หากยอมรับว่าพลาด แล้วพิจารณาใหม่ได้หรือเปล่าครับ
http://news.voicetv.co.th/thailand/65428.html
ปธ.ศาล รธน. ยอมรับคำวินิจฉัยคดี"สมัคร"ผิดพลาด เหตุเพราะรีบให้ทันวันตัดสินคดี โอดทำงานยากต้องทำความเข้าใจมวลชน พรรคการเมือง คู่รักษากฎหมาย
วันนี้ ( 15 มี.ค.) ระหว่างการสัมมนา เรื่อง "การรักษาดุลยภาพทางการเมืองของศาลรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตย" จัดโดยสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ โดยนายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ ผู้อำนวยการสถาบันอิศรา เห็นว่า ที่ผ่านมาประชาชนยังคงสับสนและบางครั้งก็มีการต่อต้านการทำหน้าที่ของศาล อาทิคำวินิจฉัยที่ให้ นายสมัคร สุนทรเวช พ้นจากการเป็นนายกรัฐมนตรี โดยมีการอ้างถึงพจนานุกรมนั้น
นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ได้กล่าวช่วงหนึ่งว่า คำวินิจฉัยในคดีของนายสมัครนั้น เป็นคำวินิจฉัยที่ใช้ไม่ได้ เพราะนำข้อกฎหมายขึ้นก่อน ทั้งที่จริงแล้วการเขียนคำวินิจฉัย ต้องระบุก่อนว่านายสมัครรับจ้างจริงหรือไม่ ขณะที่การต้องรีบเร่งอ่านคำวินิจฉัยในวันตัดสินคดี ก็ทำให้การเขียนคำวินิจฉัยในคดีผิด พลาดได้ง่ายด้วย
นอกจากนี้ เห็นว่า ตนเห็นด้วยว่าคำวินิจฉัยที่ดีไม่ต้องอธิบายเพิ่ม แต่คำวินิจฉัยของศาล รธน. มีรายละเอียดเข้าใจยาก ต้องชี้แจงให้ ปชช.เข้าใจ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันได้วางกรอบคำวินิจฉัยที่เป็นไปได้ในคดีต่างๆไว้ก่อน และนำมาปรับใช้ในการเขียนคำวินิจฉัยจริง เพื่อให้อ่านคำวินิจฉัยได้ทันในวันตัดสินคดี
ขณะที่ ศ.ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เห็นว่าการทำงานของศาลรัฐธรรมนูญเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะต้องทำความเข้าใจกับมวลชนของพรรคการเมือง ควบคู่การทำหน้าที่รักษากฎหมาย
ข้อมูลข่าว จาก @Lynging
by Siriwan
15 มีนาคม 2556 เวลา 20:46 น.
ปธ.ศาลรธน.ยอมรับ คำวินิจฉัย ชิมไปบ่นไป พลาด!
http://news.voicetv.co.th/thailand/65428.html
ปธ.ศาล รธน. ยอมรับคำวินิจฉัยคดี"สมัคร"ผิดพลาด เหตุเพราะรีบให้ทันวันตัดสินคดี โอดทำงานยากต้องทำความเข้าใจมวลชน พรรคการเมือง คู่รักษากฎหมาย
วันนี้ ( 15 มี.ค.) ระหว่างการสัมมนา เรื่อง "การรักษาดุลยภาพทางการเมืองของศาลรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตย" จัดโดยสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ โดยนายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ ผู้อำนวยการสถาบันอิศรา เห็นว่า ที่ผ่านมาประชาชนยังคงสับสนและบางครั้งก็มีการต่อต้านการทำหน้าที่ของศาล อาทิคำวินิจฉัยที่ให้ นายสมัคร สุนทรเวช พ้นจากการเป็นนายกรัฐมนตรี โดยมีการอ้างถึงพจนานุกรมนั้น
นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ได้กล่าวช่วงหนึ่งว่า คำวินิจฉัยในคดีของนายสมัครนั้น เป็นคำวินิจฉัยที่ใช้ไม่ได้ เพราะนำข้อกฎหมายขึ้นก่อน ทั้งที่จริงแล้วการเขียนคำวินิจฉัย ต้องระบุก่อนว่านายสมัครรับจ้างจริงหรือไม่ ขณะที่การต้องรีบเร่งอ่านคำวินิจฉัยในวันตัดสินคดี ก็ทำให้การเขียนคำวินิจฉัยในคดีผิด พลาดได้ง่ายด้วย
นอกจากนี้ เห็นว่า ตนเห็นด้วยว่าคำวินิจฉัยที่ดีไม่ต้องอธิบายเพิ่ม แต่คำวินิจฉัยของศาล รธน. มีรายละเอียดเข้าใจยาก ต้องชี้แจงให้ ปชช.เข้าใจ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันได้วางกรอบคำวินิจฉัยที่เป็นไปได้ในคดีต่างๆไว้ก่อน และนำมาปรับใช้ในการเขียนคำวินิจฉัยจริง เพื่อให้อ่านคำวินิจฉัยได้ทันในวันตัดสินคดี
ขณะที่ ศ.ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เห็นว่าการทำงานของศาลรัฐธรรมนูญเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะต้องทำความเข้าใจกับมวลชนของพรรคการเมือง ควบคู่การทำหน้าที่รักษากฎหมาย
ข้อมูลข่าว จาก @Lynging
by Siriwan
15 มีนาคม 2556 เวลา 20:46 น.