คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
雍正 ที่ถูกต้องอ่านว่า "ยงเจิ้ง" (Yōngzhèng) ครับ ผมเห็นหลายที่ออกเสียงผิดเป็น "หย่งเจิ้น" ประจำเลย
จักรพรรดิยงเจิ้ง หรือ ชิงซื่อจง (清世宗) เป็นจักรพรรดิที่ทรงงานหนัก ปราบปรามการทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวงอย่างรุนแรง และยังทรงปรับปรุงระบบการปกครองหลายประหารที่เป็นคุณต่อแผ่นดินหลายอย่าง

พระองค์ก่อตั้งจวินจีชู่ (軍機處) หรือสภาบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางในการกำหนดนโยบายบริหารประเทศ ทำให้ทรงควบคุมการบริหารไว้ได้มั่นคงมากขึ้น ปรับปรุงระบบคัดเลือกคนเข้ารับราชการโดยอ้างอิงตามความต้องการและลำดับความสำคัญของแต่ละพื้นที่เพื่อให้สามารถจัดหาผู้มีคุณสมบัติที่เหมาะสม ปฏิรูปการเก็บภาษีจากเดิมที่เป็นภาษีรายบุคคลมาเป็นตามหน่วยที่ดินเป็นหลักเพื่อลดภาระของราษฎร ส่งเสริมการเกษตรด้วยการกระตุ้นให้ขุนนางท้องถิ่นซื้อที่นาโดยจะได้รับการงดเว้นภาษีในช่วงเวลาที่กำหนด ทำให้มีการบุกเบิกที่นาใหม่และเก็บเกี่ยวผลผลิตได้มหาศาล นอกจากนี้ยังเปิดกว้างให้ชนกลุ่มน้อยมีโอกาสสอบเข้ารับราชการ ก่อตั้งสถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้าในทุกอำเภอ ยกเลิกอภิสิทธิ์ละเว้นความผิดของบัณฑิต
ทรงลิดรอนอำนาจชนกลุ่มน้อยในแถบกว่างซี อวิ๋นหนาน กุ้ยโจว โดยส่งคนจากส่วนกลางไปปกครองทำให้มีเสถียรภาพในการปกครองมากขึ้น ในอีกแง่หนึ่งเป็นการลิดรอนอิทธิพลของขุนนางและส่งเสริมให้ราชสำนักส่วนกลางมีอำนาจมากขึ้น

อีกด้านหนึ่ง พระองค์เป็นผู้ปกครองที่เด็ดขาดดึงอำนาจรวมศูนย์มาก ปราบปรามศัตรูทางการเมืองที่อาจคุกคามต่อพระองค์อย่างรุนแรงแม้ว่าจะเป็นพี่น้องอย่างรุนแรงเพื่อรักษาพระราชอำนาจ ในบรรดาพี่น้องที่มีอายุพอสมควร นอกจากองค์ชายสิบสามอิ้นเสียง (胤祥) ซึ่งเป็นคนของพระองค์แล้ว องค์ชายองค์อื่นอย่างองค์สาม องค์ชายแปด องค์ชายเก้า องค์ชายสิบ องค์ชายสิบสี่ ถูกจำคุก กักบริเวณ ถอดยศ หมดอำนาจโดยสิ้นเชิง ขุนนางที่ช่วยสนับสนุนให้พระองค์ได้บัลลังก์อย่างเหนียนเกิงเหยา (年羹堯) หรือหลงเคอตัว (隆科多) ภายหลังเมื่อมีอำนาจเริ่มทำตัวกร่างจนถูกจักรพรรดิยงเจิ้งระแวง จึงถูกตั้งข้อหากำจัดทิ้งเช่นเดียวกัน
จักรพรรดิยงเจิ้งยังควบคุมการเผยแพร่งานเขียนที่อาจเป็นภัยต่อราชสำนัก โดยเฉพาะงานเขียนที่ต่อต้านชาวแมนจูอย่างรุนแรง มีกรณีของหลี่ว์หลิวเหลียง (呂留良) บัณทิตชาวฮั่นที่มีชีวิตอยู่ในช่วงราชวงศ์หมิงล่มสลายและเขียนงานเขียนต่อต้านราชวงศ์ชิงหลายชิ้น หลังจากหลี่ว์หลิวเหลียงตายไปแล้ว ในรัชกาลยงเจิ้ง เจิ๋งจิ้ง (曾靜) ซึ่งได้รับอิทธิพลทฤษฎี "บทวิจารณ์การแบ่งชนชั้นชาวจีนกับชนเผ่าอื่น" ของหลี่ว์หลิวเหลียงพยายามก่อกบฏแต่ล้มเหลว
จักรพรรดิยงเจิ้งให้อภัยโทษและเกลี้ยกล่อมให้เจิ๋งจิ้งล้มเลิกความคิดต่อต้านแมนจู (แต่ภายหลังเจิ๋งจิ้งถูกประหารในรัชกาลเฉียนหลง) แต่พระองค์แสดงความเด็ดขาดด้วยการให้ขุดศพหลี่หลิวเหลียงกับบุตรชายที่ตายไปแล้วมาสับเป็นชิ้นๆ บุตรชายคนหนึ่งถูกประหาร หลายชายถูกเนรเทศ ครอบครัวฝ่ายหญิงถูกจับเป็นทาส บรรดาลูกศิษย์ก็พลอยติดร่างแหไปอีกมาก และสั่งห้ามเผยแพร่งานเขียนของหลี่ว์หลิวเหลียง เป็นหนึ่งในการใช้ความโหดในการปกครองเพื่อให้พระองค์สามารถปกครองได้อย่างมั่นคงมากขึ้น จักรพรรดิยงเจิ้งยังพระราชนิพนธ์ "ต้าอี้เจวี๋ยหมีลู่"《大義覺迷錄》 เพื่อตอบโต้ทฤษฎีของหลี่ว์หลิวเหลียงด้วย
ธรรมชาติของมนุษย์ย่อมมีทั้งด้านที่ดีและไม่ดีอยู่ในตัวเอง และมีมิติหลากหลายจนยากจะสรุปแค่ว่าเป็นคนดีหรือไม่ดี ความดีเองก็เป็นอัตวิสัยที่เปลี่ยนแปลงได้ไปตามมุมมอง ทัศนคติ และประสบการณ์ของแต่ละบุคคล การกระทำหนึ่งอาจถูกคนกลุ่มหนึ่งมองว่าเป็นสิ่งที่ดีในขณะที่คนกลุ่มหนึ่งมองว่าไม่ดีก็ได้เหมือนกันครับ
ดังนั้นเมื่อเราศึกษาเกี่ยวกับบุคคลในประวัติศาสตร์เราควรจะมองถึงบุคคลนั้นอย่างเป็นมนุษย์ที่มีมิติมากกว่าเป็น "คนดี" หรือ "คนไม่ดี" ครับ
จักรพรรดิยงเจิ้ง หรือ ชิงซื่อจง (清世宗) เป็นจักรพรรดิที่ทรงงานหนัก ปราบปรามการทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวงอย่างรุนแรง และยังทรงปรับปรุงระบบการปกครองหลายประหารที่เป็นคุณต่อแผ่นดินหลายอย่าง

