เมื่อเธอนั้นอยากออกทะเล!!! : ข้อพิพาทระหว่างชิลีและโบลิเวีย
เมื่อวันที่ 18 ก.พ. 2554 ปธน. Evo Morales แห่งโบลิเวีย ได้ให้สัมภาษณ์เนื่องในโอกาสครบรอบวันแห่งทะเล (Day of Sea) ของโบลิเวียในวันที่ 23 มี.ค. ที่จะถึงนี้ โดยแสดงความหวังว่า ชิลีจะสามารถกำหนดแนวทาง/แผนปฏิบัติการที่ชัดเจนและมีความคืบหน้าเกี่ยวกับข้อเรียกร้องการมีทางออกสู่ทะเลของโบลิเวียได้โดยเร็ว
ทั้งนี้ รมว. กต. ชิลี กล่าวตอบโต้ว่า รัฐบาลชิลีดำเนินการในประเด็นดังกล่าวโดยคำนึงถึงผลลัพธ์เป็นหลัก จึงไม่อาจระบุผลลัพธ์โดยมีวันที่เป็นตัวกำหนดได้ อีกทั้ง ปัญหาทางออกทะเลถือเป็นความรับผิดชอบร่วมของทั้งสองฝ่าย มิใช่ของชิลีเพียงฝ่ายเดียว ขณะที่ ประธานคณะ กมธ. ต่างประเทศ วุฒิสภา และสส. ชิลี บางรายแสดงความไม่พอใจต่อท่าทีเรียกร้องของโบลิเวีย โดยถือว่าเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ และเสนอให้ระงับกระบวนการเจรจาเรื่องเขตแดนทางทะเลกับโบลิเวีย
แม้จะมีการหารือร่วมกันของผู้บริหารระดับสูงของทั้งสองประเทศมาโดยตลอด แต่การแก้ไขปัญหาทางออกทะเลของโบลิเวียยังคงไม่มีแนวทางที่ชัดเจน เนื่องจากรัฐบาล ปธน. Sebastian Piñera ของชิลี ซึ่งแม้จะไม่คัดค้านข้อเรียกร้องของโบลิเวีย แต่ยังคงพะวังกับปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะเสถียรภาพและความมั่นคงของประเทศ ที่ในขณะนี้ชิลีกำลังดำเนินนโยบายส่งเสริมความมั่นคงตามแนวชายแดนเพื่อป้องกันปัญหาจากการลักลอบเข้าเมืองจากประเทศเพื่อนบ้านที่ยากจนกว่า อาทิ โบลิเวีย ปารากวัย และเปรู ซึ่งได้เข้ามาสร้างปัญหาอาชญากรรม การลักลอบค้ายาเสพติดและกิจกรรมผิดกฏหมาย อีกทั้ง หากการให้ทางออกทะเลแก่โบลิเวียเป็นไปในลักษณะเปิดกว้าง (open-ended) อาจเป็นการกระตุ้นให้โบลิเวียเกิดความทะเยอทะยานอยากได้ดินแดนที่เคยสูญเสียไปกลับคืน***
อย่างไรก็ดี ปธน. Piñera แสดงความพร้อมให้ความร่วมมือในการแก้ปัญหาทางออกทะเล และยินดีอำนวยความสะดวกด้านการค้าให้แก่โบลิเวียผ่านท่าเรือต่างๆ ที่มีอยู่ ภายใต้เงื่อนไขบางประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเคารพอธิปไตยของชิลีและไม่มีการดำเนินการที่นำไปสู่การแบ่งแยกดินแดนของชิลี ทั้งนี้ เมื่อปลายปี 2553 ชิลีประกาศให้ท่าเรือในภูมิภาค Arica และ Antofagasta (ทางตอนเหนือของชิลีซึ่งติดกับเปรูและโบลิเวีย) เป็นจุดบริการหรือจุดผ่านทางการค้าระหว่างโบลิเวียกับประเทสอื่นๆ ทั่วโลก กำลังดำเนินการก่อสร้างทางรถไฟระหว่างกรุงลาปาซ เมืองหลวงของโบลิเวียกับเมือง Arica ของชิลี
