ยังจำคดีของอดีตนักศึกษาไทยในสหรัฐอเมริกาได้ไหมคะ ที่ขายหนังสือใน ebay ศาลสูงสุดตัดสินให้คนไทยชนะแล้ว
กลัวว่าอีกหน่อยจะไม่มีหนังสือ Asian Edition ขายในราคาถูกให้นักศึกษาแล้ว ต่อไป
http://www.thaipost.net/news/210313/71185
บริษัทเจ้าของลิขสิทธิ์แดนลุงแซมสะอื้น ศาลสูงสุดสหรัฐตัดสินคดีอดีตนักศึกษาไทยถูกกล่าวหาละเมิดลิขสิทธิ์ ซื้อตำราเรียนนำกลับเข้าไปขายในสหรัฐราคาถูกกว่าท้องตลาด ผู้พิพากษาเสียงข้างมากยืนยันจำเลยได้สิทธิ์ตาม "หลักการขายครั้งแรก" หุ้นสำนักพิมพ์ยักษ์ใหญ่ร่วงเป็นแถว ส่วนอีเบย์ได้อานิสงส์
ศาลฎีกาสหรัฐโดยคณะผู้พิพากษา 9 ท่าน มีคำวินิจฉัยด้วยเสียงข้างมาก 6 ต่อ 3 เสียง เมื่อวันที่ 19 มีนาคม ว่า นายสุภาพ เกิดแสดง อดีตนักศึกษาชาวไทยที่หาลำไพ่พิเศษขณะเรียนที่มหาวิทยาลัยคอร์แนลและเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนียในสหรัฐ ด้วยการนำตำราเรียนจากภูมิภาคนี้กลับเข้าไปขายต่อในสหรัฐ สามารถกระทำได้ตามกฎหมาย "หลักการขายครั้งแรก" ของกฎหมายลิขสิทธิ์สหรัฐ ที่อนุญาตให้ผู้เป็นเจ้าของสินค้าที่ "ผลิตอย่างถูกกฎหมาย" สามารถจำหน่ายหรือจ่ายแจกได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์อีก
สุภาพซึ่งปัจจุบันกลับมาสอนหนังสือที่เมืองไทย ถูกบริษัทจอห์นไวลีย์แอนด์ซัน เจ้าของลิขสิทธิ์ตำราเรียน 8 เล่มที่เขานำมาขายต่อ ฟ้องต่อศาลสหรัฐฐานละเมิดลิขสิทธิ์ การต่อสู้ในศาลรัฐบาลกลาง ตั้งแต่ศาลชั้นต้นยันศาลอุทธรณ์ที่นิวยอร์กเมื่อเดือนสิงหาคม 2554 สุภาพเป็นฝ่ายแพ้และถูกตัดสินให้ชดเชยค่าเสียหายแก่สำนักพิมพ์นี้ 600,000 ดอลลาร์ (เกือบ 18 ล้านบาท) แต่ศาลสูงสุดกลับคำตัดสินดังกล่าว
ผู้พิพากษาเสียงข้างมากกล่าวในคำวินิจฉัยว่า เจ้าของลิขสิทธิ์จะได้รับการคุ้มครองเฉพาะการขายผลงานครั้งแรกเท่านั้น การคุ้มครองนี้ไม่รวมถึงกรณีที่สินค้าที่ผลิตและขายอย่างถูกกฎหมายในต่างแดนถูกนำเข้ามาขายต่อในสหรัฐ
คดีของเขาได้รับการจับตามองอย่างใกล้ชิดจากบริษัทเจ้าของลิขสิทธิ์ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นสิ่งพิมพ์, ดนตรี, ภาพยนตร์ และสินค้าต่างๆ ที่ส่งขายไปทั่วโลก สตีเฟน สมิธ ประธานและหัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่บริหารของไวลีย์ฯ กล่าวในแถลงการณ์ว่า คำตัดสินนี้เป็นความสูญเสียของเศรษฐกิจสหรัฐ รวมถึงนักศึกษาและผู้ประพันธ์หนังสือในสหรัฐและทั่วโลก