พระองค์ก่อตั้งจวินจีชู่ (軍機處) หรือสภาบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางในการกำหนดนโยบายบริหารประเทศ ทำให้ทรงควบคุมการบริหารไว้ได้มั่นคงมากขึ้น ปรับปรุงระบบคัดเลือกคนเข้ารับราชการโดยอ้างอิงตามความต้องการและลำดับความสำคัญของแต่ละพื้นที่เพื่อให้สามารถจัดหาผู้มีคุณสมบัติที่เหมาะสม ปฏิรูปการเก็บภาษีจากเดิมที่เป็นภาษีรายบุคคลมาเป็นตามหน่วยที่ดินเป็นหลักเพื่อลดภาระของราษฎร ส่งเสริมการเกษตรด้วยการกระตุ้นให้ขุนนางท้องถิ่นซื้อที่นาโดยจะได้รับการงดเว้นภาษีในช่วงเวลาที่กำหนด ทำให้มีการบุกเบิกที่นาใหม่และเก็บเกี่ยวผลผลิตได้มหาศาล นอกจากนี้ยังเปิดกว้างให้ชนกลุ่มน้อยมีโอกาสสอบเข้ารับราชการ ก่อตั้งสถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้าในทุกอำเภอ ยกเลิกอภิสิทธิ์ละเว้นความผิดของบัณฑิต
ทรงลิดรอนอำนาจชนกลุ่มน้อยในแถบกว่างซี อวิ๋นหนาน กุ้ยโจว โดยส่งคนจากส่วนกลางไปปกครองทำให้มีเสถียรภาพในการปกครองมากขึ้น ในอีกแง่หนึ่งเป็นการลิดรอนอิทธิพลของขุนนางและส่งเสริมให้ราชสำนักส่วนกลางมีอำนาจมากขึ้น

