ขอความรู้ มีใครเคยงงกับการลงทุนรวมใน LHEQD-R บ้างคะ กูรูเซียนกองทุนช่วยหนูด้วยยย T^T

กระทู้คำถาม
กระทู้แรกในชีวิตหลังจากเป็นเงาพันทิปมาสิบปี มือใหม่หากโพสผิดพลาด โปรดอภัยให้เม่าน้อยด้วยนะคะ

จขกท.เองลงทุนใน LTF, กองทุนหุ้นปันผลอย่าง KFSDIV, KFFLEX-D, trigger fund เกือบปีมาแล้ว เพิ่งเจอเคสแบบนี้
และทำให้รู้สึกวงงและไม่เข้าใจอย่างมาก เป็นเคสที่จนท.บอกว่าลูกค้านั้นจ่ายเงินปันผลให้ตัวเอง

เรื่องมีอยู่ว่าคุณป้าจขกท.ไปลงทุนในหน่วย LHEQD-R ซึ่งเป็นกองทุนที่พอออกปันผล ก็จะเอาปันผลเราไปลงทุนในกองตราสารเงิน LHMM ต่อแล้วเราจะไม่เสียภาษีเงินปันผล แถม NAV ไม่ลดตามจำนวนเงินปันผลอีกด้วย!! เม่าบัลเล่ต์
ลองดู NAV ได้ที่เว็บ lhfund นะคะ

ตามหลักการคำนวณที่เราเข้าใจ
ถ้าเรามีอยู่ 1000 หน่วยและ ต้นทุนหน่วยละ 11 บาท  ปันผลต่อหน่วยให้ 0.80 บาทต่อหน่วย
เงินปันผลที่พึงจะได้คือ 0.80*1000 หน่วย = 800 บาท แล้ว 800 บาทนี้ก็จะลงใน LHMM
สมมติว่า LHMM NAV วันนั้น หน่วยละ 10 บาท ใน LHMM เราก็จะมี 80 หน่วย ลงบัญชีได้ดังนี้:

LHEQD-R
เงินต้น: 1000 หน่วย ต้นทุนหน่วยละ 11 บาท มูลค่าเป็นตัวเงิน 1000*11 = 11,000 บาท
กระแสเงินเข้าจากปันผล:  800 บาท สมมติว่า NAV LHEQD-R ณ วันที่จ่ายปันผลคือ 11.1 ใน LHEQD-R เราก็จะมีหน่วยเพิ่มอีก
                                  800/11.1 =72.0720 หน่วย รวมเป็น 1,072.0720


กระแสเงินออกจากการขายคืนอัตโนมัติ switch out ไป LHMM :  หัก 72.0720 หน่วย
สรุปยอดเงินคงเหลือ 11,000 บาท หน่วยคงเหลือเท่าเดิม คือ 1000 หน่วย
LHMM
กระแสเงินเข้า: 80 หน่วย ต้นทุนหน่วยละ 10 บาท มูลค่าเป็นตัวเงิน 80*10 = 800 บาท
แต่เอกสารที่ได้รับจากทางแบงค์แสดงวิธีคิดหน่วยลงทุนแบบนี้คะ

LHEQD-R

เงินต้น LHEQD-R เรามี 11,000 บาทคิดเป็น 1000 หน่วย

ปันผล 800 บาท แปลงเป็นหน่วย ณ Nav วันนั้นคือ 72.0720 หน่วย
จากนั้นเอาหน่วยที่เรามีอยู่แล้ว 1000 หน่วย -  72.0720 หน่วย = คงเหลือใน LHEQD-R  927.928 หน่วย

LHMM
800 บาท หารด้วย NAV ณ วันนั้น 10 บาท สรุปคือ มี 80 หน่วย

เราก็เลยงงเลยคะทีนี้ เพราะจากปสก.การลงทุนในหุ้นและกองทุน
เท่าที่ทราบมาเวลาจ่ายปันผลจะมียอดใดยอดนึงลง และยอดใดยอดนึงเพิ่มขึ้นเสมอ
เช่น

