ภาคเกษตรกว่างซีปฏิรูปโมเดลการใช้ประโยชน์ที่ดิน ธุรกิจไทยต้องปรับตัวและตามให้ทัน

กระทู้ข่าว
......................สำนักข่าวซินหัว-เขตฯ กว่างซีจ้วง : “ธุรกิจน้ำตาล” ของเมืองฉงจั่ว (Chongzuo City, 崇左市) เป็นตัวอย่างโมเดลการปฏิรูปการใช้ประโยชน์ที่ดินของกว่างซี

                      เมืองฉงจั่ว เป็นฐานอุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาลขนาดใหญ่ของกว่างซี ปริมาณการผลิตคิดเป็น 1/3 ของกว่างซี และ 1/5 ของทั้งประเทศ จึงได้รับการขนานนามเป็น “เมืองแห่งน้ำตาลของจีน”

                      วัตถุประสงค์สำคัญของการปฏิรูปการใช้ประโยชน์ที่ดิน คือ การพัฒนาระบบชลประทาน เนื่องจากการเพาะปลูกอ้อยในกว่างซีอาศัยดินฟ้าอากาศเป็นหลัก  ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ภาวะภัยแล้งส่งผลกระทบโดยตรงต่อปริมาณการผลิตอ้อยและน้ำตาล (ทำให้ราคาน้ำตาลภายในประเทศผันผวนในระดับสูง) และรายได้เกษตรกร

โมเดลดังกล่าว มีอยู่ 2 รูปแบบ คือ

        1) การแปลงสภาพเป็น “บริษัท” (Corporatization) คือ การที่ภาครัฐยื่นมาเข้ามาร่วมปฏิรูปที่ดิน โดยการส่งเสริมให้เกษตรรายย่อยรวมที่ดินเป็นผืนใหญ่ผืนเดียวก่อนจะปล่อยเช่าให้กับ(รัฐ)วิสาหกิจเป็นผู้บริหารจัดการ

        2) ระบบ “จิ๊กซอว์” เกษตรกร คือ การที่เกษตรกรตกลงดำเนินการรวมที่ดินรายย่อยเป็นผืนเดียวก่อนจะทำการจัดสรรพื้นที่ใหม่ โดยกรรมสิทธิ์ที่ดินยังเป็นของเกษตรกรอยู่

                      BIC เห็นว่า แนวทางปฏิรูปการใช้ประโยชน์ที่ดินดังกล่าวข้างต้น แม้ว่าจะมีวัตถุประสงค์เพื่อบูรณาการระบบชลประทานและยกระดับผลผลิต ทว่า โมเดลดังกล่าวมีความเกี่ยวพันโดยตรงกับการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยเฉพาะนักลงทุนด้านการผลิตที่ต้องอาศัยทรัพยากรท้องถิ่นในกว่างซี (จีนแผ่นดินใหญ่)

                      ทั้งนี้ การปฏิรูปไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบใดก็ตามจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจโดยตรงในเรื่องของแหล่งวัตถุดิบสินค้า กล่าวคือ หากเป็นรูปแบบที่ 1 นั่นหมายความถึง“การผูกขาด” สิทธิการใช้ที่ดินโดย(รัฐ)วิสาหกิจ ขณะที่รูปแบบที่ 2 ช่วยให้เกษตรกรมีอำนาจต่อรองกับธุรกิจผู้ผลิตมากยิ่งขึ้นเช่นเดียวกัน

                       ดังนั้น BIC ขอฝากสำหรับนักลงทุนไทยที่ต้องการจะเข้ามาลงทุนในจีนจะต้องศึกษาอย่างรอบคอบก่อนการลงทุน โดยเฉพาะสัญญาและกรรมสิทธิ์การใช้ประโยชน์ที่ดินในจีน ซึ่งเป็นหนึ่งประเด็นที่มีความละเอียดอ่อนค่อนข้างมาก

ที่มา  http://www.thaibizchina.com/thaibizchina/th/china-economic-business/result.php?IBLOCK_ID=69&SECTION_ID=444&ELEMENT_ID=12485


แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่