ผลจากคำตัดสินทำให้หุ้นของบริษัทสำนักพิมพ์ชั้นนำตกลงทันที หุ้นแม็กกรอว์-ฮิลล์ในตลาดนิวยอร์กร่วงถึง 1.7% ส่วนเพียร์สันที่ลอนดอนร่วง 1.1% นักวิเคราะห์ของไลบีรัมแคปิตอลชี้ว่า คำตัดสินนี้เป็นผลลบอย่างมากต่อเพียร์สัน เพราะตำราการศึกษาขั้นสูงในสหรัฐทำเงินให้บริษัทไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของผลกำไร
ในทางกลับกัน ตลาดผู้จัดจำหน่ายอิสระหรือเกรย์มาร์เก็ตที่มีมูลค่า 63,000 ล้านดอลลาร์จะได้รับประโยชน์เต็มๆ โดยเฉพาะพวกค้าปลีกที่อาศัยช่องทางตลาดออนไลน์ เช่น อีเบย์ ซึ่งมีคำขวัญว่า "หากคุณซื้อมา คุณก็เป็นเจ้าของ และมีสิทธิ์ที่จะขายต่อ" หุ้นของบริษัทอีเบย์ทะยานขึ้นถึง 2% มาอยู่ที่ 51.50 ดอลลาร์ในวันอังคาร
ด้านสมาคมความริเริ่มสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของ ที่บริษัทตัวแทนค้าปลีกออนไลน์อย่างอีเบย์และโอเวอร์สต็อกดอตคอม รวมถึงห้องสมุด, ร้านหนังสือเก่า และห้างค้าปลีกลดราคาเป็นสมาชิกด้วย กล่าวว่า คำตัดสินของศาลฎีกานี้เป็นชัยชนะครั้งประวัติศาสตร์ของผู้บริโภค, ธุรกิจขนาดเล็ก, ตลาดออนไลน์, ร้านค้าปลีกและห้องสมุด.
http://newsandinsight.thomsonreuters.com/Legal/News/2013/03_-_March/High_court_rules_against_publisher_on_copyright_protections/
ศาลสหรัฐให้คนไทยชนะคดีตำรา
กลัวว่าอีกหน่อยจะไม่มีหนังสือ Asian Edition ขายในราคาถูกให้นักศึกษาแล้ว ต่อไป
http://www.thaipost.net/news/210313/71185
บริษัทเจ้าของลิขสิทธิ์แดนลุงแซมสะอื้น ศาลสูงสุดสหรัฐตัดสินคดีอดีตนักศึกษาไทยถูกกล่าวหาละเมิดลิขสิทธิ์ ซื้อตำราเรียนนำกลับเข้าไปขายในสหรัฐราคาถูกกว่าท้องตลาด ผู้พิพากษาเสียงข้างมากยืนยันจำเลยได้สิทธิ์ตาม "หลักการขายครั้งแรก" หุ้นสำนักพิมพ์ยักษ์ใหญ่ร่วงเป็นแถว ส่วนอีเบย์ได้อานิสงส์
ศาลฎีกาสหรัฐโดยคณะผู้พิพากษา 9 ท่าน มีคำวินิจฉัยด้วยเสียงข้างมาก 6 ต่อ 3 เสียง เมื่อวันที่ 19 มีนาคม ว่า นายสุภาพ เกิดแสดง อดีตนักศึกษาชาวไทยที่หาลำไพ่พิเศษขณะเรียนที่มหาวิทยาลัยคอร์แนลและเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนียในสหรัฐ ด้วยการนำตำราเรียนจากภูมิภาคนี้กลับเข้าไปขายต่อในสหรัฐ สามารถกระทำได้ตามกฎหมาย "หลักการขายครั้งแรก" ของกฎหมายลิขสิทธิ์สหรัฐ ที่อนุญาตให้ผู้เป็นเจ้าของสินค้าที่ "ผลิตอย่างถูกกฎหมาย" สามารถจำหน่ายหรือจ่ายแจกได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์อีก