หุ้นหรือกองทุนที่จ่ายด้วยเงินสด
ลงทุนในกองทุนปันผล NAV 14 บาท จ่ายปันผล  2 บาท (จำนวนก่อนหักภาษี)
ยอดในบัญชี NAV เราก็จะเหลือ 12 บาทต่อหน่วย ยอดในบัญชีรับปันผลก็คือ 2 บาทต่อหน่วย (จำนวนก่อนหักภาษี)

หุ้นที่จ่ายเป็นหน่วย สมมติอัตรา 1:1
เดิมมีหุ้นอยู่ 100 หุ้น หุ้นละ 10 บาท จ่ายปันผลเป็นหน่วยหุ้น
ทำให้มี 200 หุ้น หุ้นละ 5 บาท (ไม่รวมผลต่างกขึ้นลงในการซื้อขายหุ้นในวันนั้น)

อย่างไรก็ตามแต่จะเห็นตัวเลขสองขาคือ ขาขึ้น และขาลง แต่ยอดที่แบงค์ให้มามีแต่ตัดออกอย่างเดียว ไม่มียอดเพิ่มที่ใด

ประเด็นที่เราอยากถาม 3 ข้อคือ:
1. เราเข้าใจถูกรึป่าวคะเนี่ย
2. ถ้าหากคิดตามเอกสารแบงค์ คืออยู่ๆหักหน่วยที่เรามีอยู่แล้ว หักออกไปเลยเท่ากับจำนวนปันผลโดยไม่มีกระแสเงินปันผลเข้ามาก่อน
อย่างนี้เท่ากับเราก็จ่ายปันผลให้ตัวเองรึป่าวคะ? เพราะพนง.แบงค์สาขาพัทยาบอกกับคุณป้าเราว่า
" เขาก็เอาเงินของพี่หักมาเป็นปันผลให้พี่ได้ใช่ก่อนไงค่ะ" ป้าเราฟังก็งงๆค่ะ
เพราะพนง.พูดในทำนองว่าลูกค้าเป็นคนจ่ายเงินปันผลให้ตัวเองไม่ใช่ทางแบงค์จ่ายให้

3. จากข้อสอง ถ้าอย่างนั้นลูกค้าก็จะได้รับเงินตอบแทนจากการลงทุนแค่ capital gain และไม่มีปันผลสินะคะ เพราะเราเป็นคนจ่ายเงินปันผลให้ตัวเราเอง


อันนี้ก้อปปี้วิธีคำนวณหน่วยการขายคืนอัตโนมัติมาจากเวบของกลต ขออภัยที่ไม่สามารถโพสรูปภาพหรือลิ้งค์ได้ค่ะ

ซึ่งตัวอย่างของกลต. หน่วยลงทุนลดลงก็จริง แต่มูลค่าต่อหน่วยเพิ่มขึ้นหลังจากมีการจ่ายปันผล
แต่ข้อมูลที่มีของทาง LH มูลค่าหน่วยหลังจากการจ่ายปันผลไม่ได้เพิ่มขึ้นตามที่ กลต.อธิบาย มีแต่หน่วยที่น้อยลงไปเท่านั้น  

    "ขอกลับมาอธิบายคำว่า auto redemption หรือการขายคืนอัตโนมัติกันสักหน่อยนะครับ เพราะอาจมีคนนึกภาพไม่ออกว่าเป็นอย่างไร เพื่อให้เข้าใจได้ง่าย ผมขออธิบายตามลักษณะการลงทุนของกองทุนรวมนะครับ กองทุนรวมประเภทนี้มีทั้งกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารหนี้ ตราสารทุนหรือแบบผสม โดยกองทุนที่ลงทุนในตราสารหนี้ จะทำการขายคืนอัตโนมัติให้แก่ผู้ลงทุนโดยมีกำหนดระยะเวลาไว้ชัดเจน เช่น ขายคืนอัตโนมัติทุก 3 เดือน หรือทุก 6 เดือน โดยให้ผลตอบแทน 3% เป็นต้น แต่หากเป็นกองทุนที่ลงทุนในหุ้น ก็อาจกำหนดเงื่อนไขว่า จะขายคืนอัตโนมัติเมื่อราคาของหน่วยลงทุนเพิ่มขึ้นถึงระดับที่กำหนด เช่น จะขายคืนอัตโนมัติให้ 25 สตางค์ เมื่อราคาหน่วยลงทุนเพิ่มขึ้นทุก ๆ 1 บาท เป็นต้น