*** ในสงครามแปซิฟิกระหว่างปี 1879-1883 ชิลีได้รับชัยชนะและได้ดินแดนบางส่วนของเปรูและโบลิเวีย ซึ่งรวมถึงทางออกทะเลของโบลิเวียด้วย (ปัจจุบันคือภูมิภาค Antofagasta ของชิลี) ความล้มเหลวในการเจรจาเรื่อทางออกทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกนำไปสุ่การตัดความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างชิงลีแลโบลิเวียในปี 1978 จนถึงในปี 2006 นาง Michelle Bachelet ปธน. ชิลีในขณะนั้น และ ปธน. Evo Morales ของโบลิเวีย ได้พยายามเริ่มฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างกัน โดยเห็นชอบร่วมที่จะส่งเสริมความร่วมมือกันในประเด็นทวิภาคี 13 ข้อ รวมถึงปัญหาทางออกสู่มหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งโบลิเวียประสงค์จะใช้เป็นช่องทางขยายตลาดการค้าไปยังเอเชีย โดยจะสามารถลดระยะทางการขนส่งถึงร้อยละ 40
http://aspa.mfa.go.th/aspa/th/regional_issues/detail.php?ID=949
โบลิเวียให้คำมั่นว่าจะนำกรณีพิพาทเรื่องพรมแดนกับชิลีขึ้นสู่ศาลโลก
ประธานาธิบดีโบลิเวียกล่าววานนี้ ตามเวลาท้องถิ่นว่า เขาจะยื่นฟ้องชิลีต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ในอีกไม่กี่วันข้างหน้า เกี่ยวกับการอ้างสิทธิ์เพื่อเข้าสู่ทะเล ซึ่งโบลิเวียต้องสูญเสียไปในการทำสงครามเมื่อศตวรรษที่ 19
ระหว่างการจัดพิธี “เดย์ ออฟ เดอะ ซี” เพื่อรำลึกเหตุการณ์สงครามซึ่งทำให้โบลิเวียต้องสูญเสียดินแดนชายฝั่งทะเลให้กับชิลี จนทำให้โบลิเวียกลายเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกทะเล ประธานาธิบดีอีโว โมราเลส แห่งโบลิเวียกล่าวว่า เขาหวังจะแก้ปัญหาข้อพิพาทดังกล่าวผ่านกลไกแห่งสันติภาพ ซึ่งนายโมราเลสเคยกล่าวในลักษณะคล้ายกันนี้เมื่อ 2 ปีที่แล้ว ทั้งนี้ ทั้งสองประเทศได้จำกัดความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน และความตึงเครียดระหว่างทั้ง 2 ฝ่ายเพิ่มขึ้นเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา หลังชิลีจับกุมทหารโบลิเวีย 3 นายนอกพรมแดนชิลี และเมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา นายโมราเลสกล่าวว่า การเจรจาทวิภาคีกับชิลีเกี่ยวกับข้อพิพาทเรื่องพรมแดน เป็นการ “เสียเวลาเปล่า”
http://thainews.prd.go.th/centerweb/news/NewsDetail?NT01_NewsID=WNFOR5603240020016
ดูจากภาพแล้วโบลิเวียค่อนข้างน่าสงสารไม่น้อย เสียดินแดนไปหลายส่วนมาก คล้ายกับประเทศไทยในสมัยล่าอาณานิคม
แต่กระนั้นโบลิเวียจะเอาดินแดนคืนจากชิลีได้เหรอ ในเมื่อทำสนธิสัญญากันถูกต้อง และโบลิเวียไม่เคยทักท้วงอะไรมากว่าร้อยปี แล้วจู่ๆจะขอคืน ชิลีคงจะคืนให้หรอก
ก็ไม่รู้โบลิเวียนึกอีท่าไหนจึงจะไปฟ้องศาลโลก ในเมื่อมันไม่มีวี่แววว่าจะชนะได้เลย แถมถ้าโบลิเวียเกิดชนะคดี คราวนี้คงวุ่นกันไปทั้งโลก จีนคงฟ้องเรียกดินแดนส่วนต่างๆคืนจากรัสเซีย เม็กซิโกคงฟ้องเรียกดินแดนคืนจากอเมริกา ไทยคงฟ้องเรียกดินแดนคืนจากฝรั่งเศส (ลาว เขมร)
***โบลิเวียปัจจุบันมีพื้นที่ 1,098,580 ตารางกิโลเมตร รึประมาณ 2 เท่าของประเทศไทย
กรณีพิพาทโบลิเวีย-ชิลี