สุภาพซึ่งปัจจุบันกลับมาสอนหนังสือที่เมืองไทย ถูกบริษัทจอห์นไวลีย์แอนด์ซัน เจ้าของลิขสิทธิ์ตำราเรียน 8 เล่มที่เขานำมาขายต่อ ฟ้องต่อศาลสหรัฐฐานละเมิดลิขสิทธิ์ การต่อสู้ในศาลรัฐบาลกลาง ตั้งแต่ศาลชั้นต้นยันศาลอุทธรณ์ที่นิวยอร์กเมื่อเดือนสิงหาคม 2554 สุภาพเป็นฝ่ายแพ้และถูกตัดสินให้ชดเชยค่าเสียหายแก่สำนักพิมพ์นี้ 600,000 ดอลลาร์ (เกือบ 18 ล้านบาท) แต่ศาลสูงสุดกลับคำตัดสินดังกล่าว
ผู้พิพากษาเสียงข้างมากกล่าวในคำวินิจฉัยว่า เจ้าของลิขสิทธิ์จะได้รับการคุ้มครองเฉพาะการขายผลงานครั้งแรกเท่านั้น การคุ้มครองนี้ไม่รวมถึงกรณีที่สินค้าที่ผลิตและขายอย่างถูกกฎหมายในต่างแดนถูกนำเข้ามาขายต่อในสหรัฐ
คดีของเขาได้รับการจับตามองอย่างใกล้ชิดจากบริษัทเจ้าของลิขสิทธิ์ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นสิ่งพิมพ์, ดนตรี, ภาพยนตร์ และสินค้าต่างๆ ที่ส่งขายไปทั่วโลก สตีเฟน สมิธ ประธานและหัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่บริหารของไวลีย์ฯ กล่าวในแถลงการณ์ว่า คำตัดสินนี้เป็นความสูญเสียของเศรษฐกิจสหรัฐ รวมถึงนักศึกษาและผู้ประพันธ์หนังสือในสหรัฐและทั่วโลก
ผลจากคำตัดสินทำให้หุ้นของบริษัทสำนักพิมพ์ชั้นนำตกลงทันที หุ้นแม็กกรอว์-ฮิลล์ในตลาดนิวยอร์กร่วงถึง 1.7% ส่วนเพียร์สันที่ลอนดอนร่วง 1.1% นักวิเคราะห์ของไลบีรัมแคปิตอลชี้ว่า คำตัดสินนี้เป็นผลลบอย่างมากต่อเพียร์สัน เพราะตำราการศึกษาขั้นสูงในสหรัฐทำเงินให้บริษัทไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของผลกำไร
ในทางกลับกัน ตลาดผู้จัดจำหน่ายอิสระหรือเกรย์มาร์เก็ตที่มีมูลค่า 63,000 ล้านดอลลาร์จะได้รับประโยชน์เต็มๆ โดยเฉพาะพวกค้าปลีกที่อาศัยช่องทางตลาดออนไลน์ เช่น อีเบย์ ซึ่งมีคำขวัญว่า "หากคุณซื้อมา คุณก็เป็นเจ้าของ และมีสิทธิ์ที่จะขายต่อ" หุ้นของบริษัทอีเบย์ทะยานขึ้นถึง 2% มาอยู่ที่ 51.50 ดอลลาร์ในวันอังคาร
ด้านสมาคมความริเริ่มสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของ ที่บริษัทตัวแทนค้าปลีกออนไลน์อย่างอีเบย์และโอเวอร์สต็อกดอตคอม รวมถึงห้องสมุด, ร้านหนังสือเก่า และห้างค้าปลีกลดราคาเป็นสมาชิกด้วย กล่าวว่า คำตัดสินของศาลฎีกานี้เป็นชัยชนะครั้งประวัติศาสตร์ของผู้บริโภค, ธุรกิจขนาดเล็ก, ตลาดออนไลน์, ร้านค้าปลีกและห้องสมุด.
http://newsandinsight.thomsonreuters.com/Legal/News/2013/03_-_March/High_court_rules_against_publisher_on_copyright_protections/