อีกด้านหนึ่ง พระองค์เป็นผู้ปกครองที่เด็ดขาดดึงอำนาจรวมศูนย์มาก ปราบปรามศัตรูทางการเมืองที่อาจคุกคามต่อพระองค์อย่างรุนแรงแม้ว่าจะเป็นพี่น้องอย่างรุนแรงเพื่อรักษาพระราชอำนาจ ในบรรดาพี่น้องที่มีอายุพอสมควร นอกจากองค์ชายสิบสามอิ้นเสียง (胤祥) ซึ่งเป็นคนของพระองค์แล้ว องค์ชายองค์อื่นอย่างองค์สาม องค์ชายแปด องค์ชายเก้า องค์ชายสิบ องค์ชายสิบสี่ ถูกจำคุก กักบริเวณ ถอดยศ หมดอำนาจโดยสิ้นเชิง ขุนนางที่ช่วยสนับสนุนให้พระองค์ได้บัลลังก์อย่างเหนียนเกิงเหยา (年羹堯) หรือหลงเคอตัว (隆科多) ภายหลังเมื่อมีอำนาจเริ่มทำตัวกร่างจนถูกจักรพรรดิยงเจิ้งระแวง จึงถูกตั้งข้อหากำจัดทิ้งเช่นเดียวกัน
จักรพรรดิยงเจิ้งยังควบคุมการเผยแพร่งานเขียนที่อาจเป็นภัยต่อราชสำนัก โดยเฉพาะงานเขียนที่ต่อต้านชาวแมนจูอย่างรุนแรง มีกรณีของหลี่ว์หลิวเหลียง (呂留良) บัณทิตชาวฮั่นที่มีชีวิตอยู่ในช่วงราชวงศ์หมิงล่มสลายและเขียนงานเขียนต่อต้านราชวงศ์ชิงหลายชิ้น หลังจากหลี่ว์หลิวเหลียงตายไปแล้ว ในรัชกาลยงเจิ้ง เจิ๋งจิ้ง (曾靜) ซึ่งได้รับอิทธิพลทฤษฎี "บทวิจารณ์การแบ่งชนชั้นชาวจีนกับชนเผ่าอื่น" ของหลี่ว์หลิวเหลียงพยายามก่อกบฏแต่ล้มเหลว
จักรพรรดิยงเจิ้งให้อภัยโทษและเกลี้ยกล่อมให้เจิ๋งจิ้งล้มเลิกความคิดต่อต้านแมนจู (แต่ภายหลังเจิ๋งจิ้งถูกประหารในรัชกาลเฉียนหลง) แต่พระองค์แสดงความเด็ดขาดด้วยการให้ขุดศพหลี่หลิวเหลียงกับบุตรชายที่ตายไปแล้วมาสับเป็นชิ้นๆ บุตรชายคนหนึ่งถูกประหาร หลายชายถูกเนรเทศ ครอบครัวฝ่ายหญิงถูกจับเป็นทาส บรรดาลูกศิษย์ก็พลอยติดร่างแหไปอีกมาก และสั่งห้ามเผยแพร่งานเขียนของหลี่ว์หลิวเหลียง เป็นหนึ่งในการใช้ความโหดในการปกครองเพื่อให้พระองค์สามารถปกครองได้อย่างมั่นคงมากขึ้น จักรพรรดิยงเจิ้งยังพระราชนิพนธ์ "ต้าอี้เจวี๋ยหมีลู่"《大義覺迷錄》 เพื่อตอบโต้ทฤษฎีของหลี่ว์หลิวเหลียงด้วย
ธรรมชาติของมนุษย์ย่อมมีทั้งด้านที่ดีและไม่ดีอยู่ในตัวเอง และมีมิติหลากหลายจนยากจะสรุปแค่ว่าเป็นคนดีหรือไม่ดี ความดีเองก็เป็นอัตวิสัยที่เปลี่ยนแปลงได้ไปตามมุมมอง ทัศนคติ และประสบการณ์ของแต่ละบุคคล การกระทำหนึ่งอาจถูกคนกลุ่มหนึ่งมองว่าเป็นสิ่งที่ดีในขณะที่คนกลุ่มหนึ่งมองว่าไม่ดีก็ได้เหมือนกันครับ
ดังนั้นเมื่อเราศึกษาเกี่ยวกับบุคคลในประวัติศาสตร์เราควรจะมองถึงบุคคลนั้นอย่างเป็นมนุษย์ที่มีมิติมากกว่าเป็น "คนดี" หรือ "คนไม่ดี" ครับ

สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
จักรพรรดิหย่งเจิ้งเป็นจักรพรรดิที่มีความสามารถค่ะ ปราบปรามเชื้อพระวงศ์และขุนนางคอรัปชั่นอย่างเด็ดขาด จนทำให้เหล่าเชื้อพระวงศ์และขุนนางต่างๆไม่พอใจ จนสร้างข่าวลือเรื่องชิงบัลลังก์ขึ้นมา เพราะภายหลังนักประวัติศาสตร์ออกมายืนยันว่ากราปลอมแปลงราชโองการไม่ใช่เรื่องจริง
และการปกครองแบบเข้มงวดของหย่งเจิ้ง ทำให้ขุนนางกังฉินหมดไปจำนวนมาก และทำให้เงินในท้องพระคลังมีเพิ่มมากขึ้นจนเหลือให้เฉียนหลงถลุงได้เต็มที่
และการปกครองแบบเข้มงวดของหย่งเจิ้ง ทำให้ขุนนางกังฉินหมดไปจำนวนมาก และทำให้เงินในท้องพระคลังมีเพิ่มมากขึ้นจนเหลือให้เฉียนหลงถลุงได้เต็มที่
แสดงความคิดเห็น
จักรพรรดิหย่งเจิ้น สรุปพระองค์เป็นคนดีหรือไม่