เมื่อวันที่ 18 ก.พ. 2554 ปธน. Evo Morales แห่งโบลิเวีย ได้ให้สัมภาษณ์เนื่องในโอกาสครบรอบวันแห่งทะเล (Day of Sea) ของโบลิเวียในวันที่ 23 มี.ค. ที่จะถึงนี้ โดยแสดงความหวังว่า ชิลีจะสามารถกำหนดแนวทาง/แผนปฏิบัติการที่ชัดเจนและมีความคืบหน้าเกี่ยวกับข้อเรียกร้องการมีทางออกสู่ทะเลของโบลิเวียได้โดยเร็ว
ทั้งนี้ รมว. กต. ชิลี กล่าวตอบโต้ว่า รัฐบาลชิลีดำเนินการในประเด็นดังกล่าวโดยคำนึงถึงผลลัพธ์เป็นหลัก จึงไม่อาจระบุผลลัพธ์โดยมีวันที่เป็นตัวกำหนดได้ อีกทั้ง ปัญหาทางออกทะเลถือเป็นความรับผิดชอบร่วมของทั้งสองฝ่าย มิใช่ของชิลีเพียงฝ่ายเดียว ขณะที่ ประธานคณะ กมธ. ต่างประเทศ วุฒิสภา และสส. ชิลี บางรายแสดงความไม่พอใจต่อท่าทีเรียกร้องของโบลิเวีย โดยถือว่าเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ และเสนอให้ระงับกระบวนการเจรจาเรื่องเขตแดนทางทะเลกับโบลิเวีย
แม้จะมีการหารือร่วมกันของผู้บริหารระดับสูงของทั้งสองประเทศมาโดยตลอด แต่การแก้ไขปัญหาทางออกทะเลของโบลิเวียยังคงไม่มีแนวทางที่ชัดเจน เนื่องจากรัฐบาล ปธน. Sebastian Piñera ของชิลี ซึ่งแม้จะไม่คัดค้านข้อเรียกร้องของโบลิเวีย แต่ยังคงพะวังกับปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะเสถียรภาพและความมั่นคงของประเทศ ที่ในขณะนี้ชิลีกำลังดำเนินนโยบายส่งเสริมความมั่นคงตามแนวชายแดนเพื่อป้องกันปัญหาจากการลักลอบเข้าเมืองจากประเทศเพื่อนบ้านที่ยากจนกว่า อาทิ โบลิเวีย ปารากวัย และเปรู ซึ่งได้เข้ามาสร้างปัญหาอาชญากรรม การลักลอบค้ายาเสพติดและกิจกรรมผิดกฏหมาย อีกทั้ง หากการให้ทางออกทะเลแก่โบลิเวียเป็นไปในลักษณะเปิดกว้าง (open-ended) อาจเป็นการกระตุ้นให้โบลิเวียเกิดความทะเยอทะยานอยากได้ดินแดนที่เคยสูญเสียไปกลับคืน***
อย่างไรก็ดี ปธน. Piñera แสดงความพร้อมให้ความร่วมมือในการแก้ปัญหาทางออกทะเล และยินดีอำนวยความสะดวกด้านการค้าให้แก่โบลิเวียผ่านท่าเรือต่างๆ ที่มีอยู่ ภายใต้เงื่อนไขบางประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเคารพอธิปไตยของชิลีและไม่มีการดำเนินการที่นำไปสู่การแบ่งแยกดินแดนของชิลี ทั้งนี้ เมื่อปลายปี 2553 ชิลีประกาศให้ท่าเรือในภูมิภาค Arica และ Antofagasta (ทางตอนเหนือของชิลีซึ่งติดกับเปรูและโบลิเวีย) เป็นจุดบริการหรือจุดผ่านทางการค้าระหว่างโบลิเวียกับประเทสอื่นๆ ทั่วโลก กำลังดำเนินการก่อสร้างทางรถไฟระหว่างกรุงลาปาซ เมืองหลวงของโบลิเวียกับเมือง Arica ของชิลี
