วันนี้มีภาพเก่ามาเสนอเช่นเคยครับ...
เมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม พศ.๒๕๑๐ พณฯ จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีของไทยในขณะนั้น ได้เป็นประธานในพิธีเปิดเส้นทางรถไฟสายใหม่ ระหว่างสถานีลำนารายณ์ อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี ถึงสถานีชุมทางบัวใหญ่ อ.บัวใหญ่ จ.นครราชสีมา
เส้นทางรถไฟสายนี้ เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางสายตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างชุมทางแก่งคอย อ.แก่งคอย จ.สระบุรี ผ่าน อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี ก่อนข้ามเทือกเขาพังเหย ลอดอุโมงค์แห่งเดียวของเส้นทางสายตะวันออกเฉียงเหนือ ก่อนเข้าสู่พื้นที่ จ.ชัยภูมิ และบรรจบเส้นทางสายตะวันออกเฉียงเหนือที่สถานีชุมทางบัวใหญ่
การก่อสร้างเส้นทางรถไฟช่วงนี้ เพื่อแบ่งเบาความคับคั่งของขบวนรถที่ข้ามเทือกเขาดงพญาเย็น ที่มีความคดเคี้ยวและมีความลาดชันมาก ซึ่งขบวนรถสินค้าจากกรุงเทพฯ ไปภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต้องแบ่งเป็นขบวนสั้นๆ จากชุมทางแก่งคอย และไปรวมเป็นขบวนเดียวกันอีกครั้งหนึ่งที่สถานีปากช่อง ก่อนเดินทางไปสู่จุดหมายปลายทาง
การก่อสร้างเส้นทางสายนี้ ได้แบ่งเป็นช่วงๆ จากชุมทางแก่งคอยไปยังสถานีลำนารายณ์ ช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ และจากสถานีลำนารายณ์ไปยังชุมทางบัวใหญ่ โดยใช้เงินกู้จากประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี จนกระทั่งแล้วเสร็จตลอดสาย
หลังจากพิธีเปิดเส้นทาง ขบวนรถไฟพิเศษ ได้พาคณะของนายกรัฐมนตรีออกเดินทางจากสถานีลำนารายณ์ ไปตามเส้นทางสายใหม่ และหยุดชั่วขณะที่อุโมงค์เขาพังเหย จ.ลพบุรี และออกเดินทางต่อไป ผ่าน อ.บำเหน็จณรงค์ อ.จัตุรัส จ.ชัยภูมิ ก่อนแวะเยี่ยมประชาชนที่สถานีชุมทางบัวใหญ่ ก่อนขึ้นเฮลิคอปเตอร์กลับกรุงเทพพระมหานคร
ผมเคยนั่งรถไฟผ่านเส้นทางสายนี้ไปยัง จ.ขอนแก่น และเคยเดินลอดอุโมงค์เขาพังเหยมาแล้วครั้งหนึ่ง คงไม่เหมือนถ้ำตามธรรมชาติ และต้องระวังขบวนรถไฟที่อาจจะมาจ๊ะเอ๋กันในอุโมงค์ก็ได้ คิดแล้วตื่นเต้นครับ เมื่อหวนนึกถึงช่วงเวลานั้น แต่อุโมงค์มีความยาวไม่มากนัก แถมอากาศแห้ง เดินได้สะดวก
เพื่อนผมบางคน เคยเดินลอดอุโมงค์ขุนตานด้วยซ้ำไป และเดินลอดอุโมงค์รถไฟทุกแห่งในประเทศไทย เพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่ตนเองอีกด้วย
ภาพเก่าเล่าเรื่อง (๔๐)
เมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม พศ.๒๕๑๐ พณฯ จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีของไทยในขณะนั้น ได้เป็นประธานในพิธีเปิดเส้นทางรถไฟสายใหม่ ระหว่างสถานีลำนารายณ์ อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี ถึงสถานีชุมทางบัวใหญ่ อ.บัวใหญ่ จ.นครราชสีมา
เส้นทางรถไฟสายนี้ เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางสายตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างชุมทางแก่งคอย อ.แก่งคอย จ.สระบุรี ผ่าน อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี ก่อนข้ามเทือกเขาพังเหย ลอดอุโมงค์แห่งเดียวของเส้นทางสายตะวันออกเฉียงเหนือ ก่อนเข้าสู่พื้นที่ จ.ชัยภูมิ และบรรจบเส้นทางสายตะวันออกเฉียงเหนือที่สถานีชุมทางบัวใหญ่
การก่อสร้างเส้นทางรถไฟช่วงนี้ เพื่อแบ่งเบาความคับคั่งของขบวนรถที่ข้ามเทือกเขาดงพญาเย็น ที่มีความคดเคี้ยวและมีความลาดชันมาก ซึ่งขบวนรถสินค้าจากกรุงเทพฯ ไปภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต้องแบ่งเป็นขบวนสั้นๆ จากชุมทางแก่งคอย และไปรวมเป็นขบวนเดียวกันอีกครั้งหนึ่งที่สถานีปากช่อง ก่อนเดินทางไปสู่จุดหมายปลายทาง
การก่อสร้างเส้นทางสายนี้ ได้แบ่งเป็นช่วงๆ จากชุมทางแก่งคอยไปยังสถานีลำนารายณ์ ช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ และจากสถานีลำนารายณ์ไปยังชุมทางบัวใหญ่ โดยใช้เงินกู้จากประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี จนกระทั่งแล้วเสร็จตลอดสาย
หลังจากพิธีเปิดเส้นทาง ขบวนรถไฟพิเศษ ได้พาคณะของนายกรัฐมนตรีออกเดินทางจากสถานีลำนารายณ์ ไปตามเส้นทางสายใหม่ และหยุดชั่วขณะที่อุโมงค์เขาพังเหย จ.ลพบุรี และออกเดินทางต่อไป ผ่าน อ.บำเหน็จณรงค์ อ.จัตุรัส จ.ชัยภูมิ ก่อนแวะเยี่ยมประชาชนที่สถานีชุมทางบัวใหญ่ ก่อนขึ้นเฮลิคอปเตอร์กลับกรุงเทพพระมหานคร
ผมเคยนั่งรถไฟผ่านเส้นทางสายนี้ไปยัง จ.ขอนแก่น และเคยเดินลอดอุโมงค์เขาพังเหยมาแล้วครั้งหนึ่ง คงไม่เหมือนถ้ำตามธรรมชาติ และต้องระวังขบวนรถไฟที่อาจจะมาจ๊ะเอ๋กันในอุโมงค์ก็ได้ คิดแล้วตื่นเต้นครับ เมื่อหวนนึกถึงช่วงเวลานั้น แต่อุโมงค์มีความยาวไม่มากนัก แถมอากาศแห้ง เดินได้สะดวก
เพื่อนผมบางคน เคยเดินลอดอุโมงค์ขุนตานด้วยซ้ำไป และเดินลอดอุโมงค์รถไฟทุกแห่งในประเทศไทย เพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่ตนเองอีกด้วย