้น New York ก็ได้ ขอแค่สื่อสารพอรู้เรื่องนั่นก็โอเคแล้ว และแน่นอนที่ขาดไม่ได้คือแสดงให้กรรมการเห็นว่าเรามีศักยภาพและความสามารถอย่างไรบ้าง ทำกิจกรรมอะไรมาบ้าง (ไม่จำเป็นต้องเป็นกิจกรรมในสถานศึกษาก็ได้นะ อะไรก็ได้ที่คิดว่านี่แหล่ะถนัด ทำได้ เก๋ไก๋โดดเด่น ว่ากันไป)อาจจะเตรียมผลงานไปโชว์หรือแสดงความสามารถพิเศษ(ซึ่งไม่จำเป็นเพราะบางคนที่สอบผ่านก็ไม่ได้แสดงความสามาถพิเศษ แต่อาจจะเข้ามาได้ด้วยกึ๋นอะไรซักอย่าง เช่น ทักษะในการพูดอาจจะดีเริ่ดทะลุฟ้า มีลูกล่อลูกชน) เอาเป็นว่าเรื่องความสามารถนี่ไม่มีแบบแผนตายตัวค่ะ แล้วแต่มุมมองในการประเมินของกรรมการด้วย ตอนที่ตัวเองจะสอบนั้นก็เกิดความอึนค่ะ เพราะความสามารถของอิชั้นคือการเล่นกลองชุด(แล้วตรูจะแบกไปโชว์ยังไงค๊า)เลยโชว์คลิปที่เล่นดนตรีแต่สิ่งนี้เป็นแค่ตัวช่วยเสริมค่ะ(เพราะเปิดคลิปให้กรรมการดูตอนก่อนจะออกจากห้องสัมภาษณ์แค่แป๊บเดียว)ก่อนหน้านั้นก็เล่ากิจกรรมที่เคยทำ บลาๆๆ ไก่กาของเราไป สำหรับคำถามที่กรรมการจะถามบอกตรงๆว่ามีเป็นร้อยแปดพันประการ ไม่รู้จะแนะนำทุกท่านยังไง เอาเป็นว่าตอนที่อิชั้นเตรียมตัวก็อ่านข่าวอ่านข้อมูลทั่วไปของอาเซียน ส่วนมากกรรมการมักจะถามให้เราแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องนั้นๆมากกว่า ดูมุมมองดูไอเดียของเรา ไม่ได้ถามตรงๆว่าอาเซียนมีกี่ประเทศ ถ้าแบบนี้ก็ดูไก่กาเกินไป บางทีก็ไม่ได้ถามเกี่ยวกับอาเซียนเลย ยกตัวอย่างคำถามที่ตัวเองถูกถามเช่น ถ้าจะบอกคนอื่นว่าสิ่งที่ดีที่สุดของประเทศไทยคืออะไร คุณจะบอกว่า... หรือ งานวิจัยของคุณอธิบายประเด็นทางสังคมยังไง เป็นต้น แต่ก็ควรจะให้เวลากับการหาความรู้รอบตัวหน่อยเช่นความรู้ทั่วไปก็ควรใช้ระยะเวลาประมาณนึงในการอ่านหรือดูข่าว ท้ายนี้อยากบอกว่า คนที่สอบผ่านอาจจะไม่ใช่คนเก่งก็ได้แต่เขามีความพร้อมและมีความเหมาะสมกับโครงการนี้ สิ่งที่ต้องทำคือมีสติ เมื่อมีสติความประหม่าก็จะลดลงทำให้เราแสดงศักยภาพของเราได้อย่างเต็มที่ แล้วโอกาสดีๆก็จะเป็นของคุณ ขอให้โชคดีค่ะ