ถามผู้รู้งานก่อสร้างว่าแผ่นพื้นมันรับน้ำหนักค้ำยันพื้นชั้นบนๆยังไงครับ

เรื่องของเรื่องคือไปเห็นคอนโดแห่งหนึ่งที่กำลังก่อสร้างเกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับแผ่นพื้น ซึ่งผมไม่มีความรู้ด้านโครงสร้าง อยากถามว่า

1 เคยได้ยินมาว่าพื้นทั่วๆไปรับน้ำหนัก DL ประมาณ 200 kg /sqm + LL ประมาณ 50 kg /sqm แ่ต่ว่าพื้นแต่ละชั้นสมมุติว่า post 25 ซม ก็น่าจะหนักประมาณ 600 kg /sqm แล้ว แล้วไหนจะน้ำหนักค้ำยันอีก ตัวค้ำยันคงรับได้ แต่แผ่นพื้นนี่สิ เลยสงสัยว่ามันจะรับได้เหรอครับ หรือเค้ามีหลักการคิดน้ำหนักพวกนี้ยังไงครับ คู่มือ post บอกกี่วันไม่รู้ค้ำยันกลับกี่เปอร์เซ็นต์ตามคู่มือในเน็ต ก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดี พอจะยกตัวอย่างให้เข้าใจได้ไหมครับ

2 พวกปูนก่อฉาบผนังที่เอาไปไว้บนตึกนี่ผมเห็นกองกันเป็น 10 ชั้น เท่ากับว่า 10 ชั้นนี่ซัดไป 500 kg ได้มั้ง แถมวางทีไม่ได้วางแถวเดียวด้วย ไม่ต่ำกว่า 2-3 แถว มันไม่ทำให้โครงสร้างเกิดอันตรายเหรอครับ

ขอบคุณทุกๆคำตอบครับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
ตามที่ผม้ในการทำงานจริงนะครับ
ทั่วไปในกรณีของคอนโดผมจะคิด load ประมาณนี้ครับ
1. LL 300kg/sq.m.
2. SDL 200kg/sq.m.
3. DL ตามจริงเช่น span 10.2 x 8.4 ถ้าเป็น post จะหน้าประมาณ 20-22cm. Band beam หนาประมาณ 40cm. ผมมักคิดเฉลี่ยความหน้าที่ 24cm

ดังนั้น load ที่พื้นต้องออกแบบให้รับได้คือ = 300x1.7 + 200x1.4  + 0.24x2400x1.4 = 1596 kg/sq.m.

อันนี้ตาม code. เก่านะครับใช้ factor. 1.4 กับ 1.7 แต่ code. ใหม่ให้ใช้้ 1.2 กับ 1.6 แทนแล้วครับ

ในการคิดการตั้งนั้งร้านในการหล่อคอนกรีต จะใช้การ  ชอร์ load ผมจะคิดแบบนี้ครับ
ใช้แค่ LL มาคิดเท่านั้น SDL เป็น safty ไป
ดังนั้นพื้นผมจะรับได้ 300x1.7 = 510 kg/sq.m
แต่ load จากการเทพื้ั้นบนคือ post. หนา 24 cm. = 0.24x2400x1.4=800 kg/sq.m.
แสดงว่าพื้นผมต้องใช้พื้น 800/510 = 1.56 ชั้นในการรับน้ำหนักการเทพื้ั้นบน
ผมจะทำการชอร์ load. 2. ชั้นแผื่อน้ำหนักนั้งร้านและน้ำหนักอื่นๆอีกนอกจากพื้นครับ

และเมื่อพื้นที่เราเทเราsetตัวแล้วแสดงว่ามันสามารถรับตัวมันเองได้บางส่วน การชอร์ loadก็จะค่อยๆลดลงครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่