สิ่งสำคัญที่ผมจะอธิบายก็คือ เมื่อเกิดการ auto redemption แล้วเราจะได้เงินเข้ามา แต่ในขณะเดียวกันจำนวนหน่วยจะลดลง อย่าเพิ่งตกใจนะครับ มาดูตัวอย่างกันก่อน สมมติว่าเราลงทุนในกองทุนประเภทนี้ไป 1,000 บาท (100 หน่วย ๆ ละ 10 บาท) ผ่านไประยะหนึ่งเกิดดอกผลขึ้น 100 บาท รวมแล้วเป็น 1,100 บาท ถ้าหากกองทุนนั้นทำ auto redemption ส่วนของดอกผลนั้นทั้งหมดคืนให้แก่ผู้ถือหน่วย เราก็จะได้ส่วนที่เพิ่ม 100 บาทกลับมา (โดยไม่เสียภาษี) แต่ทีนี้มาดูเรื่องจำนวนหน่วยลงทุนกันบ้างไหมครับ ผมขอย้อนไปเล็กน้อย เมื่อตอนที่เงินลงทุนบวกดอกผลแล้วเท่ากับ 1,100 บาท มูลค่าต่อหน่วยจะขยับจาก 10 บาทไปเป็น 11 บาทใช่ไหมครับ ในขณะที่จำนวนหน่วยลงทุนของเรามิได้เปลี่ยนแปลง ยังเป็น 100 หน่วยเท่าเดิม พอถึงเวลาที่ได้คืนกลับมาให้เรา 100 บาท จำนวนหน่วยของเราก็ต้องถูกลดลงไปจำนวนเท่ากับจำนวนเงิน (100 บาท) ที่ได้รับหารด้วยราคารับซื้อคืนของวันที่มีการ auto redemption (11 บาทต่อหน่วย) ซึ่งก็คือลดลงไป 9.09 หน่วย ดังนั้น เราจะมีหน่วยลงทุนเหลืออยู่ 90.91 หน่วย แต่อย่างที่บอกไม่ต้องตกใจนะครับ เพราะเมื่อดูมูลค่าเงินลงทุนเรายังมีเท่าเดิมคือ 1,000 บาท (90.91 X 11 บาท) ตัวอย่างนี้คิดแบบง่ายนะครับ จริง ๆ แล้วต้องมีการหักค่าธรรมเนียมของบริษัทจัดการอยู่บ้าง"
  

ขอความรู้+ความเห็นจากเพื่อนๆ กูรู เซียน ณ สินธร
หากคิดว่ากระทู้นี้มีประโยชน์ ช่วยชี้ทางสว่างให้เม่ารุ่นหลังๆ รบกวนโหวตให้หน่อยนะคะ จุ๊บๆ

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
ประหลาดใจประหลาดใจ คุณภูตน้อย คุณต๊อตโตะจัง มาตอบด้วยดีใจจัง ขอบคุณนะคะ

ใช่ค่ะ เราก็เข้าใจว่าหน่วยมันจะลดลง แต่มูลค่าต่อ NAV มันจะเพิ่มขึ้นตามบทความจากกลต. เรื่องการขายคืนอัตโนมัติ

แต่ LH หักหน่วยที่เรามีอยู่แล้วออกเท่ากับมูลค่าปันผลด้้วย ณ NAV วันนั้น คือถูกต้องแล้วใช่ไหมคะ
อมยิ้ม07
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่