*** ในสงครามแปซิฟิกระหว่างปี 1879-1883 ชิลีได้รับชัยชนะและได้ดินแดนบางส่วนของเปรูและโบลิเวีย ซึ่งรวมถึงทางออกทะเลของโบลิเวียด้วย (ปัจจุบันคือภูมิภาค Antofagasta ของชิลี) ความล้มเหลวในการเจรจาเรื่อทางออกทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกนำไปสุ่การตัดความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างชิงลีแลโบลิเวียในปี 1978 จนถึงในปี 2006 นาง Michelle Bachelet ปธน. ชิลีในขณะนั้น และ ปธน. Evo Morales ของโบลิเวีย ได้พยายามเริ่มฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างกัน โดยเห็นชอบร่วมที่จะส่งเสริมความร่วมมือกันในประเด็นทวิภาคี 13 ข้อ รวมถึงปัญหาทางออกสู่มหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งโบลิเวียประสงค์จะใช้เป็นช่องทางขยายตลาดการค้าไปยังเอเชีย โดยจะสามารถลดระยะทางการขนส่งถึงร้อยละ 40
http://aspa.mfa.go.th/aspa/th/regional_issues/detail.php?ID=949
โบลิเวียให้คำมั่นว่าจะนำกรณีพิพาทเรื่องพรมแดนกับชิลีขึ้นสู่ศาลโลก
ประธานาธิบดีโบลิเวียกล่าววานนี้ ตามเวลาท้องถิ่นว่า เขาจะยื่นฟ้องชิลีต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ในอีกไม่กี่วันข้างหน้า เกี่ยวกับการอ้างสิทธิ์เพื่อเข้าสู่ทะเล ซึ่งโบลิเวียต้องสูญเสียไปในการทำสงครามเมื่อศตวรรษที่ 19
ระหว่างการจัดพิธี “เดย์ ออฟ เดอะ ซี” เพื่อรำลึกเหตุการณ์สงครามซึ่งทำให้โบลิเวียต้องสูญเสียดินแดนชายฝั่งทะเลให้กับชิลี จนทำให้โบลิเวียกลายเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกทะเล ประธานาธิบดีอีโว โมราเลส แห่งโบลิเวียกล่าวว่า เขาหวังจะแก้ปัญหาข้อพิพาทดังกล่าวผ่านกลไกแห่งสันติภาพ ซึ่งนายโมราเลสเคยกล่าวในลักษณะคล้ายกันนี้เมื่อ 2 ปีที่แล้ว ทั้งนี้ ทั้งสองประเทศได้จำกัดความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน และความตึงเครียดระหว่างทั้ง 2 ฝ่ายเพิ่มขึ้นเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา หลังชิลีจับกุมทหารโบลิเวีย 3 นายนอกพรมแดนชิลี และเมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา นายโมราเลสกล่าวว่า การเจรจาทวิภาคีกับชิลีเกี่ยวกับข้อพิพาทเรื่องพรมแดน เป็นการ “เสียเวลาเปล่า”
http://thainews.prd.go.th/centerweb/news/NewsDetail?NT01_NewsID=WNFOR5603240020016
ดูจากภาพแล้วโบลิเวียค่อนข้างน่าสงสารไม่น้อย เสียดินแดนไปหลายส่วนมาก คล้ายกับประเทศไทยในสมัยล่าอาณานิคม
แต่กระนั้นโบลิเวียจะเอาดินแดนคืนจากชิลีได้เหรอ ในเมื่อทำสนธิสัญญากันถูกต้อง และโบลิเวียไม่เคยทักท้วงอะไรมากว่าร้อยปี แล้วจู่ๆจะขอคืน ชิลีคงจะคืนให้หรอก
ก็ไม่รู้โบลิเวียนึกอีท่าไหนจึงจะไปฟ้องศาลโลก ในเมื่อมันไม่มีวี่แววว่าจะชนะได้เลย แถมถ้าโบลิเวียเกิดชนะคดี คราวนี้คงวุ่นกันไปทั้งโลก จีนคงฟ้องเรียกดินแดนส่วนต่างๆคืนจากรัสเซีย เม็กซิโกคงฟ้องเรียกดินแดนคืนจากอเมริกา ไทยคงฟ้องเรียกดินแดนคืนจากฝรั่งเศส (ลาว เขมร)
***โบลิเวียปัจจุบันมีพื้นที่ 1,098,580 ตารางกิโลเมตร รึประมาณ 2 เท่าของประเทศไทย